หนามยอกเอาหนามบ่ง
วันนี้ ได้รับการบ้านฉบับล่าสุด ทำให้คิดอย่างที่เกริ่นไว้ในหัวข้อ
หนามยอกเอาหนามบ่ง หมายถึงเอาคนขี้โรคไปเป็นกรรมการด้านนโยบายสาธารณสุข
อาจจะได้ประสบการณ์ตรงไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็น..
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550-2559 เพื่อเป็นกรอบนโยบายและทิศทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกำลังคนด้านสุขภาพ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าว (รวม 29 คน)
นายมงคล ณ สงขลา เป็นประธานกรรมการ
นายสุวิทย์ วิบูลผลประเสริฐ เป็นรองประธานฯ
นายสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นรองประธานฯ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
เลขาธิการข้าราชการพลเรือน กรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒน์ฯ กรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กรรมการ
ผู้แทนกระทรวงกลาโหม กรรมการ
อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา กรรมการ
รองปลัดกระทรวงที่ได้รับมอบหมาย กรรมการ
เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพฯ กรรมการ
นายกทันตแพทย์สภา กรรมการ
นายกแพทยสภา กรรมการ
นายกสภากายภาพบำบัด กรรมการ
นายกสภาการพยาบาล กรรมการ
นายกสภาเทคนิคการแพทย์ กรรมการ
นายกสภาเภสัชกรรม กรรมการ
ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กรรมการ
นายภัทระ คำพิทักษ์ กรรมการ
นายน้ำค้าง มั่นศรีจันทร์ กรรมการ
นางประภา วงศ์แพทย์ กรรมการ
นายประพจน์ เภตรากาศ กรรมการ
นายสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ กรรมการ
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กรรมการและเลขาฯ
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ กรรมการ/เลขา/ร่วม
รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายฯ ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้อำนวยการแผนงานพัฒนา/ธรรมนูญสุขภาพฯ ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาด้านกำลังคนฯ ผู้ช่วยเลขานุการ
มีบทบาทหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ในการขับเคลื่อนและพลักดันการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ยังมีเรื่องกำกับติดตามประเมินผลฯ การตั้งคณะอนุกรรมการฯ และเรื่องอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
ที่ลงรายละเอียดเสียยืดยาวก็เพื่อจะให้เป็นการบันทึกความจำว่า
1 ข้าน้อยนี้มีหน้าที่ไปเกี่ยวข้องกับใคร ที่ไหน ต้องไปทำอะไรบ้าง
2 ผมมีเครือญาติด้านสาธารณะสุขอยู่มาก เผื่อจะมีข้อเสนอดีๆมาให้พิจารณาเชิงนโยบาย หรือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3 เพื่อสื่อสารกับชาวบล็อกในการเชื่อมโยงข้อมูลสู่สาธารณะ
คนขี้โรคถูกเลือกไปเป็นกรรมการ สงสัยว่าจะเป็นการเอาหนามบ่งหนาม เนื่องจากเข้าออกโรงพยาบาลบ่อย ทำให้มีประสบการณ์ตรง ไปรู้ไปเห็นเรื่องการบริหารจัดการด้านสุขภาพในรูปแบบต่าง ๆ เขาถึงเลือกมากระมัง ที่จริงน่าจะมีสวัสดิการให้กรรมการขี้โรคบ้างเน๊าะ จะได้ประหยัดค่าทำนุบำรุงสุขภาพ จะได้มีกำลังวังชาทำงานเพื่อปวงประชาไปนาน ๆ..
: ประชุมกรรมการครั้งที่1/2552
ในวันที่16 กันยายน 2552
ณ อาคารรวมหน่วยราชการ สำนักฯหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ
เอาละสิ ห้องประชุมฯขยับมาหาห้อง 814 แล้ว
แต่ก่อนจะถึงรายการข้างบน
ผมมีนัดที่เมืองสองแควของคณะวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร
อาจารย์ภูคาชวนไปคุยกับนิสิตจิตอาสา วันที่27 เดือนนี้
ยังมึน ๆ อยู่ เพราะจิตเมื่อยล้าอ่อนระโหยโรยแรงเหลือเกิน
ใครมียาบำรุงจิตขอสัก 2จอก ได้ไหมครับ
อย่าแนะนำว่าให้กอดนะ
ทำแล้ว..ไม่หาย คิ คิ
« « Prev : ไผเป็นไผภาคพิสดารตอนสุดท้าย
Next : วิธีเรียนฉบับเฮฮาศาสตร์ » »
6 ความคิดเห็น
โธ่ กิ้งกือยังตกท่อ นะป๋า
จอกหนึ่ง คือรื่นเริงบันเทิงใจ
จอกต่อไป ก็ตัวใครตัวท่าน จะทำฉันใด ก็ไม่พ้นใจสั่งการ
….
คิดไม่ออกแนะนำก็ได้
1. จิบน้ำสมุนไพร(น้ำทิพย์ฯ) กับกล้วยน้ำหว้า (จากแปลงสาวสาวสาว)
2. นั่งคิดถึงกิ๊ก ถึงกั๊ก ถึงก๊ก หรือใครก็ได้ ที่น่าคิดถึง (แต่อย่าคิดถึงคนหลายใจ..เดี๋ยวจะช้ำใจเพิ่ม)
3. นอนมองฟ้า มองฝน มองนกยูง มองสารพัดนก มองต้นไม้ เขียว ๆ มอง ๆ ๆ แล้วก็งีบหลับ ตื่นมานั่งเขียนบล๊อก ก็บันเทิงใจแล้ว
4. นั่งเครื่องบินมาลงกรุงเทพ นั่งเครื่องต่อมาลงเชียงใหม่ จะรับไปเดินชมเมืองเชียงใหม่กับคนหลายใจ แล้วส่งกลับ ก๊ากส์ ๆ ๆ ๆ ๆ
5. …… รออุ๊ยมาต่อ
6. รอหมอป่วนมาต่อ
7. รอครูพี่อึ่งมาต่อ
8. รอญาติสายใต้มาต่อ
9. ……ต่อ ติด …….
คริคริ
อื๊มส์ น่าคิดพิจารณา
แต่เวลา น้อยนักจะแบ่งปันให้ลงตัวย่างไร
ส่งน้ำใจไปก่อนหนึ่งจอกค่ะ..อิอิ
ครูบาอยู่ท่ามกลางแพทย์และพยาบาล ระดับหัวๆ …ระวังอย่าไปป่วยนะคะ….อิอิ….จะถูกตรวจทุกช่องทวาร….55555
หูย..ตั้งยี่สิบเก้าคน..มันจะกี่ทวารกันเนี่ย..อุ้ย..
เตรียมยาบำรุงจิตไว้หลายไห..แต่ต้องขอให้มารับเองค่ะพ่อครูฯ..อิอิอิ
น่าจะมีสวัสดิการให้กรรมการขี้โรคบ้างเน๊าะ …..เห็นชอบมอบรองฯ….อิอิ