เที่ยวไปเรียนไป

โดย maeyai เมื่อ 26 มีนาคม 2011 เวลา 11:44 (เย็น) ในหมวดหมู่ เรื่องที่เรียนรู้ #
อ่าน: 1372

                  มาเมืองตราดคราวนี้ มีเรื่องให้แปลกใจ เพราะตั้งแต่เข้าเขตเมืองมาก็เห็นธงแดง  มีรูปช้างสีขาวอยู่ตรงกลาง ปลิวไสวไปทั่วเมือง    เลยเกิดอาการสงสัย ไปสอบถามชาวบ้านร้านถิ่น จึงทราบว่าเป็นวันประกาศอิสรภาพของเมืองตราด  จากฝรั่งเศส   ตั้งแต่เมื่อ 104 ปีก่อน   คือวันที่ 23 มีนาคม   2449    ชาวตราดจึงได้จัดงานวัน “ดราดรำลึก  ขึ้นทุกๆปี เพราะถือว่าเป็นวันสำคัญ   และธงแดงรูปช้างสีขาว ก็คือธงที่ใช้ในประเทศไทย ก่อนที่จะมาเป็นธงไตรรงค์เช่นปัจจุบันนั่นเอง

และเพื่อให้รู้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ไหนๆก็มาถึงถิ่นแล้ว   จึงเข้าไปค้นหาใน กูเกิ้ล  ได้พบประวัติเมืองตราดโดยละเอียดว่า

 เมืองเล็กๆแห่งนี้  มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา    โดยแบ่งออกเป็น 4 ยุคสมัยด้วยกัน คือ
 

  • ช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2313)ยุคสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตราดเป็นเมืองหน้าด่าน เป็นแหล่งเสบียงอาหารและเป็นศูนย์กลางความสัมพันธ์การค้าทางทะเลกับกัมพูชา เวียดนามและจีน   บริเวณอ่าวเมืองตราด จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนของพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขาย  เมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน  ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหาร ก่อนเคลื่อนทัพเรือออกจากจันทบุรี
  • ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325)สมัยรัชกาลที่ 1   เมืองตราดยังรวมขึ้นกับกรมท่าในฐานะหัวเมืองชายฝั่งทะเลและเป็นเมืองท่าสำคัญเช่นเดียวกับในสมัยกรุงศรีอยุธยา  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทร์ ซึ่งต่อมาหันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนทำสงครามกันในปี พ.ศ. 2371 ตราดจึงถูกใช้เป็นแหล่งรวบรวมกำลังพลและเสบียงอาหาร มีการตั้งป้อมค่ายที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตราด
  • ช่วงล่าอาณานิคม (พ.ศ.2447-พ.ศ.2450)สมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดจันทบุรีในปี ร.ศ. 112 (พ.ศ.2436)และคืนให้ไทย ในปี พ.ศ. 2447 จากนั้นได้หันมายึดเมืองตราดแทน แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสนธิสัญญายกเมืองตราดคืนให้กับไทย โดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2449
  • ช่วงสงครามอินโดจีนจนถึงปัจจุบันช่วงสงครามอินโดจีน พ.ศ.2483-พ.ศ.2484 ฝรั่งเศสพยายามแผ่อิทธิพลเข้าครอบงำไทยอีกครั้ง วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 กองทัพเรือไทยได้สู้รบกับกองทัพเรือฝรั่งเศสที่ล่วงล้ำเข้ามาในเขตน่านน้ำไทย ก่อเกิดตำนานยุทธนาวีที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ ยุทธนาวีที่เกาะช้าง       

 พ.ศ. 2521 เกิดการสู้รบในประเทศกัมพูชา ชาวเขมรนับแสนคน หลบหนีภัยสงครามข้ามพรมแดนเทือกเขาบรรทัด เข้ามาพำนักอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย จนก่อเกิดเป็นศูนย์สภากาชาดไทยเขาล้าน ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางหลวงหมายเลข 318 ที่ยุคสมัยนั้น คือ เส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญที่เลียบแนวเทือกเขาบรรทัดและชายฝั่งทะเลตราด สู่อำเภอคลองใหญ่ ไปจนจรดชายแดนไทย-กัมพูชาที่บ้านหาดเล็กจากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ผ่านพ้นมา 4 ยุคสมัย ทำให้หลายพื้นที่ของจังหวัดตราด มีแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และโบราณคดีหลายแห่งที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันจากภูมิประเทศที่เป็นจังหวัดสุดแผ่นดินตะวันออก ซึ่งมีเทือกเขาบรรทัดเป็นแนวกั้นเขตแดนธรรมชาติไทย-กัมพูชาและมีหมู่เกาะทะเลตราดที่สมบูรณ์ไปด้วยโลกธรรมชาติที่งดงาม

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 หลังจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานสู่ระดับสากล นับแต่นั้นการท่องเที่ยวของจังหวัดตราดก็พลิกโฉมหน้าใหม่อย่างก้าวกระโดด ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเข้ามาลงทุนมากขึ้น นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศก็เข้ามาเยี่ยมเยือนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

            
วันนี้…ตราดจึงกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่คึกคักแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลก

พาครูมาเที่ยวครั้งนี้  นอกจากสนุกสนาน  แล้วยังเป็นโอกาสให้ได้เรียนรู้ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหนึ่งของไทยอีกด้วย คุ้มค่าจริงๆ            

 

            

       

 

 

« « Prev : พาครูเที่ยว

Next : คนเก่ง หัวใจแกร่ง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น

  • #1 aram ให้ความคิดเห็นเมื่อ 27 มีนาคม 2011 เวลา 10:36 (เย็น)

    สวัสดีครับ แม่ใหญ่ ชอบที่แม่ใหญ่เล่าละเอียดเห็นภาพหาดทรายสวยจนทำให้อยากไปเที่ยวเสียแล้ว ต้องหาโอกาสตามรอยแม่ใหญ่เสียแล้วละครับ ขอให้เดินทางท่องเที่ยวด้วยความปลอดภัยครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.3894100189209 sec
Sidebar: 0.87064290046692 sec