การศึกษาวันนี้
” เราพูดถึงการปฏิรูปการศึกษากันบ่อยและนานแล้ว แต่การเปิดให้ใครๆก็สามารถเข้าถึงการศึกษาได้สะดวก เช่น เรียนฟรี หรือทีวีสาธารณะ ฯลฯ เป็นเพียงส่วนเดียวของการปฏิรูป ตราบเท่าที่การศึกษายังไม่สอนให้สร้างความรู้ใหม่ การศึกษาก็เป็นเพียงเครื่องประดับ มากกว่าการสร้างพลังให้กับผู้เรียน ในการแก้ปัญหาของตนเองและสังคม”
อยู่ๆบอกว่าให้เรียนรู้กันโดยใช้เหตุผล แต่หากสอนกันแต่ความรู้ที่หยุดนิ่ง จะให้ใช้เหตุผลได้อย่างไร เพราะความรู้ที่หยุดนิ่งทั้งหลายเป็นเรื่องแค่รู้ไว้ หรือไม่ยอมรู้ไว้เท่านั้น
การศึกษาที่จะสอนให้ใช้เหตุผลได้ก็คือการศึกษาที่ไม่มีคำตอบตายตัว
มีแต่กระบวนการแสวงหาคำตอบ
ตัวกระบวนการนี่แหละที่ต้องใช้เหตุผล และข้อเท็จจริง
รวมทั้งการทดสอบด้วยวิธีต่างๆ ในและนอกห้องทดลอง
ตราบใดที่เราไม่เปลี่ยนเนื้อหาของการเรียนรู้
ไปสู่การศึกษาและทำความเข้าใจให้ดีกับกระบวนการ
ไม่ใช่ตัวความรู้สำเร็จรูป
เราก็ปฏิรูปการศึกษาได้ครึ่งเดียว
ทัศนคติต่อความรู้เช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
* จาก สร้างมาตรฐานใส่ความรู้ -นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์
การจากสนทนาอย่างกันเอง กับ อาจารย์จากสถาบันวิจัยสังคมจุฬาฯ และอาจารย์ที่เป็นดูแลหลักสูตรปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยราชภัฏฯ มีความรู้สึกตรงกันว่า นักศึกษาสมัยนี้มีทัศนคติต่อการศึกษาที่อ่อนโรย มองการศึกษาเป็นยาขม ยากๆๆๆ อาจารย์ให้งานเยอะ อ ย า ก จ ะ จ บ ง่ า ย ๆ เ ร็ ว ๆ แ ต่ ทำ ตั ว เ อ ง เ ห มื อ น เ ต่ า บ า ง ค น ถึ ง กั บ โ ศ ก า อ า ดู ร เ ห มื อ น แ ม ว อ ก หั ก มันเกิดอะไรขึ้น หรือมีผลจากการสะสมของวิธีเรียนที่อาจารย์นิธิกล่าวไว้ข้างบน พลังการเรียนรู้ของเด็กไทย นอกจากไม่คึกคักแล้วยังเปราะบางถ่างขาไปเรื่อยๆ เท่าที่ติดตามการแก้ไขปัญหา ก็ไม่รู้ว่าจะจุดพลุให้เกิดความทะยานอยากต่อการเรียนให้รู้ได้อย่างไร ดูเหมือนจะหวานอมขมกลืนกันทั้งระบบ
การแก้ไขหรือจัดการในระบบคงจะยาก เดือนนี้จึงจะทดลองจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กวัยรุ่นที่ด้อยโอกาสของจังหวัดร้อยเอ็ด ที่เทศบาลร้อยเอ็ดรับผิดชอบและประสานมา ที่จะพาเด็กเหล่านี้มาเข้าค่าย4วัน3คืน เท่าที่ออกแบบคร่าวๆ น่าจะใช้เวลาพูดคุยกันประมาณ 30% นอกนั้นจะจัดให้เรียนเชิงปฏิบัติ เช่น -ให้ช่วยกันเก็บกวาดปู๋ยมูลสัตว์ใส่กระสอบ แล้วนำไปโรยแปลงหญ้า ใส่ผัก ผลไม้ -บ้างก็เรียนเรื่องการเจาะหลุมด้วยสว่าน แล้วปลูกต้นไม้ พร้อมใส่ปุ๋ย -บ้างก็เรียนรู้เรื่องการเผาถ่านเอาควันไล่ยุง -บ้างก็ไปตัดกิ่งไม้ เกี่ยวหญ้า เอามาสับเลี้ยงวัว -บ้างก็จูงวัวไปเลี้ยงในแปลงหญ้า-เรียนรู้เรื่องการผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ -การปรับปรุงพันธุ์ -แนวโน้มการเลี้ยงโคขุน-เรียนรู้เรื่องการปลูกผักพื้นเมืองระบบชิด-การเพาะต้นไม้-การเสียบยอดต้นไม้ -ชวนเก็บเห็ด-ใช้สมุนไพรประกอบอาหาร-เรียนการทำอาหารและของหวาน-ถ้าหน่วยก้านดีอาจจะให้เอาฟืนใส่เตาเผาถ่านขนาดใหญ่ ตอนนี้ยังไม่เห็นหน้าค่าตาผู้เรียน ..ยั ง ไ ม่ ไ ด้ ส บ ต า จึง ฟั น ธ ง ไ ม่ ไ ด้ ว่าจะใช้กิจกรรมทำกิจการประมาณไหน?
จบลงด้วยการสรุปผลการเรียน ช่วยกันตอบคำถามที่ว่า..
เรียนแล้วรู้อะไร เรียนแล้วได้อะไร เรียนแล้วเข้าใจว่าอย่างไร
กำหนดวันที่ 21-24 มิถุนายน 2554
ถ้าชาวเฮอยากจะมาฮาก็เชิญนะครับ
เดี๋ยวจะหาว่าหล่อไม่บอก อิอิ ..
ถ้ายังไม่ว่างช่วงนี้ ยังมีโอกาสเลือก เช่น
อาจจะมาร่วมค่ายSCG.วันที่ 11-16 กรกฎาคม 2554
กลุ่มนี้จะให้ดัดแปลงเตาถ่านเป็นบ้านใต้ดินจำนวน 4 หลัง
รึจะมาร่วมค่ายSCG.กลุ่มที่ 21-24 เดือนกันยายน 2554
กลุ่มนี้มาช่วงปลายฝนต้นหนาว
ได้โจทย์มาแล้ว จะเน้นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ถ้าอยากจะเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนก็ลองดูนะครับ
ไม่ลองแล้วจะให้รู้..มันก็ยากเหมือนกันนะเธอ
อิ อิ..
3 ความคิดเห็น
ผมคิดว่าการศึกษาตามระบบ เร่งผลิตเด็กเหมือนปลากระป๋อง ส่งเข้ามหาวิทยาลัยตามสายพานครับ คนที่เรียนได้ ทฤษฎีแม่นและแห้ง จึงไม่ค่อยรู้ว่ามีความหมายอะไร
วันอาทิตย์เย็น ครูบาอยู่โรงแรมไหนครับ
ผมเห็นว่า ความรู้ต้องมีราก มีต้น ใบ ยอด ดอก ซึ่งมันอาจวิวัฒน์แบบค่อยเป็นไป หรือ ผ่าเหล่าแบบรวดเร็วก็ได้
ปัญหาคือวันนี้ต้นไม้ความรู้ไทยเรามันยอดเน่า ลามไปถึงรากแล้ว จะทำไงดี
ปฏิวัติ..ผมว่า
ใส่ตระกร้าล้างน้ำก็คงไม่ไหว
เอาไปรดมนต์10วัดก็คงจะยาก
ขอเอาเข้าห้องผ่าตัด หมอก็บอกว่าไปห้องไอซียูดีกว่า
ผีถึงป้าช้าจะทำอะไรได้
เว้าหลายก็ไลย์บอย เด้อ อิ