ขออุปการะความเห็น ด่วน!

อ่าน: 2076

เฮ้อ ! ผมไม่รู้จะทำยังไง

นักข่าวโทรมาถามความเห็นเรื่องน้ำท่วม

ถามมาหลายข้อ เช่น

การแก้ไขปัญหาของผู้ที่ได้รับเคราะห์กรรมจากน้ำท่วม

วิธีที่ดำเนินงานเป็นอย่างไรบ้าง เหมาะสมแล้วหรือยัง

มาตรการทที่รัฐบาลดำเนินการเป็นอย่างไร เหมาะสมไหม

กลไกที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมควรเสริมเติมอะไรลงไป

ผมก็ฉอดๆๆๆไปตามที่คันหัวใจ>>>>

  • รัฐฯจะวางตัวเองไว้ตรงไหนของปัญหาวาระแฉะแห่งชาติครั้งนี้
  • รัฐฯ ถามใคร ปรึกษาใคร มีต้นทุนในการแก้ปัญหาระดับอภิมหาอย่างไร?
  • รัฐฯมีข้อมูลเกี่ยวกับความลำบากยากแค้นของผู้คน2ล้านครอบครัวแค่ไหน
  • รัฐฯมีแผนงานงานเฉพาะหน้าช่วยบรรเทาวิกฤติครั้งนี้ให้ประสิทธิภาพอย่างไร
  • รัฐฯมีระบบบริหารจัดการทุกกรณีเป็นระบบอย่างไร
  • รัฐฯจะบริหารความเสียหาย ความช่วยเหลือประมาณไหนถึงจะเป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย
  • รัฐฯมีเหตุผลเพียงพอที่จะชี้แจงปัญหาทุกกรณีอย่างไร
  • รัฐฯมีทีมงานศึกษานโยบายหลังน้ำท่วมอย่างไร
  • รัฐฯตระหนักในมหาวิปโยคแห่งชาติคราวนี้แค่ไหน
  • รัฐฯ ทำงานได้ใจชาวบ้านแค่ไหน
  • รัฐฯ ทำไมยังดื้อตาใสจัดงานรถคันแรก ทั้งที่ผู้คนหมดเนื้อหมดตัวครึ่งค่อนประเทศ
  • รัฐฯ มีคำตอบในการแก้ไขวิกฤติแห่งชาติในคราวนี้แล้วหรือยัง
  • รัฐฯ d,bg-3jtpj34c,lqwg352-ุุ457274t223=๔%5%%%!@#$^*yg##@!:::!!!+++????????

โอยๆๆ ช่วยเติมหน่อยพี่น้องจะได้ฉอดๆๆๆยกที่ 2 อีก

« « Prev : น้ำขึ้นอย่ารีบตัก

Next : น้ำตาเซียน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

15 ความคิดเห็น

  • #1 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 ตุลาคม 2011 เวลา 17:09

    ไฟไหม้ก็ดับไฟก่อน เรื่องอื่นทีหลัง อิอิ

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 ตุลาคม 2011 เวลา 17:25

    มาแล้ว 1 ความเห็น คารวะ 1 จอก

  • #3 มิสเตอร์สะตอฯ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 ตุลาคม 2011 เวลา 17:38

    น้ำไม่ใช่มาแค่ผิวดินนะครับ ใต้ดินก็มีนะครับ ปรับตัว เข้าใจ เห็นใจ ทำใจ เอาใจช่วย เราอยู่สะดวกสบายกันมานาน ทุกคนควรจะยอมรับครับ น้ำต้องการที่อยู่เช่นกัน น้ำมีที่มา ต้องการที่อยู่ และต้องการที่ไป หากน้ำไม่มีที่ไป อย่างไรน้ำก็ต้องการที่อยู่ ถามว่าเราจะอยู่กับน้ำหรือเราจะไปกับน้ำครับ

    เอาใจช่วยทุกพื้นที่น้ำท่วม ปรับใจอยู่กับน้ำในยามที่ต้องเจอน้ำครับ ไม่ท่วมเองไม่รู้ครับ แต่เมื่อท่วมแล้วรู้แล้วก็ทำความเข้าใจให้มากๆ ครับ เพราะภัยก็เกิดจากการต่อสู้ของ ดิน น้ำ ลม ไฟ และใจคน นี่ละครับ ธาตุทั้งห้านี้แหละคือต้องทำความเข้าใจครับ

    ผมกำลังจำลองให้น้ำไหลตามระบบธรรมชาติดูอยู่ว่า น้ำจะไหลลงทะเลอย่างไร นอกจากจะไหลลองออกทางแม่น้ำ จะมีพื้นที่รอดน้ำท่วม พื้นที่น้ำท่วมขังยาวนาน

    กำแพงกั้นน้ำคงต้องทบทวนให้ดีนะครับว่าจะทำอย่างไรหากน้ำทะลักแล้วกำแพงกั้นพังลงมา เราจะเจอกับคำว่า สึนามิ มาแล้ว สึนามิป่า ต่อไปอาจจะมีสึนามิเมืองก็ได้ เพราะพลังน้ำจะส่งผลแตกต่างกันระหว่างน้ำค่อยๆ ไหลไป หรือกำแพงพังขึ้นมาน้ำจะไหลแรงขนาดไหนครับ ไม่ผิดครับที่จะตั้งกำแพงกั้น แต่หากพังจะรับมืออย่างไร เพราะเห็นบางทีบอกว่ากำแพงสูง 5-6 เมตร ลองจินตนาการดูนะครับ ผมไม่อยากจะขัดคอนะครับ แต่ให้คิดไว้ด้วยว่าเรากำลังสร้างอะไร หากผิดพลาดเราจะรับมืออย่างไรไว้ด้วยครับกับชีวิตที่อยู่ใกล้ๆ กำแพงกั้นเหล่านั้น

    น้ำเป็นตัวกลางในการส่งผ่านพลังงานที่มากระทบกับน้ำ เช่นเป็นคลื่นที่เกิดจากลม คลื่นที่เกิดจากเรือวิ่งในแม่น้ำ คลื่นที่เกิดจากการไหลของน้ำ และอื่นๆ ครับ ลองจินตนาการดูครับ หากพลังงานเหล่านี้ไปชนกระทบกับอาคารหรือกำแพงกั้นทั้งหลาย ตอนนี้ทรายขาดต้องไปขุดทรายที่อื่น เกิดการเคลื่อนคล้ายมวลทรายจากที่นึงไปยังที่นึง ปริมาณน้ำที่ยังอยู่บนฟ้าก็ยังมีครับ น้ำที่ต้องไหลมาจากทางส่วนเหลือ กทม.ก็ยังมีอยู่มากครับ หลายๆ ภาคส่วนคนต้องทำงานร่วมกันแล้วละครับ ในเชิงหลักการกับการปฏิบัติจริง เราเห็นธรรมชาติบังคับควบคุมยากเหมือนกันครับ

    ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ ผมจะช่วยในบริบทที่พอจะช่วยได้

  • #4 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 ตุลาคม 2011 เวลา 20:23

    สิ่งที่ผมจะเสนอนี้ เดาว่าหน่วยช่วยเหลือคงทำแล้ว แต่ก็อยากจะเสนอคือ

    ขั้นที่ 1 แก้ปัญหาเฉพาะหน้าพร้อม “คัดกรอง” แก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือ ทีมงานชุดที่ 1 ด่านหน้า ไปดูว่าไม่มีข้าวกินให้ข้าว ไม่มีน้ำให้น้ำ ไม่มีเสื้อผ้าให้เสื้อผ้าพออยู่ได้ก่อน ขณะเดียวกันทีมงานชุดที่ 2 มีความรู้เฉพาะด้าน สำรวจว่าใครเจ็บป่วย เจ็บป่วยขนาดไหน เล็กน้อย แจกยา ปานกลางดูแลรักษา หากหนักก็ย้ายต่อไปที่ศูนย์ดูแลหรือเอาเข้าโรงพยาบาล

    ขั้นที่ 2 กลุ่มที่ต้องเยียวยารักษาทุกรูปแบบต้องทำฐานข้อมูลง่ายๆ เร็วๆ เพื่อเป็นข้อมูลส่งให้ทีมแพทย์หรือฝ่ายเยียวยารักษา และฐานข้อมูลนี้ควรจะมีสำเนาให้บุคคลนั้นๆติดตัวใส่ถุงพลาสติกไว้ เผื่อมีการโยกย้ายก็เป็นข้อมูลให้ฝ่ายรับต่อได้รู้เรื่องไม่เสียเวลาอีก ฐานข้อมูลเหล่านี้ยังใช้เชื่อมกับหน่วยต่างๆที่เข้ามาช่วยเหลือ

    ขั้นที่ 3 ทีมงานสำรวจข้อมูลเชิงละเอียด ว่าแต่ละครอบครัวเสียหายอะไรบ้างจากปาดเปล่า ความทรงจำโดยไม่มีหลักฐานยืนยัน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเยียวยาต่อไปของฝ่ายราชการและหน่วนงานอื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้พร้อมแลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ในช่วงแก้ปัญหาเฉพาะหน้านี้และติดตามหลังเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

    งานเหล่านี้ต้องการทีมงานและเครื่องมือจำนวนไม่น้อย สามารถระดมทหาร นักเรียนระดับ ปวส.ขึ้นไป มาช่วยได้

    กระบวนการนี้เขาใช้กันมาตั้งแต่สงครามโลกแล้วครับ ในภาวะสงครามนั้น เขาจะแบกคนบาดเจ็มมากองรวมกัน หมอมีหน้าที่คัดกรองว่า 1 ไอ้หมอนี่ตายแน่ๆ ช่วยอย่างไรก็ตาย คัดออกไปกลุ่มหนึ่ง ใครที่รักษาแล้วอยู่รอดได้ เอาไว้กลุ่มหนึ่ง และกลุ่มที่บาดเจ็บไม่มาก ดูแลรักษาแล้วไปพักผ่อนดูแลตัวเองได้ เขาเรียก ทฤษฎี Triage หมอที่โรงพยาบาลทราบเรื่องนี้ดี เขาเรียกภาษาไทยว่า “การคัดกรอง” บางโรงพยาบาลเขียนป้าย Triage เลยด้วยซ้ำไป

    วิธีการแบบนี้ผมดัดแปลงเอามาใช้กับงานพัฒนาชนบทเช่นกัน เช่น ไปสำรวจกลุ่มต่างๆในชุมชนว่ามีกลุ่มสารพัดกลุ่มนั้นน่ะ กลุ่มไหนอาการอย่างไร ไปหาข้อมูล วิเคราะห์ พิจารณาแล้วจัดกลุ่มขององค์กรเหล่านั้นออกมา หากทำละเอียดก็สร้างตัวชี้วัดง่ายๆออกมาก็ได้

    เบื้องต้นมีแค่นี้ก่อนครับ

  • #5 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 ตุลาคม 2011 เวลา 20:58

    อาจารย์เม้ง มองว่าคนไม่เข้าใจธรรมชาติ ทำอะไรตามอำเภอใจ เมื่อสภาพธรรมชาติเปลี่ยนไป ด้วยความไม่เข้าใจ ยิ่งทำก็ยิ่งสร้างความปกติซับซ้อนมากขึ้น ภัยพิบัติเป็นสัญญาณเตือน แต่มนุษย์ก็ยังปีนเกลียวธรรมชาติมากขึ้น จึงยากที่จะทำความเข้าใจให้มนุษย์ขี้เหม็น เคียวเข็ญเทวดา อิ

  • #6 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 ตุลาคม 2011 เวลา 21:01

    ท่านบางทรายให้มุมมองอย่างเป็นระบบ ชัดเจน เจ้งเป้ง จะบอกให้นักข่าวมาคัดกรองไปเขียน ไปถ่ายทอด อิ

  • #7 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 ตุลาคม 2011 เวลา 23:09

    เติมความเห็นพี่บู๊ดอีกหน่อย บริการสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ บริการถ่ายภาพบ้านและสภาพที่เสียหายเอาไว้ เพื่อเป็นหลักฐาน ส่วนนี้สำคัญมากๆสำหรับการใช้เป็นหลักฐานขอรับความช่วยเหลือ

    การจัดทำฐานข้อมูลที่ทางการเคยใช้ที่กระบี่ จะให้ผู้นำชุมชนเป็นพื้นที่ลงทะเบียนแสดงตัวผู้ประสบภัย การแจกแจงหน่วยลงทะเบียนให้ชาวบ้านเข้าใจว่่า ใครต้องไปลงทะเบียนที่ไหน และปชส.เหมือนหน่วยเลือกตั้งจะช่วยได้เยอะ

    ที่สำคัญเมืองค้าขายมีผู้ประสบภัยที่ไม่ได้มีภูมิลำเนาในพื้นที่ก็มี ยานพาหนะหรืออุปกรณ์ทำมาหากินหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านอะไรเสียหายบ้าง ทำทะเบียนไว้ก็ดี ผู้มาให้ความช่วยเหลือจะได้สะดวกในการจัดหามาสนับสนุนได้เหมาะใจ

    ในยามนี้เรื่องของการเจ็บป่วยเป็นรองสำหรับชาวบ้าน การได้รับรู้ความเสียหายของที่อยู่อาศัยและการคงอยู่ของทรัพย์สินเป็นอะไรที่ทำให้เขามีความสุขกว่า

    บางคนได้สิ่งของชดเชยมา แต่ก่อนน้ำท่วมมีภาระให้แบกรับอยู่ ผู้คนเหล่านี้ควรได้รับการช่วยเหลือด้วย เพราะนี่เป็นต้นเหตุหนึ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังของการทำร้ายตัวเองจากภาวะซึมเศร้าที่ไม่ใคร่ได้สนใจกัน

  • #8 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 ตุลาคม 2011 เวลา 0:30

    ตัดคำว่า”รัฐ”ออก อีโก้ของคำว่ารัฐหายไป ปัญหาก็หายไปตั้งเยอะแล้วครับ

  • #9 มิสเตอร์สะตอฯ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 ตุลาคม 2011 เวลา 7:01

    การใช้หลักการ 2P2R (Preparation + Preention + Respond + Recovery (รีบประคบกันเร็วรี่)) ผมเปลี่ยนเป็น กขล หรือ ไก่ไข่ลิง
    ก. คือ ก่อนภัยมา
    ข. คือ ขณะภัยเกิด
    ล. คือ หลังภัยผ่าน

    ตอนนี้น้ำท่วมที่เกิดอยู่มีทั้ง กขล. ขึ้นกับว่าพื้นที่ไหน กำลังจะท่วม หรือกำลังท่วม หรือ ท่วมไปแล้ว น้ำท่วมบางที่น้ำมาโดยไม่รู้ตัวแต่อย่างไรก็ตามยังมีเวลาเตรียมตัวได้มากกว่าแผ่นดินไหวครับ
    อย่าง กทม. เรารู้ก่อนตั้งแต่น้ำตกถึงพื้นที่ภาคเหนืออีสานนั่นละว่าหากน้ำมากๆ แบบนี้ กทม.โดน แต่การเตรียมการ เตรียมคน ทำอะไรกันไปบ้าง ตอนนี้ผมว่าคนพร้อมกันหรือไม่ที่จะคิดว่าอะไร
    ควรอะไรปล่อย เราทำให้คนเห็นค่าของชีวิตสำคัญกว่าข้าวของได้ไหม หากชีวิตไม่อยู่ข้าวของยังอยู่เราจะใช้ข้าวของนั้นอย่างไร ควรดูบริบทกันด้วยครับ เมื่อวานชาวบ้านที่สทิงพระ จ.สงขลา โทรมาถามผม
    ว่าตอนนี้มีข่าวมั่วไปหมดแล้วว่าพายุกี่ลูก จะเข้าที่นั่นที่นี่ ผมไม่แน่ใจว่าข่าวจากไหนกัน ผมเลยบอกว่าหากมีอะไรจะเกิดขึ้นเช่นพายุผมจะโทรไปบอกพี่น้องก่อน เพราะชาวบ้านแถวนั้นไม่ได้กลัวฝนตกหนักใช่ไหม
    น้ำท่วมชาวบ้านไม่ได้กลัวใช่ไหม แต่ชาวบ้านกลัวลมพายุ เพราะเค้าอยู่กับน้ำกันมาก่อนแล้วครับ

    เตรียมความรู้คนแล้ว ทำให้คนไม่ตระหนกตกใจ แต่คนมีสติตระหนักในภัยที่กำลังจะมาครับ จะเตรียมตัวป้องกันระดับตน ครัวเรือน ชุมชนกันอย่างไร แผนก็จะชัดแต่ละระดับ

    ฐานข้อมูลนั้นสำคัญมากๆ แต่ต้องทำในตอนที่ปกติ แต่ปกติเราจะทำตอนเกิดภัยกัน เราก็จะมีฐานข้อมูลชุดต่างๆ เช่น ฐานคน ฐานทรัพยากร ฐานภัยพิบัติ ฐานความช่วยเหลือ สี่ฐานนี้ชัดเจนสำหรับการจัดการภัยพิบัติ แต่
    หากให้ครอบคลุมจะมีจำนวนสิบกว่าฐานข้อมูล ที่เชื่อมโยงกัน มันจะเป็นระบบมากกว่านี้ครับ ทำให้เราทำงานเชิงรุกได้ครับ

    หลังจากนี้ลองถอดบทเรียนกันดูครับ จะทำให้เราทราบว่า ในยามที่ กขล. นั้น เราขาดอะไรไปบ้าง อะไรจำเป็น ไม่จำเป็น

    อีกอย่างฝากสร้างบุคลากรทางด้าน อุตุนิยมวิทยา การคำนวณ จำลอง พยากรณ์ใส่ไว้ในประเทศเยอะๆ หน่อยนะ ตอนนี้พอยามเกิดเหตุนักวิจัยเงินล้านหายไปไหนกันหมด จะเหลือแต่คนโม้ใช้ I Think Model ช่วยชาติไม่ได้ครับ
    อยากให้กลุ่ม I DO Model มากๆ หน่อยครับ จะได้ให้คำแนะนำกลุ่มคนบริหารประเทศได้ไม่ผิดที่ผิดทางหรือผิดเวลาครับ

    คนไทยมีน้ำใจ ตรงนี้จะช่วยได้ระดับหนึ่งครับ ผมว่านี่แค่บททดสอบสำหรับ กทม.ครับ

  • #10 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 ตุลาคม 2011 เวลา 8:36

    โห ข้อเสนอแนะล้วนจ็าบส์ๆทั้งนั้น
    ขอคารวะ 10 จอก
    น้ำท่วมทุกแห่ง
    แต่ลานปัญญาไม่ท่วม
    น้ำไม่ท่วมปัญญา
    ปัญญาจะช่วยรักษาและหาทางออกให้กับสังคมไทย
    คิดอะไรได้ ขออีก ๆๆๆ
    เมื่อข้อคิดพร้อม ท่านบางทรายประมวลเป็นจดหมายเหตุประเทศไทย ฉบับ เฮฮาศาสตร์ ดีไม๊ครับบบบบบบบบบบ

  • #11 ออต ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 ตุลาคม 2011 เวลา 10:40

    ย้ายเมืองหลวงมาอีสานเถอะครับ
    เมืองบางกอกจะเจอปัญหาอีกเยอะในอนาคต
    น้ำท่วม น้ำทะเล แผ่นดินไหว แผ่นดินทรุด

  • #12 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 ตุลาคม 2011 เวลา 11:28

    ไม่ชวนก็มาอยู่แล้ว
    เมืองหลวงจะแตกภายใน 10ปีนี้
    ปัญหาก็คือว่า จะมาทำบ้าๆบอๆใส่อีสานนะสิ
    ต้องแจกหนังสือ สอนวิธีที่จะอยู่อีสาน อิ อิ

  • #13 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 ตุลาคม 2011 เวลา 11:56

    เฝ้ามองการจัดการด้วยความเห็นใจทุกฝ่ายเลยค่ะ

    ทุกคนก็คงหวังดีต่อเพื่อนร่วมชาติ และต่อประเทศ เมื่อมีภัยพิบัติก็ช่วยกันตามกำลังสติปัญญา
    ความจริงตัวเองก็เพิ่งผ่านเรื่องน้ำท่วมบ้านไปหมาดๆ แต่ได้รับความเสียหายน้อยเพราะคำนวณเวลาที่น้ำมาถึงได้จากการที่เป็นคนในพื้นที่ รู้ระดับน้ำและรู้ลักษณะดินของพื้นที่อยู่บ้าง เลยพอจะทำการป้องกันไว้ได้ก่อนบ้าง…(มีประสบการณ์จากน้ำท่วมเมื่อ 48 เป็นบทเรียนและจากการอ่านติดตามบล็อกคุณคอนที่เตือนให้เตรียมตัวอย่างไรๆๆ ไว้ก่อน)

    มีแนวคิดและคำถามที่อาจจะมีคำตอบและมีการจัดกระทำไปแล้วนะคะ แต่ก็อยากให้ความเห็นอย่างนี้ค่ะว่า…

    1 การประเมินน้ำท่วม..ตั้งแต่ก่อนน้ำท่วมนั้นประเมินค่อนข้างต่ำไปหรือเปล่า ในทุกพื้นที่นะคะ

    2 เมื่อประเมินต่ำ การสื่อสารเลยน้อยไปในช่วงการเตือนให้ป้องกันหรือเปล่า..เดาว่าคงมีเตือนมั้งนะคะ แต่อาจจะไม่ได้ทั่วถึงจนเกิดความเข้าใจจริง (ที่เรียกว่ารู้ว่าอะไรเป็นอะไร)
    เชื่อว่าคนไทยไม่ดื้อมากหรอกถ้ามีข้อมูลเหตุผลที่ทำให้เข้าใจได้ง่ายและให้เวลาตัดสินใจ ฟังข่าวที่ไม่สบายใจคือการไปประนามคนที่ไม่ยอมย้ายออกที่ว่าทำไมน้ำมาแล้วยังไม่ยอมย้ายนั้น….ถ้าตั้งใจฟังสิ่งที่เขาสื่อสารจากสัมภาษณ์แต่ละคนก็จะบอกว่า คาดไม่ถึงว่าน้ำจะมาเร็ว มามาก …แสดงว่าความเข้าใจเรื่องการเดินทางของน้ำคงยังไม่แม่นยำพอ

    3 การวางแผนเป็นระยะ ไม่ทราบว่ามีอย่างไร เช่นระยะก่อนน้ำมา ….แผนที่หมู่บ้านมีรายละเอียดพอไหม ทั้งในแง่ของสา’สุข มหาดไทย เกษตร ฯลฯ เช่นเรื่องจำนวนคน การมีคนช่วยตัวเองได้ไม่ได้กี่คน ความจำเป็นเร่งด่วนเรื่องการนัดหมายรับบริการบางอย่างล่วงหน้าเช่นในกรณีคนป่วยได้นัดเอายาล่วงหน้ากี่เดือน เผื่อกรณีน้ำท่วมมายาหมด หรือมีคนต่างด้าวในพื้นที่อยู่บ้านเช่ากี่ราย เป็นต้น หรือระยะเมื่อน้ำมา หลังน้ำมา ….แผนคงต้องไปกับข้อมูลเรื่องน้ำ ระยะเวลาที่น้ำจะมา ….คิดว่าถ้านักคำนวณเวลาการเดินทางของน้ำ ความแรง ปริมาณ สามารถช่วยได้จะช่วยให้แผนรัดกุมขึ้น(หรือเปล่า)

    4 มีแผนสำรองอย่างไร ในกรณีที่มีน้ำจากหลายแหล่ง เช่นจากเขื่อน จากฝน จากทะเล ….คิดว่าผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำคงมีข้อมูลคำนวณแล้ว ในทุกกรณี แต่ไม่ค่อยปรากฎตัวอธิบายกันชัดๆเจนๆ ในระยะที่น้ำยังลงไปไม่ถึงภาคกลาง ….ที่จริงถ้านับระยะน้ำท่วมทางเหนือก่อนถึงภาคกลางมีเวลากว่าเดือน ในการเตรียมการณ์เรื่องแผนสำรอง …ฟังจากข่าวสัมภาษณ์ผู้ว่าการ กทม. ท่านก็กล่าวว่าได้เตรียมการณ์ล่วงหน้าแล้ว ก็น่าจะแสดงว่าที่ต่างๆ ก็คงมีการเตรียมล่วงหน้าด้วยข้อมูลที่ชัดเจนเหมือนกัน ….แต่อาจจะเพราะข่าวที่ปรากฎไม่ค่อยกล่าวถึงเลยไม่ได้รับทราบ

    5 คนที่เคยน้ำท่วมมาก่อนจะไม่กลัวน้ำท่วมมาก และจะค่อนข้างรู้ว่าควรเตรียมตัวเองอย่างไร ประสบการณ์ช่วยได้มาก ส่วนหนึ่งเมื่อรู้ก็จะตั้งมั่นในพื้นที่เฝ้ามองและหาทางจัดการตามกำลังตัวเอง ….แต่ที่เป็นปัญหาคงเรื่องแผนสำรองว่าเมื่อน้ำสูงจนอยู่ไม่ได้ตัวเองจะจัดการตัวเองอย่างไรดี …ถึงจุดนั้นแล้วขอความช่วยเหลือมันยากกว่าเพราะเกือบทุกคนต้องการความช่วยเหลือ…คนจะช่วยมักมาจากคนนอกพื้นที่ซึ่งก็ช่วยแบบประคับประคอง และมีข้อมูลเท่าที่มี

    6 แผนในข้อ 3 4 และ 5 ได้วางร่วมกันและลงความเห็นร่วมกันหรือเปล่า….ถ้าหากว่าได้ร่วมกันตั้งแต่ต้น ปัญหาความอิหลักอิเหลื่อในการจัดการคงบรรเทาลงบ้าง

    6 ข้อก็คิดวิเคราะห์ต่อเหตุการณ์นะคะ ….แต่ที่ตัวเองมองอย่างห่วงใยคือ เมื่อน้ำท่วมคือภัยพิบัติระดับชาติ เป็นวาระแห่งชาติ ….องค์กรต่างๆรวมภาครัฐได้ดำเนินการให้เป็นวาระชาติที่ทุกคนต้องร่วมกันอย่างไร

    ภัยคราวนี้ต้องการความช่วยเหลือทุกภาคส่วน …เช่นตอนนี้แรงงานที่ขาด…เช่นการช่วยคน การทำครัว การใส่กระสอบทราย การเคลื่อนย้ายต่างๆ …ยังอยู่ในระดับจิตอาสาเฉพาะบุคคลอยู่หรือเปล่า หรือว่าเป็นระดับหน่วยงาน อย่างที่เห็นหน่วยราชการก็มุ่งที่ทหารเป็นหลัก ….รัฐและองค์กรใหญ่ๆ รวมทั้งห้างสรรพสินค้าต่างๆ ที่มีกำลังคน ได้พิจารณาการจัดการเป็นระบบ อย่างไร เช่น หน่วยงานรัฐนอกพื้นที่น้ำท่วมควรจัดแรงงานภาครัฐไปช่วยโดยถือเป็นเวลาทำงาน มีเบื้ยเลี้ยงตามสมควรหรือไม่อย่างไร หน่วยงานเอกชนนอกพื้นที่น้ำท่วมควรจัดเจ้าหน้าที่ที่มีขีดความสามารถในงานต่างๆเหล่านั้นไปทำงานโดยถือเป็นการทำงานและมีโบนัสสำหรับคนที่ไปอย่างไร สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งประเทศถือเป็นเรื่องรับผิดชอบของตัวเองที่จะต้องใช้ความรู้ความสามารถของคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และแรงจากนักศึกษาไปทำงานแหล่านั้นโดยถือเป็นพันธกิจที่ต้องทำต่อประเทศชาติอย่างไร

    เสียใจกับผู้ประสบภัยและให้กำลังใจทั้งผู้ประสบภัยและผู้ที่เหน็ดเหนื่อยกับการดูแลช่วยเหลือทุกๆคนค่ะ

  • #14 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 ตุลาคม 2011 เวลา 17:12

    ความเห็นอุ้ยเป็นหลักเป็นฐานมาก
    ถ้าเก็บไปเติมในแผนที่จะฉุกคิดกันใหม่จะเป็นประโยชน์มาก
    เมืองไทย มีจุดอ่อนเรื่องแผน
    แผนล่วงหน้าไม่มี มีแต่แผนแก้ผ้าเอาหน้ารอด
    พอเจออภิมหาน้ำท่วม จึงทำอะไรไม่ถูก
    กว่าจะตั้งตัวได้ น้ำก็ท่วมมาถึงจมูกแล้ว
    ได้แต่หวังว่า ภัยวิปโยคครานี้จะกระตุกให้ไทยใส่ใจกับทุกเรื่องอย่างจริงจัง

    ขอบคุณอุ้ย ถ้ายังคันในหัวใจก็ส่งมาอีกนะครับ

    เออ ว่าแต่แผนครูอึ่ง ยังไม่มา

  • #15 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 ตุลาคม 2011 เวลา 0:18

    ยินดีครับพ่อครู หลังงานด่วนผมเสร็จแล้วจะมาลองขยับดูครับ

    ปัญหาที่ผมพบคือ เครื่องมือการเข้าถึงผู้เดือดร้อน นี่จีนส่งเรือมาให้ นับหลายสิบลำ นี่หากพี่น้องที่มาชุมนุมกันที่ราชประสงค์ ที่สนามหลวง ที่มัฆวาลออดมาเดินขวนอีกครั้งแต่ไปช่วยเหลือกันนะ โลกจะปรบมือให้ว่าคนไทยรักกันยามวิกฤติ ยามปรกติก็ค่อยตีกันใหม่ ห้า ห้า เงินที่จะทำบ้านหลังแรก รถคันแรกที่พ่อครูว่า เอาไปให้วิทยาับยเทคนิคสร้างเรือ ผมว่าได้เป็นพันๆลำเลย น้องชายผมเป็นอาจารย์ที่เทคนิคอ่างทองก็ทำมาแล้ว แต่ไม่มีใครมาสนุบสนุนงบประมาณ ชาวบ้านด็เลยช่วยตัวเองตามที่หลายท่านเสนอความคิดสร้างยานพาหนะแบบง่ายๆเพื่อช่วยตัวเอง

    เอ…ต่อไปแผนชาติอาจจะต้อง มีปัจจับเตรียมพร้อมในการสร้าวเรือไว้ที่วิทยาลัยเทคนิค หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ในภูมิภาคต่างๆ คณะโภชนาการ ก้าวลงมาทำอาหารแจกชาวบ้านแบบง่ายๆที่ไม่บูดง่าย ฯลฯ หากน้ำท่วมคราวหน้า ภายใน 3 วันวิทยาัลยเทคนิคสามารถผลิตเรือนับร้อยลำส่งไปให้ผู้เดือดร้อน อะไรทำนองนี้ ไม่ใช่มีความรู้ ความสามารถ เมื่อยามต้องการกลับทำอะไรไม่ได้ ไปร้องขอบริจาคอย่างเดียวไม่ได้ ออกทีวีพันครั้งก็ไม่ได้เรือมาสักลำหรอกครับ

    งบประชานิยมน่ะ เอาเลย เทเอามาเลย นี่แหละประชาจะนิยมโดยแท้เพราะมาใช้ประโยชน์จริงๆ เห็นๆ เนื้อๆ ยามวิกฤติ อ้าว บ่นซะแล้ว…


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.92515206336975 sec
Sidebar: 0.26746797561646 sec