ใบชะพลูผัดไข่

โดย sutthinun เมื่อ 18 กันยายน 2010 เวลา 21:46 ในหมวดหมู่ สวนป่าฮาเฮ #
อ่าน: 5906

ช่วงที่อาจารย์แป๋วมา สวนป่าคึกคักด้วยความรู้สึกที่เกิดขึ้นยามพี่น้องชาวเฮมาเยี่ยม บอกไม่ถูกว่าเป็นเพราะอะไร มันมีกลิ่นไอของวัฒนธรรมคนสกุลเฮ กลมกลืนเป็นกันเองสบายๆ ทุกคนทำตัวเหมือนอยู่บ้านตัวเอง ความเป็นกันเองมันไม่มีมาตรฐานกลาง แต่รู้สึกได้ว่านี่ไม่ใช่แขก แต่>>เป็นญาติเรานะโว้ย จึงขอบคุณ อ.แป๋ว ที่มาให้ต้อนรับและได้เรียนรู้ด้วย

ลูกศิษย์อ.แป๋ว เก่งน่ารักทุกคน ถึงจะเป็นชาวต่างชาติแต่ก็มีไมตรีจิต ลูกศิษย์คนไทยยิ่งไม่ต้องห่วง เธอดูแลอาจารย์ ค่อยนวดเฟ้น ทำให้ย้อนไปถึงหนังกำลังภายใน ที่ลูกศิษย์กับอาจารย์ให้ความรักและห่วงใยต่อกัน หลังจากอิ่มมื้อเย็นแล้ว เรามานั่งเล่าเรื่องสนุกๆ ดูหนังเรื่องอาวตาร ตอนแรกจะร้องคาราโอเกะ แต่เด็กๆอดนอนเตรียมการบ้านเมื่อคืน จึงแยกย้ายกันไปเฝ้าพระอินทร์แต่หัวค่ำ พรุ่งนี้นัดกันไปปลูกต้นไม้ รับประทานอาหารเช้าด้วยกันแล้วก็จะกลับ มาให้คิดถึงแล้วก็จากลา เป็นอย่างนี้ทุ๊กที เฮ้อๆ

มื้อเย็น นักศึกษาช่วยกันไปเก็บผักมาทำอาหารกันเอง ทำให้ได้ชิมแกงหน่อไม้รสมืออีสานขนานแท้ อร่อยมาก นักศึกษาบางคนทดลองเก็บใบผักนานาชนิดมาผัดรวมมิตร ระหว่างที่เราลงมือรับประทานอาหาร นักศึกษาเวียดนามยังอยู่ก้นครัว สักพักเธอถือจานอาหารเมนูประจำถิ่นมาโชว์ ใบชะพลูซอยละเอียดผัดไข่

เมนูแปลกใหม่-ง่ายๆ-รสชาติดีมาก

เธอแชร์ประสบการณ์ตรงแบบไม่รั้งรอ

ทำให้สวนป่าได้เมนูเด็ดขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง

ใบชะพลูก็มีอยู่เต็มป่า

ต่อไปใครไปใครมาก็จะผัดชะพลูนี่แหละเลี้ยงแขก

รับประทานร้อนๆเธอเอ๋ย >>

ทราบว่ามีธาตุเหล็กสูงด้วยสิ

แต่อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับความอร่อยแบบง่ายๆ

อุ้ยรีบหาเวลาว่างแต่เนิ่นๆ

ทางนี้ตั้งกะทะรอแล้วเน้อ แคว๊กๆ ..

« « Prev : การนำเสนอแบบสบายๆ

Next : มหาวิทยาลัยขอนแก่น&มหาชีวาลัยอีสาน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

7 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 กันยายน 2010 เวลา 23:08

    ใบชะพลูมีคุณค่าอาหารมากมาย ดูที่นี่ http://www.formumandme.com/article.php?a=1146 ผมชอบกินมาตลอด โดยเฉพาะกินกับแหนมคลุก สุดยอด แต่หลายปีก่อนผมเป็นนิ่ว บินจากกรุงเทพฯกลับขอนแก่นเข้าโรงพยาบาลเลย หมอคีบเอานิ่วออกมาแล้วก็บอกว่า ลองบอกอาหารมาซิชอบกินอะไรบ้าง บอกหมด หมอเลยบอกว่า ขอสองอย่างที่ควรลดปริมาณการกินหรือไม่กินเลยก็ดี คือ ใบชะพลูกับหน่อไม้ เพราะสองตัวนี่มีสารที่หากร่างกายขับออกไม่หมด สำหรับบางคน ก็จะไปทำปฏิกริยากับสารในร่างกายกลายเป็นก้อนนิ่วได้

    ปัจจุบันวันหยุดกลับมาบ้านขอนแก่น ก็มักจะไปซื้อแหนมคลุกแบบเจมาทาน เขาก็ให้ในชับพลูมาถุงใหญ่เชียว ความจริงที่บ้านก็มี ปลูกไว้อยู่ ติดบ้านตลอด ใครอยากกินก็ไปเด็ดมา ส่วนผมเชื่อหมอไว้ก่อนครับ แต่ก็กินบ้างนิดหน่อย ก็มันชอบ โดยเฉพาะกินกับแหนมคลุกนี่ มันเข้ากันดีจริงๆ

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 กันยายน 2010 เวลา 7:41

    น่าจะมีผักที่ช่วยลดสารพวกนี้ อาจจะลองกินน้ำย่านางปั่น หรือ มะเฟือง ช่วยลดพิษ
    แต่การเป็นนิ้วขึ้นกับระบบในร่างกายของแต่ละคน
    แต่การรู้ตัวว่าเราไม่สามารถสารต่างๆในพืชอะไรบ้างเป็นเรื่องที่ดี
    แต่ บางทีการทำให้สุก อาจจะเป็นทางหนึ่งที่ลดสารต่างๆได้บ้าง
    เป็นเรื่องที่คาดเดานะครับ คงต้องถามผู้รู้อีกมาก อิอิ

  • #3 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 กันยายน 2010 เวลา 17:20

    ในใบไม้ที่กินได้หลายชนิด มีสารออกซาเลทอยู่ค่ะพี่บู๊ท สารเหล่านี้ร่างกายมีข้อจำกัดในการจัดการเอกออก กินมากจึงคั่งค้างอยู่ในร่างกาย การกินไม่ให้มีปัญหาเรื่องนิ่ว จึงต้องเข้าใจวิธีจัดการ

    เข้ามากแล้วเหลือ ปัญหามาจากปริมาณที่เข้าเกินกำลังเอาออก ก็ใช้วิธีลดปริมาณที่เข้า ไม่กินก็เป็นวิธีลดอย่างหนึ่งที่นิยมทำกัน กินน้อยลงเพื่อลดการสะสมนี่ก็เป็นอีกอย่าง

    ใบสดมีสารเยอะกว่าสุกก็ให้ทำให้สุกซะก่อนใส่เข้าร่างกาย ใบอ่อนมีน้อยกว่าใบแก่ก็กินใบอ่อนแทน ใบแก่มีสารเยอะก็กินให้น้อยลง ฯลฯ สารพัดวิธีที่ประยุกต์หลักสามัญมาลดจำนวนโดยยังกินมันได้

    ขาออกที่เกินกำลังเมื่อเทียบกับขาเข้า ก็ต้องดูทางออก ออกได้น้อย กินน้อยก็คั่งอยู่ เอาออกได้ช้า เอาออกช้าก็เพิ่มโอกาสสะสม ก็ต้องปรับทางออกมีตัวพาออกให้เร็ว เช่น เติมน้ำไปช่วยนำออก ปรับตัวพาออกคือปัสสาวะไม่ให้เข้มข้นด้วยสารต่างๆที่ละลายน้ำให้ข้นตัวง่ายๆคือ เกลือ น้ำตาล ไขมัน

    สารเหล่านี้เป็นตะกอนไม่ละลายน้ำ น้ำช่วยตรงนำออกเร็วได้ ผลึกก็ไม่ใหญ่ นำออกทิ้งง่าย การดื่มน้ำน้อยมีผลการคั่งนำออกไปทิ้งได้ช้า

    การสะสมทำให้สารเกาะตัวใหญ่ขึ้นๆเรื่อยจนตาเห็นได้ ตาเห็นแล้ว รูออกเล็กกว่าแล้ว ก็จะนำออกไม่ได้แล้ว จำใจสะสมต่อจนไม่อยากเก็บไว้

    ไม่อยากเก็ยก็ต้องหาทางเปิดช่องออกใหม่ นี่คือเหตุผลที่นำการผ่าตัดเข้ามาใช้เอานิ่วออก ซึ่งเดี๋ยวยี้ก็พัฒนามาเป็นการขบนิ่วให้แตกละเอียดด้วยกล้องส่องทางหน้าท้อง เพื่อไม่ให้ต้องกรีดเนื้อให้เป็นแผลใหญ่ๆ

    เหล่านี้แหละที่ธรรมชาติในตัวเราสัมพันธ์กัน

    ที่สนใจอยู่ตอนนี้คือ หาคำตอบว่าทำไมคนโบราณชอบใช้ใบชะพลูทำห่อหมก มีอะไรที่เป็นความรู้ซ่อนอยู่ตรงนี้บ้างไหม

    ถอดรหัสนี้ได้ก็น่าจะพบทางสว่างบางเรื่องเกี่ยวกับการลดพิษจากพืชกินใบได้

  • #4 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 กันยายน 2010 เวลา 19:52

    ขอบคุณ หมอเจ๊มากๆครับ ให้ความกระจ่างดีแม้
    จริงสมัยนั้นดื่มน้ำน้อยจริงๆ และกินพวกนี้มาก เลยไปใหญ่
    มาตอนนี้พอเข้าใจก็ลดปริมาณการกิเนหรือไม่กินอย่างหมอเจ๊ว่า
    และดื่มน้ำมากๆ ตอนนี้ติดน้ำอุ่น ประเภทชา เช่น ชาเจียวกู้หลาน
    ได้มาจากโครงการหลวงอ่างขาง ขมดีจริง แต่ก็ชอบ เลยดื่มประจำไปเลยครับ

    ส่วนใบชะพลูทำใบห่อหมกนั้น เออน่าสนใจ รู้แต่ว่าอร่อย….อิอิ

  • #5 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 กันยายน 2010 เวลา 5:44

    ได้ความรู้จากพี่หมอเจ๊ด้วยค่ะ

  • #6 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 กันยายน 2010 เวลา 7:29

    ในสภาพของพื้นที่ๆมีการปลูกผักพื้นถิ่นมากๆ คงไม่เกิดการกินจำเจอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะมีให้เลือกชิม หมุนเวียนไปเรื่อยๆ โอกาสจะมีสารต่างๆสะสมคงน้อย ยกเว้นคนเมือง คงต้องใคร่คราวญอย่างที่หมอเจ๊ติง

  • #7 sompornp ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 กันยายน 2010 เวลา 17:37

    พ่อคะ
    น้ามีความรู้ใหม่อีกอย่างหนึ่งค่ะพ่อ
    ผักที่พ่อว่าเลี้ยงวัวได้ทุกชนิดนั้น
    คนก็ไม่ต่างกันนะพ่อ กินผักทุกชนิดเลย
    อิอิอิอิอิอิ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.16591691970825 sec
Sidebar: 0.27912092208862 sec