คนแซ่เฮบุกสถาบันวิจัยสังคมจุฬาฯ
อ่าน: 2694
ตอนเช้าเทวดากริ๊งมา
ถามว่าจะไปจุฬาฯยังไง
สายหน่อยครูอึ่งโทรมาบอกว่ายังอยู่กรุงเทพฯ
ครูอึ่งกับครูอารามลงมาบางกอก ติดต่องานเรื่องอาจารย์ช่วยสอนชาวต่างประเทศ ที่ต้องมีใบรับรองจากคุรุสภาไปต่อวีซ่า ติดต่อล่วงหน้ามาแล้วว่าจะได้รับความสะดวก แต่มาเจอบทโยกโย้ให้รออีก2สัปดาห์ ผมลองติดต่อคนที่รู้จัก เธอบอกว่าจะจัดการให้พรุ่งนี้ ถ้าอย่างนั้นวันนี้>> แทนที่อยู่จะโต๋เต๋แบบเซ็งกระจาย ชวนไปเที่ยวจุฬาด้วยกันดีกว่า จุฬาฯส่งรถมารับที่มารวย ครูอึ่งจับแท็กซี่จากกระทรวงศึกษาธิการ นัดเจอกันที่สถาบันวิจัยสังคมจุฬา
บ่ายโมงนักศึกษาเข้าไปนั่งเอี้ยมเฟี้ยมรออยู่แล้ว ดร.นฤมล บรรจงสิทธิ์ กล่าวแนะนำวิทยากรเป็นใครมาจากไหน ที่จริงได้หารือกันล่วงหน้าแล้ว ให้นักศึกษาเข้าไปค้นในเน็ทเพื่อทำความรู้จักกับวิทยากรล่วงหน้า ใครไม่รู้ว่าครูบาเป็นไผ ไม่ต้องเข้าห้อง อิ อิ แต่เป็นการรู้จักกันข้างเดียว ต่างกับที่SCG. ได้ส่งข้อมูลมีทั้งภาพดูให้รู้หน้าตา ชื่อจริงชื่อเล่น ตำแหน่งงานที่ทำ งานอดิเรกที่ชอบหรือสนใจ ประเด็นนี้ถ้าองค์กรหรือหน่วยจัดอบรมพัฒนาระบบสารเทศเบื้องต้นก็ดีนะครับ เรื่องรู้เขารู้เรามีความจำเป็นเสมอ
ผมเปิดPower Point ด้วยประเด็นคำถาม
· ช่วยแนะนำหน่อยเถิด เจ้าเป็นไผ
· ทำไมถึงมาสนใจเรียนหลักสูตรนี้
· ได้เรียนและค้นคว้าในประเด็นไหนไปบ้างแล้ว
· ช่วยกันเล่าช้า ใจเย็นๆ สบายๆ
· วันนี้เราจะมาเรียนรู้ร่วมกัน
· ไม่มีผิดมีถูกไม่มีข้อจำกัดใดๆในห้องนี้
· เราจะเรียนกันอย่างมีความสุข
นักศึกทยอยแนะนำตนเอง บอกเล่าซื่อแซ่ชื่อเล่น จบปริญญาตรีมาจากภาควิชาและมหาวิทยาลัยอะไร หลายคนบอกว่าที่สนใจหัวข้อ : การจัดสวัสดิการชุมชนบนฐานทุนทางสังคมสังคมและทุนวัฒนธรรม ต้องการจะเติมเต็มความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ พบว่านักศึกษารุ่นนี้จบมาจากหลายคณะวิชาไม่ซ้ำกัน ถ้าแลกเปลี่ยนรู้กันน่าจะได้ทักษะชีวิตและประสบการณ์ที่หลากหลายไปต่อยอดได้
ประเด็นสวัสดิการ-ทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม
ผมสะท้อนมุมมองในฐานะชาวบ้าน
เพื่อให้เห็นว่าคนระดับล่างเข้าใจและมองเรื่องนี้อย่างไร
สวัสดิการที่จัดโดยรัฐฯก็อย่างหนึ่ง
สวัสดิการที่จัดกันเองก็อย่างหนึ่ง
สวัสดิการที่มีอยู่ในวัฒนธรรมและธรรมชาติก็อย่างหนึ่ง
พื้นฐานเดิมที่ปรากฏอยู่ในทุนวัฒนธรรมเป็นอย่างไร
จากสภาพสังคมบ้านเมืองกำลังคุกรุ่นอยู่กับการหาพวกพ้อง นโยบายที่ออกมาจึงหลากหลาย มีคำว่า”ฟรี” รถเมล์ฟรี รถไฟฟรี เรียนฟรี ฯลฯ เป็นสวัสดิการของโหลหรือของดี จริงๆแล้วผมอยากให้รัฐฯจัดสวัสดิการความรู้ น่าจะสมประโยชน์ที่สุด คุณภาพของสังคมขึ้นอยู่คุณภาพของประชาชน คุณภาพของประชาชน ขึ้นอยู่กับการศึกษาและการพัฒนาแบบองค์รวม ถามว่า วันนี้การศึกษาและการพัฒนาของเราอยู่ในอาการอย่างไร? หลังจากนั้นก็ชวนคุยชวนมองด้วยคำถาม
· สภาพแวดล้อมเป็นสวัสดิการจากเทวดาได้ไหม?
· ผักสมุนไพรพื้นถิ่นเป็นสวัสดิการจากธรรมชาติได้ไหม
· ความรักความเอื้ออาทร ความเป็นพี่เป็นน้องเป็นสวัสดิการหรือเปล่า?
· ความเมตตาของครูบาอาจารย์เป็นสวัสดิการหรือเป็นอะไร?
· แสงแดด-อุณหภูมิที่พอเหมาะสมเป็นทุนสวัสดิการหรือไม่?
ยกตัวอย่างการจัดสวัสดิการภาคประชาชน เช่น คุณอัมรา พวงชมพู แห่งบริษัทสยามแฮนด์ เจ้าของสินค้ายี่ห้อแตงโม ไปชวนแม่บ้านบาเกาะ11คน จากสุไหปาดี เดินทางมาฝึกตัดเย็บเสื้อผ้าในโรงงานที่นครปฐม1เดือน แล้วกลับไปตั้งกลุ่มช่วยกันผลิตเสื้อยืดจำหน่าย ขยายผลในหมู่กันเอง ขยายงานไปสู่อาชีพในชุมชน จากฐานคิด “เปลี่ยนอาวุธ เป็น อาชีพ” “คนทำเสื้อกับการสร้างสันติภาพ”เพื่อจะบอกว่าสวัสดิการนั้นไม่ใช่ว่าจะต้องมาจากรัฐฯเท่านั้น ใครๆก็สามารถมีส่วนร่วมได้ถ้ามีจิตสาธารณะ
(สวัสดิการพื้นฐานที่ต้องการมีส่วนร่วม)
ผมเสนอสวัสดิการด้านความรู้น่าจะสำคัญกับยุคสมัย ถ้าจะพัฒนาใดๆเงินกับความรู้ควรจะควบคู่มาด้วยกัน การปะเงินลงไปเฉยๆไม่ต่างกับการโยนก้อนหินลงหนองน้ำ.. แต่ก็ไม่ได้หมายถึงการเรียนฟรี15ปีนะครับ มันเป็นอะไรที่มากกว่านั้น ความหมายรวมไปถึงการอุดหนุนให้เกิดวิชาการความรู้ในทุกระดับ ชาวไร่ชาวนาควรจะได้รับสวัสดิการพัฒนาด้านวิชาชีพ ถามว่าถ้าชาวบ้านจะเรียนรู้ จะไปเรียนที่ไหน ไปเรียนเรื่องอะไร ไปเรียนกับใคร ! ! มีสวัสดิการในเรื่องนี้ดีพอแล้วหรือยัง
เสนอเรื่องการเอาใบไม้เลี้ยงโค ฉายคริปให้เห็นภาพรวมของเรื่องนี้ แล้วชี้ให้ดูว่า สวัสดิการด้านความรู้ความสามารถทางอาชีพนั้น มันเป็นสวัสดิการที่ขยับความก้าวหน้าให้เห็น-ทางออก-ทางเลือก-ทางพัฒนา ขยายผลต่อไปยังเรื่องอื่นได้อีกหลายจุดประสงค์ เพื่อชวนนักศึกษาตีแตกเรื่องสวัสดิการให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ชวนคุยเรื่องเฮฮาศาสตร์ บอกว่านี่ไงละกรณีตัวอย่างของการจัดสวัสดิการยุคใหม่ ที่เกิดขึ้นจากความรักความปรารถนาดีต่อกัน ช่วยกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ผ่านการเขียนBlog แลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตสม่ำเสมอ ทำให้สมาชิกรู้ใจก่อนรู้ตัว หลังจากนั้นก็ขยายผลไปถึงการจัดกิจกรรมร่วมกันตามมา เกิดเป็นเครือญาติช่วยเหลือพึ่งพากันเอง
ผมโยนไมค์ให้ครูอึ่งช่วยอธิบายบริบทของเฮฮาศาสตร์
นักศึกษาสนใจมากขึ้น
ซุบซิบอยากจะไปมหาชีวาลัยอีสาน
ก็แล้วแต่นะครับ
เรียนในห้องได้ความรู้ เรียนนอกห้องได้ความจริง
ถ้าอยากเป็นนักศึกษาพันธุ์ใหม่ต้องการจะเรียนความจริงก็มา
แต่ถ้าจะเรียนแบบดื้อตาใสก็ไม่ว่ากัน
ได้เปิดเพลง “กอด” ให้ฟัง
เพื่อจะบอกว่า..ถ้าสนใจพัฒนาวิธีการเรียนให้เข้ากับยุคสมัย
จะได้พบว่า> >ได้อะไร > > เกิดอะไร > > และส่งผลอย่างไร?
(หนูคนนี้บอกว่าแอบอ่านเรื่องแม่ น้ำตาไหล”
การบรรยายให้นักศึกษาปริญญาโทครั้งนี้ จบลงด้วยอาจารย์และนักศึกษาเลี้ยงข้าวมื้อเย็น มีนักศึกษาท่านหนึ่งเล่าว่า>>แอบไปอ่านเรื่องมะขือการ์ตูน เรื่องแม่ แล้วน้ำตาไหล คิดถึงแม่.. อิ่มแล้วคณะฯแล้วเอารถมาส่งที่โรงแรม ระหว่างนั่งคุยกันที่มารวย แห้วก็โทรมาเล่าเรื่อง”รูตัน” ถ้าอยากรู้ว่าเป็นยังไง ก็ติดตามไปที่Blog ลานเรียนชีวิต ของครูปูก็แล้วกันนะครับ อิ อิ..
จบข่าว ..
« « Prev : ย่ำเชียงใหม่ยามชุ่มฉ่ำ
Next : ลืมกล้องยิ่งกว่าน้องลืมอ้าย » »
6 ความคิดเห็น
ครูอึ่ง กริ๊ง! มาแต่เช้า ได้รับเอกสารเรียบร้อยแล้ว จะปิกละปูนสายๆวันนี้
เทวดาได้ข่าวมาจากไหนไม่รู้ บอกว่า อุ้ย จะลุยบางกอกพรุ่งนี้
ไม่รู้ว่าจะเป็นไปตามอีกาคาบข่าวหรือเปล่า
จะได้ชวนอุ้ยหาเรื่อง อิอิ
“ครูบา มีไว้ใช้ ก็ต้องใช้ใหเต็มที่”
กรี๊ดๆๆ ครูอึ่งใส่เสื้อลาย..งามแต้ๆ
ไปเมืองกอกจริงๆค่ะ 1 - 3 กันยายน 2553 , การปฏิรูประบบอุดมศึกษาไทย : ฤาจะเป็นความฝัน , ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์
WoW อยู่ไหนแซ่เฮ ก็เจอกัน
นโยบาย “ถีบศาสตร์” ของแซ่เฮ น่าจะเป็นประเด็นชูโรงด้วย
เป็น “ไร้กระบวนท่า” หรือ “มวยวัด” ก็น่าจะวัดกันได้
คริคริคริ
น่าจะบินมาเที่ยวบ่ายเย็นนี้นะครับอุ้ย
แฟ๊ซ์โรงแรม บอกว่า ห้อง 510 นะน้า
อิอิ อุตส่าห์ใส่เสื้อลายไปติดต่องาน สงสัยสวยจัด..เลยถูกผลัดผ่อนโน่นนี่ ดีที่ครูบาช่วยกรุณาจัดการเรื่องขัดข้อง
แถมยังได้ไปเรียนรู้กับน้องๆ อีก ขอบพระคุณค่า เป็นชาวเฮฮาศาสตร์นี่ได้เรียนรู้ทุกศาสตร์เลยล่ะค่ะ