ออกเสียงภาษาไทยให้ชัดเจน

8443 ความคิดเห็น โดย pa_daeng เมื่อ 11 มกราคม 2011 เวลา 20:57 ในหมวดหมู่ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต #
อ่าน: 35244

ปอ ทฤษฎี พิธีกรหลายวันก่อน นั่งฟังท่านนายกอภิสิทธิ์ แจงรายละเอียดของขวัญ 9 ชิ้นที่จะเสนอให้ ครม. พิจารณา ในรายการเชื่อมั่นประเืทศไทย นั่งฟังแบบเพลินๆไม่ได้สนใจสักเท่าไรว่าจะได้รับของขวัญอะไร เพราะอะไรก็ได้ขอให้ได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

สิ่งที่ชื่นชอบชื่นชมท่านนายกอภิสิทธิ์ ก็ คือการออกเสียงภาษาไทย ท่านพูดเพราะมาก จังหวะดี นุ่มนวล ที่สำคัญคือ การออกเสียงร.เรือ ล.ลิืง ควบกล้ำได้ดีน่าฟังมากมาก

หลายครั้งที่เห็นท่่านไปมอบรางวัลให้แก่บุคคลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นประจำปีในวันภาษาไทยแห่งชาติ ก็นึกในใจเสมอว่า “นายก อภิสิทธิ์ น่าจะได้รับรางวัลนี้” สุดท้ายท่านก็ได้รับจริงๆ ในปี 2553 นี่การ….คิดในใจของเรา ทำให้กรรมการได้ยิน อย่างนั้นหรือ

เคยบอกทีมงานเสมอ เมื่อมีโอกาสในการเตรียมน้องเป็นพิธีกร หรือการพูดการจาการออกเสียง ก็จะแนะนำว่า ให้ฟังท่านนายกอภิสิทธิ์ และออกเสียงให้ได้เหมือนที่ท่านออกเสียง  เป็นการออกเสียงที่เป็นธรรมชาติ ลื่นไหล ไม่ติดขัด และต่อเนื่องได้ทุกประโยคทุกถ้อยคำ

หากคนไทย ผู้ใช้ภาษาไทย ออกเสียงได้เหมือนท่าน ภาษาไทยเรา จะชวนฟังและชวนหลงไหลเป็นอย่างยิ่ง น่าจะลองทำดู คงยังไม่สายเกินไป


บริบท บ้านนอก ความเป็นตัวตนของตนเอง

14859 ความคิดเห็น โดย pa_daeng เมื่อ 10 มกราคม 2011 เวลา 23:22 ในหมวดหมู่ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต #
อ่าน: 159573

ความเป็นอิสาน

หลายวันก่อน….คุยกับน้องคนหนึ่ง ถึงความเป็นคนบ้่านนอกอยู่ห่างไกลเมืองหลวง แต่พยายามที่จะทำตัวเป็นคนเมือง น้องบอกว่า “ทำไม เราไม่ใช้ ความเป็นบ้านนอกของเรา ให้เกิดประโยชน์”

หลายคนที่เป็นอิสาน แต่พูดภาษากลาง แล้วบอกว่า พูดลาวไม่ได้ พูดอิสานไม่เป็น คิดว่าไม่มีทางเป็นได้่ อยู่ที่บ้านไม่พูดไปโรงเรียนเพื่อนๆก็พูด  อย่างน้อย สำเนียงก็ไม่ได้บอกว่า เป็นคนภาคกลางอยู่ดี

เมื่อวานไปกินข้าวกับหลานชาย ที่พาแฟนมาเยี่ยม ตอนนี้หลานชายกับแฟน พูดอิสานกัน ก็แปลกใจ ถามว่า” บ่เว้าไทยแล้วบ้อ”  หลานชายตอบว่า บางเวลาก็อยากเป็นตัวตนของตัวเอง เวลาพูดกลางต้อง “แอ๊บมาก” หมายถึงต้องฟั้นสำเนียงให้เหมือนชาวกรุงเทพฯ ซึ่งฟังดูแล้วไม่เป็นธรรมชาติ

น่านนะสินะ เคยคุยกับน้อง ที่ชอบทำแอ๊บแบ๊ว ว่า” เรียกแท๊กซี่ ไม่ต้องบอกว่า ไปไหน แท๊กซี่ก็หันหน้ารถไป หมอชิต” ซึ่งอยากบอกน้องว่า เราไม่สามารถหนีจากความเป็นเราได้หรอก

“เมื่อก่อนอายมาก เวลาเข้ากรุงเทพ ที่ต้องพูดอิสาน” แต่….แม้จะพูดกลาง สำเนียง ก็บอกอยู่ดี ว่าไม่ใช่  ตอนนี้ไปมุมไหนของกรุงเทพ ก็เจอแต่คนอิืสาน และไม่ต้องแอ๊บเสียงพูดให้เป็นคนกรุงเทพแล้ว “เว้า….อิสานก้ันโลด”

ดารา นักร้อง นางงาม ที่ไปจากอิสาน หากไม่ใช่ลูกทุ่ง ก็มักไม่อยากบอกว่า เป็นอิสาน เพราะจะบ่งบอกถึงความเป็นบ้านนอก

ยุคสมัยนี้ เริ่มเปลี่ยนไปแล้ว น้องณเดชน์ ดาราวัยรุ่น ที่ชอบนำเสนอด้วยการพูด อิสาน ก็ได้รับความชื่นชม เป็นอย่างมาก ว่าไม่ลืมตัว ไม่ลืมถิ่นฐานบ้านเกิด……….นี่ก็เพราะ ความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งสังคมก็ยอมรับ  สังเกตุว่า นักข่าวหลายคนที่สัมภาษณ์ดาราคนอิสานก็มักจะชักชวนให้พูดอิสาน แต่….อิสานบางจังหวัด ก็มีภาษาที่แตกต่างออกไป อย่าง โคราช บุรีรัมย์ สุรินทร์

เราจึงควรหันมา ใช้บริบทของตนเองให้เกิดประโยชน์ สังคมคนทั่วไปก็น่าจะชื่นชมยินดี และยังช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกัีนไปด้วย เพราะเราต่างมีวัฒนธรรม ประเพณีที่น่าชื่นชม เป็นเอกลักษณ์ เป็๋นตัวตนของตนเอง น่าจะสบายตัวและพัฒนาอะไรได้เยอะแยะมากขึ้น


ประเพณี แห่นางแมว ขอฝน

11917 ความคิดเห็น โดย pa_daeng เมื่อ 9 มกราคม 2011 เวลา 12:55 ในหมวดหมู่ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต #
อ่าน: 73313

มีเรื่องเข้าใจผิดอยู่เรื่องหนึ่ง “การแห่นางแมว ขอฝน” คิดว่าเป็นประเพณีของชาวอิสานเท่านั้น

เมื่อคืนดูละครมนต์รักลูกทุ่ง เมื่อฝนแล้ง ชาวบ้านก็ชวนกันแห่นางแมวขอฝน ก็เลยคิดว่า “เอ……ละครเรื่องนี้ เหตุเกิดที่ไหนนะ ภาคกลางนี่นา ทำไม มีแห่นางแมว”

เลยมานั่งค้นๆ ก็พบว่า ภาคกลาง เขาก็มีการแห่นางแมว เหมือนกัน ที่ใช้แมว มาแห่ ก็เพราะคิดกันว่า แมวเป็นตัวแล้ง

 

จำได้ว่า…..เมื่อเด็กๆ ฤดูทำนา หากไม่มีฝน อยู่นาน ชาวบ้านก็จะพากันหานางแมว มาใส่กรงไม้ไผ่ แล้วหามกันไปตามตรอกซอกต่างๆ ผู้ร่วมวงขบวนแห่ ก็จะร้องรำทำเพลง เคาะไม้ ตีกลอง กันไปอย่างสนุกสนาน ผ่านบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะเอาน้ำมาราดนางแมว หากมีข้าวปลาอาหารก็มอบให้ขบวนแห่ไป

พ่อกับแม่เคยบอกว่า วันที่แห่นางแมว ก็ต้องเลือกให้ดี เลือกไม่ดีฝนก็ไม่มา หมายถึง ใช้ประสบการณ์ว่า วันไหนควรมีฝนวันไหนไม่ควรมี คงดูตามทิศทางลม ทิศทางตะวัน ทิศทางพระจันทร์ด้วย

แถวบ้านไม่ได้แห่นางแมว กันมานานมากแล้ว เพราะเราอยู่ใกล้แม่น้ำโขง มีคลองส่งน้ำจากแม่น้ำโขงมาให้ จะว่าไป ทุ่งกุลาที่เคยแห้งแล้ง ปัจจุบันก็เขียวชอุ่มไปด้วยทุ่งนาข้าวและต้นไม้ ผ่านไปที่ไร ก็ให้นึกว่า ใครจะรู้มั้ยนะ ว่านี่คือ พื้นที่ ที่แห้งแล้งที่สุด แม้แต่ คนเผ่ากุลาเดินทางผ่านมา ถึงกับร้องไห้ เลยที่เดียว เพราะความแล้งแห้งและความร้อน

ต่อๆไปประเพณีนี้ คงเป็นแค่เรื่องเล่าต่อๆก้นมา หรือเขียนไว้พิพิธภัณฑ์ ว่าเราเคยมีประเพณีแบบนี้ในยุคสมัยของบุรุษ ปู่ ย่า ตา ทวด อยากให้ลูกหลานได้เข้าใจเข้าถึงกุศโลบายของคนโบราณ ที่เป็นพื้นฐานให้เรานำมาปรับใช้ในปัจจุบัน  โดยไม่รู้เลยว่า บางเรืองบางสิ่งบรรพบุรุษเราทำมาก่อนแล้วววว………………


งานเลี้ยงปีใหม่

11512 ความคิดเห็น โดย pa_daeng เมื่อ 6 มกราคม 2011 เวลา 22:28 ในหมวดหมู่ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต #
อ่าน: 71422

ปีใหม่ ICU

เมื่อวานนี้ มีการจัดงานปาร์ตี้ฉลองปีใหม่กันของสมาชิกห้องทำงาน เพราะน้องๆหลายคนอยากจับสลากแลกของขวัญกัน

งานฉลองปีใหม่ ดูเหมือนจะเป็นวัฒนธรรมประเพณีกันมานาน พอจำความได้ ก็มีการฉลองกันทุกปีใหม่ มีการเลี้ยงอาหาร ในทุกระดับชนชั้นและหน่วยงานองค์การต่างๆ

การแจกของขวัญหรือแลกของขวัญกันก็ดูเหมือนจะเป็นวัฒนธรรมเช่นกัน ที่ช่วยให้มีขวัญกำลังใจในการทำงานหรือเป็นกิจกรรมการมีส่วนร่วมของทุกคนเื่พื่อสร้างความตื่นเต้นและสนุกสนาน เด็กๆก็จะชอบกันใหญ่

เมื่อวานบรรยากาศก็สนุกสนานไปกับการแลกของขวัญที่มีลุ้นบ้างไม่ลุ้นบ้าง บางคนก็รู้แล้วละว่าเพื่อนซื้ออะไรมาเป็นของขวัญ น้องผู้ชายบางคนได้กระเป๋าสีแดงของผู้หญิงก็แอบดีใจ เพราะทุกคนต่างบอกว่า “ชั้นซื้อของที่ชั้นอยากได้มา”

งานเลี้ยงปีใหม่ ปีนี้ ป้าแดงมีรางวัลเล็กๆ “บุคคลแห่งปี -ขวัญใจเพื่อนๆ” ให้น้องด้วย เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานร่วมกันของสมาชิก ก็ช่วยๆกันโหวตกันมา อาจจะพอเป็นสิ่งกระตุ้นให้น้องทำดีต่อกันอย่างยั่งยืน ต่อไปเรื่อยๆ

กิจกรรมต่อไป น้องเสนอกันคือ การทำบุญเลี้ยงพระ สวดมนต์ หรือรดน้ำมนต์ การทำบุญในวันปีใหม่ก็ดูเหมือนจะเป็นวัฒนธรรมประเพณีมาเนิ่นนาน การสวดมนต์ข้ามปี ก็เริ่มกลับมาเป็นที่สนใจของผู้คนมากขึ้น

วัฒนธรรมประเพณี คงต้องปรับตามยุคตามสมัย บางคนที่ต้องมีการติดต่อกับผู้แทนยา ก็บ่นว่า ปีนี้มีคนให้กระเช้าของขวัีญมาน้อยมาก ปฏิทินที่เคยได้เยอะแยะ ปีนี้ก็น้อยลง ผู้แทนบางคนบางบริษัทไม่มาให้เห็นหน้าเลย หรือว่ายุคสมัยนี้ จะคบหากันเฉพาะเพื่อผลประโยชน์เท่านั้นเอง คงต้องเฝ้าดูกันต่อไป


ไปงานดองเมืองร้อยเอ็ด

5147 ความคิดเห็น โดย pa_daeng เมื่อ 2 มกราคม 2011 เวลา 19:59 ในหมวดหมู่ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต #
อ่าน: 34919

ก่อนวันคริสต์มาส อยากกินลาบเนื้อ(วัว) แต่คิดในใจว่า ไปงานดองน้องที่ร้อยเอ็ดต้องได้กินลาบเนื้อ(วัว) แน่ๆ ก็เลยต้องอดใจไว้ก่อน


คนอิสานส่วนใหญ่จะติดทานเนื้อวัวกัน เมื่อก่อนก็ทานเนื้อควายเดี๋ยวนี้หาทานไม่ได้ แถมไม่อร่อยเท่าเนื้อวัวโพนยางคำ อิอิอิ


เนื้อวัว……น่าจะเป็นอาหารประจำของคนอิสานเลยก็ว่าได้ เพราะหลานสาวกลับมาเยี่ยมบ้านที่ไร ก็ต้องมีการทำสเต็กลาว(เนื้อย่าง) แจ่วเพลี้ย ลาบเนื้อ ต้มเนื้อ กินก้ันอย่างเอร็ดอร่อย แถมกินตุนไว้หลายๆวันก่อนกลับภาึคกลาง เอาจนเบื่อกันไปตามๆกัน


หลังกลับจากงานแต่งงาน หลานสาว ถามว่า ได้กิน “ลาบร้อยเอ็ด..มั้ย” ไม่เลย เลี้ยงโต๊ะจีน ผิดหวังมาก เลยต้องพากันมาแวะกิน สารพัดทำที่กาฬสินธุ์ เล่นเอาแสบท้องไม่หาย ไม่เพราะกินไปซำมะปิ(สารพัด)ตำ ตามชื่อร้าน ไม่ว่าจะ เป็นส้่มตำปูปลาร้า ส้มตำไข่เค็ม ตำกล้วย ตำปลี ตำผลไม้ ตำซกเล็ก จำมาได้ไม่หมด  กินเสร็จต้องวิ่งยาธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน มาช่วยผสมกรดให้เจือจาง


วัฒนธรรมงานเลี้ยงงานแต่งงานเริ่มเปลี่ยนไปตามยุดยามสมัย ที่ดูโก้เก๋ และสะดวกสบาย


เมื่อหลายเดือนก่อน ทำบุญร้อยวันพ่อ ด้วยความที่วัฒนธรรมการช่วยเหลือกันและกันของเพื่อนบ้านในยามที่เพื่อนบ้านมีงานบุญงานเลี้ยงเริ่มหายไป เพราะต่างคนต่างมีภารกิจที่ทิ้งไม่ได้ จึงคิดจะเหมาร้านโต๊ะจีนมาเหมือนกัน แต่เนื่องจากว่า คน(ลาว)เราส่วนใหญ่เริ่มเบื่ออาหารโต๊ะจีน จึงอยากเปลี่ยน เป็นโต๊ะลาวบ้าง


“โต๊ะลาว  เราก็ทำ” อ๊ะ…เจ้าของร้านบอก คล้ายจะหาว่าเราเชยนะ “เรามีบริการมานาน ตามควารมนิยมของเจ้าของงาน” เหมือนเราจะบ้านนอกอีกแระ  อยากเลี้ยงโต๊ะลาว


ที่ๆๆบ่น ก็ใช่ว่าอะไร แค่…อยากให้วัฒนธรรมประเพณีอิสาน ยังคนอยู่ต่อๆไปให้ลูกให้หลานได้ชื่นชมกับความเป็นเอกลักษณ์ของบรรพบุรุษของตน ก็เท่านั้นเอง

 

 

 

  



Main: 0.023866891860962 sec
Sidebar: 0.010691165924072 sec