สะบายดีที่ริมโขง

อ่าน: 3930

(แพยนต์นำเราข้ามโขงยามน้ำหลาก)

นึกว่าจะแห้วไม่ได้ข้ามไปฝั่งลาว แต่ถึงคราวฟ้าบันดาลอะไรๆก็เกิดขึ้นได้ ช่วงสายๆรวบรวมบัตรประชาชนให้ผู้ประสานงานไปจัดการเรื่องบัตรผ่านแดน คราวนี้เราจะเอารถยนต์ข้ามไป โดยขึ้นเรือแพที่ท่านครพนม-ท่าแขก ผู้สันทัดกรณีเล่าว่า ถ้าเป็นรถปิคอัพเสียค่าบริการไป-กลับ800บาท รถบรรทุกจ่ายอัตรามากกว่านี้อีก ราคานี้ไม่ตายตัวด้วยนะ ถ้าเป็นวันหยุดราคาก็จะแพงกว่านี้ แสดงว่าราคาไม่นิ่งไม่แน่นอน ต้องสอบถามกันเป็นคราวไปๆ การเดินเอารถข้ามถือว่าสะดวกพอควร ไม่ต้องรอนานก็ได้ลงแพข้ามแม่น้ำโขง เสียเวลาประมาณครึงชั่วโมงก็มาปร๋อที่แผ่นดินลาว

โขงวันนี้น้ำไหลเอื่อย ระดับน้ำขึ้นมารักษาสภาพแม่น้ำสายใหญ่อีกครั้งหนึ่ง

ที่ท่าแขกคึกคัก การค้าขายเจริญรุดหน้า

แอบถ่ายรูปอี่น้องนางลาวโทรศัทพ์คิกๆคักๆ

(ถึงจะใส่รองเท้าสวยแต่ก็ยังไม่ทิ้งผ้านุ่งแน่นอน)

ถึงจะโดนแฟชั่นค่ายไหนๆบุก คนลาวก็ยังนุ่งซิ่นสวยเป็นอัตลักษณ์ที่ยึดมั่นวัฒนธรรมการแต่กายแห่งตน ดูเรียบร้อยสวยงามเหมาะสม ต่างจากบ้านเราที่เพิ่งจะกระโต๊กกระตากให้ข้าราชการแต่งกายสไตล์ไทยกันอีกคำรบหนึ่ง ต่อไปก็จะเห็นชุดพระราชทาน ชุดไทยประยุกต์ออกมาให้ชมกัน ก็ดีนะครับช่วยๆกันอุดหนุนผ้าไทย ช่วยให้นิยมไทยผ่องใสกลับมา

(เลี้ยงวัวผสมผสานในสวนยางพาราที่แขวงคำม่วน)

มาเที่ยวลาวหน้าฝน ทุกแห่งหนช่วงฉ่ำ การทำไร่ทำนายังล่าช้ากว่าฝั่งไทย อาจจะเป็นเพราะฟ้าฝนดีไม่ต้องรีบกระหืดกระหอบเร่งทำแบบฝั่งเราก็ได้  หลังจากขับรถลึกเข้าไปในพื้นที่ เห็นสวนยางพารากำลังขยายตัวแทนป่าไม้ธรรมชาติทั่วไป บางแห่งที่สวนยางต้นโต ชาวบ้านเอาวัวฝูงมาเลี้ยง เป็นวัวพันธุ์พื้นถิ่นตัวเล็กกินน้อยแต่ออกลูกถี่ปีละตัว ธรรมชาติได้คัดสรรพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ให้สอดคล้องกับความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม ส่วนจะปรับปรุงพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ให้ดีขึ้นอย่างไรนั้น ก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมกับความเป็นไปได้พอสมคร

เรายังไม่รู้ว่า  ถ้าพื้นที่ป่าไม้ลาวเปลี่ยนมาเป็นสวนยางพาราฝนฟ้าจะเป็นปกติรึเปล่า

(ขอร้องให้เหลือต้นไม้ใหญ่ๆไว้บ้าง แต่ก็ได้น้อยเต็มที)

ยางพาราขึ้นราคากระฉูด ทำให้พื้นที่ป่าไม้ธรรมชาติหดหายไปอย่างรวดเร็ว ฝั่งไทยปลูกยางพาราส่วนใหญ่ในพื้นที่ทำการเกษตรอยู่เดิม จะปลูกยาพาราในป่าใหม่บ้างก็คงไม่มากเท่าไหร่ ส่วนมากจะเปลี่ยนจากการปลูกพืชดั่งเดิมมาเป็นสวนยาง แต่ที่ประเทศลาวชาวเกษตรกรจะเปิดป่าปลูกกัน แน่ละดินดีมีความอุดมสมบูรณ์สูง พืชผลย่อมงอกงามตามต้นทุนทางธรรมชาติ พื้นที่ๆไปชมการเปิดป่าดินร่วนปนทราย มีตอไม้ ต้นไม้ กิ่งไม้เกะกะ บางแห่งจุดไฟเผาตอไม้กิ่งไม้ควันโขมง คุยกันว่าถ้าปลูกยางพารา ปลูกไผ่กิมซุง ไม้อาคาเซีย ช่องว่างระหว่างแถวน่าจะปลูก-ข้าวไร่-ถั่วลิสง-กระเจี๊ยบแดง-ขิงพันธุ์จากจีน-ฯลฯ ด้วยทรัพย์ในดินที่ยังมีมหาศาล คงประหยัดปุ๋ยแทบจะไม่ต้องใส่ไปอีกหลายปี

(ระหว่างธรรมชาติปลูกกับคนปลูกน่าคิดนะ ในภาพเตรียมปลูกถั่วลิสง-ยางพาล้า-อาคาเซีย และ-ไผ่กิมซุง)

โชคดีที่พี่น้องลาวชวนกินข้าวเที่ยง

เอาปลาเผาะมาปิ้งกินกับตำหมากหุ่ง

ปลาเผาะแม่น้ำโขงนั้นถือว่าเป็นสุดยอดแห่งปลา

ที่เวียดนามมีการเลี้ยงส่งออกเพื่อไปทำสะเต๊กในยุโรป

ในไทยเราก็มีผู้สนใจเลี้ยงบ้าง

เอามาต้มยำน้ำข้นเธอเอ๋ย..เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม

(ปลาเผาะราคาซื้อขายฝั่งลาว ก.ก.ละ 60-80 บาท)

แต่เรื่องที่อึ้งกิมกี่ก็คือ ในวงข้าวมื้อเที่ยง

มีคุณครูของลาวสามีภรรยาร่วมวงด้วย

คุยกันไปมาได้ข้อมูลใหม่..คุณครูลาวถ้าวันไหนไม่มีวิชาสอนก็บ่ต้องไป

ไม่ต้องแต่งตัวไปโรงเรียนทุกวัน

คุณครูลาวจึงมีเวลามาทำกิจกรรมสร้างงานสร้างรายได้เพิ่มขึ้น

กึ่งๆระหว่างทำราชการด้วยทำการงานอาชีพอื่นด้วย

ผมไม่ทราบว่าจะทำได้ทุกระดับหรือเปล่านะครับ

แต่..ชอบใจมากที่คุณครูแขวงคำม่วน..ม่ ว น อ๊ ก ม่ ว น ใ จ จ น น่ า อิ จ ฉ า . .

คุณครูคู่ที่ว่านี้เพิ่งแต่งงานเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว

จัดงานอย่างชื่นมื่นตามฐานะที่กำลังอู้ฟู่

ในวันเลี้ยงฉลองสมรส..จัดโต๊ะลาว 100 กว่าโต๊ะแน๊ะ

ไม่ บ้ า จั ด โ ต๊ ะ จี น เหมือนบางประเทศหรอกนะ..ขอบอก

เ มิ น โ ต๊ ะ ไ ท ย เ ฉ ย เ ล ย โธ่ๆๆๆ

เอาไว้ผมแต่งคราวหน้าจะอนุรักษณ์ไทย  จั ด โ ต๊ ะ ไ ท ย ใ ห้ ส บึ ม ส์ ฮ่าๆๆๆ

ระหว่างนั่งรอที่สนามบิน หยิบนิตยสารผู้จัดการมาอ่าน 2-3 เล่ม

มีเล่มหนึ่งออกเดือนกันยายนปีที่แล้ว

มีเรื่องราวของอาว์เปลี่ยนที่ไปบุกเบิกงานด้านอาชีพให้พี่ลาวในเมืองหงสา

มีรูปพระเอกหรา..อ่านแล้วดีใจหลายเด้ออ้าย-ปา-ลี-ยอน

ทำให้ผมอยากไปเที่ยวหงสาใจจะขาดรอนๆ..

ประมาณปลายมีจะมีรายการไปพบปะนักศึกษาจุฬาลงกรณ์ที่น่าน

ต้องไปอยู่หลายวัน ถ้าไปถึงน่านก็ใกล้หงสาแล้ว

อ า จ จ ะ ไ ป ลุ ย ห ง ส า ช่ ว ง นั้ น ก็ ไ ด้ น ะ อ า ว์ เ ป ลี่ ย น

(เสียมลาวอันละ60บาท กาแฟถ้วยละ50บาท คนขายคิดค่ายิ้มด้วย ฮ้าว!ยังงี้ก็มีด้วยเรอะ)

บินเข้าบางกอกช่วงหัวค่ำ

เหมือนแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ แสงสว่างกระจ่างดุจกลางวัน

เราตระหนักถึงเรื่อง..ประหยัดพลังงานประหยัดไฟ แค่ไหนก็ไม่รู้เน๊าะ

Key word :

“ไม่ประหยัดใจประหยัดไฟ ไม่นานหรอก อีกหน่อยจะตาบอดคลำตอแทนตาบอดคลำช้าง”

ชิมิ ชิมิ ..

« « Prev : เสียงสวรรค์

Next : คิดถึงอุ้ย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

8 ความคิดเห็น

  • #1 silt ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 มิถุนายน 2011 เวลา 9:20

    พ่อครูยังตามเจอะเจอร่องรอยจนได้ อิอิ

    ตอนนี้เป็นสัปเหร่อครับ พี่น้องในการดูแลลาจากไปโลกหน้า ด้วยโรคไต
    พอดีมาเจอตอนกำลังจะ บาย บาย
    ต้องช่วยตั้งแต่ต่อหีบ แต่งหีบ นิมนต์พระ เล่นไพ่เป็นเพื่อน จนจูดร่างเป็นธุลีคืนแม่ธรณี
    แล้วต้องหาทางเยียวยาครอบครัวเขาต่อ

    ปลาเผาะ เมื่อเจ็ดแปดปีก่อนที่มุกดาหาร กับชาณุมานมีการลากอวนจับลูกปลาเผาะส่งญี่ปุ่นเป็นล่ำเป็นสันครับ
    เห็นบอกว่าเขาเอาไปขุนขึ้นเหลา
    ยังเพาะพันธุ์ไม่ได้ ต้องจับจากแม่น้ำโขงแหล่งเดียวครับ

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 มิถุนายน 2011 เวลา 10:03

    เห็นที่ศูนย์เพาะพันธุ์ปลากรมประมงที่อุบล ติดชื่อหราว่าปลาเผาะ ไม่ทราบว่าเผาะจริงหรือเผาะปลอม หรืออ้างข้างๆคูๆว่าปลาเผาะลูกผสม ถ้าเพาะพันธุ์ได้จริงคงสะบึมส์น่าดู
    ตอนนี้อยู่หงสา ถึงเดือนไหน
    ไม่แน่นะครับอาจจะบุกไปไม่ให้รู้เนื้อรู้ตัว จะไปคลำคิงเบิ่งว่ายัง จ๊าบส์ อยู่รึเปล่า อิ

  • #3 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 มิถุนายน 2011 เวลา 11:37

    ขาเล็ก ส่งข่าวว่าทีกาฬสินธ์ มีผู้เพาะปลาเผาะได้ คงจะแอ๊บไปดูสักวัน

  • #4 creamygipsy ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 มิถุนายน 2011 เวลา 14:30

    ได้ยินชื่อ ปลาเผาะ เป็นครั้งแรกค่ะ
    จดจำเอาไว้ว่าหากมีโอกาสไปถิ่นอีสาน
    จะต้องหาทางชิมให้ได้สักมื้อ..

  • #5 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 มิถุนายน 2011 เวลา 19:13

    รูปร่างคล้ายๆปลาบึก ปลาเทโพ ปลาเทพา แต่ตัวสั้นกว่า
    ทำอะไรก็อร่อย เพราะเนื้ออร่อยอยู่แล้ว อิ

  • #6 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 มิถุนายน 2011 เวลา 9:19

    ปลาเผาะ มีการนำมาเลี้ยงในกระชัง แล้วแช่แข็งส่งไปเมืิงนอก เขาว่าทำเสต็กปลาวิเศษนัก แต่ผมไม่มีรายละเอียดครับ

  • #7 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 มิถุนายน 2011 เวลา 10:59

    บิ๊กจิ๋ว เคยตีปิ๊บเรื่องนี้ พักหลังเห็นซาๆไป แต่ถึงยังไงใครมีบ่อดิน หรือเลี้ยงในกระชังก็น่าสน เพราะเลี้ยงง่าย เนื้ออร่อย ต้มยำแซบหลาย อิอิ

  • #8 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 มิถุนายน 2011 เวลา 11:04

    ปลาเผาะ ชื่อเรียกปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius bocourti อยู่ในวงศ์ปลาสวาย, ปลาสังกะวาด (Pangasiidae) มีลักษณะส่วนหัวมนกลม ปากแคบ รูปร่างป้อม ท้องอูม ลำตัวตอนหน้าค่อนข้างกลม และแบนข้างเล็กน้อยที่ด้านท้าย ครีบไขมันเล็ก ปลาวัยอ่อนมีสีเทาเหลือบเหลืองหรือเขียวอ่อน ข้างลำตัวมีแถบคล้ำ ครีบอกมีแต้มสีจาง ปลาตัวเต็มวัยมีสีเทาอมน้ำตาลอ่อนหรือฟ้าอ่อน ท้องสีขาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำจาง มีขนาดประมาณ 60 - 80 เซนติเมตร

    ปลาวัยอ่อนกินแมลง ปลาตัวเต็มวัยกินพืชเป็นส่วนใหญ่ อาจกินแมลงและหอยบ้าง พบในแม่น้ำโขงถึงอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และในแม่น้ำเจ้าพระยา พบน้อยในแม่น้ำบางปะกง บริโภคโดยการปรุงสดและรมควัน และยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย กรมประมงในขณะนี้มีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรโดยเฉพาะในภาคอีสานเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดใหม่ ขณะที่ต่างประเทศเช่นที่ เวียดนาม ก็ได้เลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน[1]

    เผาะ ยังมีชื่อเรียกต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น “โมง”, “โมงยาง”, “ยาง” หรือ “อ้ายด้อง” ชื่อในวงการปลาสวยงามเรียกว่า “ปลาบึกโขง” ในภาษาเวียดนามเรียกว่า “บาซา” (Cá ba sa) เป็นต้น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.68464398384094 sec
Sidebar: 0.22613787651062 sec