การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

108 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ ธันวาคม 29, 2010 เวลา 0:27 ในหมวดหมู่ เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 2226

สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมบทบาทวุฒิอาสาธนาคารสอง ในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจ ผ่านกระบวนการแผนชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้วุฒิอาสาฯ เข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาพื้นที่ของตนเอง เน้นการพัฒนาชุมชน ตามปรัชญาของเศรษฐกิจ โดยใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนโดยตรง

รู้เขารู้เรา  คือการเข้าถึง เข้าใจ จึงพัฒนา การจะพัฒนาจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากผู้ที่จะเข้าไปพัฒนายังขาดการพัฒนา ยังขาดข้อมูลยังไม่เข้าใจสภาพพื้นที่ ยังขาดการวิเคราะห์ข้อมูล ยังขาดองค์ความรู้ที่พอเพียงในการจะเข้าไปพัฒนาชุมชนนั้นๆ  แต่ละพื้นที่ย่อมมีความแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และคนในพื้นที่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ตต้องรู้เขาให้ได้เสียก่อน เมื่อรู้เขาแล้ว ต้องกลับมารู้เรา คือศักยภาพของตัวเอง ใช่ว่าทุกคนจะมีความรู้ ความสามารถครบทุกด้าน  จำเป็นต้องหาพันธมิตร เพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ เพิ่มประสิทธิภาพ ให้ตรงกับความต้องการของชุมชน นำไปสู่การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ จะทำการสิ่งใดย่อมต้องประสงค์ จึงบังเกิดผลอย่างแท้จริง ยิ่งกว่านั้นจำเป็นต้องดูแลให้ความช่วยเหลือ จนมั่นใจว่าคนในชุมชน มีความเข้มแข็งสามารถยืนบนขาตัวเองอย่างมั่นคง  แล้วส่งเสริมคนเหล่านี้ ไปช่วยพัฒนาชุมชนอื่นๆ ..ต่อไป

รู้เขาอีกอย่าง คือเข้าให้ถึงหัวใจเขา ในสภาวะที่ขาดไปเสียหมดเกือบทุกอย่าง มันไม่ง่ายหรือยากเกินไป หากตั้งใจที่เรียนรู้กันและกัน ช่วยเติมเต็มในสิ่งที่ขาด  และให้กำลังใจอยู่เคียงข้างให้ความมั่นใจ พร้อมจะสู้ด้วยกัน

ปัญหาที่สำคัญ อย่างหนึ่ง หลังจากเกิดน้ำท่วมใหญ่โคราช เกาตรกรเสียหายอย่างสาหัส ขาดแคลนพันธุ์ข้าว หลินฮุ่ยไม่นิ่งนอนใจเรื่องนี้ จึงไปหาพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ นำไปให้เกษตรกร ที่มีความพร้อม ที่รับพันธุ์ข้าว ไปปลูกเพื่อขยายพันธุ์ ให้พอเพียงต่อชุมชน  พร้อมองค์ความรู้การปลูกข้าวอินทรีย์  เพื่อให้ชุมชนมีข้าวพันธุ์ดีมีคุณภาพ  และขยายพันธุ์ข้าวไว้ปลูกในฤดูการต่อไปให้เพียงพอและยั่งยืน  พร้อมๆ กับการ ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคข้าว จากข้าวขาวขัดสี เป็นข้าวไม่ขัดสี ข้าวกล้อง และข้าวกล้องมะลิแดงที่คุณค่าทางอาหารสูง เป็นการส่งเสริมการดูแลสุขภาพไปในตัวค่ะ นีคือแนวทางหนึ่งที่อาม่าหลินฮุ่ยตั้งใจเข้าไปพัฒนาชุมชนเป้าหมาย สี่ชุมชน

วันนี้ได้มอบพันธุ์ข้าวมะลิแดงให้หมอหยกไปช่วยขยาย พันธุ์ข้าวฯ ในพื้นที่นาเกษตรอินทรีย์ เป็นการช่วยอาม่า เพื่อให้มีพันธุ์ข้าวในปีหน้าอีกค่ะ

1 of 10 Back to Album · My Photos


อาหารการกิน (ทริปเชียงราย-เชียงใหม่ 3)

1 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ ธันวาคม 27, 2010 เวลา 21:38 ในหมวดหมู่ เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 2677

หลังจากลงเครื่องที่เชียงรายประมาณ แปดโมงเช้าของวันที่ 16 ธค. 53  แวะทานอาหารเช้าแบบพื้นเมือง คือข้าวกั้นชิ้น ขนมจีนน้ำเงี้ยว ขนมครองแครงแก้วกะทิใส่งา

มื้อกลางวันอาหาร รสจัด แบบทางใต้ แต่ร้านสไตล์บาหลี โดยเฉพาะผัดสามเหม็น…..เจ้าของร้านเป็นคนใต้

นัดพบน้องเบิร์ด ที่หอนาฬิกาเวลาหนึ่งทุ่ม ไม่รอช้า ไปเข้าแถวกินบัวลอยมือที่ขึ้นชื่อลือชา ใครๆ ก็พากันมารอคิวซื้อกิน แม้แต่ท่านอดีตนายกฯ อนันท์ ปัญญารชุณ

มื้อค่ำ เป็นอาหารพื้นเมือง เป็นไปตามเนื้อเพลง ของจรัล มโนเพ็ชร ” กินบ้านเฮา “……ที่จันทร์ผาคอทเทจ เป็นรีสอร์ตอยู่เชิงดอยริมกก ที่พักคืนแรก

17 ธค.53 มื้อเช้าที่สดชื่น ท่ามกลาง มวลดอกไม้ ป่าเขาที่สวยงาม อาหารเช้าก็เป็นอาหารเมืองที่ ยังไม่ได้กิน ตามเนื้อเพลง “ของกินบ้านเฮา”……..5555555555

มื้อกลางวัน อาหารยูนานที่แสนอร่อย ติดใจอาหารทุกจาน โดยเฉพาะซุปอร่อยมาก และเห็ดหอมอบซีอิ้ว

มื้อเย็นอาหารที่โรงแรมอาร์รัว ที่พม่า…555555

18 ธค.53 อาหารเช้าของโรงแรม เป็นข้าวต้ม กับข้าวหลากหลาย…มุ่งหน้าไปกินมื้อเที่ยงที่เชียงใหม่ แต่ไม่ลืมซื้อข้าวหลามเชียงรายเป็นสะเบียงลองท้อง ระหว่างเดินทาง

มื้อเที่ยง ที่สุดแสนตื่นตาตื่นใจ กับบรรยากาศตกแต่งร้านแบบป่าเขาลำเนาไพรร้อนชื้น มีน้ำตก มีกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงามมาก แม้แต่……


เยี่ยมบ้านถวัลย์ ดัชนี (ทริปเชียงราย-เชียงใหม่ 2)

8 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ ธันวาคม 25, 2010 เวลา 8:47 ในหมวดหมู่ เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 2605

16 ธค.2553 เมื่อคราวไปเที่ยวเชียงราย แวะไปเยี่ยมเยียนบ้าน คุณถวัลย์ ดัชนี เป็นคนที่เเคยรู้จัก ในคราวที่พบและรู้จักท่านจันทร์ ผู้สูงศักดิ์ ที่ใช้ชีวิตเยี่ยงคนธรรมดา ให้ความสนิทสนมเอ็นดูอาม่ามาก เมื่อนตอนที่อาม่าเพิ่งจบการศึกษา(ป.ตรี) ที่มช.ใหม่ๆ เขาจัดที่พักให้อาจารย์ใหม่ พักที่หอซิแซก(ปี 2512) ซึ่งมีเรือนรับรองของมช.อยู่ด้านซ้ายมือของหอ ซิกแซก(เมื่อหันหน้าออกถนน) เป็นจุดเริ่มต้น ที่ได้รู้จักบุคคลสำคัญๆ ของชาติ หลายคนแม้แต่ หมอบุญส่ง เลขกุลยังเคยมาหา อาม่าที่นั่นโดยคำแนะนำของท่านผู้ใหญ่….

Photo 99 of 108 Back to Album · My Photos


ทริปเชียงราย-เชียงใหม่ 1

140 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ ธันวาคม 24, 2010 เวลา 21:59 ในหมวดหมู่ เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 2624

16-19 ธค. 2553 ทริปเชียงราย-เชียงใหม่

แอดไวซี จัดทริปนี้ เพื่อพบปะเพื่อนๆ จีออ17 ที่ทำงานอยู่เกือบทั่วประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในพื้นที่ภาคเหนือ

จีออ17 มีความหมายที่บางคนอาจไม่เข้าใจ เพราะหมายถึงทุกคนที่เอนทรานซ์ติดจีออ ในปีนี้ จะเป็นแอดไวซี ของอาม่าเนื่องจากถูกจัดให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งต้องทำหน้าดูแลตลอดหลักสูตร หากต้องการย้ายไปเรียนคณะอื่น ต้องเรียนครบหนึ่งปี แล้วจะสามารถทำเรื่องขอย้ายคณะ ไปเรียนในหลักสูตรที่ต้องการได้ หากผ่านการทดสอบวัดความรู้ความสามารถที่จะเรียนหลักสูตรนั้นๆ ส่วนหน่วยกิตที่เรียนไปหนึ่งปีสามารถโอนไปได้ แต่ต้องจัดให้ตรงกับหลักสูรใหม่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะปีแรกจะเรียนวิชาพื้นฐานที่คล้ายๆ กัน  ถึงย้ายไปก็จบภายใน 4 ปีได้

จะสามารถจบได้เมื่อ เรียนครบ 144  หน่วยกิต ปกติหลักสูตร 4 ปี  จะลงทะเบียนเรียน ตามหลักสูตร ภาคการศึกษาละ 18 หน่วยกิต ระบบการศึกษาของ มช. เป็นแบบ Semester ปีละสองภาคการศึกษา ปีละ 36 หน่วยกิต แต่จะเปิดภาคฤดูร้อนให้ แก้ตัวสำหรับผู้ที่พลาดพลั้ง สอบไม่ผ่านวิชาที่เรียน ในภาคปกติ ก็จะทำให้คนที่อยากจบเร็วๆ สามารถลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อน หรือแม้แต่ภาคปกติก็สามารถลงทะเบียนเรียนได้สูงสุดถึง 22 หน่วยกิต จึงสามารถจบหลักสูตรภายในเวลา 3 ปี ถึง 3 ปีครึ่ง แต่หากรักสถาบันมาก อยากอยู่นานแบบค่อยๆ เรียน เขาให้เรียนได้แค่ 8 ปีสำหรับหลักสูตรปริญญาตรี  ต้องจบ หากไม่จบ ก็ต้องออกไปสอบเอนทรานซ์ใหม่ แอดไวซีของอาม่า จึงเป็นจบหลายคณะ หลายหลักสูตร เป็นความโชคดีของอาม่าที่แอดไวซีย้ายไปเรียนหลายคณะ หลายสาขาวิชา เช่นคณะพยาบาลฯ คณะเกษตรฯ คณะมนุษย์ฯ หรือแม้แต่ย้ายสาขาวิชา แต่อยู่ในคณะเดียวกันก็มี เช่นบัญชี เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์เป็นต้น เหมือนดอกไม้หลากสี ทำให้มีชีวิตชีวา และทำงานได้กว้าง หลากหลายอาชีพไม่ว่ารับราชการ ทำงานเอกชน หรือแม้แต่ประกอบธุระกิจส่วนตัวหลากหลายด้าน โดยเฉพาะอาชีพอิสระ ฝีมือระดับสุดยอดทั้งนั้น นับเป็นวาสนาของอาม่า ที่มีลูกษย์เป็นคนมีคุณภาพ

Photo 26 of 87 Back to Album · My Photos


อะไรเอ่ย? ใครเคยเห็นบ้าง

1 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ ธันวาคม 12, 2010 เวลา 19:55 ในหมวดหมู่ เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 2607

เมื่อวานเล่นเกมส์อะไรเอ่ย ?ใครเคยเห็นบ้าง

สืบเนื่องจากไปเห็นภูมิปัญญาของพื้นถิ่น ของอ.ปักธงชัย เป็นวัสดุที่ใช้เก็บพันธุ์ข้าว ในงานวันผ้าไหมปักธงชัย เมื่อวาน เลยโพสขึ้นเฟสบุ๊คมีคนเข้ามาช่วยกันตอบสนุกสนาน จนเลยเที่ยงคืนไปแล้ว ไม่มีใครตอบถูกต้อง แต่ก็มีเฉี่ยวไปเฉี่ยวมา ทำให้มีการติดตามอย่างสนุกสนานมากค่ะ แต่เฉลยไปแล้วค่ะในเฟสบุ๊ค  ตอนแรกคิดว่าจะตอบในเฟสบุ๊ค แต่มาคิดอีกที่ว่าการให้ขู้อมูลเพิ่มเติม ที่เป็นประโยชน์น่าจะดีนะ  จึงตัดสินใจมาเขียนในบล็อกค่ะ

ในงานวันผ้าไหมปักธงชัย มีบูธแสดงผลิตผลทางการเกษตร และมีการจำลองวิถีชีวิตชาวนา เครื่องมือเครื่องใช้ ของคนพื้นถิ่น อ.ปักธงชัย  มาหยุดอยู่ที่ สิ่งที่มีรูปร่างแปลกตา ซึ่งเห็นแล้วน่าสนใจมาก ไม่เคยเห็นมาก่อน รีบเก็บภาพไว้เป็นข้อมูลค่ะ

ที่น่าใจมาก คือการเก็บรักษาพันธุ์ข้าวอย่างไร? และใช้อย่างไร

ข้อมูลก็ได้มาจาก ป้ายที่เห็นค่ะ เขาเขียนไว้ดังนี้ค่ะ

ในฤดูเก็บเกี่ยวชาวนา ทำการห่อ(เมล็ด)พันธุ์ข้าว ด้วยวัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่นฟางข้าว(ตอกไม้ไผ่-ทำเป็นโครงหุ้มฟางได้สวยงามมาก อันนี้ อาม่าหลินฮุ่ยเติมให้ค่ะ) เพื่อใช้ในการปลูกในฤดูกาล ทำนาในปีต่อไป ลักษณะการเก็บรักษา จะวางไว้บนขื่อในยุ้งข้าว โดยมีแผ่นไม้ไผ่บางๆ เขียนกำกับชื่อพันธุ์แต่ละชนิด

วิธีใช้ ในการนำไปเพาะปลูก จะแช่น้ำทั้งลูก 1 คืน นำขึ้นจากน้ำทิ้งไว้อีก 2 คืน แล้วจึงนำไปหว่านกล้าค่ะ  คงไม่ต้องบอกนะค่ะ ว่าจะเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวออกมาจากที่ห่อหุ้มได้อย่างไร  อาม่าเห็นว่าที่เก็บพันธุ์ข้าวงดงามค่ะ  ถ้าเป็นอาม่า คงนำมาดัดแปลงใช้งานได้อีกตั้งหลายอย่าง..อิอิ ใครจะช่วยคิดต่อเป็นการต่อยอดความคืดได้ ไม่มีข้อจำกัด และไม่มีผิดถูกค่ะ แต่เป็นการช่วยกันเติมเต็มปัญญาค่ะ



Main: 0.07435417175293 sec
Sidebar: 0.063081979751587 sec