สอนควายไถนา
อ่าน: 6374ควายไทยหายไปเป็นลูกชิ้น ลาบ ก้อย ยำ และน้ำตก
สืบเนื่องที่ได้ข่าวอาจารย์สรเชต น้อยฤทธิ์ เล่าให้ฟังถึงการชวนคณาจารย์ในคณะคึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลงไปเยี่ยมลูกศิษย์ นักศึกษา ครูพันธุ์ใหม่ออกไปฝึกสอนในโรงเรียนเครือข่าย ผมคิดว่ากิจกรรมเชิงรุกอยู่เรื่อย ๆ จะสะท้อนมุมคิด เรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนยุคเก่าที่ปรับมาใช้กับแนวคิดใหม่ ๆ จึงรอชื่นชม ถ้าอาจารย์จะชวนให้ลูกศิษย์พันธุ์ใหม่ช่วยกันเล่าสิ่งดี ๆ ลงในบล็อกให้พวกเราอ่านบ้าง
บังเอิญได้ดูทีวีรายการของมูลนิธิรักเด็ก ออกไปชวนชาวบ้านช่วยโรงเรียนตามชายแดนภาคเหนือทำของเด็กเล่น ทำโรงเรียนให้น่าเรียนน่าเล่น ปรับห้องเรียน สนามเด็กเล่น แม้แต่ใต้ถุนโรงเรียนก็เอาทรายไปโรยไว้ให้เด็กไปเล่นโดยมีของเด็กเล่นให้ เด็ก ๆ รุ่นโตมาช่วยงานทาสี ติดภาพ เขียนภาพอย่างสนุก ทำให้เห็นบริบทของการเรียนระดับประถมที่เข้าใจเรื่องการเล่นคือการเรียน นำไปสู่วิธีเรียนที่โดนใจเด็ก ไม่ใช่ยัดเยียดเบียดบังความรู้สึกนึกคิดเด็ก บอกเอาเด็กเป็นตัวตั้ง..แต่วิธีสอนคุมกำเนิดจินตนาการของเด็ก จัดการสอนแบบฉอด ๆๆ …ก็ได้ผลลัพธ์แบบเฉี่ยด ๆ ฉิว ๆ นั้นแหละขอรับ
เห็นรายชื่อรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการแล้วน่าเป็นห่วง รัฐมนตรีช่วยก็ไม่มี แถมมีเสียงซุบซิบว่าต้องการประหยัดงบประมาณ เอาหลังบ้านมาเป็นอีแอบหรือรัฐมนตรีเงา ถ้าให้ความสำคัญการศึกษากันแบบนี้ ผมนึกไม่ออกว่าการศึกษาไทยจะเป็นอย่างไร?
ข่าว:จากสำนักข่าวไทย
กรมปศุสัตว์สำรวจพบควายไทย 99.5%ไถนาไม่เป็น
สาเหตุเพราะเราเลิกใช้ควายเนื้อไปใช้ควายเหล็ก
ไปเรียนวิธีไถนาควายญี่ปุ่นกันหมด
เมื่อน้ำมันแพง ปุ๋ยแพง แรงงานแพง ชักเอ๊ะใจ
เริ่มคิดได้ ระลึกได้ถึงบุญคุณควาย
ปัจจุบันประเทศไทยมีกระบือประมาณ 1,577,000 ตัว
มีครัวเรือนเกษตรกรใช้กระบือไถนาอยู่ไม่เกิน 4,000 ราย
และมีกระบือไถนาได้ประมาณ 6,000 ตัว คิดเป็น 0.34% ของจำนวนกระบือทั้งหมด
มีแนวทางขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทยกลับคืนผืนนา ภายใต้ 3 โครงการหลัก ดังนี้
-
โครงการฝึกใช้กระบือไถนา
-
โครงการไถกลบซังตอข้าว
-
โครงการพลิกฟื้นกระบือไถนาตามโครงการพระราชดำริ
เรื่องกระบือโยงไปถึงเรื่องอื่น ๆ ได้มากมาย ถนนทุกสายลงชนบท บางทีผิดฝาผิดตัวที่ไปแบบนักการเมืองก็อาจถูกโห่ฮาไล่กันบ้าง แต่ถ้าครูบาอาจารย์ชวนลูกศิษย์ออกไปจัดค่ายอาสาพัฒนามาก ๆ นักศึกษาจะได้มีทักษะเพื่อสังคม สามารถเชื่อมร้อยวิถีชีวิตเข้ากับเหตุการณ์บ้านเมือง รู้ร้อนรู้หนาวกับเรื่องที่อยู่รอบข้าง ที่สำคัญเขาจะได้ฝึกการคิดการทำงานเป็นยังไงละขอรับ
ในจังหวัดมหาสารคามมีหมู่บ้านหนึ่งยังยืดถือควายเป็นแรงงานทำนา
โดนหมู่บ้านใกล้เคียงหัวเราะเยาะว่า..เป็นพวกเต่า..คิดและทำอะไรด้อยพัฒนา
ผมลงไปหาไปคุย ..เขามีเหตุผลที่น่าชื่นชมมาก
มีวิสัยทัศน์และทัศนคติที่มองไปข้างหน้า
ไม่บ้ากระแสการพัฒนาแบบจูงจมูกเสียด้วยสิครับ
ผมชื่นชมกลุ่มนี้มาก ตั้งชื่อให้ว่า “กลุ่มคูโบตม”
ทำไมรึ!..จะได้แข่งกับ “กลุ่มคูโบต้า” ยังไงละขอรับ
4 ความคิดเห็น
อ่านแล้วนึกอะไรได้อีกเยอะเลยค่ะ ถ้าเจ้าของไถนาเป็นก็คงไม่ต้องให้ใครมาสอนควายของตัวไถนานะคะพ่อ
ช่องเจ็ดเคยเอาโรงเรียนสอนควายมาเป็นสะเก็ดข่าวโดยเค้าไปถามคุณครูผู้สอนว่าคนกับควายใครสอนยากกว่ากัน ( ควายต้องเข้า รร.พร้อมเจ้าของด้วยนะคะ ไม่งั้นควายจะจูงใครอิอิอิ )..คุณครูก็อึ้งไปนิดหนึ่งก่อนจะตอบแผ่วๆว่า ” พอๆกัน ” ค่ะพ่อ ก๊ากๆๆๆๆๆ
สมเด็จพระเทพฯท่านทรงตั้งโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ขึ้นมาก็เพื่อสอนควายไถนาเหมือนกันค่ะ ตอนเปิดโรงเรียนเค้าก็ให้ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลขี่ควายเพื่อเปิดโรงเรียน เจ้ากรรมที่ควายตัวนั้นเค้าคงตื่นคน ตื่นกล้องก็เลยเริ่มวิ่ง ผู้ติดตามต่างๆก็ตกใจเลยช่วยกันดึงขาดร.สุเมธกันกลุ่มละข้าง..ผล ท่านเก๊าะเอียงตามข้างที่มีแรงดึงมากกว่าหล่นแอ้กเลยค่ะ ^ ^
ดีใจที่มีการเอาควายกลับมาไถนาอีกครั้งนะคะ เพราะการใช้รถไถทำให้ดินแข็งใช่มั้ยคะพ่อ เบิร์ดชอบประเพณีก่อนที่เค้าจะเริ่มไถนา การสู่ขวัญควายทำให้เรารู้ว่าเค้าคือเพื่อน เป็นผู้มีพระคุณ เป็นเครื่องตัดหญ้าที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง และทำให้วงจรชีวิตสมดุล เด็กๆหลายคนพอเห็นพิธีสู่ขวัญควายเค้าเปลี่ยนความคิดดูถูกควายไปได้เลยค่ะพ่อ
รามเค้าชอบควายมากค่ะ เป็นสัตว์ตัวโปรดเลย พี่ครูอึ่งเล่าว่าเคยเอาผ้ามาทำเป็นตุ๊กตาควายเล่นกับเด็กๆด้วย น่ารักเนาะคะ ^ ^
ควายนำหน้า.. ปัญญาตามหลัง แค๊กๆ
ปีหน้ากรมปศุสัตว์ตั้งงบ 10 ล้านบาท
สอนควายไถนา 5,000 ตัว
เรียนภูมิปัญญาสมัยนี้รัฐฯต้องเสียเงิน5,000บาท/คน/ตัว
เด็ก-คนใหญ่ สมัยนี้ไม่เคยขี่ควาย แสดงว่าวาสนาอักเสบ
จึงนั่งแต่รถยนต์ ใจร้อน ชนทีไรตายๆๆๆๆ
แต่ขี่ควายชมจันทร์อย่างที่เพลงลูกทุ่งร้องนี่ ไม่ทราบว่ามีจริง รึบ้า..
สวัสดีครับ
บางทีว่าไปควายเกิดมาก็ไม่ใช่เพื่อจะมาไถนาให้คนเลยนะครับ แต่คนเราบอกว่าควายมีหน้าที่ไถนา หมาต้องเฝ้าบ้าน ส่วนคนเรานั่งสั่งการ ห้าๆๆๆๆๆ
ขอบคุณมากคร้าบ
เราชาวนาอยู่กับควาย…………………………ควายเป็นสมาชิกในครอบครัว
พอหมดงานไถเราจูงฝูงควายคืนบ้าน………ร่วมทุกข์ ร่วมสุข
พออาบน้ำควายสำราญแล้วเสร็จการงาน….ต้องเอาใจใส่ดูแล
เบิกบานร้องเพลงรำวง………………………..ชีวิต 100,000 เพลิดเพลิน
ควายเหล็กจ๋า!???..ฉันรักเธอแต่…ฉันคิดถึงเจ้าทุย น่ะ