บริบท บ้านนอก ความเป็นตัวตนของตนเอง

9185 ความคิดเห็น โดย pa_daeng เมื่อ 10 มกราคม 2011 เวลา 23:22 ในหมวดหมู่ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต #
อ่าน: 117784

ความเป็นอิสาน

หลายวันก่อน….คุยกับน้องคนหนึ่ง ถึงความเป็นคนบ้่านนอกอยู่ห่างไกลเมืองหลวง แต่พยายามที่จะทำตัวเป็นคนเมือง น้องบอกว่า “ทำไม เราไม่ใช้ ความเป็นบ้านนอกของเรา ให้เกิดประโยชน์”

หลายคนที่เป็นอิสาน แต่พูดภาษากลาง แล้วบอกว่า พูดลาวไม่ได้ พูดอิสานไม่เป็น คิดว่าไม่มีทางเป็นได้่ อยู่ที่บ้านไม่พูดไปโรงเรียนเพื่อนๆก็พูด  อย่างน้อย สำเนียงก็ไม่ได้บอกว่า เป็นคนภาคกลางอยู่ดี

เมื่อวานไปกินข้าวกับหลานชาย ที่พาแฟนมาเยี่ยม ตอนนี้หลานชายกับแฟน พูดอิสานกัน ก็แปลกใจ ถามว่า” บ่เว้าไทยแล้วบ้อ”  หลานชายตอบว่า บางเวลาก็อยากเป็นตัวตนของตัวเอง เวลาพูดกลางต้อง “แอ๊บมาก” หมายถึงต้องฟั้นสำเนียงให้เหมือนชาวกรุงเทพฯ ซึ่งฟังดูแล้วไม่เป็นธรรมชาติ

น่านนะสินะ เคยคุยกับน้อง ที่ชอบทำแอ๊บแบ๊ว ว่า” เรียกแท๊กซี่ ไม่ต้องบอกว่า ไปไหน แท๊กซี่ก็หันหน้ารถไป หมอชิต” ซึ่งอยากบอกน้องว่า เราไม่สามารถหนีจากความเป็นเราได้หรอก

“เมื่อก่อนอายมาก เวลาเข้ากรุงเทพ ที่ต้องพูดอิสาน” แต่….แม้จะพูดกลาง สำเนียง ก็บอกอยู่ดี ว่าไม่ใช่  ตอนนี้ไปมุมไหนของกรุงเทพ ก็เจอแต่คนอิืสาน และไม่ต้องแอ๊บเสียงพูดให้เป็นคนกรุงเทพแล้ว “เว้า….อิสานก้ันโลด”

ดารา นักร้อง นางงาม ที่ไปจากอิสาน หากไม่ใช่ลูกทุ่ง ก็มักไม่อยากบอกว่า เป็นอิสาน เพราะจะบ่งบอกถึงความเป็นบ้านนอก

ยุคสมัยนี้ เริ่มเปลี่ยนไปแล้ว น้องณเดชน์ ดาราวัยรุ่น ที่ชอบนำเสนอด้วยการพูด อิสาน ก็ได้รับความชื่นชม เป็นอย่างมาก ว่าไม่ลืมตัว ไม่ลืมถิ่นฐานบ้านเกิด……….นี่ก็เพราะ ความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งสังคมก็ยอมรับ  สังเกตุว่า นักข่าวหลายคนที่สัมภาษณ์ดาราคนอิสานก็มักจะชักชวนให้พูดอิสาน แต่….อิสานบางจังหวัด ก็มีภาษาที่แตกต่างออกไป อย่าง โคราช บุรีรัมย์ สุรินทร์

เราจึงควรหันมา ใช้บริบทของตนเองให้เกิดประโยชน์ สังคมคนทั่วไปก็น่าจะชื่นชมยินดี และยังช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกัีนไปด้วย เพราะเราต่างมีวัฒนธรรม ประเพณีที่น่าชื่นชม เป็นเอกลักษณ์ เป็๋นตัวตนของตนเอง น่าจะสบายตัวและพัฒนาอะไรได้เยอะแยะมากขึ้น



Main: 0.26994299888611 sec
Sidebar: 0.011199951171875 sec