การพึ่งพิงป่าของพี่น้องหงสา
นั่งปั่นรายงานเรื่องนี้อยู่ครับ พาสาลาวเสียด้วยแต่เอาขึ้นโชว์ไม่เป็น
กลุ่มบ้านที่1 |
กลุ่มที่2 |
กลุ่มที่ 3 |
|||
ประเภทการใช้สอย | % | ประเภทการใช้สอย | % | ประเภทการใช้สอย | % |
1. อาหารจากพืชป่า | 87 | 1. อาหารจากพืชป่า | 72 | 1. ฟืน | 99 |
2. ไม้ไผ่ | 83 | 2. ฟืน | 71 | 2. ไม้ไผ่ | 94 |
3. ฟืน | 75 | 3. ไม้ไผ่ | 68 | 3. อาหารจากพืชป่า | 94 |
4. หาของป่ามาขาย | 47 | 4. อาหารจากสัตว์ป่า | 17 | 4. หาของป่ามาขาย | 60 |
5. ไม้สำหรับก่อสร้าง | 42 | 5. สมุนไพร | 15 | 5. อาหารจากสัตว์ป่า | 23 |
เปอร์เซนต์ หมายถึง ร้อยละของครอบครัวทั้งหมดที่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์จากป่า
ประเด็นที่อยากอวดก็คือว่า พี่น้องชาวหงสามีการพึ่งพิงป่าสูงมากๆ ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ไม้ใช้สอย ฟืน หาเก็บของป่ามาขาย หรือแม้กระทั่งสมุนไพร นึกไม่ออกจริงๆว่าหากขาดป่าแล้วพี่น้องจะอยู่กันได้อย่างไร
หากจะต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ที่อยู่ที่กินของพี่น้องบรรดาท่านเหล่านี้แล้ว ไม่เพียงแต่จัดสรรที่ทำกิน หาพืชมาให้ปลูก หางานให้ทำเพียงเท่านั้น
ต้องหาป่ามาคืนให้พี่น้องด้วย ดีที่คิดเรื่องนี้ไว้เมือสองปีก่อน ทำให้พอขอตังค์เขาเอาไว้ได้บ้าง ตอนนั้นมีแต่คนหัวร่อว่า จานย์ผีบ้านี้เอาหยังใส่ในดำรัสให้รุ่มร่ามทำไม
อย่าลืมเด้อ จานเปลี่ยน
« « Prev : บุรีรัมย์โมเดล ทางออกของภาวะ ข้าวขาดแลง แกงขาดหม้อ
4 ความคิดเห็น
เค้าเอาไม้ไผ่ไปเฮ็ดหยังอ้าย น่าสนใจว่าเค้ายังใช้ฟืนกันอยู่เลยเนาะ และมีกลุ่มหนึ่งที่ใช้สมุนไพร อืมน่าคิดแฮะ
ชอบใจที่อ้ายคิดรอบคอบอ่ะค่ะ เป็นแนวทางที่เริ่ดมั่ก ว่าแต่อ้ายจะหาป่ามาอยู่ในบริเวณที่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเขาได้จั๋งได
ตอนที่ร่วมกันยกร่างมติข้อตกลงให้พณ ท่านลงนาม พอถึงมาตราที่แปด “สิทธิของประชาชนในการได้รับการฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ”นั้น มีแต่คนยิ้มๆแล้วก็ปล่อยผ่าน พอมีคนสงสัยท่านก็โบ้ยมาว่าจานเปลี่ยนใส่ไว้ ก็เลยผ่านในที่สุด
วิธีการที่คิดไว้และเริ่มทำแล้ว ถอดบทเรียนมาจากงานที่ดงหลวงครับ
๑ ยกป่ามาไว้สวน หรือทำวนเกษตร ตอนนี้ชวนชาวบ้านปลูกผักหวานป่า กับหวายตัดหน่อได้หลายราย
๒ กันพื้นที่ป่าไว้แล้วปล่อยให้ฟื้นตัว พร้อมปลูกพืชอาหาร
๓ สงวนวังปลา ปล่อยลูกปลาเพิ่ม
๔ สร้างฝายชะลอน้ำยอดห้วย รักษาความชื้นพร้อมเป็นแหล่งขยายพันธุ์อึ่งอ่าง เขียดภูเขา
๕ ป้องกันไฟป่า
๖ จัดโซนทำเลเลี้ยงวัวควาย
๗ ผลักดันให้มีป่าพิธีกรรม ตอนนี้มีป่าช้าที่กว้างมากต้องรักษาไว้ เพื่อเป็นแหล่งเมล็ดพันธุ์ พร้อมทั้งแหล่งขยายพันธุ์ของสัตว์ป่า
๘ อื่นๆ เช่นสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการปกป้องป่า
๙ อันนี้เพิ่งนึกออก แต่ต้องขัดกับทางเมืองแน่ อันนั้นก็คือ การห้ามบริษัทยักษ์ใหญ่ที่รับซื้อข้าวโพด กับมันสำปะหลังผ่านด่านเข้าหงสา ไม่งั้น “มัน(ฯ)มา…ป่าหมด” ครับผม
โชคดีที่หงสา ยังพอมีป่าไม้เหลือไว้ให้รักษ์ครับ
๒ กันพื้นที่ป่าไว้แล้วปล่อยให้ฟื้นตัว พร้อมปลูกพืชอาหาร
ที่ออสเตรเลีย ส่วนที่เป็นทะเลทราย เขาศึกษาที่ชายขอบหนึ่ง ว่าเดิมมีป่าไม้ การขยายตัวของทะเลทรายและการทำลายต้นไม้โดยคนและสัตว์ป่า เขาจึงเอาลวดหนามมากั้นหนาแน่นเลย ห้ามใครเข้าออก ปล่อนเป็นธรรมชาติ 3 ปี ป่าค่อยๆฟื้นตัว….คืนสู่สภาพเดิมๆ
การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของป่าโดยการ ทำสี่เหลี่ยมไปครอบพื้นที่ป่าแล้วนับชนิดต้นไม้ ทุกชนิด สัตว์ทั้งหมด ถ่ายรูป ทำหมายไว้ แล้วเอาข้อมูลนั้นๆมาวิเคราะห์ จำแนก บันทึก ฯลฯ นั่นคือความหลากหลายทางชีวภาพในปัจจุบัน
เอาผู้เฒ่าผู้แก่มาล่าให้ฟังถึงรายละเอียดที่เราบันทึกไว้ว่าปัจจุบันเป็นเช่่นี้ แต่ก่อนเป็นแบบไหน บันทึก แล้วปรึกษาว่าเราต้องการอะไรให้คงอยู่ อะไรบ้างที่เราควรฟื้นฟู อะไรบ้างที่เราจะเอาเข้ามาใหม่ ตั้งกฏกติกา แล้วตั้งคณะกรรมการดูแล และประเมินทุกๆระยะ ดูการเปลี่ยนแปลง บันทึกทุกๆเดือน เอานักวิชาการมาร่วมเพื่อวิเคราะห์และเสนอแนะการฟื้นฟูป่า…
เห็นด้วยว่า เราไม่สามารถดำรงป่าไว้ให้สมบูรณ์ดังเดิม และควสรจะยกป่ามาไว้ในสวน อันนี้ทำให้มากๆ เพราะมันจะกลายเป็นป่าส่วนตัว ป่าครอบครัวที่การดูแลมีมากกว่าเพราะมีกรรมสิทธิ์ เอาตัวอย่างพ่อแสนนั่นแหละ หากยังต้องการพึ่งพิงป่า นั้น รักษาป่าธรรมชาติ และสร้างป่าครอบครัวไปพร้อมๆกันด้วย
เห็นด้วยกับข้อ 9
ตัวทำลายป่าคือไฟอีกอย่างหนึ่งนะ
พิธีกรรมช่วยได้มาก
อีกอย่างที่น่าจะเพิ่มจากข้อมูลที่เปลี่ยนระบุนั้นคือ mapping ของทรัพยากรเหล่านั้นกับช่วงเวลาที่เขาไปเอา ไปกันกี่คน อายุกลุ่มไหนที่ไป สตรีไปไหม การเข้าป่ามีพิธีกรรมอะไรบ้าง
เท่าที่สังเกตุที่ดงหลวงนั้นมีคนที่ยึดเป็นอาชีพ พราน และทั่วไป
การเข้าป่าเป็นวิถี เหมือนหนุ่มๆดงหลวงหรือเปล่า ไม่มีอะไรก็เข้าป่า ไปนอนค้างคืนสองคืน แม้ไม่ได้อะไรก็ไป
วัฒนธรรมการบริโภค อันนี้ชัดเจนนะว่า นิยมกินของป่า..
พาผู้นำมานอนคุยกับพ่อแสนและสมาชิกเครือข่ายไทบรูซะ..