แอบมองงานวิจัยท้องถิ่น
รัฐบาลใจดี ใครมีอายุเกิน 60 ปี จะจ่ายเงินสงเคราะห์คนชราเดือนละ 500 บาท แต่คนชราภาพอย่างผมมันเลอะเลือนปล่อยไว้ก็จะเลอะเทอะ ไปรับปากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว. ไว้ว่าจะเขียนบทความสั้น ๆ ให้เขา แล้วเรื่องก็ผ่านมาจนเข้าระยะไฟลนก้น กลับจากบ้านมาเจอเอกสารประกอบการสัมมนา 10 ปี “งานวิจัยท้องถิ่น : คุณค่าและความหมาย (Meaning) ต่อสังคมไทยและก้าวต่อไปในอนาคต” ในวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ ณ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ
เท่าที่อ่านรายชื่อผู้อาวุโสและผู้สันทัดกรณี พบว่างานนี้ไม่ธรรมดา มีแต่หัวกะทิทั้งนั้น หางกะทิก็มีอยู่คนหนึ่งคือกระผมนี้แหละขอรับ หางกะทิเกิดความคิดแว๊บหนึ่งขึ้นมาว่า การจัดประชุมสัมมนาเชิงรุกเพื่อตอบคำถามเรื่องก้าวต่อไปในอนาคต กระผม คิดว่าเราควรจะมีเรื่องใหม่ๆ หรือมีกระบวนการแสวงหาพวกหัวโตสมองใสใจเต็มร้อยเข้ามาสู่เวทีลักษณะนี้ เป็นการเปิดพื้นที่เพื่อสังคมอย่างแท้จริง ผมมีความรู้สึกว่างานวิจัยในประเทศไทยเสมือนกับงานการเมือง ที่ผู้คนหัวใจเป็นประชาธิปไตยมิใช่น้อย แต่ไม่รู้ว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร จึงงึมงำและป้อไปป้อมาไม่สามารถพอที่จะรวมพลังเป็นคานงัดอะไรได้
อาจจะเป็นเพราะผมอยู่ในประเภทอิงระบบและนอกระบบมานาน จึงสัมผัสกับผู้รู้ในอีกกลุ่มหนึ่ง ที่เขามีความคิด มีศักยภาพทางสติปัญญามิใช่น้อย ช่วงที่เข้ามาสู่ G2K ทำให้ผมได้เจอมนุษย์สายพันธุ์ที่ว่านี้ พวกเขามีวิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สังเคราะห์ความรู้ สกัด สะกิด สะเกา ความรู้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มีกำแพง ไม่มีหัวโขน มีแต่ความเปล่าเปลือยที่ไม่ต้องการชื่อเสียง การมีหน้าตา เรียนรู้จากกันเฉย ๆ อย่างนี้แหละ สงสัยอะไรก็โยนประเด็นลงกลางจอคอมพิวเตอร์ ใครมีความรู้หรือเคยมีประสบการณ์ก็เอื้ออาทรให้กัน แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ทำให้เกิดกระบวนการมะรุมมะตุ้มทางความรู้ ที่หลากหลายแง่มุมและวิธีการแบบไม่จำกัด เดี๋ยวนี้พัฒนาไปถึงขั้นนัดพบกันเป็นระยะ จัดสัญจรไปเยี่ยมกันทุกภูมิภาค ทำให้แก่นแกนรักใคร่สนิทสนมเป็นเครือญาติ ในอนาคตกลุ่มที่ว่านี้อาจจะเป็นชุมชนปัญญาเสมือน ชุมชนการวิจัย ชุมชนนักปฏิบัติ ที่กำลังมองหาทำเลปักหลักปักฐานเป็นหมู่บ้านแซ่เฮ ซึ่งก็เป็นการตั้งองค์กรหรือสถาบันในสไตล์ของเขาเอง เมื่อก่อนเคยเปรียบเทียบกับตะเกียงอาละดิน ที่ถูแล้วมียักษ์ตัวโตโผล่ขึ้นมาถามว่าจะให้รับใช้เรื่องอะไร แต่สิ่งที่กลุ่มคนดังกล่าวค้นพบในวันนี้ (ขออนุญาตเรียกให้เข้าใจง่ายว่ากลุ่มเฮฮาศาสตร์) ผมคิดว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้นตอนนี้ข้ามหน้าข้ามตาศักยภาพเจ้ายักษ์อาละดินไปแล้ว
ก็คิดดูเถิด ถ้าเราสามารถดึงเอาความรู้ในตัวคนไทย ที่มีอยู่มากมายในทุกสาขาอาชีพ ออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ความรู้ไต่ระดับเหล่านี้จะจากขยายกว้างไกลไปไม่มีที่สิ้นสุด ทุกคนช่วยกันค้น ช่วยการฝึกฝนทักษะ ช่วยกันเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง กระบวนการตรงนี้
ถามว่า การที่บุคคลทุกสาขาอาชีพมารวมตัวกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ด้วยการค้น หาวิธีของเขาเอง เรื่องเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่นำไปสู่การสร้างฐานความรู้ของ ชาติได้หรือไม่
ถามครั้งที่ 2 สิ่งที่บอกเล่ามานี้เป็นนวัตกรรมของการเริ่มสร้างวัฒนธรรมสังคมความสุขที่เกิดจากการเรียนรู้ใช่หรือไม่
ไม่ทราบว่าผมเข้าใจผิดหรือเปล่านะ ดู ๆ ไปแล้วคนไทยส่วนใหญ่มีความทุกข์จากการศึกษา คนไทยมีวัฒนธรรมตุ้มถ่วงการเรียนรู้ให้ตนเอง โดยเฉพาะเรื่องกลัวเสียหน้า กลัวผิด กลัวคนอื่นเขาว่าตัวเองไม่รู้ ไม่เก่ง ไม่กล้าถาม ไม่กล้าเขียนเพราะเกรงว่าจะถามไม่เข้าท่า ตั้งสมมุติฐานปิดกั้นตัวเองด้วยเหตุผลบ้า ๆ นี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่แก้ไขในระบบได้ยากมาก ในสถานศึกษาจะอมทุกข์ทั้งผู้สอนและผู้เรียน ถูลู่ถูกังปีนเกลียวเรียนรู้กันไปอย่างทรมาน ยังไม่มีวิธีกำจัดความกริ่งเกรงที่ว่านี้ ดร.สมพร ช่วยอารีย์ (เม้งเยอรมัน) กำลังหาวิธีสอนลูกศิษย์ด้วยกลอุบายพลิกแพลงต่าง ๆ อยู่ที่ มอ.ปัตตานี มีวิธีที่น่าสนใจ ท่านใดสนใจลองติดต่อกันเองนะครับ เข้าไปที่บล็อกลานปัญญา พิมพ์คำว่า ..ลานจินตนาการ หรือ ลานสะตอพอเพียง หรือถ้าจะให้ตรงประเด็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลองคลิกไปที่ ..ลานดงหลวง ของบางทราย จะได้เห็นโจทย์ที่คร่ำหวอดจากประสบการณ์นักปฏิบัติ ที่ใช้ความรู้ทุกสาขามาอำนวยงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หรือถ้าต้องการทราบแนวคิดเรื่องการพัฒนาองค์กร การปฏิรูปสังคมและการศึกษาแบบเผ็ด ๆ มัน ๆ ร้อน ๆ แต่ไม่แสลงเบาหวาน ก็ลองคลิกไปที่ คนไร้กรอบ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ หรือถ้าจะดูแนวคิดเรื่องการบริหารองค์กร บริหารสติปัญญา คลิกที่นี่เลย .ลานซักล้าง ของคุณตฤณ ตัณฑเศรษฐี
ถ้าขืนแนะนำเป็นรายบุคคลบุคคลวันนี้ไม่จบแน่ เอาอย่างนี้ดีกว่า เข้าไปคลิกที่ “เจ้าเป็นไผ” จอมยุทธเหล่านี้ก็จะเรียงล่ายซ้าย มาเปิดใจให้ท่านได้สัมผัสก้นบึ้งของนักจัดการความรู้เหล่านี้ นี่แหละตัวจริงเสียงจริงประเภทแฟนพันธุ์แท้เชียวละ ผมเอาเหตุผลอะไรมาทึกทัก ก็แหม..การได้อ่านความรู้ความคิดของท่านเหล่านี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เฝ้าดูเรื่องที่ท่านคิด เนื้องานที่ท่านทำ ผลลัพธ์ที่นำมาเสนอ กลุ่มที่ว่านี้เป็นพื้นฐานทางด้านสติปัญญาของชาติที่ไม่อาจจะละเลยได้ เพียงแต่มนุษย์สายพันธุ์นี้มีความเป็นตัวเองสูง มีสไตล์อิสระที่เอาใจนำ มากกว่าจะเอากฎระเบียบหรือกติกามาครอบ ถ้าเป็นความสัมพันธ์ทางใจละใช่เลย ผมคิดว่าในบ้านเมืองเรายังไม่มีสะพานเชื่อมโยงเรื่องอิงระบบที่ว่านี้ มันเป็นวัฒนธรรมไทยแท้ส่วนหนึ่งด้วยนะ ถ้าใจถึงใจอะไรก็ได้ก็เกิด..
เรามาดูการบ้านของสกว. ผ่านมา 10 ปี มีบทบาทสร้างคน สร้างความรู้ สะสมชุดความรู้ไว้มิใช่น้อย ได้พยายามสร้างโอกาสให้กับนักการศึกษามานาน โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านหรือชุมชนได้มีส่วนเข้ามาสัมผัสงานวิจัย ตรงนี้ถือว่าเป็นงานชิ้นโบร์แดงด้านนโยบาย ที่มองเห็นความรู้ในตัวคนไทยทุกหมู่เหล่า เลิกแบ่งค่ายนักวิชาการกับนักวิชาเกิน เปิดช่องให้จูงมือมาเดินร่วมกัน ไปในทางเดียวกัน เท่าที่ได้อ่านผลงานพอสมควร ผมคิดว่า สกว.ใช้งบประมาณคุ้มค่ามาก เพียงแต่วัฒนธรรมในสถานศึกษา และวัฒนธรรมในสังคมไทย ยังมีเส้นใยแมงมุมขวางตาดำอยู่บ้าง งานวิจัยเชิงคุณภาพเกิดขึ้นในระดับหนึ่ง อาจจะมีจำนวนน้อยก็แต่เห็นใจ จากพื้นฐานที่ยากจะแกะปม ส่วนงานวิจัยชุมชน เดินมาถูกทางพอสมควร แต่ก็ยังมีการบ้านต้องทำอีกมาก
สถาบันการศึกษาในส่วนภูมิภาคที่ควรจะเป็น เจ้าภาพ เป็นแม่งาน เป็นพี่เลี้ยง ยังเป็นแบบ..มีเรือดี ๆไม่ขี่ข้าม ไปเอาเรือรั่วน้ำมาข้ามขี่ ยังย้ำรอยเดิมวนเวียนเป็นเขาวงกต ก็แปลกนะครับ คนเราเกิดมา ทำอยู่ทำกินในพื้นที่แห่งใด ก็ควรที่จะต้องการแสวงหาความรู้มาพัฒนาความก้าวหน้าให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น มีคำถามว่าวันนี้ เราอยู่กับความรู้อะไร ภาควิชาต่างๆสอนวิชาอะไร ช่วยเหลือให้สังคมรอบข้างกินอิ่มนอนอุ่น มีรายได้มีงานทำพอปะทะปะทังให้ครัวครัว/ชุมชนเป็นปกติสุขได้ไหม ทำไม ชาวบ้านจึงทิ้งถิ่น ทำไมลูกหลานเขาเรียนแล้วกลับมาอยู่ในท้องถิ่นไม่ได้ เราสอนวิชาทิ้งถิ่นหรือเปล่า เราเปลี่ยนเกษตรกรไปเป็นกรรมกรหรือเปล่า เราเปลี่ยนควายไปเป็นลูกชิ้นจนแทบสูญพันธุ์หรือเปล่า ทำไมความรู้ที่สอน ๆ มันไม่สอดคล้องกับความเป็นไปในของภูมิสังคม เราเอาหูไปนาเอาตาไปไร่หรือเปล่า คำว่าวิจัยชุมชน วิจัยเพื่อท้องถิ่น วิจัยอะไรกันบ้าง พอที่จะเอามาแก้ขัดสถานการณ์ตกงานยกกะบิได้หรือเปล่า
มีบางมหาวิทยาลัยได้ประกาศ “วิสัยทัศน์ และภารกิจ” ไว้อย่างชัดเจน ได้ระดมสมองสร้างความเห็นพ้องร่วมกันของประชาคมมหาวิทยาลัย เพื่อกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์วัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัย บรรลุวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า “แผนกลยุทธ์ 6+1 Flagships” ซึ่งประกอบด้วย
- มหาวิทยาลัยวิจัย
- มหาวิทยาลัยเสมือน
- การสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์
- การสร้างความเข้มแข็งทางด้านบริหารจัดการ
- องค์กรแห่งการเรียนรู้
- การบริหารรายได้และต้นทุน
- การพัฒนานักศึกษาที่มีความสามารถเฉพาะให้โดดเด่น
มหาวิทยาลัยหลายแห่งดำเนินการก้าวหน้าไปตามลำดับ เป็นการพัฒนาบทบาทของมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม ทำให้คณาจารย์และนิสิต นักศึกษา ได้เข้าใจเรื่องภูมิสังคมกับการศึกษามากขึ้น การทำเช่นนี้ ช่วยลดความเป็นลูกแหง่ทางวิชาการได้อย่างหวังผล บุคลากร ทางการศึกษาและนักวิจัยได้ออกไปปะลองความรู้ของตนเอง ในขณะเดี๋ยวกันก็ได้พัฒนาโจทย์ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง อย่าลืมว่า โจทย์ชีวิต โจทย์สังคม โจทย์ประเทศเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ถ้าไม่เอาโจทย์วิจัยจากพื้นที่มาใส่ตะกร้าล้างน้ำ เราก็จะอยู่กับความรู้ความคิดทื่อ ๆ ไม่สมราคา จะพัฒนาหัวข้อวิจัยอะไรก็พื้น ๆ ไม่น่าสนใจ จัดสัมมนาวิจัยในภูมิภาคตามมหาวิทยาลัยต่างๆ สมควรสนับสนุนต่อไป เพียงแต่ผู้จัดควรจะรับผิดชอบว่าจะเอาสินค้าความรู้อะไรมาขาย ถ้าไม่มีสินค้ามีคุณภาพคุ้มค่ากับการจัด ก็ควรงด ไม่ควรทำไปแบบลม ๆ แล้ง ๆ หาจุดยืนไม่เจอ
กรณีตัวอย่างการเสนองานวิจัยดี ๆ ที่จังหวัดขอนแก่น
ถึงเวลาผลิตบัณฑิตสาขาผ้าทอพื้นบ้าน หรือยัง?
มกราคม 28th, 2009 by ออต in Uncategorized
พรุ่งนี้มีภารกิจต้องขึ้นนำเสนองานวิจัยในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัย ขอนแก่น “การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน” ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น
ผมขึ้นนำเสนอในภาคบ่าย มีเวลาในการพูดงานวิจัยที่ตนเองทำราวยี่สิบนาที ซึ่งก็ไม่มากพอในการจะนำเสนอเรื่องที่พูด ดังนั้นจึงขอปูดเรื่องที่อาจจะไม่ได้พูดไว้ในบันทึกนี้เสียเลย เผื่อท่านที่สนใจจะได้ตามอ่านกัน
ประเด็นเสนอแนะหลัง จากงานวิจัยที่นำเสนอสิ้นสุดลงคือ การเพิ่มบัณฑิตสาขาวิชาเกี่ยวกับ ผ้าทอพื้นบ้านอีสาน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษา อาชีวะฯไหนในอีสานที่พัฒนาและผลิตอย่างจริงจัง ทั้ง ๆ ที่มีช่างทอผ้าและชุมชนทอผ้าในอีสานมากมาย มากมายพอพอกับอาชีพเกษตรกรรม
ใน ทางเศรษฐกิจการทอผ้าดูเหมือนจะเป็นอาชีพเสริมรายได้ที่สามารถสร้างเม็ด เงินได้มากที่เดียว หากยึดเป็นอาชีพหลักก็เห็นว่าสามารถหาเลี้ยงตนเอง ครอบครัวได้อย่างดีที่เดียว แต่ปัญหาส่วนใหญ่ของช่างทออีสานคือการขาดรูปแบบลวดลายการทอผ้าใหม่ ๆ เท่านั้น
แต่ใหม่ ๆ ในความคิดของผมก็ไม่ควรเป็นการลงทุนที่มากเกินความสามารถของช่างพื้นบ้าน ที่เป็นชาวบ้าน ผมว่าลดการพึ่งพาเทคโนโลยีที่ไม่จำเป็นลงดีที่สุด เหมาะที่สุด ซึ่งเราควรมองหาเทคโนโลยีในพื้นที่เป็นหลัก แบบนี้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงได้ดีนัก
ซึ่ง งานวิจัยที่ทำก็สามารถตอบโจทย์เรื่องนี้ว่า ช่างทอพื้นบ้าน เทคโนโลยีการทอแบบพื้นบ้าน วัตถุดิบแบบพื้นบ้านก็สามารถพัฒนาเป็นผ้าทอที่คนร่วมสมัยให้การยอมรับและ กล้าซื้อมาให้มาบริโภคได้เช่นกัน ดังนั้นหัวใจของการพัฒนาผ้าทออีสานอยู่ที่การออกแบบใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับตลาด
แนว คิดสำคัญคือ ระบบการศึกษาได้พัฒนาผลิตบัณฑิตด้านนี้มากน้อยแค่ไหน เมื่อมองไปในมหาวิทยาลัยในเขตอีสานพบว่าไม่มีเลย ที่มีก็ไม่ได้เน้นการผลิตบุคคลากรด้านนี้แบบจริงจัง ซึ่งในความเป็นจริง เราขาดแคลน เราต้องการช่างทอพื้นบ้าน ต้องการนักออกแบบมือใหม่ ๆ ลายใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด
ซึ่งบางทีรัฐบาลเองก็พัฒนาไม่ตรงจุด ไม่ตรงหัวใจ เอา ช่างทอพื้นบ้านมาอบรมออกแบบ หมดไปกี่รุ่น กี่รุ่นก็ได้ผลน้อย ซึ่งตรงนี้ เราต้องเข้าใจความต้องการของช่างด้วย เพราะเขาไม่ต้องการเป็นนักออกแบบ แต่ต้องการเป็นช่างทอฝีมือดีที่สามารถทอผ้าได้ดีตามแบบที่ตลาดต้องการ สวยงาม ตรงตามความต้องการของคนนอก (ซึ่งเป็นผู้บริโภคหลัก)
ดังนั้นหากเพิ่ม นักออกแบบมือใหม่ ที่เข้าใจงานทอพื้นบ้าน ก็น่าจะทำให้วงการทอผ้าของอีสานพัฒนาไปมาก เพราะแม่หญิงอีสานทอผ้ากันเป็นเสียส่วนใหญ่
ยกตัวอย่างเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
พูดกันเรื่อยเปื่อยจนผู้ฟังเบื่อระอา 3 ห่วง 8 เงื่อนไข
แม่ใหญ่ทุ่งกุลาร้องไห้โอดครวญว่า...ใส่แค่ห่วงเดียวมดลูกแม่ก็จะพังแล้ว
ขืนมาให้ใส 3 ห่วงแม่จะรอดเรอะ
… แสดงว่าเรื่องหมาน้อยธรรมดา สมัยผู้ใหญ่ลียังสืบทอดมรดกมาจนถึงทุกวันนี้ การที่นักวิจัยไม่ลงไปเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน ทำให้การตีความพลิกล็อคอยู่เสมอ ถ้ามองว่าในประเด็นที่ว่า ก้าวต่อไปของงานวิจัยท้องถิ่น ในอนาคตจะเป็นอย่างไร
น่าจะขึ้นอยู่กับนโยบายใหม่ ๆ นะขอรับ ควร เปิดกว้างแบบไร้พรมแดน ถ้ากลุ่มองค์กรไหนสนใจที่จะทำการวิจัยเรื่องอะไร ก็เสนอความต้องการขึ้นมาได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ากลุ่มเฮฮาศาสตร์จะจัดสัมมนาเรื่องการสร้างเครือข่ายสังคมฐานความรู้ ก็ควรให้ทดลองออกแบบ ขายความคิด แล้วทดลองทำ ผลลัพธ์ที่เกิดก็เช็คได้อยู่แล้วจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน G2K. และลานปัญญา สิ่งละอันพันละน้อยที่มีการตีแตกความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่ เกิดจากการปฏิบัติ จะมีเสน่ห์ มีคำตอบ มีความเป็นไปได้ เพียงแต่ยอมรับวิธีคิดวิธีการที่แตกต่าง ยกตัวอย่าง เช่น การวิจัยเรื่องมะรุม ชุมชนคงไม่วิจัยออกมาเป็นตัวหนังสือปึกเดียว หัวเชื้อวิจัยจะไปโผล่อยู่ในสวนครัวหลังบ้าน อยู่ในรั้วข้างบ้าน ชาวบ้านเก็บมาบริโภคเป็นอาหารประจำวัน
ภูมิปัญญาไทยไทยยุคนี้ การค้นคว้าความรู้จากภายนอกสะดวก นอกจากการปลูก การบริโภค แล้ว ยังมีการคิดค้นเรื่องสารต่างๆที่อยู่ในดอก ใบ เมล็ด เปลือก ราก ความรู้เดิมชั้นภูมิปัญญาไทยเป็นอย่างไร ความรู้ต่อยอดมีอะไร เอาเมล็ดมาสกัดเป็นยา เป็นน้ำมัน หรือเอายอดและดอกมาทอดใส่ไข่ ..เราก็ได้งานวิจัยที่อร่อยแล้วละครับ ปัญหาอยู่ที่ สกว.ใจกว้างแค่ไหน ติดกรอบมากไหม กล้าแหกกรอบไหม หรือจะบอนไซวิธีวิจัยแบบเก่า คุมกำเนิดงานวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยของตะวันตกอย่างเดียว มีไหมวิธีวิจัยที่อาศัยใจเป็นสะพานเชื่อมโยง
“ใจ” คำสั้น ๆ พูดง่าย ๆ ตีความหมายช่วงยาว ช่างยาก
ใจบางคนอาจง่ายได้ แต่เรื่องของใจไม่ง่ายเลย
พูด เรื่องใจไม่ยาก ทำเรื่องใจไม่ง่าย ลำพังใจตน ก็ยากแสนยาก มีใจ ให้ใจ ตามใจ ห้องใจ อำเภอใจ ด้วยใจ จากใจ สำคัญที่ใจ ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ใจนำทาง คุณค่าอยู่ที่ใจ กระบี่อยู่ที่ใจ ..
* ไพรินทร์ ขาวงาม
ขณะมีปากไว้เพื่อให้พูด เธอก็ใช้ลิ้นการทูตพูดเสียหนัก
ส่วนหัวใจมีไว้เพื่อให้รัก เธอไม่ยักใช้มันฉันเสียดาย
* รังษี บางยี่ขัน
ลานสะตอพอเพียง http://lanpanya.com/lanaree/
ลานดงหลวง http://lanpanya.com/bangsai/
ลานซักล้าง http://lanpanya.com/wash/
« « Prev : ตกม้าตาย
13 ความคิดเห็น
มหาชีวาลัย
มหาวิทยาลัยชีวิต
มีอธิการบดี เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ใช้คำนี้คงไม่มีใครว่า
…..
“อธิการบดีแห่งมหาชีวาลัยสวนป่า”
สอนคน ให้เป็นคน
คนทั้งมีหัวโขน และไม่มีหัวโขน ให้เรียนรู้ร่วมกันอย่างมีชีวิต
สะท้อนกระบวนการ วิธีคิดที่แยบยล เนียนไปกับชีวิตในทุกเรื่อง
…..
เป็นครูที่ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตได้อย่างเป็นธรรมชาติ
เรื่องราวที่ถ่ายทอด ไม่เกินความฝันและการไขว่คว้า
เพียงแต่ว่า…..
สิ่งที่พวกเรามุ่งหวัง หรือตั้งหวังไว้
จะนำมาปฏิบัติ และปฏิบัติให้เกิดการเรียนรู้ โดยใช้ “ความรัก” เป็นตัวเชื่อมนำในทุกกระบวนการ
แบบนี้ “ใจสั่งมา” ก็จะไม่ก่อเกิดให้ “ใจเสีย” หรือ “ใสเจีย”
เป็นแน่แท้
…..
อ่านบันทึกนี้แล้วอยากเขียนเพื่อสะท้อนในความรู้สึกตัวเอง
แต่ก็ไม่สามารถบรรยายได้หมด
แต่ก็อยากจะบอกว่า
“พ่อครูบา” เป็นยิ่งกว่า ครูในใจพวกเราทุกคน
อิอิอิ
[...] http://lanpanya.com/sutthinun/?p=705 [...]
“อธิการบดีแห่งมหาชีวาลัยสวนป่า”
เขาว่าอยู่บนหอคอย ก็เห็นแต่ดวงดาว
ความมุ่งหวัง ความเพ้อฝัน ยังคงอยู่ในหลายๆดวงจิต
แต่คนที่เดินลุยดินติดน้ำยังมีไม่มาก
แล้วคนที่สามารถนำความจริงมาเจียรไนในสังคมให้ส่งผลกระเทือนต่อความเปลี่ยนแปลงไปในที่ดีๆ ยิ่งหายากใหญ่
“อธิการบดีแห่งมหาชีวาลัยสวนป่า” จึงไม่เป็นการยกย่องที่มากเกินไป
ที่สวนป่าไม่มี “ระเบียบวิธีวิจัย” มีแต่
ระเบียงวิธีวิจัย ไร้ระเบียบ อิงระบบ ครบทุกมุมมอง เพื่อผองมนุษย์ สุดสดุ อิอิ
ตั้งใจจะไปฟังน้องรักที่โฆษะ แต่ก็พลาด ความผิดหวังคือสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอๆในชีวิตที่พะรุงพะรัง แต่ก็ได้พบกันตอนค่ำ
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
เรื่องงานวิจัย10 ปี งานวิจัยท้องถิ่น : คุณค่าและความหมาย (Meaning) ต่อสังคมไทยและก้าวต่อไปในอนาคต” เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆด้วยความหมายและคุณค่า เพียงแต่ว่า ในโครงงานที่จะทำแต่ละหัวข้อจริงๆนั้นเป็นอย่างไร นี่คือ สิ่งสำคัญกว่า
เราเห็นหลักการ การมีส่วนร่วม การบูรณาการ การเอาชาวบ้านเป็นตัวตั้ง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม…..พูดเมื่อไหร่ก็ผ่าน
มันเป็นคำที่คนในสังคมต้องพูดออกมา ความเข้าใจจริง โดยเฉพาะการปฏิบัติจริง อาจจะจริงแท้แน่นอน จนไปถึงมันก็แค่พูดออกมา แล้วก็ทำกันแบบเดิมๆ แล้วก็เก็บเข้าหิ้ง
ในจำนวนโครงงานวิจัยหัวข้อนี้ ผมเสนอพ่อครูบาเสนอว่า ควรจะมีหัวข้อหนึ่งคือ การศึกษาว่า “ผลงานวิจัยท้องถิ่นในอดีตที่ผ่านมาเอาไปปฏิบัติได้มากน้อยแค่ไหน กี่โครงการ กี่เปอร์เซนต์ กี่ส่วนแล้วผลลัพธ์ ผลสัมฤทธิ์มีแค่ไหนอย่างไร” นี่ก็ควรเป็นอีกหัวข้อที่น่าทำ
ในหลักการนั้นเป็นเรื่องสุดยอดที่ควรให้งบประมาณมากๆ และกระตุ้นครูบาอาจารย์ลงมาทำในทุกสาขาวิชา ทุกภูมิภาคของเรา แต่
มีบางประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องการวิจัยท้องถิ่น
นี่ขนาดคันเท่ามดตะนอยฟันหลอกัดยังขนาดนี้
ถ้าอยากฟังเต็มที่เต็มพุง คงต้องไปวันที่ 27-28 กพ. ที่สวนป่า
จะเฮฮาภาษาติดชึ่งกันให้ป่าแตก ไปเล๊ย
ผ่านฉลุยต้องฉลองแล้วน้องพี่
มีข่าวดีภาคใต้ได้เฮแน่
แป๊ดสอบผ่านงานใหม่เป็นแน่แท้
น้าอึ่งแห่กันไหมไปล้มทับ
ใครจะไปยกมือชูสูงๆ อิอิ หาเรื่องจนได้ อิอิอิ อีกที
โอยมีฟามสุข จะเจอเจ้าฟ้า เจ้าฟางด้วย
ผมเป็นวัยรุ่นครับ มีคำสั้น ๆ คือ “จ๊าบบบบบบบ แจ่มมมมมมม แจ๋ววววววว” อิอิ
เย็นนี้ครู Poo กลุ่มหน้าตาดีจะมาอุ้มไปเลี้ยงที่ร้าน ไก่ตะกร้า
พรุ่งนี้มื้อเย็น หมอเจ๊มา ท่านรอกอด จะอุ้ม ไปเลี้ยงที่ร้านไก่ตะกร้า
ทำไมจึงบังเอิญ เรื่องไก่ในตะกร้า อยู่เรื่อย อิอิ
พ่อขา
เผื่อนำแนเด้อ…
เจ้าหนูหนิงกลิ้งกลม ร้องขอให้ทานเผื่่อ อิอิ
มาิ่อ่านดูที่ีเขียนไว้ วุ้ย..สติแตกมั๊งน่ะตอนนั้น..อิอิ
———-
วันนี้ลงมา กทม.
แหม ถ้ามาเร็วกว่านี้ก็อยากมาร่วมด้วยครับพ่อครู..
ผมเอาลูกสาวมาส่งกรุงเทพฯ เธอได้งานทำแล้ว
จบปุ๊บได้งานปั๊บ แต่จะทำได้นานแค่ไหน ม่ายรุ
พรุ่งนี้จะเลยไปบ้านอ่างทอง ไปกราบแม่ที่ตักซะหน่อย นานๆโผล่ที แล้วก็เลยกลับขอนแก่นครับ