ประเพณี แห่นางแมว ขอฝน
มีเรื่องเข้าใจผิดอยู่เรื่องหนึ่ง “การแห่นางแมว ขอฝน” คิดว่าเป็นประเพณีของชาวอิสานเท่านั้น
เมื่อคืนดูละครมนต์รักลูกทุ่ง เมื่อฝนแล้ง ชาวบ้านก็ชวนกันแห่นางแมวขอฝน ก็เลยคิดว่า “เอ……ละครเรื่องนี้ เหตุเกิดที่ไหนนะ ภาคกลางนี่นา ทำไม มีแห่นางแมว”
เลยมานั่งค้นๆ ก็พบว่า ภาคกลาง เขาก็มีการแห่นางแมว เหมือนกัน ที่ใช้แมว มาแห่ ก็เพราะคิดกันว่า แมวเป็นตัวแล้ง
จำได้ว่า…..เมื่อเด็กๆ ฤดูทำนา หากไม่มีฝน อยู่นาน ชาวบ้านก็จะพากันหานางแมว มาใส่กรงไม้ไผ่ แล้วหามกันไปตามตรอกซอกต่างๆ ผู้ร่วมวงขบวนแห่ ก็จะร้องรำทำเพลง เคาะไม้ ตีกลอง กันไปอย่างสนุกสนาน ผ่านบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะเอาน้ำมาราดนางแมว หากมีข้าวปลาอาหารก็มอบให้ขบวนแห่ไป
พ่อกับแม่เคยบอกว่า วันที่แห่นางแมว ก็ต้องเลือกให้ดี เลือกไม่ดีฝนก็ไม่มา หมายถึง ใช้ประสบการณ์ว่า วันไหนควรมีฝนวันไหนไม่ควรมี คงดูตามทิศทางลม ทิศทางตะวัน ทิศทางพระจันทร์ด้วย
แถวบ้านไม่ได้แห่นางแมว กันมานานมากแล้ว เพราะเราอยู่ใกล้แม่น้ำโขง มีคลองส่งน้ำจากแม่น้ำโขงมาให้ จะว่าไป ทุ่งกุลาที่เคยแห้งแล้ง ปัจจุบันก็เขียวชอุ่มไปด้วยทุ่งนาข้าวและต้นไม้ ผ่านไปที่ไร ก็ให้นึกว่า ใครจะรู้มั้ยนะ ว่านี่คือ พื้นที่ ที่แห้งแล้งที่สุด แม้แต่ คนเผ่ากุลาเดินทางผ่านมา ถึงกับร้องไห้ เลยที่เดียว เพราะความแล้งแห้งและความร้อน
ต่อๆไปประเพณีนี้ คงเป็นแค่เรื่องเล่าต่อๆก้นมา หรือเขียนไว้พิพิธภัณฑ์ ว่าเราเคยมีประเพณีแบบนี้ในยุคสมัยของบุรุษ ปู่ ย่า ตา ทวด อยากให้ลูกหลานได้เข้าใจเข้าถึงกุศโลบายของคนโบราณ ที่เป็นพื้นฐานให้เรานำมาปรับใช้ในปัจจุบัน โดยไม่รู้เลยว่า บางเรืองบางสิ่งบรรพบุรุษเราทำมาก่อนแล้วววว………………