แนวคิดขยับเศรษฐกิจพอเพียง

โดย sutthinun เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 3:46 ในหมวดหมู่ สวนป่าฮาเฮ #
อ่าน: 3578

นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินงานมานานพอประมาณแล้วนะครับ เกิดกรณีตัวอย่างดีๆทั่วแผ่นดิน แต่กระนั้นก็เถอะ หลายองค์กรหลายหน่วยงานก็ยังพยายามต่อยอดให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น แต่หลายแผนงานก็ยังไม่รู้ที่จะเพิ่มประสิทธิผล เข้าไปดลใจของเป้าหมายให้เกิดจุดระเบิดในวิถีชีวิตประชาคมได้อย่างไร?

มหาชีวาลัยอีสาน ได้อบรมเกษตรกรและกลุ่มสนใจเรื่อยมาก ปีละ800-1,000คน คิดว่าเก็บตกกลุ่มผู้สนใจที่อยู่ในพื้นที่เคลื่อนไหวไปหมดแล้ว พวกหัวไวใจสู้จะสมัครใจเข้ามาเป็นชุดแรก หลังจากนั้นก็เก็บพวกตกค้างกับประเภทที่พอจะจูนใจกันได้บ้างมาอบรม รุ่นที่สุดท้ายปีที่แล้วค่อนข้างจะลำบาก ต้องไปเกณฑ์เกษตรกรต่างจังหวัดมาอบรม เคยบอกเล่าให้ผู้ที่รับผิดชอบไปบ้างแล้ว..ที่แต่นโยบายก็ไม่เปลี่ยน ยังทื่อๆที่จะเคี่ยวเข็นเป้าหมายเอาปริมาณอย่างซังกะตายต่อไป..

มาปีนี้มีเป้าหมายจะอบรมเกษตรกร 300 ราย

ผมก็ไม่ทราบว่าจะหาคนที่สนใจเรื่องนี้ได้ที่ไหน

ที่เขียนแผนไป ตั้งใจจะเอานักศึกษาปี 1-3 ในมหาวิทยาลัยต่างๆมาเข้าค่าย

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับนิสิตนักศึกษา

เพราะเล็งเห็นว่า ลูกหลานไทยรับปริญญาไปก็ใช่ว่าจะได้งานทำได้ง่ายๆ

ในระหว่างสมัครงาน หางานทำ หรือยังไม่ได้ทำ

ถ้าเอาวิชาความรู้ที่เคยอบรมเรื่องทำเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงมาทำ

บางทีความรู้ติดตัวเหล่านี้อาจจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้

อนึ่ง เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะกิจทำการเกษตรอย่างเดียว แต่เป็นวิธีคิดที่เชื่อมโยงไปถึงวินัยชีวิต ทำให้ตระหนักถึงการบริหารชีวิตให้เข้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลง คนเราถ้าหนักเอาเบาสู้ไม่เลือกงาน เวลาของชีวิตก็ไม่สูญเปล่า ทักษะชีวิตที่ติดตัวมา (ถ้าได้รับการอบรม) ก็จะเป็นขอนไม้ให้เกาะยามน้ำท่วมจมูก

แผนขยับเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่แผนสุขภาวะชุมชน เป็นแนวคิดที่มหาชีวาลัยอีสานเห็นว่า มันน่าจะเชื่อมโยงพันธกิจไปมาหาสู่กัน เพื่อรวมพลังทำให้แผ่นดินนี้มีพื้นฐานเรื่องการเดินสายกลางให้เหมาะเจาะทุกเรื่อง ถ้าหยิบเอาประเด็นสุขภาพมาต่อยอด จะเห็นระยะก้าวไปข้างหน้า ว่าจะเอาความรู้เรื่องดุลยภาพของชีวิตมาสังเคราะห์ใช้ในวิถีชุมชนอย่างไร

อันดับแรก ควรไปตรวจโรคเบื้องต้น ถ้าเจาะโลหิตได้จะดี จะทราบว่าสภาพพยาธิวิทยาในการตนเป็นอย่างไร ใครเป็นเบาหวาน ความดัน ไขมัน มะเร็ง เลือดข้น เลือกจาง ฯลฯ เมื่อทราบแล้วก็จะเกิดความตระหนัก ในการที่ดูแลตนเอง โดยการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ เช่น ควรจะลดเลิกพฤติกรรมเสี่ยงที่เกี่ยวกับอาการของแต่ละคนอย่างไร บางคนอาจจะต้องดื่มน้ำมากขึ้น ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ เลิกสูบบุรี เลิกสุรา ถ้าสร้างจุดสำคัญเหล่านี้ได้ ไม่เพียงเป็นการลดละเลิกอบายมุขได้เท่านั้น แต่มันเป็นการสร้างวินัยชีวิตให้กับตนเอง การชี้ชวนเชิงนโยบายทำกันอย่างเป็นกลุ่มก้อน นอกจากเป็นการปลุกกระแสรักตนเองดูแลตนเองแล้ว ยังเป็นการสร้างสุขภาวะองค์รวมอย่างเป็นรูปธรรม ในรูปแบบที่ใครๆก็ทำและร่วมมือกันได้ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณมากมาย เพียงแต่จัดอบรมทำความเข้าใจบ้าง แผนงานนี้ก็จะกระตุ้นให้คนไทยดูแลตัวเอง รักตนเอง และถนอมสุขภาพตนเอง กกระแสรักตนเองดูแลตนเองแล้ว ยังเป็นการสร้างสุขภาวะองค์รวมอย่างเป็นรูปธรร ลาภที่ประเสริฐจะเกิดแก่คนไทยทั่วหน้า

« « Prev : หัวโม่งเพื่อชีวิตและสังคม

Next : Todo Tag: เป็นไข้ใจ จะเอายาอะไรมารักษา » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 20:52

    เห็นด้วยครับ ว่าเกณฑ์ชี้วัดครอบครัวพอเพียงนั้นจะต้องมีการกำหนดพฤติกรรมประจำวันที่พึงประสงค์แบบพอเพียงด้วย มิใช่มีเกณฑ์พอเพียง 7-8 ข้อ แม้ว่าจะมีข้อสุขภาพ แต่มักเป็นเรื่องปลูกสมุนไพร 10 ชนิดที่เป็นยาพื้นบ้าน แล้วผ่านเกณฑ์นี้  แนวคิดของพ่อครูคือ ต้องประพฤติตัวตนให้ไม่เป็นการปฏิบัติตนเองที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ก็จะเป็นแนวทางป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ  หากทำได้ สมุนไพร 10 ชนิดอาจไม่มีความหมาย หรือเป็นความจำเป็นรองลงไป

    การตรวจสอบตัวเองเป็นประจำเหมือนๆกับการเข้ามาเจ๊าะแจ๊ะในลาน แต่การตรวจร่างกายไม่จำเป็นต้องทุกวัน แต่ทำให้เป็นปกติ ไม่ทิ้งไว้จนอายุ 60 แล้วไม่เคยตรวจสุขภาพ แบบนี่สุ่มเสี่ยงเกินไป ไม่พอเพียง ล้มทีก็เจ็บเลย เพราะไม่ป้องกัน เพราะไม่เคร่งครัดกับตัวเอง ใช้ร่างกายเกินที่เขาจะรับใช้ได้ เขาก็เกเรเอาซินะครับ

    เอาซิ..มีเงินเป็นแสนล้าน ก็ไม่อาจซื้อสุขภาพดีดีตลอดไปได้หรอก  มาถึงตอนนี้แล้วเห็นมีเจ้าเบิร์ดคนเดียวที่ไม่รู้จักโต นอนแต่สามทุ่มทุกคืน  นี่ก็ใกล้เวลาเขาแล้วหละเนี๊ยะ  มิน่าเล่าสุขภาพเธอสดใสตลอด  เอ้า ไปนอนซะ…อิอิอิอิ

  • #2 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 7:54

    เอ๋า ว่าแล้วเชี้ยวว่าทำไมที่นั่งมันร้อน ๆ

    ตั้งแต่ 17 - 19 พย. ไม่ว่างเลยค่ะเพราะพาคนจากกลุ่มตลาดนัดสีเขียวดูงานอาหารปลอดภัย ว่าแต่ละก้าวนั้นเราผ่านอะไรมาบ้าง ขนาดเค้ามาเต็ม ๆ 3 วัน ทุกวันแน่นตลอดถึง 2 ทุ่ม(ซึ่งตาจะปิดให้ได้ ตามที่พี่บู๊ดว่านั่นแหละค่ะ) ก็ยังดูไม่หมด ดูแบบลงไปนั่งฟัง นั่งถามคนที่ทำในชุมชนด้วยนะคะ

    เบิร์ดเห็นด้วยอย่างที่สุดว่าประเด็นสุขภาวะกับพอเพียงเป็นเรื่องเดียวกันและควรรู้ว่าเป็นเรื่องใหญ่ปลายเปิดที่เพียงคิดก็ยุ่งยากแล้วจริง ๆ ดังนั้นขอร้องเลยว่าอย่าทำแบบใช้ระยะเวลา+ปริมาณเป็นตัวตั้ง เพราะมันฉาบฉวยมาก ๆ งานที่ได้จะไม่บอกอะไรมากไปกว่า”ได้ทำ” แบบไม่พอเพียงซะด้วย

    สมการความสุขน่ะง่ายนิดเดียวเองค่ะพ่อ+พี่บู๊ด
    ความสุข = สิ่งที่มี - ความเครียด หารด้วยความต้องการ…ดังนั้นความพอเพียงคือการลดตัวหาร ซึ่งเป็น”ความต้องการ” ถ้าตัวหารน้อยนเหลือเพียง 1 (คนทำมะดาสามัญคงไม่สามารถลดความต้องการจนเหลือ 0 ได้มั้งคะ เพราะยังมีกิเลสและยังต้องดำรงชีพอยู่)  สิ่งที่เรามีก็คือความสุขใช่มั้ยเอ่ย และเราก็ไม่มีความเครียดดังนั้นส่วนที่ลบออกก็คือ 0 สมการมันจึงเหลือเพียง
    ความสุข = สิ่งที่มี เพราะคำว่า “รวย” สะกดว่า พ พอ + อ ออ = พอ อิอิอิ

    ไปพาเค้าดูงานต่อก่อนนะคะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.062697887420654 sec
Sidebar: 0.047096014022827 sec