ติดตั้งตู้เอทีเอ็มให้ต้นไม้
(เจาะๆๆๆแล้วเอาปุ๋ยคอกใส่ให้เติม ไว้ให้พืชมาเบิกไปใช้เหมือน ATM.)
มีเครือข่ายชาวบ้านติดต่อมานานแล้ว จะมาขอดูงาน ขอคุยด้วย ในทีมนี้หลายคนเคยมาเมื่อหลายปีก่อน ทราบว่าได้พยายามรวมกลุ่ม ทำการพัฒนาตนเองและชุมชน สนใจเดินไปร่วมประชุมไปดูงามตามความสนใจเสมอ กลุ่มที่ขอมาอย่างนี้ถ้าปฏิเสธก็กระไรนัก จึงนัดหมายให้มาวันนี้ ตกลงว่าจะใช้เวลาในช่วงเช้าคุยกัน ระหว่างที่ผมกำลังงัวเงีย เจ้าเล็กผู้ประสานงานก็มาเรียก ออกไปเจอรุ่นเดอะทั้งนั้น คนหนุ่มคนสาวทิ้งถิ่นไปบางกอกหมด ไม่รู้มันพัฒนาอีท่าไหนกัน ที่ทำให้คนชนบทต้องอพยพไปกองกันอยู่บางกอก
ชวนนั่งใต้ร่มไผ่
ระหว่างรออีกคณะจะตามมา
รถตู้จุฬาลงกรณ์ก็เคลื่อนเข้ามาจอด
ขนขนมมาฝากยุบยับ..
อาจารย์จากสถาบันวิจัยสังคมจุฬาฯ ลงมาด้วยหัวข้อได้ก็ยังไม่รู้ เพราะไม่มีเวลาเจรจาหาความมุ่งหมาย..เจอชาวบ้านก็พร้อมตะลุมบอลย์ ทราบล่วงหน้าว่ากลุ่มนี้ทำเกษตรผสมผสาน ปลูกต้นไม้บ้าง แต่ยังข้องใจ..แล้วยังไงต่อ เท่าที่ประเมินคร่าวๆเรื่องปลูกอยู่ปลูกกินทำกันอยู่แล้ว การพออยู่พอกินก็สอบผ่านระดับหนึ่ง แต่สังคมยุคนี้รายจ่ายมันยุบยับ เกษตรกรจำเป็นที่จะต้องมีงานสร้างรายได้ที่มั่นคง ไม่เสี่ยงกับสภาพผลิกคว่ำผลิกหงานใดๆ ลงทุนต่ำ ช่วยตัวเองได้มาก จึงเจรจาต้าอวยช่วยกันแลกเปลี่ยนความเห็น อาจารย์จากจุฬาฯกับลูกศิษย์จดหยิกๆพร้อมกับบันทึกภาพ เก็บข้อมูลไม่ให้ตกหล่น
หลังจากนั้นก็ชวนออกเดิน ไปชมการสับใบไม้เลี้ยงวัว เสียดาย..ช่วงที่คุยกัน เจ้าหน้าที่มาผสมเทียมวัวชาโล่เล่ ไม่งั้นการอธิบายหัวข้อการปรับปรุงพันธุ์ก็จะทำให้เห็นกันชัดๆ ว่ามันไม่ยากหรอก แต่ผลลัพธ์มันน่าสนใจนัก เลี้ยงเสียเวลาเท่ากัน สิ้นเปลืองอาหารเท่ากัน แต่ขายได้แตกกันถึง100% วิธีการอย่างนี้เอาไหมละ หมดปัญหาเรื่องอาหาร ที่ไหนมีใบไม้ก็สอยมาเลี้ยงวัวได้ สบายไหมละ ถ้าทำอย่างนี้ ยุงรบกวนก็ใช้ถัง200ลิตรเผาถ่านตั้งไว้ใกล้คอกสัตว์ จะได้อาศัยควันไล่ยุง โม้เรื่องการขยายความคิดให้ตัดสินใจ
พาเดินเข้าไปในป่า
แนะนำเรื่องสายพันธุ์-การคัดพันธุ์ไม้
ปลูกต้นไม้สไตล์สวนป่าหาประโยชน์ได้ครบครัน
ไปแบกเอาเครื่อเจาะดินมาให้ทดลอง
จอบหมุนลงดินลึกครึ่งเมตรเกิดหลุมเส้นผ่าศูนย์กลาง8นิ้ว
เอา ปุ๋ ย ค อ ก ใ ส่ ใ ห้ ต้ น ไ ม้ ม า เ บิ ก ไ ด้ ต ล อ ด เ ว ล า
เ ห มื อ น ก ด ตู้ เ อ ที เ อ็ ม ยั ง ไ ง ยั ง งั้ น น ะ เ ธ อ . .
(สมัยเด็กๆเดินป่าเจอผลไม้ป่าหล่น วันนี้ย้อนรอยอดีต)
บุกป่าฝ่าดงไปหน่อย
เจอ ม ะ ม่ ว ง อ ก ร่ อ ง สุ ก ห ล่ น เ ก ลื่ อ น พื้ น
หลายคนไม่ต้องบอก..ชวนกันเก็บมาเจี๊ยะ
ผมบอกว่า..นี่ ไ ง อ า ห า ร ว่ า ง
ทุกคนได้ชิมมะม่วงหอมหวานแบบงงๆ
ยังงี้ก็มีด้วยรึ..
เดินเป็นวงกลม สุดท้ายก็มาจบลงที่ตัวบ้าน ชวนไปนั่ง เปิดเพลง เปิดคลิปวิจัยให้ชม โฉมยงมีมะละกอหลายตระกร้า ฝานมาเลี้ยงญาติร่วมแผ่นดิน กินไปคุยกันไป พอหอมปากหอมคอก็อำลากลับ บางคนขอลงชื่อจะมาอบรมหลักสูตรกลั่นน้ำมันยูคาลิปตัสในช่วงกลางเดือน รถสถาบันวิจัยจุฬาฯก็ออกพื้นที่ไปสัมภาษณ์ชาวบ้าน นัดพรุ่งนี้เช้าจะมาใหม่ ผมเมามะม่วงสุกจึงผล๊อยงีบตอนบ่าย สะดุ้ง! ตื่น เสียงฟ้าร้องรุนแรงมาก แต่ฝนตกแค่เปาะแป๊ะ นี่แหละความจริง
อะไรๆมันก็บ่แน่ดอกนาย อิ อิ ..
« « Prev : ไปงานวิจัยตกกะไดพลอยโจนไหมเธอ..
4 ความคิดเห็น
ถ้าชาวบ้านมีทุนรอนไม่มาก ควรพยายามวางแผนจากปฏิทิน ว่าให้ขายอะไรได้ทุกสามวันเจ็ดวัน ก็จะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันทางการเงินได้ครับ
ของที่ขายในแต่ละวัน ก็จะมีเวลาที่ใช้ปลูกหรือใช้ผลิต ดังนั้นจากปฏิทิน ก็นับย้อนหลังกลับไป ก็จะได้ว่าวันไหนต้องเริ่มทำอะไร
เรื่องการตลาดเป็นสาเหตุใหญ่
ระบบการขายยังไม่เอื้อให้รายย่อยจัดการอะไรได้
สินค้า-พืชผล-พืชผัก-รายย่อยมีและเหมาะเพียงเพื่อบริโภคเอง
สินค้า-ของอยู่ของกิน -สั่งจากภายนอกเพราะสะดวก/และปริมาณมาก/เอื้อต่อระบบค้าปลีก
จุดตายชาวบ้้านอยู่ที่..ต้องยกระดับการงานอาชีพให้ชัด งานไหนหลัก งานไหนรอง
ตรงที่เรากำลังขายความคิดนี่แหละ น่าจะพอเป็นไปได้ ปัญหาถึงจะมีแต่ก็สามารถแก้ไขได้เป็นรูปธรรม
นอกจาก เอทีเอ็มปุ๋ยแล้ว เอทีเอ็มน้ำ ก็น่าสนใจนะคะ ฝังถังซึ่งออกแบบพิเศษ มีท่อและรู ในขนาดที่คัดสรรวางแผนมาก่อนแล้ว เติมน้ำใส่ตู้เอทีเอ็ม โดยมีการโอนเงิน เอ้ย โอนน้ำ ไปตามมสาขาย่อย ให้สาขาย่อย เป็นผู้กระจาย ต่อ ลูกค้า เอ้ย ต้นไม้ อีกที อิอิอิ
นอกจากกระบวนการผลิตแล้ว กระบวนการตลาดก็ต้องมีหัวหอกช่วยนำทาง จะรวมกลุ่มกันอย่างไร มีการวางแผนการผลิต สอดคล้อง กับแผนการตลาด ค่อยๆทำแล้วพัฒนาไป ความเข้มแข็งเชิงความสามารถซึมซับเติบโต ดึงสิทธิการขายกลับสู่ผู้ผลิต แทนพ่อค้าคนกลาง ทำเอง ขายเอง ได้เงินเอง อีกหน่อยชาวบ้านก็ทำได้นะสิบอกไห่ แม้จะยากแต่เราพันธ์ุอึดอยู่แล้ว สู้ๆ
เรื่องการตลาดนี่แหละหนักอก ยังสอบตกเป็นประจำนะป้าหวาน อิอิ