ของหาย ช่วยผมที

อ่าน: 2372

ผมมีการบ้านในวันที่ 15 ดังที่โพนทะนาแล้ว

หัวข้อ:

1 สถานการณ์ชนบทไทยวันนี้เป็นอย่างไร?

2 ชนบทไทยเปลี่ยนแปลงอย่างไร

3 นโยบายสาธารณะที่จะรองรับความเปลี่ยนแปลง

ของชนบทไทยในอนาคตจะเป็นอย่าง?

(ทายาทแซ่เฮรุ่นจิ๋วลูกหลานครูบา)

ผมได้รับการบริจาคความรู้ความคิดจากพันธมิตรชาวเฮอย่างดียิ่ง ท่านบางทรายร่ายลีลาคว้าความหลังเมื่อครั้งบุกป่าดงดอยที่ภาคเหนือ มาสะท้อนให้เห็นต้นทางของการพัฒนาได้อย่างสนุกและน่าสนใจในรายละเอียดตามแบบฉบับของคนสะกดรอยความรู้ชุมชน ส่วนคนหัวโตถนัดในเรื่องสากลและเรื่องในกรุงฯ ไปสอยเอาความรู้ทั่วโลกมาต่อแต้มความเห็น บอกว่า

คนไทย ถางแหลก

เปลี่ยนป่าดงพญาเย็นให้เป็นดงพญาร้อน

เปลี่ยนภูเขาเขียวให้เป็นเขาหัวโล้น

ปลูกพืชล้มลุกวิถีชีวิตจึงพลอยล้มลุกไปด้วย

ทำไปทำมาตอนนี้ทำท่าจะลุกไม่ขึ้น..อบ

ต้องมาปรับฐานความคิดความรู้กันยกใหญ่

..วันนี้จะมีการอบรมเกษตรกรกลุ่มสมัชชาคนจน

..นี่ก็จนกันจนเป็นปึกแผ่นเป็นองค์กรที่ประกาศตรงๆว่า

..จนนะว๊อย!

ผมก็จะมาดูว่าจะบริหารความจนอย่างไร ย้อนไปดูแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 7-10 ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา แผนว่าอย่างไร ผลลัพธ์เป็นอย่างไร แล้วแผน 11 กำหนดประเด็นอะไร ในสภาพที่การเมืองห่วยแตกเช่นนี้

(แผน 7) การกระจายรายได้

(แผน 8) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์

(แผน 9) เศรษฐกิจพอเพียง

(แผน 10) สังคมอยู่เย็นเป็นสุข

พิเคราะห์โดยรวมเรื่องกระจายรายได้ไม่สำเร็จ น่าจะเปลี่ยนมาเป็นลดรายจ่าย ส่วนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถ้าไปดูที่ระบบการศึกษาจะเห็นว่าอิหลักอิเหลื่อเต็มที รัฐบาลภูมิใจเอาไปประชาสัมพันธ์เรื่องเรียนฟรี 15 ปี แต่ดูรายจ่ายเพื่อการศึกษาแล้ว คนไทยเสียเวลาเสียเงิน 2 ต่อ จากการเรียนธรรมดาควบการเรียนพิเศษ กวดวิชากันจนหัวสั่นหัวคลอน แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาก็สาละวันเตี้ยลง  มาต่อด้วยเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มาเจอกระแสซื้อแหลกแจกสะบัด ซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า ไข่ไก่ยังพึ่งตัวเองไม่ได้เลย บริโภคนิยมนำหน้า เศรษฐศาสตร์ก็พลอยสาดเสียเทเสีย เป็นหนี้กันจนหน้ามืด แถมยังตกงานอีกต่างหาก มาจอดตรงป้ายสังคมเป็นสุข มันจึงสุกๆดิบๆทั่วหน้า เรากำลังเขียนแผนพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่11 จะได้ใช้แผนหรือเปล่าก็ไม่รู้ ..บ้านเมืองระส่ำระสาย ชูป้ายตีมือตีตีนต่อต้านตอแยกันไปทุกเรื่องทุกกรณี ใครจะทำอะไรไอ้หน้าแหลมออกมาค้านแหลก ผมนะสงสารประเทศไทยเต็มที ที่มีบรรยากาศขี้หดตดหายกันทั้งแผ่นดิน

ที่พูดนี่

ผมก็..ตดหายไปกับเข้าด้วยนะครับ

ใครช่วยไปตามตดผมกลับมาให้คืนที อิอิอิ..

« « Prev : H1N1 เจ้าเอย จะหลบไปที่ไหนดี

Next : ขออนุญาตประชุมผ่านลานปัญญา » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

19 ความคิดเห็น

  • #1 sompornp ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 10:38

    พ่อคะ
    ทุกวันนี้เราเห็นแต่ข่าวในภาพลบเยอะมาก
    เอาง่าย ๆ ที่เห็นประจำคือหน้าหนังสือพิมพ์
    ข่าวที่เห็นจะเป็นข่าวในด้านลบ
    ข่าวที่สร้างสรร (ค่อนข้างจะน้อย)
    ฯลฯ
    ….
    เรามาช่วยกันสร้าง “สังคมแห่งคนดี” ด้วยการยกย่องชื่นชมดีไหมคะ
    ปรับกระบวนทัศน์การระดมจากปัญหา 
    เป็นการต่อเติมปัญญาด้วยการเรียนรู้จากสิ่งที่ดีงาม
    ชูประเด็น ยกย่องชื่นชมคนดีในด้านต่าง ๆ
    ชูประเด็น ยกย่องกลุ่ม เครือข่าย องค์กร ที่เป็นแบบอย่าง
    ฯลฯ
    เอาแต่เรื่องดีดีมาเล่า เอาด้านบวก (เหยียบย่ำ ขยี้) ชูโรง
    อย่างน้อย น้าก็เชื่อว่า การที่เราเห็นคนดี เห็นกลุ่ม เครือข่าย องค์กร ฯลฯ ดี ๆ ทุกวัน ๆ ๆ ๆ
    คนเรามันน่าจะเปลี่ยนบ้างกระมัง(เพราะทุกวันนี้เห็นในทีวี มีแต่เรื่องไม่ค่อยจะดี…..จริง ๆ นะ จะบอกให้)
    อิอิอิ

  • #2 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 11:26

    ถอนหายใจยาวมาหลายครั้ง เพราะยังไม่มีคำตอบดังใจที่จะตอบพ่อได้ใน 3 คำถามหลัก

    1. สถานการณ์ชนบทไทยวันนี้เป็นอย่างไร ในสายตาตัวเองมองว่าเป็นสังคมคนชราค่ะ
    วัยที่หายไปจากหมู่บ้านคือ 15 - 34 ปี (ดูจากอายุของผู้เข้ารับบริการตามสถานีอนามัยต่างๆเทียบกับฐานประชากรในหู่บ้าน)  เป็นวัยเรียนในระดับสูงขึ้นและวัยทำงาน ทำให้คนที่เหลืออยู่คือคนสูงอายุและเด็ก ที่พยุงภาคการเกษตรไว้ไม่ไหวมั้งคะ?  ที่ดินถูกเปลี่ยนมือตั้งแต่การจำนอง การขาย เพราะต้องการเงินทุนไปทำงานในเมืองหรือเรียนต่อในระดับสูงขึ้น
    น่าสนใจในเรื่องการรักษาพยาบาล เพราะปรากฎการณ์ในยโสธร พบว่าคนไข้จะไปรักษาที่รพ.เอกชนซึ่งมีราคาไม่แพงมากนัก จนเงินหมดจึงจะเข้ารับการรักษากับรพ.รัฐ  เงินที่เข้ารับการรักษามาจากการจำนอง การกู้ยืม นี่คงเป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจค่ะ เกี่ยวกับสวัสดิการในอนาคตของคนชนบท จะเห็นว่าเรามีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ค่อนข้างเยอะ ถ้าสามารถขยายให้ครอบคลุมสวัสดิการพื้นฐานของสมาชิกได้คงจะดีค่ะพ่อ หรือลงทุนเป็นธนาคารที่ดิน ธนาคารต้นไม้ก็ไม่เลว เพื่อนำเงินออมมาจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อซื้อที่ดินให้สมาชิกบนเงื่อนไขที่รัดกุม หรือสนับสนุนการปลูกไม้ยืนต้นเพื่อเคลมเงินเครดิตคาร์บอนจากป่าชุมชน

    2.  ชนบทไทยเปลี่ยนแปลงอย่างไร  อันนี้ตอบยากเพราะไม่มีโอกาสรู้ว่าก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร แต่คาดต่จากการเคลื่อนย้ายแรงงานที่เกิดช่องว่างและเข้าสู่สังคมคนชราก็คือ การขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง คงหันไปใช้แรงงานจากต่างด้าว (วึ่งน่าจะเกิดปัญหาความมั่นคงตามมา) มีการใช้เครื่องจักรกลและเทคโนโลยี่แทนแรงงาน(การกลับไปใช้ความจึงน่าจะเป็นไฟไหม้ฟาง ในช่วงที่น้ำมันแพงและไม่มีเงินจากลูกหลานที่ไปทำงานในเมืองส่งมาช่วยเหลือเจือจาน)

    แต่การใช้เครื่องทุ่นแรง เครื่องจักรกลต่างๆน่าเป็นโอกาสในการพัฒนาได้ค่ะ คือเป็นการวางฐานการผลิตในระยะยาวและการขยายกำลังการผลิตในรูปของกลุ่มเกษตรกร ที่มีการวางแผนเป็นระบบ และยกระดับรูปแบบการผลิตอย่างเป็นรูปธรรม แต่ต้องมีการวางแผนอย่างดี ทั้งพลังงานทดแทนและการใช้เทคโนโลยี่ที่สอดคล้อง

    รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของชนบทจากที่เคยเป็นฐานของการผลิต แต่เกษตรกรมีอายุมากขึ้น ไม่สามารถผลิตเพื่อรองรับได้อย่างเต็มที่ ทำให้ชนบทน่าจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้ผลิตกลายเป็นผู้บริโภคเหมือนกันค่ะพ่อ โดยอาศัยเงินจากลูกหลานที่ส่งมาเลี้ยง

    การผลิตจึงมีแนวโน้มเปลี่ยนมือมาสู่คนรุ่นใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป (เริ่มเบื่องานประจำ) ที่พอมีที่ มีเงินเก็บ และยังมีแรงที่จะผจญกับความไม่แน่นอนต่างๆ รวมทั้งมีพลังที่จะค้นหาความรู้ กลายเป็นการเกษตรแบบมืออาชีพ ในการเปลี่ยนแปลงก็ยังมองได้ว่ามีโอกาสที่เราจะวางรากฐานทั้งการแบ่งโซนการผลิต การจัดเก็บ การกระจายสินค้าอย่างครบวงจร รวมทั้งการเจรจาการค้ากับประเทศอื่นๆ ในส่วนที่เราละเลยไป แต่มีข้อควรตระหนักว่าการเกษตรแบบมืออาชีพที่ว่านี้แม้จะส่งผลให้รายได้เฉลี่ยของอาชีพนี้สูงขึ้นแต่การจับจ่ายใช้สอยคงจะไม่ใช่ซื้อหาของในหมู่บ้าน เพราะชีวิตเขาเหล่านี้น่าจะผูกพันกับเมืองมากกว่า และการเข้าออกหมู่บ้านจะกระทำได้ง่ายเพราะมีรถส่วนตัว อิอิอิ

    เดาว่าในอนาคตชนบทไทยน่าจะมีประชากรน้อยลงค่ะ และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมบริโภคมากขึ้นเนื่องจากวัยชราเริ่มหมดเรี่ยวแรง แต่การเกษตรคงเปลี่ยนมือไปอยู่ในฐานของคนชั้นกลาง ที่ยกระดับอาชีพ รายได้ของเกษตรมืออาชีพให้สูงขึ้น แต่ก็ไม่จับจ่ายใช้สอยในหมู่บ้านเพราะมีรถส่วนตัวและวิถีชีวิตผูกพันกับเมืองมากกว่า

    3. นโยบายสาธารณะในการรองรับความเปลี่ยนแปลงของชนบทไทยควรเป็นอย่างไร
    1. นโยบายและกฎระเบียบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การเกษตรลดการสร้างมลพิษลง มาตรฐานคุณภาพน้ำ มาตรฐานคุณภาพดิน การรักษาสิ่งแวดล้อม น่าจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นค่ะ

    2. การจัดการเกี่ยวกับขยะ และสิ่งเหลือใช้  น่าจะควบคู่ไปกับนโยบายพลังงานทดแทน เพราะจัดการขยะควรครบวงจรและได้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น อย่างการแยกขยะกลายเป็นปุ๋ยหมัก ส่วนที่รีไซเคิลไม่ได้ก็นำไปเผาที่มีการสันดาปร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยพลังงานความร้อนจากการเผาจะเอาไปทำอะไรได้บ้างก็ลองออกแบบดูค่ะ ไปต้มน้ำร้อนส่งไปตามหมู่บ้าน หรือว่านำพลังงานไอน้ำที่ได้จากการต้มไปขับเคลื่อนเครื่องสีข้าว หรือเครื่องปั่นไฟอะไรแบบนี้น่ะค่ะ

    3. พลังงานหมุนเวียน อันนี้ต่อเนื่องจาก 2

    4. โลกร้อน จะมีความเกี่ยวข้องทั้งดีและไม่ดี เช่นภาวะความร้อนที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้เมล็ดพืชบางชนิดเจริญงอกงามได้ดีขึ้น สัตว์บางอย่างอาจขยายพันธุ์ได้ดีขึ้น อุณหภูมิเฉลี่ยที่ร้อนขึ้น เรามีการศึกษาหรือยังว่าหญ้าหรือสาหร่ายที่ใช้ทำพลังงานชีวมวลนั้นเจริญเติบโตได้ดีขึ้นหรือไม่..เหล่านี้ส่งผลต่อโฉมหน้าการเพาะปลูกไทยแน่ๆค่ะพ่อ ข้าวชนิดไหนที่ทนความร้อน มีผลผลิตสูง เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น ใช้น้ำน้อยลง  ข้าวโพดพันธุ์ไหนที่เจริญเติบโตได้ดีขึ้นเมื่ออากาศร้อน ฯลฯ สิ่งที่อยากชี้ใหห้ดูคือ ภาวะโลกร้อนทำให้ยุโรปปลูกข้าวโพดได้ดีขึ้น และสักวันอาจปลูกข้าวได้ เรามีการวางแผนรองรับเรื่องนี้อย่างไร? เหล่านี้ยังรอการวางแผนอย่างเป็นระบบอยู่นะคะ ^ ^

    5. สุขภาพและสวัสดิการของสัตว์และคน ไข้หวัดหมู ไข้หวัดนกมาให้เราเห็นแล้วค่ะ ควรมีการจัดการฟาร์มและระบบดูแลอย่างชัดเจน ยกระดับขึ้นไปเป็นการผลิตอย่างมีคุณภาพ การคัดเลือกพันธุ์ ผสานลักษณะพิเศษของสัตว์ให้ทนต่อสภาพแวดล้อม ทนความร้อน ฝนที่ตกในฤดูหนาว ฯลฯ 

    6. ใช้เทคโนโลยี่เข้าช่วย อย่างดาวเทียมรายงานการเลี้ยงไก่ในฟาร์มขนาดใหญ่หรือหมู่บ้านที่มีการรวมตัวกันผลิตอาหารแบบอินทรีย์ให้ชาวโลกรู้และติดตามกระบวนการผลิตได้ ถือเป็นการโฆษณาไปในตัวจะดีกว่าตั้งช่องดาวเทียมแล้วถ่าสยทอดความรักชาติเพี้ยนๆอย่างที่ผ่านมามั้ยคะ? ใช้ GPS กำหนดพิกัดการเพาะปลูก ใช้ Remote sensing ช่วยในการควบคุมจรวจจับโรคและแมลง มีการตรวจสอบมลพิษ มีการควบคุมคุณภาพ พัฒนาความสามรถในการตรวจวัด ควบคุมสารพิษ สารตกค้างต่างๆทั้งในเมล็ดพันธุ์ หรือกระบวนการผลิต

    7. การพัฒนาที่ยั่งยืน จากการยกระดับการผลิต จะทำให้เกิดระบบบนิเวศน์ที่ดี ลองใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมและทำเลที่ตั้งของฟาร์มเหมือนยุโรปดีมั้ยคะ  รัฐอุดหนุนช่วยเหลือด้านการเงินโดยแบ่งเป็น 2 อย่างคือส่งเสริมลักษณะพิเศษของภูมิทัศน์ (landscape) และการส่งเสริมการพัฒนาชุมชน

    ในยุโรปจะแบ่งเกษตรกรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ จะใช้ทำธุรกิจการผลิตอาหารราคาถูกและแข่งขันได้ในตลาดระดับสากล ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งจะมีพื้นที่ที่มีสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ที่สำคัญและให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นอันดับแรกค่ะพ่อ ในกลุ่มนี้จะผลิตสินค้าขั้นปฐมภูมิที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่นและเจาะตลาดใหม่ (niche market) …เราเคยแบ่งเกษตรกรออกเป็นแบบนี้มั้ยคะ?

    ทำแผนการขายตรงจากฟาร์มจะช่วยพวกเขาได้ดีขึ้นหรือเปล่า

    8. อาหาร ลองผลิตเนื้อสัตว์ที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ดีมั้ยคะ กินแล้วดลโรคอ้วน ลดเบาหวาน..หรือพืชที่มีสารอาหารหรือลักษณะพิเศษของยารักษาโรค อย่างข้าวที่มีธาตุเหล็กสูง ผลิตให้คนอีสานกินเพื่อลดภาวะการขาดธาตุเหล็ก จะได้ไม่ต้องกินวิตามินเสริมมากมาย

    คิดมาหลายวันก็คิดออกเท่านี้แหละค่ะพ่อ ^ ^

  • #3 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 12:13

    คิดๆๆๆ มุมกลับ นับว่าดี ที่ยุให้ออกมาคิดช่วย ความดีถูกกดทับ โผล่ยาก อึดทน อัดอยูใต้กระแส
    ความสุขเงียบๆ ดีงิมๆ ไม่โฉ่งฉ่างเหมือนไข้หวัด 2009
    มองดูรอบๆตัว ฟังข่าวเรื่องหวัดหมู  รู้สึกหนาว
    ทีวีทำหน้าที่เชิงลบมากกว่า บวก อย่างที่รอกอดว่า
    เลือกดู เลือกฟัง เลือกๆๆๆ สุข และ ทุกข์ นะน้านะ
    จะไปกทม.ก็เสียว เราขี้โรคอยู่ด้วย ทำไงดี

  • #4 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 12:16

    ที่เบิร์ด รายงาน มีสาระมากที่จะปรับไปสู่นโยบายสาธารณะ
    หนักใจตรงกระบวนการรับลูก
    มันอ่อนแออ่อนไหวยังไงไม่รู้นะ
    ทุกเรื่องเหมือนรถยนต์วิ่งไปเต็มสูบ
    ไม่เหมือนรถคันที่ไปยากแตกที่ละปูน
    คันนั้นวิ่งหน้าตั้งเชียวแหละ>>>

  • #5 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 12:19

    แหมมีอีกข้อลืมบอก..
    9. สมุนไพรไทย โดยเน้นการวิเคราะห์ การคัดเลือกสายพันธุ์ การจัดเก็บเพื่อรักษาตัวยาไม่ให้เสื่อมสภาพ การแปรรูปและการเผยแพร่ความรู้
    คราวนี้น่าจะจบหมดกึ๋นจริงๆแล้วค่ะพ่อ

  • #6 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 12:27

    การมุงเน้นสร้างความเจริญทางวัตถุ ปราศจากการไตร่ตรองที่รอบคอบ เป็นการลำลายสังคมชนบทอย่างน่าเสียดายยิ่ง ความเจริญจอมปลอมจากสื่อต่างที่กรพหน่ำแล้วกระหน่ำเล่า จนทำให้สูญเสียความดีงามที่สะสมกันมาอย่างต่อเนื่อง ในวิถีชิวิตสังคมชนบทที่อยู่อย่างมีความสุขสอดคล้องกับธรรมชาติ หลังจากมีการนำแผนพัฒนาฯ มาใช้ ยิ่งสร้างความยากจนเพิ่มขึ้น อะไรที่ควรทำ ไม่ทำ อะไรไม่ควรทำ กลับทำ แถมยังเป็นช่วงทางให้พวก……กอบโกยทั้งอำนาจและเงิน ข้าราชการตกเป็นเครื่องมืออีก แล้วประชาชนคนเดินดินในชนบทจะเหลืออะไรให้ทำได้ นอกจากต้องดิ้นดนเรียนรู้เอง กว่าจะตั้งหลักได้ก็แก่เฒ่าแล้ว ลูกหลายก็กลายไปเป็นชนชั้นสองในเมือง แทนที่กลับมาสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตในแผ่นดินเกิด ด้วยสองมือข้า พ่อแม่ให้มาตอบแทนแผ่นเกิด ข้าสร้างของข้าเองไม่เกรงใจใคร ข้าขอเคารพนพนอบต่อเทวดาฟ้าดิน ที่ประทานน้ำดินให้ ข้าจะใช้มันอย่างมีสติ เพื่อชีวิตที่เพียงพอ

  • #7 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 12:40

    อาม่า  ตีแตกสังคมไทยขณะนี้
    มองไปในอนาคต ก็หนาวๆๆๆ
    อีกนั่นแหละ  ไทยไม่แลนด์ แล้ว
    ทำไงดี

  • #8 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 12:42

    แหมมัน อิอิอิ เรื่องการศึกษาที่มีนโยบายออกมาแล้ว ก็น่าสนใจค่ะ ทำยังไงที่จะให้คนเรียนที่บ้านได้ เรียนรู้ไปตลอดชีวิต ไม่ทิ้งถิ่น ไม่ติดกับระบบการศึกษาเดิมๆ

    ส่วนรถจะวิ่งเต็มสูบหรือไม่อันนี้คงอยู่ที่หลายๆอย่างเนาะคะ คันที่เราใช้ ที่เรานั่ง ที่เราขับ เราทำให้วิ่งเต็มสูบหรือยัง คงเป็นคำถามที่ทุกคนต้องตอบตามหน้าที่ของตน ไม่ใช่คำตอบรวมที่กลางๆและกว้างเหลือเกิน

    ที่สำคัญการผลักดันในระดับนโยบายหรือที่ประชุมๆๆๆกันนั้นสามารถทำให้เป็นการปฏิบัติจริงได้หรือไม่ค่ะพ่อ  …หรือว่าประชุมแล้ว สรุปผลการประชุมแล้ว ส่งให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบแล้ว จบ! ปีหน้ามาประชุมกันใหม่ ^ ^

  • #9 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 12:43

    ข้อที่่ 9 ก็สนใจ
    ที่บอกว่าจะทำวิจัยเรื่อง มะกล่ำ มะรุม เอกมหาชัย น้ำเต้า เลือกทำเฉพาะที่อร่อยๆ อิอิ
    คิดได้ เต็มมาอีกนะ สาวน้อย

  • #10 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 12:48

    ครูปูบอกว่า  สังคมไทยต้องใส่หน้ากากหากัน
    ไม่อย่างนั้นโดนหวัดกินทั้งประเทศ

  • #11 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 15:31

    อาม่า  ตีแตกสังคมไทยขณะนี้
    มองไปในอนาคต ก็หนาวๆๆๆ
    อีกนั่นแหละ  ไทยไม่แลนด์ แล้ว
    ทำไงดี
    ก็แค่หยุดให้เป็นเสียก่อน หยุดทำร้ายสังคสชนบทเสียก่อน แล้วหันมาดำเนินการดังนี้
    ๑. ทุกโครงการที่ลงไปสู่ชนบท จากทุกหน่วยงาน ให้กลับไปถามพื้นที่นั้นๆ ว่าเขาต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐด้านไหนบ้างเช่น
    แหล่งน้ำ
    -  มีน้ำเพียงพอ ต่อการการดำรงค์ชีพของชาวบ้าน ในชนบทห่างไกลหรือไม่
    -  มีน้ำเพียงพอ ต่อทำการเกษตรได้หรือไม่
    แก้ไขปรับปรุงแหล่งน้ำ้ เสียก่อน รับฟังทุกข์ของชาวบ้านที่มีเกิดจากความขาดแคลนน้ำ ร่วมกันหาวิธีการ แก้ไข และบริหารจัดการน้ำ อย่างที่ควรจะเป็น ที่เหมาะสมต่อสภาพภูมิประเทศ ในแต่ละแห่ง
    -  มีแหล่งน้ำ ในพื้นที่หรือไม่ ถ้าไม่มี จัดการเสียให้สอดคล้องกับความต้องการอย่างเป็นธรรม และสามารถกักเก็บน้ำให้เพียงพอตลอดทั้งปี รวมทั้งการบำรุงรักษาร่วมกับชาวบ้านให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตลอด
    -  ถ้ามีแหล่งตามธรรมชาติ ให้ดูว่าที่มีน้ำตลอดทั้งปีหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอก็จัดการให้เพียงพอ ถ้าตาไม่บอด ใจไม่บอด ย่อมรู้ว่าแก้ไขอย่างไร ความรู้แค่ป.๔ ก็แก้ไขได้แล้ว
    เส้นทางคมนาคม มีพอเพียงหรือไม่ ต่อการเดินทางติดต่อภายในหมู่บ้าน จากหมู่บ้านสู่บริการสาธารณสุข สู่บริการการศึกษา ต่อการขนส่งผลิตัณฑ์จากต้นทางสู่ แหล่งกระจายผลผลิต หรือแหล่งซื้อขาย และอยู่ในสภาพใช้งานได้ตลอดทั้งปี
    - ถ้าไม่มีจัดการเสีย จัดการให้เหมาะสมแต่ละพื้นที่ ชาวบ้านรู้ดีว่าเขาต้องการอะไร ถามเสียให้รู้ให้เข้าใจ
    แค่ทำสองเรื่องนี้ได้ ชาวบ้านก็มีกำลังใจที่ จะใช้ชีวิตเป็นกระดูกสันหลังให้กับประเทศแล้วค่ะ

  • #12 อัยการชาวเกาะ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 16:34

    เขาว่ากันว่าทำโครงการต่างๆต้อง bottom up ให้ชาวบ้านเสนอความต้องการขึ้นมา ตามลำดับไปจนถึงรัฐบาลแล้วจะจัดสรรงบประมาณลงมาให้ กี่ปีกี่ชาติก็เหมือนเดิมทำในสิ่งที่ชาวบ้านเขาไม่อยากได้ ตุ่มเก็บน้ำงี้ ทำถนนงี้ ปลูกผักในล้อรถงี้ ไม่รู้กว่าโครงการขึ้นไปถึงส่วนกลางมันเป็นยังไง บางทีถ้าลองไปถามชาวบ้าน ชาวบ้านก็จะบอกว่า เขาให้เขียนโครงการฉันเขียนไม่เป็น ก็เลยบอกปลัดฯช่วยเขียนให้ เขียนไปเขียนมาก็ได้มาเป็นแบบนี้แหละ อิอิ
    ความเปลี่ยนแปลงของชนบทเป็นอย่างไรไม่ค่อยรู้เพราะอยู่ในเขตเมืองแต่ที่แน่ๆ เส้นทางจากภูเก็ตถึงโคกกลอย สมัยก่อนเห็นทุ่งนาเดี๋ยวนี้ไม่เห็นเลย มีแต่ตึกขึ้นกันยุ่บยั่บ ที่ตะกั่วป่าเคยไปขวางทางปืนนายทุนไปกว้านซื้อที่เอาเปรียบชาวบ้าน ไม่ยอมจ่ายค่าที่แต่จะสร้างบ้านให้แต่ให้ชาวบ้านโอนที่ดินก่อน ผมไปแนะนำชาวบ้านเอาเงินมาได้ ถูกด่าเละหาว่าไปทำลายความเจริญของที่นั่น แถมเขาเข้าไปหาผู้ใหญ่ในแวดวงกระบวนการยุติธรรมที่ใครๆเขาเคารพนับถือ ถอดสร้อยจากคอพร้อมพระมอบให้ด้วย ผมก็เลยถูกด่าเละ ผมพูดให้คนตะกั่วป่าบางคนฟังว่า คอยดูนะ อนาคตข้างหน้าที่แถวนี้น้ำจะท่วมเพราะนายทุนมาซื้อที่ดินทำบ้านจัดสรรไปถมที่ลุ่มรับน้ำ ผมต่อต้านเพื่อผลประโยชน์ของตะกั่วป่า ไม่เชื่อผมไม่เป็นไรคอยดูวันข้างหน้าก็แล้วกัน

    เมื่อวานนี้เห็นผลแล้วครับ บ้านพี่สาวคุณแอ๊ดท่วมสามเมตร เอาเหอะ ตรงนั้นท่วมทุกปี ปีนี้ท่วมมากหน่อย แต่บ้านพี่สาวคุณแอ๊ดอีกคนหนึ่งซึ่งไม่เคยท่วม อยู่ไม่ไกลจากที่นายทุนถมที่ทำบ้านจัดสรร ท่วมถึงคอ รถจมน้ำ เครื่องไฟฟ้าพินาศสันตะโรเพราะอยู่คนเดียวขนไม่ทัน เพิ่งได้ออกมาเมื่อเช้า ทางการเอาข้าวไปแจกก็ออกมารับไม่ได้ไม่รู้จะออกมาอย่างไร ทำไมไม่เอาไปส่งให้ถึงที่  แล้วชาวบ้านจะอยู่อย่างไรละทีนี้….

    ความเจริญทางวัตถุทำลายธรรมชาติของชนบทอย่างน่าสงสาร

  • #13 สิทธิรักษ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 18:06

    สรวมหน้ากากไปด้วยนะครับ เวลาเดินทาง เป็นห่วงครับ

  • #14 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 18:27

    แหม อัยการเล่าจนแฉะไปทั้งหนเาจอคอมเลย อ่านไปเรียกหาผ้าเช็ดตัวเช็ดใจไปด้วย
    เราคนฟังสนุก  แต่คนที่จมน้ำรู้ซึ้งแสนสาหัส อิอิ ไม่ออก งานนี้

  • #15 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 18:28

    หน้ากากไม่มี มีแต่หมวกกันน็อค  อิอิ

  • #16 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 18:29

    โรคหูทวนลมระบาดมานานแล้ว อาม่าเอ๊ย

  • #17 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 19:19

    ไปกทม.ด้วยรถทัวร์ได้
    ขอที่นั่งหลังสุดของรถถ้าทำได้
    ใส่หน้ากากอนามัยระหว่างนั่ง-นอนอยู่ในรถ 
    ไม่ได้ล้างมือก็อย่าเผลอขยี้ตา หยิบจับอะไรใส่ปาก 
    กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง ดื่มน้ำให้เยอะกว่าเดิมหน่อย

  • #18 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 19:36

    สังคมไทย เป็นแบบ “ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่  พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา”  เริ่มสวย ยิ่งพูดก็ยิ่งสวย ฟ้อนรำงดงามไม่มีที่ติ พอโครงการเดินเท่านั้นแหละ ความบัดซบต่างๆก็หลุดรอดออกมาจนฟังไม่ไหว.. เอาเถอะ เราก็ทำกันต่อไป..

  • #19 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 21:26

    ขี้หดตดหายก็ไม่เป็นไร?  แต่ถ้าไปกับผา…..หดกับสามสาว  คงยุ่งแน่ๆเลยนะครับ  ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.15999293327332 sec
Sidebar: 0.047348022460938 sec