คนเดียวหัวหาย

โดย sutthinun เมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 6:31 ในหมวดหมู่ สวนป่าฮาเฮ #
อ่าน: 2555

ธรรมเนียมของชาวเฮฮาศาสตร์นั้น

มีอะไรมักจะเอามาแบ่งปันกัน

ไม่ว่าทุกข์ หรือสุข สนุกหรือซึมเศร้า เหงาหรือตลกหัวเราะงอหงาย

บางจังหวะก็มีการงอนกันบ้างแต่พองาม อิ อิ..

นี่คือเสน่ห์ของชาวฮา

ถ้าพูดตามภาษาอาจารย์หลินฮุ่ยก็ต้องบอกว่า..มีงานเข้าอีกแล้ว

คราวนี้เป็นงานหารือเรื่องการรับนักศึกษาพยาบาล

ที่คณาจารย์มีความปรารถดีที่จะคัดเลือกคนดีตั้งแต่ต้น

ผมพิจารณาแล้ว ถ้าตอบเองเออเองมันก็ไอ่แค่นั้นแหละ

ถ้าวางคำถามให้พวกเราช่วยกันตอบน่าจะดีกว่าความคิดแค่หางอึ่งของผม

ดังนั้น..ขอความกรุณาพี่น้องชาวเฮ ลงขันความรู้ความคิดกันได้แล้ว ณ บัดนี้

คำถามที่ 1

>ขอเล่าเรื่องผู้สูงวัยค่ะ คุณแม่ที่บ้าน 70 ปียอมเหนื่อยนั่งรถไปดูงานที่เชียงใหม่เพื่อจะนำมาใช้กับกล่มอาชีพที่ตนเอง ตั้งขึ้นด้วยเงินทุนของตัวเองให้ผู้สูงวัยด้วยกันได้ทำและมีรายได้ บอกว่าอยากแก่มีคุณค่าในตัวเอง ภูมิใจ อยากทำให้ลูกหลานเห็นเป็นตัวอย่าง และมีความสุขที่ได้ทำค่ะ หากมีโอกาสจะพาคุณแม่ไปที่สวนป่านะค่ะ

ขอคำปรึกษาอาจารย์ดังนี้ค่ะ (ขอปรึกษาแบบนอกรอบในฐานะปราชญ์ที่เคารพอย่างสูงค่ะ ถ้าเป็นทางการในฐานะกรรมการสภามหาวิทยาลัยรู้สึกเกรง ๆ ค่ะ) ในช่วงนี้กำลังวางแผนการรับค่ะ การจะรับนักศึกษาพยาบาลในโควตาดีเด่นด้านการเป็นผู้นำ และจิตอาสา จะกำหนดจุดตัดสินอย่างไรดีค่ะ หากต้องหาจุดที่ชัดเจน ที่คิดไว้คือ มีคำรับรอง มีหลักฐานเชิงประจักษ์ค่ะ

อาจารย์ค่ะจะมีวิธีพูดยังไงดีให้คนได้รู้คิดบ้างว่าต้องคิดถึงภาพรวมของ องค์กร และคิดถึงส่วนรวมบ้าง การพูดตรง ๆ ด้วยความกรุณาพอจะได้ไหมค่ะ

สุรีย์</p>

(ตื่นแล้วช่วยกรุณาตอบการบ้านด้วยนะครับ)

เรียนท่านอาจารย์สุรีย์ ที่เคารพ

วันที่ 25 เดือนนี้ผมจะไปประชุมกรรมการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์ ก็จะปรึกษาผู้สันทัดกรณีทางวิชาชีพด้านนี้ให้ ในชั้นนี้ขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นไปพลางๆก่อน และขออนุญาตเอาเรื่องนี้หารือในหมู่เครือญาติชาวเฮ ในระหว่างรอความคิดเห็นจากพี่น้องชาวเฮฮาศาสตร์ ซึ่งหลายท่านก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านการพยาบาลอยู่แล้ว และมุมมองจากคนนอกที่ผมคิดว่าจะช่วยตีแตกเรื่องมิติทางสังคมได้อย่างกว้างขวาง วันที่20เดือนสิงหาคม ผมจะเอาประเด็นนี้เสนอในเวทีKM.คณะแพทย์ศาสตร์ขอนแก่น อาจจะได้ข้อแนะนำดีๆมาพิจารณากันต่อไป

อาจารย์ครับ การที่จะรู้เขารู้เราในระยะกระชั้นชิดเช่นนี้ยากมาก แต่ก็ชื่นชมที่อาจารย์พยายามทำสิ่งยาก อยากจะทำให้ดีอย่างที่สุด ผมวางน้ำหนักไปที่ผลการเรียนกึ่งหนึ่ง คำำรับรอง หลักฐานเชิงประจักษ์ก็ดีครับ เอาไว้เป็นส่วนประกอบ ในช่วงสัมภาษณ์ ให้เด็กเล่าถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ มีความประทับใจอะไรบ้าง  สิ่งที่ชอบ ที่ทำ ที่ผ่่านมา ช่วยบอกอาจารย์หน่อย ทำไมหนูถึงอยากเป็นพยาบาล หนูคิดอย่างไรกับพยาบาล อาจจะมีคำตอบสำเร็จรูปปนมาบ้าง แต่ถ้าเราละเอียดพอก็สังเกตุได้

มิติทางสังคมเหลือน้อยในเด็กรุ่นใหม่
แต่ยังพอมีหลงเหลืออยู่บ้างในเด็กชนบท

เด็กบางคนช่วยเหลืองานพ่อแม่ ถามว่าที่บ้านมีอาชีพอะไร หนูมีส่วนร่วมตรงไหน
เล่าเรื่องครอบครัวหน่อยดีไหม
หนูรักตัวเองอย่างไร โรคทางสังคมป่วนหนูรู้สึกอย่างไร?

ระบบการรับเด็กมีข้อจำกัดเรื่องเวลาและขั้นตอนต่างๆ
แต่ถ้าจัดให้มีการสัมภาษณ์ช่วงรับสมัคร กับ สัมภาษณ์หลังผลการสอบ
คงจะดีกว่า เปายิงฉุบ ไม่มากก็น้อย

เท่าที่อาจารย์มีเจตนาดี ก็เป็นการเริ่มต้นที่เยี่ยมแล้วละครับ
เมื่อวานคุยกันถึงการสังคายนาในระบบบริหารจัดการในโรงเรียน
ยุคที่พ่อแม่โยนภาระให้ครูและสถาบันทั้งหมด
ถ้าฝ่ายบริหารไม่ตั้งระเบียบให้สมบูรณ์แต่แรก
เรื่องจะบานปลายออกไปจนปวดสมอง
การตั้งต้นวางวินัยไว้ให้เหมาะสมจะช่วยให้ภาพรวมขององค์กรดำเนินไปได้อย่างปกติ
เริ่มวางแผนสร้างวัฒนธรรมองค์กรตั้งแต่แรก น่าจะบรรลุความตั้งใจของสถาบันได้

อนึ่ง เมื่อรับเข้ามาเป็นลูกศิษย์เราแล้ว เด็กๆอาจจะมีความบกพร่องบ้างเป็นธรรมดา แต่หน้าที่เราคือช่างปั้นหม้อ อาจารย์ก็คงต้องช่วยเหลือลูกศิษย์ให้เป็นพยาบาลที่ดีให้ได้ อยากจะได้ อยากจะเห็นอย่างไร ก็ยังมีช่วงปรับแก้ได้ในระหว่างการเรียนการสอน ซึ่งเรื่องนี้คณาจารย์ต้องผนึกกำลังกันแล้วละครับ เท่าที่สังเกตเราไม่สามารถคัดเลือกลูกศิษย์ชั้นเยี่ยมได้ดั่งใจปรารถนา แต่เมื่อได้มาแล้วก็ต้องขัดสีฉวีวรรณให้ผุดผ่องเป็นทองนพคุณ ใช่ไหมละครับ


คำถามที่ 2

อาจารย์ค่ะจะมีวิธีพูดยังไงดีให้คนได้รู้คิดบ้างว่าต้องคิดถึงภาพรวมขององค์กร และคิดถึงส่วนรวมบ้าง การพูดตรงๆด้วยความกรุณาพอจะได้ไหมค่ะ

ตอบ เรื่องวิธีพูดวิธีคิด มุมมอง ทัศนคติมิติทางสังคม ในสภาพที่สังคมผิดปกติเช่นนี้คงจะต้องมีกระบวนการกระมังครับ เรื่องภาพรวม ผมก็คงต้องโยนให้ส่วนรวมช่วยกันตอบ ดังที่ขออนุญาตเอาเรื่องอาจารย์มาให้เครือข่ายภาคสังคมช่วยกันพิจารณา ขอชื่นชม ขอให้กำลังใจ ขอให้ความปรารถนาดีของอาจารย์จงเป็นพลังใจของชาวคณะอาจารย์พยาบาลที่จะลงเรือลำเดียวกัน ถ้าจะลงมืออาจารย์อาจจะต้้องลงเรือ อาจารย์ลองมานั่งเรือลำที่ชื่อว่าเฮฮาศาสตร์ดูก็ได้นะครับ ชั้นแรกนี้ลองเข้าไปอ่านในลานปัญญาก่อนก็ได้ครับ พร้อมเมื่อไหร่ค่อยนัดกันพายงัด

ด้วยความชื่นชมครับ

สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

« « Prev : การบ้านที่ส่งมาเมื่อปี 50

Next : ปฏิบัติทำ ปฏิบัติชอบ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

29 ความคิดเห็น

  • #1 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 8:15

    ยังไม่ตื่น..อิอิ

  • #2 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 9:57

    ตื่นมาทำการบ้าน  อิอิ

  • #3 ลานอุ๊ยสร้อย » เอาอะไรมาวัดความเป็นผู้นำและจิตอาสา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 13:16

    [...] โยนไมค์กลางอากาศ ในบันทึก คนเดียวหัวหาย [...]

  • #4 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 13:22

    เอาอะไรมาวัดความเป็นผู้นำและจิตอาสา ส่งการบ้านต่อจากจอมป่วนค่ะ…

  • #5 sompornp ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 13:53

    จ๊าบ ๆ ๆ
    (ทำการบ้านแล้ว..คืออ่านแล้วค่ะ)
    อิอิอิ

  • #6 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 16:06

    =ช่วยกันทำมาหากินหน่อยนะคร๊าบบบบบบ

  • #7 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 16:33

    คำตอบ จากนายแพทย์สุธี ฮั่นตระกูล

    วันนี้ตื่นมาแต่เช้าก็เจอการบ้านรออยู่ ชอบคำถามนี้ก็เลยรีบพยายามที่จะตอบ

    อันดับแรกก็พิจารณาว่าเป็นคำถามเฮงซวยไหม? ถ้าใช่ก็จะได้ไม่ต้องตอบ หรือไม่ต้องพยายามที่จะตอบ

    ถ้าเป็นคำถามที่ไม่เฮงซวย ก็มาดูว่าเราตอบได้ไหม ? อันนี้จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก แต่นึกถึงคำพูดของเพื่อนรักของผมที่ว่า

    ….อ๋อ เรื่องนี้ไม่รู้เรื่อง ไม่ทราบครับ แต่จะอธิบายให้ฟัง…..

    ก็เลยมีกำลังใจที่จะตอบ อิอิ

    ข้อที่ 1

    อ.สุรีย์…..

    การ จะรับนักศึกษาพยาบาลในโควตาดีเด่น ด้านการเป็นผู้นำ และจิตอาสา จะกำหนดจุดตัดสินอย่างไรดีค่ะ หากต้องหาจุดที่ชัดเจน ที่คิดไว้คือ มีคำรับรอง มีหลักฐานเชิงประจักษ์ค่ะ

    ตอบ ……

    อันนี้ยากมากนะครับ แต่ยังไงก็ต้องตัดสินใจเลือก

    การคัดเลือกคนหรือการจะทำภารกิจใดๆ ก็ต้องใช้ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ทั้งหมดที่มีอยู่ในการทำงาน

    ถ้า แบ่งง่ายๆก็คือใช้ทั้งความรู้ทางทฤษฎี ใช้ข้อมูล ใช้เกณฑ์ต่างๆที่พยายามสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยการตัดสินใจ อันนี้ก็เป็นข้อมูล สารสนเทศที่ช่วยประกอบการพิจารณา

    แต่ ที่สำคัญมากๆอีกด้านหนึ่งคือความรู้ด้าน Soft Side หรือด้านจิตใจ ด้านจิตวิญญาณ ประสบการณ์ชีวิต หรือวัวอีกตัวนึงในสองตัวที่เทียมเกวียนไว้ช่วยลากเกวียนให้เคลื่อนไปสู่จุด หมาย

    อัน นี้ค่อนข้างยากสำหรับคนที่คิดแยกส่วน แยกเอาการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิตออกจากกัน ไม่ได้มองสรรพสิ่งเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียว

    เคย ดูรายการโทรทัศน์ รายการ Jazz Dream Team ของ 108 MUSIC มีรายการสัมภาษณ์นักดนตรี Jazz ที่มีชื่อเสียงระดับโลกคนหนึ่งที่ศึกษาเรื่องดนตรีของหลายๆแนวของหลายๆเชื้อ ชาติ มาหลอมรวมเป็นแนวทางของตัวเอง

    พิธีกร ถามว่าความรู้เรื่องทฤษฎีดนตรีจำเป็นไหม ? เขาตอบว่าจำเป็นมากๆที่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีดนตรี แต่เวลาเล่น เขาจะลืมให้หมดแล้วเล่นด้วยหัวใจ ไม่มีเวลามาคิดเกี่ยวกับทฤษฎีแล้ว จะมีอะไรไม่ทราบที่จะบอก จะชี้นำให้เขาเล่นโดยไม่ต้องคิด การเล่นแบบนี้จึงจะมีชีวิต ให้อารมณ์ สื่อความรู้สึกของตัวเองออกมาได้

    บาง คนท่าทางดี บุคลิกดี ตอบคำถามต่างๆได้ดี แต่อาจจะมีอะไรบางอย่างที่ตะหงิดๆในใจ ถ้าเราใช้สมาธิ มีสติ หรือพูดง่ายๆว่าเราพัฒนาตัวเราเอง(ด้านจิตใจ)ได้มากเท่าไหร่ก็จะคัดเลือกได้ ดีขึ้นเท่านั้น

    ถ้า จะนำมาประยุกต์ใช้กับการคัดเลือกคน คงต้องใช้ทุกๆอย่างในการพิจารณาเลือก ถ้าใช่ก็จะแว๊บออกมาเลยว่าคนไหนใช่ บางอย่างก็ให้คะแนนลำบากเหมือนกันนะครับ แต่อย่างว่านะครับ เราทราบเรื่องราวต่างๆของแต่ละคนน้อย มีเวลาพบปะพูดคุยน้อย ก็คงยังเป็นเรื่องที่ยากอยู่บ้างครับ อิอิ

    ข้อที่ 2

    อาจารย์ ค่ะจะมีวิธีพูดยังไงดีให้คน ได้รู้คิดบ้างว่าต้องคิดถึงภาพรวมขององค์กร และคิดถึงส่วนรวมบ้าง การพูดตรงๆด้วยความกรุณาพอจะได้ไหมค่ะ

    ตอบ………

    ก็เป็นเรื่องพัฒนาตัวเองอีกนะครับ

    ใน การทำงาน การสอนหนังสือ การแนะนำ ชี้แนะ พูดคุยสื่อสารกับคนแต่ละคนหรือกลุ่มคนก็จะใช้วิธีการ ภาษา ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง การพัฒนาตัวเองตรงนี้เป็นการพัฒนาตัวเองด้านจิตใจ ด้านในของตัวเองให้พร้อมตลอดเวลาที่จะพบกับผู้คน กลุ่มคนที่หลากหลาย สถานการณ์ที่แตกต่างกัน แล้วเราจะรู้ได้เองว่าจะพูดอย่างไร? จะทำอย่างไร? แบบว่าฝึกจน กระบี่อยู่ที่ใจ ไร้กระบวนท่า

    เรื่องนี้ก็เคยเขียนบันทึก ใจมาก่อนกระบวนการ ไม่ได้หมายความว่าการใช้ภาษา การแต่งกาย บุคลิก และพิธีกรรม กระบวนการไม่สำคัญนะครับ ความรู้ทางด้านทฤษฎีต่างๆก็จำเป็น แต่พอถึงเวลาใช้ต้องลืมให้หมดแล้วให้มันไหลออกมาเอง ธรรมชาติๆ การเตรียมตัวล่วงหน้า การศึกษาข้อมูลของผู้คนต่างๆก็จำเป็น แต่ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับตัวตามสถานการณ์

    การพูดตรงๆด้วยความกรุณา ถ้า ใช้กับบางคน ในบางสถานการณ์ก็จะได้ผลดี แต่ใช้กับบางคน ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ผลอาจจะตรงกันข้าม ทั้งนี้คนที่จะพูดต้องรู้เองว่าใช้วิธีไหนจึงจะเหมาะสม

    ยกตัวอย่าง กรณีคำถามเฮงซวย

    ถ้า ป้าหวานถามคำถามบางคำถาม แล้วอาจารย์โสรีย์ตอบว่าคำถามเฮงซวย ไม่ตอบ อาจารย์ก็ตอบตรงๆด้วยความเมตตา ป้าหวานก็ปิ๊งแว๊บ เกิดปัญญา เพราะจิตใจผ่านการฝึกมาและพร้อมรับ อันนี้ก็ได้ผล แถมยังไปกระตุกให้บางคนได้เกิดปัญญาไปด้วย

    แต่ถ้าผู้ฟังไม่พร้อม ก็จะเกิดรายการจี๊ดๆ โกรธเคือง เลิกนับถือกันไปเลย

    บางครั้งคนถามคนตอบเค้าเข้าใจกันเรียยร้อยไปแล้ว แต่คนฟังคนอื่นอาจจี๊ดๆเสียเอง แถมไม่เรียนรู้อะไรก็เป็นไปได้ อิอิ

    ไม่ทราบการบ้านเป็นที่ถูกใจของพระอาจารย์หรือไม่ ? แต่ไม่เป็นไรหรอกครับ

    คนถามก็ถามเพราะอยากถาม

    คนตอบก็ตอบเพราะอยากตอบ

    คนอ่านก็อ่านเพราะอยากอ่าน

    คนถามถามแล้วก็สบายอารมณ์ไปแล้ว

    คนตอบก็ตอบแล้ว สบายอารมณ์ไปแล้ว

    คนอ่านก็อ่านแล้ว อ่านแล้วรู้สึกอย่างไร? เรียนรู้อะไร? นำไปใช้ในชีวิตได้อย่างไร? ก็เป็นเรื่องของคนอ่าน

    แต่ ถ้าอ่านแล้วช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยก็จะดี ใครช่วยแสดงความคิดเห็นขอให้สบายอารมณ์ สวยขึ้นหล่อขึ้น มีความสุขมากขึ้นก็แล้วกัน อิอิ

  • #8 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 16:43

    คำตอบ
    จาก ผศ.ดร.จันทรัตน์ เจริญสันติ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.เชียงใหม่

    ครูบาสุทธินันท์ โยนไมค์กลางอากาศ ในบันทึก คนเดียวหัวหาย และแจ้งโจทย์จากคำถามของคนที่ใช้นามว่า สุรีย์ ที่ถามว่า

    “การจะรับนักศึกษาพยาบาลในโควตาดีเด่นด้านการเป็นผู้นำ และจิตอาสา จะกำหนดจุดตัดสินอย่างไรดีค่ะ หากต้องหาจุดที่ชัดเจน ที่คิดไว้คือ มีคำรับรอง มีหลักฐานเชิงประจักษ์ค่ะ”

    ความเป็นคนชอบสงสัย(ไม่ชอบเท่าไหร่เป็นอุปนิสัยเท่านั้นเอง)  ก็เกิดเอ๊ะสงสัยว่า โจทย์บอกว่า จะรับนักศึกษาพยาบาลในโควต้าดีเด่นงั้นก็อยากเดาว่า ..โครงการนี้คงมีแล้ว และตอนเขียนโครงการก็คงใส่อะไรๆๆ ไปบ้างแล้ว ถึงได้รับเงินสนับสนุนโครงการ…แต่ผู้ที่ทำโครงการก็ยังมีข้อสงสัยวิธีการจะ ตัดสินใจ???…

    หรือว่าคนเขียนโครงการก็คนหนึ่ง ผู้ปฎิบัติก็คนหนึ่ง???…

    ถ้าเป็นทั้งสองอย่างคำตอบก็คงบอกว่า จะลองกลับไปดูตอนเขียนโครงการขอทุนอีกทีดีไหมคะ

    ฯลฯ

    …เอาเหอะนะคะ เจอคำถามที่คนถามมีคำตอบแล้วนี่ไม่ค่อยอยากตอบ …แต่เพราะเห็นจอมป่วน ตื่นมาทำการบ้าน ก็เลยกลัวเสียคะแนน…เลยขอโอกาสนี้ให้ความเห็นสักหน่อย เผื่อจะทำแต้มได้ไปสวนป่าอีก…55555…

    คำถามต่อเรื่องนี้ …

    ถ้าจะรับเอาคนที่มีลักษณะเป็นผู้นำและจิตอาสาอยู่แล้วเข้ามา เรียน..โครงการฯ วางแผนจะเอานักศึกษาเหล่านั้นไปทำอะไร??? หรือว่าไม่มีอะไรพิเศษ เพียงแต่ให้นักเรียนที่มีความเป็นผู้นำและจิตอาสาได้ใช้ศักยภาพตรงนั้นเพิ่ม ช่องทางให้ตัวเองได้เข้าเรียนพยาบาล???

    ….

    ข้อคิดเห็นในการรับนักเรียนเข้าเรียน..

    การที่จะตัดสินใจว่านักเรียนที่สมัครมีภาวะผู้นำและจิตอาสา…ประวัติเก่าๆ ระหว่างเรียนประถม มัธยม ฯลฯ ก็อาจจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า นักศึกษาที่ไม่ได้ช่วยกิจกรรมโรงเรียนหรือทำหน้าที่หัวหน้าห้องฯลฯ ไม่ใช่แปลว่าไม่มีความเป็นผู้นำหรือไม่มีจิตอาสา

    การสัมภาษณ์ต่อหน้า ก็อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งส่วนนี้ควรใช้เวลาในการสัมภาษณ์ และมีการตั้งคำถามที่เจาะลึกถึงแนวคิด ความเห็นของนักเรียน และการตัดสินใจเมื่อยกสถานการณ์ขึ้นเป็นกรณีศึกษาให้ตอบ การสัมภาษณ์ควรมีการตั้งแนวคำถามไว้ล่วงหน้าและตรวจสอบว่าครอบคลุมทั้ง เรื่องของความเป็นผู้นำ และการมีจิตอาสา

    ส่วนที่น่าจะลองพิจารณาเพิ่มคือการเข้าไปดูสภาพชีวิตจริงของนักศึกษา…ไป คุยกับพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนบ้าน เพื่อนนักเรียน ครูอาจารย์ที่เคยสอน ..ฯลฯ ส่วนนี้น่าจะให้นำหนักมากหน่อยนะคะ เพราะจะได้ข้อมูลที่ทำให้เห็นภาพได้ชัด..เพราะคนเราจะไปปกปิดหรือสร้างภาพ ตัวเองกับกลุ่มผู้คนที่รายล้อมและรู้จักกันมานานนั้นคงทำได้ยาก

    ความเห็นอีกประการคือ ไม่ว่าจะรับคนที่มีภาวะผู้นำหรือจิตอาสาหรือจะรับคนที่ไม่มีทั้งสองอย่างก็ ตาม ที่ควรพิจารณาอีกเรื่องคือ จะทำอย่างไรไม่ให้ระบบการเรียนการสอน ผลักเขาให้กลายเป็นผู้ตามและเห็นแก่ตัวไม่ช่วยใครเลยในท้ายที่สุด??

    ในประสบการณ์นะคะ…การรับคนเข้าเรียน ณ วันสัมภาษณ์และต่อๆ ไปจนจบการศึกษา …นักศึกษาก็ต้องปรับตัวทั้งนั้น และระบบการจัดการศึกษาต่างหากที่จะช่วยให้ผลิตคนที่ต้องการออกไปสู่ สังคม…ไม่ใช่แค่ ณ วันที่มาสัมภาษณ์เข้าเรียนค่ะ

  • #9 สุรีย์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 20:04

    ขอบพระคุณอาจารย์ครูบาและอาจารย์ชาวเฮฮาศาสตร์ทุกท่านเป็นอย่างสูง
    จากที่อ่านคำตอบมองเห็นว่า การจะคัดเลือกนักเรียนน่าจะเป็นกระบวนการที่มากกว่าการสัมภาษณ์ และการดูจากเอกสาร เริ่มลังเลแล้วค่ะว่าเราควรจะมีโควตานี้หรือชะลอไปก่อนแต่อย่างไรก็ตามในคณะกรรมการเองก็อภิปรายกันมากว่าควรจะเป็นอย่างไร แต่ทั้งนี้การคิดคะแนนตัดสินยังคิดเช่นเดียวกับกรณีอื่น ๆ (มีการกำหนดรับตรงจาก อบต ด้วยค่ะ) ในส่วนที่ครูบาให้ข้อคิดเห็นว่าอาจครึ่ง ๆ ระหว่างคะแนนและการมีลักษณะเด่นก็น่าจะเป็นตัวที่ช่วยพิจารณาได้

    ขอให้ข้อมูลเพิ่มดังนี้ค่ะโควตานี้ไม่ได้ทำเป็นโครงการค่ะ แต่คณะประสงค์เปิดโอกาสให้นักเรียนที่อาจจะพลาดเรื่องเรียนบ้าง แต่มีความเด่นความสามารถในด้านนี้และต้องการได้ผู้เรียนที่มีคุณลักษณะเด่นในเรื่องนี้จริง ๆ มาเป็นองค์ประกอบสำคัญของนักศึกษารุ่น 1 ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และต้องการเปิดโอกาสที่หลากหลาย ในสังคม ต้องการเห็นการให้คุณค่าในเรื่องจิตอาสาที่เป็นรูปธรรม เพื่อเป็นสติให้เด็กรุ่นใหม่ได้เห็นว่ามีโอกาสในส่วนนี้ด้วยค่ะ

    ในขณะนี้มองว่าองค์ประกอบของกรรมการที่สัมภาษณ์น่าจะช่วยได้มาก หากเรายังกำหนดจุดตัดสินได้ยาก จึงได้หารือเชิญพี่ ๆ พยาบาลดีเด่นของสมาคมพยาบาล มาเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ อย่างไรก็ตามคิดว่าการให้คะแนนเป็นสิ่งที่ยากมาก คงจะคล้ายกับที่เคยรับฟังจากอาจารยืหมอสกลเล่าว่าการตัดสินรางวัล RtoR นั้นสุดท้ายคือใจกรรมการที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒินั่นเอง

    ขอบพระคุณอาจารย์ผศ.ดร.จันทรัตน์ เจริญสันติ นายแพทย์สุธี ฮั่นตระกูล อาจารย์ครูบาสุทธินันท์ มีโอกาสจะไปเรียนรู้ลงเรือชาวเฮฮาศาสตร์ แน่นอนค่ะ

    การเริ่มต้นงานใหม่ในความหลากหลายสวยงามแต่ยากจริง ๆ ค่ะ แม้ตนเองได้ฝึกฝนการฟังมา แต่ยังยากพอควรค่ะ

  • #10 สุรีย์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 20:19

    ขอบพระคุณอาจารย์ นายแพทย์สุธี ฮั่นตระกูล ในประเด็นการพูดตรงๆด้วยความกรุณา ถ้า ใช้กับบางคน ในบางสถานการณ์ก็จะได้ผลดี แต่ใช้กับบางคน ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ผลอาจจะตรงกันข้าม ทั้งนี้คนที่จะพูดต้องรู้เองว่าใช้วิธีไหนจึงจะเหมาะสม
    เห็นด้วยค่ะ ยากเหมือนกันที่จะมีผู้พร้อมแบบป้าหวาน ผู้พูดที่จะมีลักษณะท่าทีแบบอาจารย์โสรีย์ และสามารถหยั่งรู้ความพร้อมของผู้ฟัง
    นอกจากนี้บางคนพูดตรงแล้วก็ยังไม่รู้สึกค่ะ สงสัยยังวินิจฉัยผู้ฟังไม่ลึกซึ้งพอค่ะ หรือพูดไม่ตรงพอก็เป็นได้กระมังนะค่ะ

  • #11 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 20:37

    คำถามที่ 1

    > ขอเล่าเรื่องผู้สูงวัยค่ะ คุณแม่ที่บ้าน 70 ปียอมเหนื่อยนั่งรถไปดูงานที่เชียงใหม่เพื่อจะนำมาใช้กับกล่มอาชีพที่ตนเอง ตั้งขึ้นด้วยเงินทุนของตัวเองให้ผู้สูงวัยด้วยกันได้ทำและมีรายได้ บอกว่าอยากแก่มีคุณค่าในตัวเอง ภูมิใจ อยากทำให้ลูกหลานเห็นเป็นตัวอย่าง และมีความสุขที่ได้ทำค่ะ หากมีโอกาสจะพาคุณแม่ไปที่สวนป่านะค่ะ

    ขอ คำปรึกษาอาจารย์ดังนี้ค่ะ (ขอปรึกษาแบบนอกรอบในฐานะปราชญ์ที่เคารพอย่างสูงค่ะ ถ้าเป็นทางการในฐานะกรรมการสภามหาวิทยาลัยรู้สึกเกรง ๆ ค่ะ) ในช่วงนี้กำลังวางแผนการรับค่ะ การจะรับนักศึกษาพยาบาลในโควตาดีเด่นด้านการเป็นผู้นำ และจิตอาสา จะกำหนดจุดตัดสินอย่างไรดีค่ะ หากต้องหาจุดที่ชัดเจน ที่คิดไว้คือ มีคำรับรอง มีหลักฐานเชิงประจักษ์ค่ะ

    อาจารย์ค่ะจะมีวิธีพูดยังไงดีให้ คนได้รู้คิดบ้างว่าต้องคิดถึงภาพรวมของ องค์กร และคิดถึงส่วนรวมบ้าง การพูดตรง ๆ ด้วยความกรุณาพอจะได้ไหมค่ะ

    ไม่ทราบเป็นคำถามของใคร แต่ดูเหมือนมีคำตอบอยู่ในตัวอยู่แล้ว  สำหรับอม่าแล้วใจหายวูปเมื่อ เมื่ออ่านมาเจอแผนการรับนักศึกษา………..คงไม่กล้าตอบเด็ดขาด แต่อยากให้ลองถามชาวบ้านธรรมดาๆ ผู้ที่เคยมีประสบการณ์รับการบริการด้านดูแลจากพยาบาลมาแล้ว ว่าชอบพยาบาลแบบไหน …..ไม่ชอบแบบไหน รวมรวมให้ได้มากที่สุด ให้ชุมชนทำการสำรวจเองคงมีคำคอบที่เชื่อถือได้ค่ะ คงมีคำตอบ

    อยากเสนอแนะสักนิดว่าน่าเปลี่ยนชื่อโควต้า(ทีดูเหมือนแบ่ง….สร้างความแตกแยกในหมู่นักศึกษา…..) น่าจะสร้างพยาบาลที่ดีตรงกับความต้องการชาวบ้านน่าเหมาะกว่า จะได้มีพยาบาลใหม่ที่ตรงกับความต้องการ ตามคุณสมบัติพยาบาลของคนชนชั้นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เรามีโอกาศแล้วจงใช้โอกาส เปลี่ยนแปลง…… ถ้ายังคิดแบเดิมๆ ทำแบบเดิมๆ ผลก็ออกมาเดิมๆ …

  • #12 สุรีย์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 20:41

    ขอบพระคุณอาจารย์ครูบา จะนำแนวทางคำถามที่อาจารย์ให้ไปใช้ค่ะ วันนี้คุยกับเพื่อนครูทั้งหลายได้แนะนำว่าลองถามเด็กนักเรียนว่าทำนาเป็นไหม หากพ่อแม่เป็นชาวนา นอกจากนี้ใจลึก ๆที่ให้มีโควตานี้คิดไกลถึงเด็กที่ยากลำบาก ด้อยโอกาสต่าง ๆ ด้วยค่ะ ส่วนหนึ่งอยากมีส่วนร่วมในการลดความต่าง ที่มีในสังคม เพื่อจะเป็นแรงหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดในปัจจุบันนี้ได้บ้าง แต่เพื่อน ๆก็ว่าส่วนใหญ่เด็กเด่นก็จะมาจากครอบครัวที่พร้อมสนับสนุนเป็นส่วนใหญ่ ปีถัดไปอาจเสนอโควตาเด็กพิเศษในลักษณะต่าง ๆ ให้มากขึ้นค่ะ (ให้เด็กเล่าถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ มีความประทับใจอะไรบ้าง  สิ่งที่ชอบ ที่ทำ ที่ผ่่านมา ช่วยบอกอาจารย์หน่อย ทำไมหนูถึงอยากเป็นพยาบาล หนูคิดอย่างไรกับพยาบาล อาจจะมีคำตอบสำเร็จรูปปนมาบ้าง แต่ถ้าเราละเอียดพอก็สังเกตุได้

    มิติทางสังคมเหลือน้อยในเด็กรุ่นใหม่
    แต่ยังพอมีหลงเหลืออยู่บ้างในเด็กชนบท

    เด็กบางคนช่วยเหลืองานพ่อแม่ ถามว่าที่บ้านมีอาชีพอะไร หนูมีส่วนร่วมตรงไหน
    เล่าเรื่องครอบครัวหน่อยดีไหม
    หนูรักตัวเองอย่างไร โรคทางสังคมป่วนหนูรู้สึกอย่างไร?)

  • #13 สุรีย์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 21:01

    อยากเสนอแนะสักนิดว่าน่าเปลี่ยนชื่อโควต้า(ทีดูเหมือนแบ่ง….สร้างความแตกแยกในหมู่นักศึกษา…..) น่าจะสร้างพยาบาลที่ดีตรงกับความต้องการชาวบ้านน่าเหมาะกว่า จะได้มีพยาบาลใหม่ที่ตรงกับความต้องการ ตามคุณสมบัติพยาบาลของคนชนชั้นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เรามีโอกาศแล้วจงใช้โอกาส เปลี่ยนแปลง…… ถ้ายังคิดแบเดิมๆ ทำแบบเดิมๆ ผลก็ออกมาเดิมๆ …

    ขอบพระคุณมากค่ะ ประเด็นที่ให้ข้อคิดน่าสนใจมากค่ะ ว่าจะสร้างความแตกแยกได้ คงต้องทบทวนชื่อใหม่อย่างไรดี หรือโจทย์อยู่ที่กระบวนการรับ หรือควรสรุปเป็นโควตาเดียวคือ โควตา อบต ซึ่งขออธิบายเพิ่มดังนี้ค่ะ เป็นโควตาที่ให้ อบต ที่พร้อมในการพัฒนาสาธารณสุขในด้านต่าง ๆ มีโอกาสมีพยาบาลที่ทำงานภายใต้สังกัด อบต โดยกระบวนการคัดเลือกต้องมีการประชาคม มีการฝึกงาน มีคณะกรรมการจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาอีกรอบ น่าจะดีที่สุดเพราะกระบวนการชัดเจน (โครงการสร้างพยาบาลชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชนนี้มีหลายแห่งทำมาแล้วค่ะเพราะเป็นแผนงานของสภาการพยาบาลที่มุ่งสร้างพยาบาลเพื่อชุมชนค่ะรายละเอียดมีใน Thainoc.net ค่ะ)

    จริง ๆ ยังไม่มีคำตอบทั้งหมดค่ะแต่เป็นการพยายามจะหาคำตอบอยู่ค่ะ ข้อคิดเห็นชาวเฮฮาศาสตร์มีคุณค่าต่อผู้ถามมากค่ะ ผู้ถามเป็นส่วนหนึ่งของงานค่ะ ความคิดเห็นที่เขียนมาจากผู้ถามเท่านั้นค่ะ บางอย่างที่ให้ข้อมูลนั้นเพื่อให้เห็นภาพความคิดของผู้ถามค่ะ อาจดูงง ๆต้องขออภัยนะค่ะ บางทีก็งงตัวเองเหมือนกันค่ะ

  • #14 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 22:53

    อาจารย์สุรีย์มาถูกทางแล้วละครับ
    เอาไว้ฝุ่นหลายตลบ อะไรๆก็จะแจ่มชัดขึ้น
    ที่สถาบันพระปกเกล้าจะใช้วิธีเจาะเลือกเอาเป็นรายๆ
    ถ้าเห็นว่านักศึกษาผู้นั้นมีคุณสมบัติตามที่สถาบันต้องการ
    เขาใช้คำว่า..เป็นตัวคูณให้กับหลักสูตร หรือให้กับรุ่นนั้นๆ
    ต่อๆไปเราอาจจะค้นหาด้วยวิธีนี้ก็ได้ ถ้าเรามีแมวมองทำหน้าที่ได้ดี

    ขอเอาใจช่วยอาจารย์เสมอ

  • #15 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 เวลา 23:11

    ความคิดเห็น เพิ่มเติมครับ http://lanpanya.com/dongluang/archives/2324

  • #16 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2010 เวลา 0:10

    นอกจากนี้ใจลึก ๆที่ให้มีโควตานี้คิดไกลถึงเด็กที่ยากลำบาก ด้อยโอกาสต่าง ๆ ด้วยค่ะ ส่วนหนึ่งอยากมีส่วนร่วมในการลดความต่าง ที่มีในสังคม เพื่อจะเป็นแรงหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดในปัจจุบันนี้ได้บ้าง แต่เพื่อน ๆก็ว่าส่วนใหญ่เด็กเด่นก็จะมาจากครอบครัวที่พร้อมสนับสนุนเป็นส่วนใหญ่

    อ่านเจอข้อความนี้เลยอดแจมไม่ได้….หากว่าเกณฑ์ของผู้คัดยังอยู่ที่…เด่น=เก่ง….ก็ยากที่จะค้นหาช้างเผือกที่เป็นผู้นำและมีใจเป็นองค์รวมเจอแล้วละคะ….ความเป็นจิตอาสาและภาวะผู้นำ…..ไม่ได้เจอในครอบครัวที่มีความพร้อมเสมอไปค่ะ…..ยิ่งบอกว่าใช้พยาบาลดีเด่นของสมาคมพยาบาล…..ก็ขอส่งสัญญาณความเห็นร่วมที่ได้รับอาจจะพาหลงทางก็เป็นได้ค่ะ

    มิติทางสังคมเหลือน้อยในเด็กรุ่นใหม่…..ให้เด็กเล่าถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ มีความประทับใจอะไรบ้าง  สิ่งที่ชอบ ที่ทำ ที่ผ่่านมา ช่วยบอกอาจารย์หน่อย ทำไมหนูถึงอยากเป็นพยาบาล หนูคิดอย่างไรกับพยาบาล อาจจะมีคำตอบสำเร็จรูปปนมาบ้าง แต่ถ้าเราละเอียดพอก็สังเกตุได้…เด็กบางคนช่วยเหลืองานพ่อแม่ ถามว่าที่บ้านมีอาชีพอะไร หนูมีส่วนร่วมตรงไหน……..หนูรักตัวเองอย่างไร…..โรคทางสังคมป่วนหนูรู้สึกอย่างไร?

    ในความเป็นนักวิชาการ เรามักจะชอบฟังคนพูดให้ฟังเสมอ ด้วยความคุ้นชินกับตัวเราที่ชอบพูดให้คนฟังด้วย….อย่างนี้ทำให้เรามักคาดว่า คนที่มาพูดให้ฟังเขากำลังนำความจริงมาบอกเรา..จริงๆ….อยากชวนให้ใคร่ครวญค่ะ….เมื่อเราฟังแล้ว…เราจะเชื่อคำพูดที่ได้ยินได้อย่างไรค่ะ……ระหว่างเด็กบางคนพูดเก่งเป็นต่อยหอย อ่านเก่ง จำเก่ง จำแล้วก็นำมาพูดเล่า….แต่ทำจริงไม่เป็นเลย…กับเด็กที่ไม่ชอบพูด พูดน้อย และพูดแต่เรื่องที่ได้ทำเพราะทำอยู่จริงๆ…..คำถามของอาจารย์….เด็กๆเขาเตรียมตัวมาตอบกันอยู่แล้วมั๊ยค่ะ

    เล่าเรื่องครอบครัวหน่อยดีไหม…..อืม…อันนี้เข้าท่า

    เสนอให้เพิ่มเป็น…เล่าเรื่องความรู้สึกที่มีต่อพ่อ แม่ ตัวเอง  เพื่อนรัก และเพื่อนชัง…ความรู้สึกต่อเหตุการณ์ของชาติบ้านเมืองต่อสถานการณ์เสื้อแดง-เสื้อเหลือง….ชวนพูดชวนคุยอย่างนี้….อาจารย์น่าจะสามารถสังเกตุเด็กได้มากกว่านะคะ…แล้วถ้าผนวกการให้แสดงบทบาทสมมติที่มีจินตภาพของคำตอบที่อาจารย์เองมีอยู่แล้ว…เชื่อว่าบทบาทที่แสดงออกมาภายใต้โจทย์สมมติที่อาจารย์ได้เห็นเด็กลงมือจริง….จะช่วยให้อาจารย์คัดเด็กได้ใกล้เกณฑ์กับความเป็นพยาบาลที่ชาวบ้านต้องการนะคะ…พยาบาลที่ชาวบ้านต้องการ…คือ..พยาบาลที่รู้จักรักคนที่ไม่รู้จัก รักงานที่ต้องให้บริการคนอื่น พร้อมลงมือทำด้วยตัวเอง และมีหัวใจรักดวงเดียวไม่ว่าจะรักตัวเองหรือรักคนอื่นที่ไม่รู้จักหรือรักคนที่รู้จัก….อย่างนี้คือพยาบาลที่ชาวบ้านอยากให้เป็นค่ะ

  • #17 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2010 เวลา 1:21

    หมอเจ๊เติมแง่มุมน่าสนใจมาก ขอบคุณหลาย

  • #18 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2010 เวลา 1:28

    คำตอบ จากอาจารย์ไพศาล ช่วงฉ่ำ

    “…..การจะรับ นักศึกษาพยาบาลในโควตาดีเด่น ด้านการเป็นผู้นำ และจิตอาสา จะกำหนดจุดตัดสินอย่างไรดีค่ะ หากต้องหาจุดที่ชัดเจน ที่คิดไว้คือ มีคำรับรอง มีหลักฐานเชิงประจักษ์ค่ะ…”

    ข้าเจ้าขอออกตัวว่าเป็นผู้รู้เรื่องน้อย แต่ขอแสดงความคิดเห็นบ้าง

    1. การรับนักศึกษาพยาบาลในโควตาดีเด่น….”จะต้องเป็นผู้ ที่มีคุณสมบัติด้านการเป็นผู้นำ และจิตอาสา” ….. ก่อนจะไปรายละเอียด ต้องถามต่อว่ามีคุณสมบัติอะไรอีก ที่เป็นที่พึงประสงค์ของการเป็นพยาบาลที่ดี เช่น มีจิตใจเอื้อเฟื้อ โอบอ้อมอารี ฯลฯ กำหนดมาให้ครบถ้วนตามต้องการ อย่าลืมคุณสมบัติพยาบาลในสายตาชาวบ้านด้วย
    2. หาก กำหนดคุณสมบัติครบถ้วนแล้ว ก็หาผู้เข้าใจเรื่องนี้ อธิบายคุณสมบัติ นั้นๆให้ละเอียดยิบว่าเป็นเช่นไร เช่นการเป็นผู้นำนั้นในความหมายของการเป็นพยาบาลต้องการการเป็นผู้นำนั้นราย ละเอียดคืออะไร….จิตอาสา รายละเอียดคืออะไร ฯลฯ
    3. เมื่อได้ครบ ถ้วน ก็จัดทำเป็นแบบสำรวจคุณสมบัติดังกล่าวให้ครบถ้วนทุกด้าน แล้วให้ผู้สนใจเอาใบรับสมัครนี้ไปศึกษาแล้วเขียนสมัคร ให้ผู้ปกครองลงนามด้วย อีกใบสมัครหนึ่งให้ผู้นำชุมชนเป็นผู้กรอกแบบสำรวจนั้นด้วย และให้แสดงความจริงใจในการตอบนั้นๆ
    4. ในแบบสำรวจนั้นควรที่จะมีแบบอัตนัยให้แสดงความคิดเห็นด้วย
    5. ทั้งข้อ 2 และข้อ 3 นั้นอาจเกิดการเบี่ยงเบนได้ เช่น ใช้อิทธิพลกรอกแบบสำรวจนั้นๆเพื่อให้ลูกหลานเข้ามาเรียน ซึ่งก็อาจมีเหตุการณ์นี้จริงๆ เพราะสังคมไทยมีภาพนี้อยู่ในทุกจุดจริงๆ
    6. มีอีกขั้น ตอนหนึ่งคือ หลังจากที่ทุกคนส่งใบสมัครตามนั้นแล้ว สถาบันเอามารวบรวมแล้วจัดกลุ่มตามความเหมาะสมเช่น กลุ่ม A ดีเยี่ยม กลุ่ม B น่าสนใจ กลุ่ม C รอการพิสูจน์
    7. เมื่อได้กลุ่ม ผู้สมัครดังข้อ 6 แล้ว ก็จัดทีมงานออกไปสัมภาษณ์ในพื้นที่โดยตรงเลย ไปดูของจริงของครอบครัว พูดคุยกับเจ้าตัว พูดคุยกับญาติพี่น้อง พูดคุยกับเพื่อนบ้าน พระ ครู ผู้นำ ฯลฯ (พิจารณาเอาตามความเหมาะสม) ทั้งนี้เพื่อประเมินภาพจริงของผู้สมัครบุคคลนั้นๆ
    8. เอาข้อมูลทั้ง ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 มาประชุมแล้วลงมติการคัดเลือกโดยพิจารณาจากข้อมูลทั้งหมดดังกล่าว

    รายละเอียดนี้มีการจัดทำแล้วในกรณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คัดเลือกนักศึกษาโควตาเข้าเรียนพิเศษ….

    ผู้ที่คัด เลือกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คือ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทองและคณะ สมัยนั้นผมทำงานในพื้นที่ชนบทตามหมู่บ้านชายแดนไทยที่จังหวัดสุรินทร์ และเห็นการทำงานแล้วทึ่งต่อการเอาจริงเอาจังในการคัดเลือกของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และได้เด็กดีจริงๆ

  • #19 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2010 เวลา 7:57

    ต่ออีกนิดหนึ่งค่ะ

    ทุกวันนี้เวลาสัมภาษณ์นักศึกษาเข้าเรียน ถ้าได้เป็นกรรกมารสัมภาษณ์จะใช้คำถามคล้ายๆ ทำนองที่หมอเจ๊บอก ..ประเด็นคือจะใช้ช่วงเวลานั้นเปิดพื้นที่ให้เขาเอ๊ะ บางคนมาแบบสำเร็จรูป..การคุยกันเหมือนธรรมดาจะทำให้เขาเกิดอาการเอ๊ะ กับคำถาม …และกลับไปทบทวน…

    คำถามสุดท้ายที่มักจะถามคือ อยากถามอะไรไหม?? หรืออยากรู้อะไรหรือเปล่า
    ในเวลาจำกัด..คำถามของคนรับสัมภาษณ์จะเป็นตัวบอกได้นิดหน่อยถึงสิ่งที่เขามีอยู่ในใจค่ะ

    สำหรับตัวเองแล้ว การสัมภาษณ์ไม่ใช่แค่เราคัดเขานะคะ แต่คือช่วงเวลาที่เขาก็มีสิทธิเลือกเราด้วย…เขาให้โอกาสเราในการรู้จักและสัมภาษณ์เขา เราก็ควรให้โอกาสเขาในการได้ข้อมูลที่อยากได้ด้วยเหมือนกันค่ะ

    เมื่อวันพุธที่ผ่านมาก็เพิ่งไปเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์คนที่สอบ admission ได้…ก็ทำนองคล้ายๆนี้ค่ะ

  • #20 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2010 เวลา 8:10

    โอ้..อุ้ยบอกว่า คนที่มาสัมภาษณ์ก็มีสิทธิพื้นฐานในระดับหนึ่งด้วย
    ถ้ามองเห็นคนอยู่ในสายตาว่าเป็นคนที่ร่วมเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย-เหมือนกับเรา
    ทุกอย่างจะเป็นไปอย่างธรรมชาติ

  • #21 สุรีย์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2010 เวลา 20:14

    ขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านค่ะ
    สุรีย์

  • #22 ลานเรียนชีวิต » เกณฑ์ตัดสินความเป็นผู้นำและจิตอาสา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2010 เวลา 0:01

    [...] อ.สุรีย์ ในบันทึก  คนเดียวหัวหาย [...]

  • #23 krupu ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2010 เวลา 0:06

    ส่ง การบ้าน ด้วยคนค่ะ ฮักแล้วรอหน่อยเน่อ  แฮ่ ๆ ๆ :P

  • #24 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2010 เวลา 4:26

    ความเห็นจาก ครูปู จ้า (อาจารย์พิชญ์สินี อัครโกศลเดชา) มาช้าแต่น่าอ่าน คิคิ..
    ลานเรียนชีวิต :
    ถ้ารู้ตัวได้ ก็ใช้ตัวเป็น เกณฑ์ตัดสินความเป็นผู้นำและจิตอาสา โดย krupu เมื่อ 17 พฤษภาคม 2010 เวลา 0:01
    ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, การศึกษา, การเีรียนการสอน, กิจกรรมจิตอาสา, มุมมองของชีวิต, สังคม

    เนื่องด้วยช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาเข้าลานสักเท่าไหร่ ถึงแม้จะมีเรื่องที่ใจอยากจะเขียนเยอะแยะ (แหว่ะ! แก้ตัว ๆ) เพิ่งจะเล่าเรื่องการเป็นกรรมการสัมภาษณ์อาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่ โรงเรียนให้พ่อครูฟัง พ่อครูจึงเอ่ยปากว่า ช่วยเล่าเรื่องนี้เป็นบันทึกหน่อยได้ไหม เผื่อจะตอบโจทย์ของ อ.สุรีย์ ในบันทึก คนเดียวหัวหาย ได้ด้วย เลยเพิ่งทราบว่าเขาตอบกันไปตั้งนานแล้วล่ะลุง เอ๊ย ป้า แต่ไม่เป็นไรค่ะ มาช้าตอนนี้ ดีกว่าช้ากว่านี้เนาะ อิอิอิ

    คำถามที่ 1
    การจะรับนักศึกษาพยาบาลในโควต้าดีเด่นด้านการเป็นผู้นำและจิตอาสา จะกำหนดจุดตัดสินอย่างไรดีคะ หากต้องหาจุดที่ชัดเจน

    ด้วยคำเชื่อม “และ” ของอาจารย์เลยเข้าใจว่า ต้องมีคุณลักษณะทั้งสองอย่างคือมีคุณลักษณะความเป็นผู้นำด้านจิตอาสา ดูเหมือนทางคณะเองยังไม่ได้สรุปลงไปเสียทีเดียวมังคะว่า

    1. จะเอานักศึกษาพยาบาลกลุ่มนี้เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนปกติ จบไปก็ทำงานตามครรลองของวิชาชีพ แต่ถ้าเป็นไปตามข้อนี้เรื่องสร้างแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ขั้นต้นคงไม่ยากเท่าไหร่เนาะคะ หรือ

    2. มีหลักสูตรพิเศษ (ด้านจิตอาสา) เพิ่มเติมสำหรับความมุ่งหวังพิเศษ รอนักศึกษากลุ่มนี้อยู่ นี่จะทำให้นักศึกษาคนนั้น จำเป็นมากที่จะต้องมีคุณลักษณะดังกล่าว

    ถ้างั๊นกระบวนการที่คุณหมอสุธีแนะนำให้พิจารณาเรื่องจิตใจ อุ๊ยแนะนำเรื่องการออกไปดูสภาพจริง และที่พี่บางทรายแนะนำว่าควรออกแบบสำรวจแล้วตามด้วยการไปเก็บข้อมูลในพื้นที่จริงนั้นน่าจะครอบคลุมนะคะ
    การพิจารณาเลือกผู้สัมภาษณ์ฺให้ตรงกับคุณลักษณะ เอาตัวจริงเสียงจริงเขามาสัมภาษณ์กันเอง แปลว่าอาจไม่ต้องเกรงใจเลือกกรรมการสัมภาษณ์ตามตำแหน่ง เช่น หัวหน้าคณะหรือผู้ใหญ่ตามสายงาน แต่ให้ยึดเอาคนที่เขาปฏิบัติงานอยู่จริงมาสัมภาษณ์กัน มาทดลองปฏิพานไหวพริบกันเอง เขาจะสื่อกันได้ชัดกว่า
    เพราะโจทย์นี้ยากพอสมควรเลยล่ะค่ะ จะออกแบบสอบถามตูมเดียวโดยไม่ใช้กระบวนการอื่นเข้าร่วมด้วย อาจคัดแยกผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามโจทย์ได้ไม่ง่ายนักค่ะ ยกเว้นกรรมการที่มีประสบการณ์และวิสัยทัศน์สูง ๆ

    ด้วยความรู้และประสบการณ์อันน้อยนิดของตัวเองที่ไม่ค่อยได้สัมผัสวิชาชีพ พยาบาลมากนัก พยาบาลที่จะไปเป็นผู้นำด้านจิตอาสา ครูปูนึกถึงทีมลงชุมชน มีกิจกรรม คลุกคลีตีโมงกับชาวบ้านเพื่อจะได้ข้อมูลด้านสุขภาวะที่แท้จริง แล้วสามารถโน้มน้าวและเข้าไปนั่งในใจของชาวบ้านได้จนดึงให้ชาวบ้านเข้ามา ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ เข้าใจว่าอย่างนี้นะคะ แต่ที่แน่ ๆ คุณลักษณะเด่นของพยาบาลคือผู้ที่มีองค์ความรู้ในการให้การรักษาดูแลเพื่อให้ ผู้อื่นมีสุขภาพดี มีสุขภาวะ มีจิตใจคิดจะช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ มีเมตตาปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข

    ครูปูสรุปเอาเองว่า “พยาบาลต้องเป็นคนดี”

    สรุปเอาเองอีกทีว่า “อาจารย์กำลังมองหาคนดีที่มีลักษณะความเป็นผู้นำ”

    เพราะคุณลักษณะการมีจิตอาสา เป็นสับเซ็ตของการเป็นคนดีนี่เนอะ

    ถ้าคิดอย่างนี้แล้ว เกณฑ์เรื่องความเป็นผู้นำจะชัดขึ้น และเกณฑ์เรื่องคุณลักษณะของคนดีจะกว้างขึ้นไหมคะ

    ขออนุญาตแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการเป็นกรรมสัมภาษณ์ที่ตัวเองต้องเจออยู่ทุกวันด้วยหน่อยนะคะ
    ถ้าครูปูเข้าไปเป็นกรรมการด้วยจะเป็นฝ่ายให้ข้อมูลผู้รับการสัมภาษณ์ก่อนทุกครั้งเลยค่ะ ว่าเขากำลังสมัครงานกับที่ทำงานแบบไหน วัฒนธรมองค์กรเป็นอย่างไร เราคือใคร มีปัญหาอะไรและเราต้องการผู้ที่มีคุณลักษณะแบบไหนมาช่วยเรา คือจะแบไต๋ไปเลยค่ะ ที่เหลือก็แค่นั่งรอฟังคำตอบเอาค่ะ
    ผู้รับการสัมภาษณ์และทดสอบสอน ยิ่งถ้าเป็นนักศึกษาเพิ่งจบใหม่มักแต่งตัวตามใจฉัน ไม่ได้ทำการคิดวิเคราะห์สถานการณ์ความเหมาะความสมหรือคุณลักษณะประจำวิชาชีพ มาก่อนเลย แต่งตัวตามแฟชั่นมาก ไอ้กิ๊บลูกหมาอันใหญ่ยังหนีบกลางกบาลเด่อยู่เลย คนที่บ้านไม่ได้บอกหรือตั้งใจหว่า หรือไม่ได้คิดว่ามัีนจะเกี่ยวข้องกับอะไรเลยจริง ๆ ก็ไม่รู้
    โรงเรียนครูปูเป็นโรงเรียน อาชีวศึกษาเอกชนใน กทม.ค่ะ จึงประสบปัญหาเรื่องสมองไหล เพราะอาจารย์ไปสอบบรรจุราชการบ้าง ทิ้งงานไปสมัครเป็นอาจารย์โรงเรียนอื่นบ้าง ยิ่งมีนักศึกษามากขึ้น ก็ทำให้ต้องเปิดรับสมัครและสัมภาษณ์กันแทบจะทุำกภาคเรียน ผู้สมัครทุกท่านที่กำลังจะกล่าวถึง ล้วนมีใบประกอบวิชาชีพครูทั้งสิ้นนะคะ แต่แทนที่ใบประกอบวิชาชีพจะช่วยให้พิจารณารับได้ง่ายขึ้น ไม่ซะทีเดียวค่ะ

    ถาม : ประสบการณ์ความประทับใจจากการฝึกสอน
    ตอบ : เจอพี่เลี้ยงดี พาไปเลี้ยงข้าวประจำ และหนูได้เกรด 4 ค่ะ
    ถาม : กลัวไหม ไม่มีประสบการณ์กับเด็กอาชีวะอย่างนี้
    ตอบ : ก็ไม่รู้เหมือนกัน ก็คงต้องลองมั๊งครับ
    ถาม : ถ้าอาจารย์รับคุณเข้าเป็นอาจารย์ผู้สอน คุณคิดว่าคุณจะปรับเปลี่ยนเรื่องทรงผมฮิปปี้ของคุณอย่างไร
    ตอบ : เอาไว้ถึงวันที่ผมจะขึ้นสอนจริง ๆ แล้วผมจะตัดก็แล้วกัน
    ถาม : ถ้าอาจารย์ไปเจอเด็กไม่สนใจเรียนในห้องเรียน อาจารย์จะมีวิธีจัดการยังไง
    ตอบ : เราก็เลือกสอนเฉพาะเด็กที่อยากเรียนสิคะ
    ถาม : หากโรงเรียนมีกิจกรรมที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากอาจารย์ อาจารย์ยินดีให้ความร่วมมือ หรือมีข้อยกเว้นอะไรที่เราควรทราบไหมคะ
    ตอบ : ต้องแจ้งผมล่วงหน้านะ เพราะผมรับจ๊อบไว้หลายที่ อยากให้โรงเรียนปรับตามตารางงานผมนะ
    ถาม : ถ้าโดยปกติไม่ใช่สถานการณ์การสัมภาษณ์ ตัวตนของคุณเป็นยังไงคะ
    ตอบ : ผมหน่ะง่าย ๆ ยังไงก็ได้ แต่อย่ามานินทาลับหลังผมแล้วกัน ผมไม่ชอบให้ใครมาทำผมก่อน ผมสู้ตายแน่
    (ไอ้หมอนี่ เล่นเอากรรมการสัมภาษณ์หน้าเจื่อนไปเป็นแถว รีบยิ้ม ๆ ให้แล้วเชิญกลับอย่างสุภาพสุด ๆ ในเวลาอันรวดเร็วสุด ๆ เช่นกัน)

    เรื่องสัมภาษณ์นี่สงสัยต้องแยกไปเขียนอีกบันทึกนึงต่างหาก อย่างพ่อครู ว่าจริง ๆ ด้วยหล่ะค่ะ รีบจบก่อนดีกว่า เดี๋ยวจะไม่ได้ตอบคำถามข้อที่ 2 อ่ะค่ะ ^^

  • #25 สุรีย์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2010 เวลา 20:31

    ขอบคุณค่ะครูปู เห็นภาพการสัมภาษณ์ค่ะ
     “อาจารย์กำลังมองหาคนดีที่มีลักษณะความเป็นผู้นำ” เพราะคุณลักษณะการมีจิตอาสา เป็นสับเซ็ตของการเป็นคนดีนี่เนอะ ถ้าคิดอย่างนี้แล้ว เกณฑ์เรื่องความเป็นผู้นำจะชัดขึ้น ใช่ค่ะ
    คาดว่าปีนี้จะวางแนวทางเรื่องนี้ให้ชัด ปีถัดไปจะได้ดำเนินการให้ถูกต้องค่ะ เพราะดูแล้วปีนี้น่าจะทำไม่ทัน ค่ะ

  • #26 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2010 เวลา 22:24

    ตอบคำถามที่ 2 ของ อ.สุรีย์ ค่ะ

    ความคิดเห็นจากครูปู (อาจารย์พิชญ์สินี อัครโกศลเดชา)

    จะพูดยังไงดี ให้คนได้รู้คิดบ้างว่า ต้องคิดถึงภาพรวมขององค์กร และคิดถึงส่วนรวมบ้าง การพูดตรง ๆ ด้วยความกรุณาพอจะได้ไหมคะ

    โห คำถามคลาสสิกจริง ๆ ค่ะ ครูปูก็อยากได้ยินคำตอบจากท่านอื่น ๆ เหมือนกันนะคะเนี่ยะ

    ว่าแต่เป้าหมายขององค์กรคืออะไรเหรอคะ   สมาชิกรับทราบและเข้าใจวิธีการของการไปถึงเป้าหมายนี้โดยทั่วถึงและตรงกัน แล้วหรือยัง  เป้าหมายที่ว่านี้จะส่งผลดีอย่างไรต่อคนในองค์กรนั้น (หรือต่อกลุ่มคนที่อาจารย์กำลังหาวิธีพูดด้วย) ตัวเองคงต้องได้ด้วยแหล่ะเนอะ ถึงจะมีกำลังใจ จะทำให้องค์กรหน่ะ  แล้วที่ผ่านมา ด้วยเหตุอันใดเขาถึงมองไม่เห็น ไม่เข้าใจ หรือไม่รู้คิด ตามที่อาจารย์ว่ามาล่ะคะ

    ถ้าทุกอย่างชัดเจนและเป็นแบบแผน เป็นที่เข้าใจกันดี ไม่ทราบว่ามีปัญหาโลกแตก คือเรื่องความบกพร่องของการสื่อสารหรือเปล่านะคะ  ซึ่งก็เกิดขึ้นได้ ทั้งตัวผู้ส่งสาร ตัวสาร  วิธีการสื่อสาร หรือความบกพร่องของผู้รับสารเอง

    การพูดตรง ๆ ด้วยความกรุณาพอจะได้ไหม

    ถ้้าเป็นครูปู จะดูก่อนค่ะว่าพูดกับใคร คน ๆ นั้น น่ากรุณาไม๊ ฮ่า…

    ไอ้ “อะไร” ที่เรากำลังจะสื่อสารไป มันเหมาะกับวิธีการตรง ๆ หรือเปล่า 
    แล้วเขาเป็นประเภทรับ “อะไร” ตรง ๆ ได้แน่หรือ 
    แล้วไอ้เราที่จะไปตรง ๆ กับเขาเนี่ยะ  มั่นใจไหมว่าจะคุมสถานการณ์การพูดคุยนั้นได้ 
    เตรียมข้อมูลไว้ครบด้านพอที่จะตอบเขากลับไปตรง ๆ ได้ด้วย แล้วหรือยัง

    หลายครั้ง”ความจริง” ที่ส่งผ่านไปโดยลืมวิเคราะห์องค์ประกอบเหล่านี้ ก็อาจทำให้เสียเรื่องได้นะคะ

    การออกแบบการสื่อสารให้เหมาะกับพื้นความรู้ ความคิด และทัศนคติที่เขามีต่อเรื่องที่ส่วนรวมกำลังร้องขอจึงจำเป็นมาก

    ยิ่งเป็นเรื่องผลประโยชน์ของส่วน รวม คนที่ขาดสำนึกสาธารณะ เขาขาดวิสัยทัศน์ในการที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ติดวิธีการคิดแบบแยกส่วน

    นั่นของเอ็ง นี่ของข้า

    หน้าบ้านเอ็ง หน้าบ้านข้า

    งานของเอ็ง งานของข้า

    คนของเอ็ง คนของข้า

    เอ็งจะปลูกต้นไม้ก็เรื่องของเอ็ง ไม่เห็นเกี่ยวกับข้า

    เอ็งอยากเหนื่อยทำเป็นคนดี ใจบุญ ก็เรื่องของเอ็ง ข้าไม่ขัดก็บุญโขแล้ว

    เอ็งอยากจะแบ่งให้ใครก็ทำไป อย่ามาหยิบส่วนของข้าก็แล้วกัน

    ข้าก็แค่อยู่เฉย ๆ ของข้า เอ็งไม่ต้องมายุ่ง ไม่ต้องมาชวนข้า จะทำอะไรก็เรื่องของเอ็ง

    ข้าอยู่รอดไปวัน ๆ ก็พอแล้ว ใครทำอะไรก็ทำไป

    แต่ถ้าสถานการณ์ย่ำแย่ ผู้รับผิดชอบ ที่มีอำนาจ ต้องลงมาขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตั้งกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันเพิ่มขึ้น การเสริมแรงทางบวก เช่น ตั้งเป้าหมายเพื่อให้สามารถพิชิตร่วมกันได้ แล้วกำหนดรางวัลให้เห็นเป็นรูปธรรม หรือการเสริมแรงทางลบ เช่น การพูดคุยเป็นการส่วนตัว การกำหนดบทลงโทษ ให้ชัดเจน เป็นต้น

    ยิ่งถ้าเป็นสถานการณ์เร่งด่วน จำเป็นต้องแก้ไข ต้องยุติให้ได้ก่อน 3 โมงเย็น อันนี้ก็กรุณาใช้อำนาจที่มีอยู่ ดำเนินการตามหน้าที่ได้แล้วค่ะ ไม่ต้องร่ำไร ไม่ต้องมาเสียเวลาแถลงแล้ว บ้านเมืองอิ๊บอ๋าย ชาวบ้านชาวช่องเขาเดือดร้อน รำคาญ  จนจะทนไม่ไหวกันอยู่แล้ว

    จ๊ากกกกก…  ออกนอกเรื่องอีกแล้วฉัน P

    เจออย่างนี้ประจำเหมือนกันค่ะ  เรื่องบางเรื่องขอความร่วมมือไปเห๊อะ เข้าหูซ้ายออกจมูกขวาไปซะงั๊น

    ด้วยอำนาจตามหน้าที่ที่มี จะเลือกออกแแบบวิธีการให้เหมาะกับลักษณะอาการของความไม่ร่วมมือนั้น ๆ  ค่ะ
    เนื่องด้วยเป็นเรื่องของส่วนร่วม ก็จะเน้นใช้กระบวนการผ่านส่วนรวม เช่น
    แจ้งให้ทราบพร้อมเชิญชวนในที่ประชุม
    เมื่อไม่ได้รับความร่วมมือก็จะนำข้อติดขัดนั้นมารายงานต่อส่วนรวม
    แล้วขอความคิดเห็นโดยการระดมสมองหาวิธีการแก้ไขร่วมกัน 
    ถ้้ายังไม่ได้รับความร่วมมืออีกก็จะเพิ่มมาตรการขึ้นไปอีก
    เช่น ระบุรางวัลสำหรับหน่วยงานหรือแผนกที่ทำได้สำเร็จ 
    สั่งการให้หัวหน้าแผนกส่งผลการดำเนินการโดยละเอียดแล้วรายงานต่อที่ประชุม
    กำหนดให้วนกันรับผิดชอบ มอบบทบาทเจ้าของเรื่องให้
    จะได้เข้าใจถึงความสำคัญและความจำเป็นของเรื่องดังกล่าว
    ถ้ายังมีบ้างที่ยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือก็อาจติงผ่านไปยังหัวหน้าโดยตรงก่อน
    เพื่อไม่ให้เสียความรู้สึกว่าถูำกผู้ใหญ่ติง
    ให้เขาคุยกันเองแบบเพื่อนคุยกัน ชักชวนกันเอง

    ส่วนรายที่ซ่าส์มาก ๆ ก็คงเชิญมานั่งคุยกันเลย
    เพราะหากเขาผ่านกระบวนการทั้งหมดมาแล้ว
    คงจะพออนุมานได้แล้วว่าเขาคงไม่ได้ “คิด” ถึงส่วนรวมหรอกค่ะ

    ในเมื่อไม่คิด ก็ไม่ต้องคิดก็ได้

    งั๊น ลงมือทำตามที่สั่งนี่เลยแล้วกัน

    หม่ะ!

    ถ้ายังทะลึ่งไม่ให้ความร่วมมืออีก การสื่อสารต่อไปนี้จะเป็นการสื่อสารที่ตรง กระชับ แต่ไม่แน่ใจว่าผู้ที่ถูกติงจะรู้สึกถึงความกรุณาได้ตลอดการสนทนาหรือไม่นะคะ
    เหอ เหอ เหอ…

  • #27 krupu ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2010 เวลา 9:58

    ความเห็นจาก Logos (คุณตฤณ ตัณฑเศรษฐี)

    การทำให้คนอื่นเป็นอย่างที่ใจเราอยากให้เป็นนั้นเป็นอย่างนี้ คงเป็นเรื่องลำบากครับ (แปลว่าหาทุกข์มาใส่ตัวเอง) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าควรปล่อยไปตามยถากรรม

    หากว่าองค์กรนั้นมีสภาพเป็นองค์กร เป็นสังคมที่มีเป้าหมายและประโยชน์ร่วมกันจริงๆ (ในความหมายว่าไม่ได้เป็นเพียงที่ทำงานเลี้ยงชีพเท่านั้น) ทุกคนในองค์กรนั้น ก็ต้องเห็นเป้าหมายและประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งหากเป็นอย่างนั้นแล้ว บทบาทของผู้บริหาร ก็เพียงแต่ส่งเสริมให้ทุกคนเดินสู่เป้าหมายและประโยชน์ร่วมกัน ติดขัดอะไร ก็ทะลวงให้ลุล่วงไป ให้คนที่เขารู้งานนั้นจริงได้ทำงานของเขา เกิดเป็นผลงาน เป็นความภูมิใจในความสำเร็จ เป็นความก้าวหน้า และเป็นความรักความผูกพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงานต่อองค์กร

    ในความเป็นสังคมนั้น ต้องมีความแตกต่าง ไม่ว่าจะในเรื่องความเห็น หน้าที่ หรือบทบาท ถ้าที่ใดที่ทุกคนเหมือนกันหมด ที่นั่นเรียกว่าสายการผลิตทางอุตสาหกรรม ไม่มีความเป็นมนุษย์ และไม่เรียกว่าสังคมอย่างแน่นอนครับ

    การใช้คำสั่ง “เยอะๆ” หมายความว่าผู้สั่งนั้น ไม่นับถือผู้ที่ถูกสั่ง (บางทีเลยเถิดถึงการลุแก่อำนาจ) เกิดจากความกลัวและความหลง องค์กรไหนมีหัวหน้าแบบนี้ ก็เสียใจด้วยครับ — การสั่งควรเป็นมาตรการสุดท้าย มีนัยว่าผู้ออกคำสั่งกำลังคิดว่า “ฉันผิดเองที่รับเธอเข้ามาร่วมในองค์กรนี้ แต่จะทำยังไงได้ในเมื่อรับเข้ามาแล้ว ถ้ายังเบ๊อะบ๊ะอีก ก็อย่าอยู่ร่วมกันเลย”

    เอาล่ะ ทีนี้จะมีองค์กรไหนเป็นอุดมคติได้เหมือนข้างบนล่ะ

    คงเป็นเรื่องยาก ที่อยู่ดีๆ จะให้เกิดขึ้นเองนะครับ หมู่คนมารวมกัน จะให้ดีเหมือนกันหมดคงยาก เหมือนปลูกป่า ป่าที่แท้จริง ผสมปนเปกันไปหมด ไม่เหมือนไร่ข้าวโพด นาข้าว หรือแปลงเกษตรเชิงเดี่ยวหรอกครับ

    แต่ว่าน่าจะเริ่มที่ตั้งเป้าหมายที่ให้ทุกคนเห็นอย่างชัดเจน ถึงแม้สื่อออกไปจนชัดแล้ว ก็ยังอาจมีข้อจำกัดอื่นๆ เช่นตำแหน่งงานอาจไม่เหมาะกับศักยภาพ ทำให้ไม่สามารถเปล่งประกายได้ หากพบกรณีอย่างนี้ อย่าทิ้งไว้เนิ่นนาน รีบเปลี่ยนแปลงเสียให้เหมาะ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และประโยชน์ขององค์กรมาก่อน ถ้าองค์กรอยู่ไม่ได้ ทุกคนตั้งแต่ผู้บริหารลงมา ก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน

  • #28 สุรีย์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2010 เวลา 19:34

    ในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ และรู้สึกว่าตนเสียประโยชน์ แม้พูดแล้ว ผู้ที่คิดว่าตนเสียประโยชน์
    ก็ยังพูดเหมือนเทปตกร่อง
    ขอบคุณ คุณตฤณ ตัณฑเศรษฐี ทำให้ฉุกคิดว่าหรือเรายังไม่เคารพความคิดต่างได้แท้จริง ยังฟังไม่ได้ยินในสิ่งที่เขาพูด ทำให้สื่อสารไปไม่ถึงเขา ขอบคุณครูปูมากค่ะ

    คงเจอโจทยืยากด้วยค่ะ สำหรับผู้บริหารมือใหม่

  • #29 krupu ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 มิถุนายน 2010 เวลา 16:04

    เรียน ครูบาสุทธินันท์

    ช่วงที่ผ่านมาดำเนินการรับนักศึกษาค่ะ ปีนี้รับได้ครบค่ะ และได้ร่วมมือกับสกอ
    รับนักศึกษาพยาบาลจากวิทยาลัยนครราชสีมา(ที่มีปัญหาไม่ รับรองค่ะ) จำนวน 12 คนค่ะ

    ด้วยคณะได้รับนโยบายจากคณะกรรมการบริหารว่าจะต้องพิจารณาค่า ธรรมเนียมที่สามารถดูแลคณะได้
    ดังนั้นค่าธรรมเนียมจึงเป็นปัญหาสำหรับลูกศิษย์บางคนค่ะ คือขอสละศิษยืไม่มารายงานตัว
    อนาคตจะพยายามหาคนร่วมจ่ายนักศึกษาให้มากขึ้น อบต ตามกฏหมายจะร่วมจ่ายได้เพียง 33000 ต่อปีค่ะ
    ปีนี้มี อบต สนใจส่งมามากค่ะ แต่มีผู้เรียนผ่านเกณฑ์คะแนนที่กำหนด 14 อบตค่ะ

    ประเด็นที่เคยเรียนอาจารย์ว่าจะทำชุดวิชาเพื่อพัฒนาอัต ลักษณ์นักศึกษาที่มี 3 ข้อเฉพาะคือ การเป็นผู้นำการทำงานในชุมชน การมีจิตสาธารณะ และการมีจิตสำนึกต่อท้องถิ่น
    ชุดวิชาที่ทำมีโครงสร้างดังนี้ค่ะ
    4 วิชาคิดเป็นหน่วยกิต 12 หน่วยกิต และเน้นเรียนรู้จากการปฏิบัติค่ะ ได้แก่ วิชาคุณธรรมจริยธรรม วิชาจิตอาสา วิชาความหลากหลายทางวัฒนธรรม วิชาวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ยังทำรายละเอียดไม่เรียบร้อยค่ะ การเรียนการสอนจะสอดรับไปกับวิถีชีวิต อย่างบูรณาการทุกวิชา แต่มีการเก็บหลักฐาน การสะท้อนคิดเพื่อประเมินเป็นระบบค่ะ
    ขออนุญาตบอกเล่าคร่าว ๆ ก่อนนะค่ะ อาจารย์กรุณาให้แนวคิดด้วยนะค่ะ

    ในส่วนการรับนักศึกษาปีถัดไปนั้นอยากจะกำหนดโควต้า เด็กผู้นำด้านจิตอาสา แต่ไม่รู้จะตั้งชื่อยังไงดีค่ะจึงจะไม่สร้างความต่างดังที่มีเสนอแนะในบล็อก
    และจะขอโควต้าสำหรับเด็กที่อยู่ชายขอบเป็นพิเศษ 1 ทุนโดยขอยยกเว้นค่าเรียน ค่าหอพักจากมหาวิทยาลัย หากเป็นไปได้จะร่วมมือกับโรงเรียนในตำบลที่ชายแดนค่ะ
    ในส่วนโควตา อบต จะประสานกับ สำนักงานสาธารณสุขใน 4 จังหวัดที่ ม อุบลรับผิดชอบ เพื่อกำหนดโควต้าให้พื้นที่ ที่ พร้อมพัฒนาด้านสุขภาพค่ะเพื่อสร้างโมเดลการพัฒนาสุขภาพชุมชนให้ชัด

    ทราบจากบล็อกว่าอาจารย์โปรแกรมไม่ว่างเลย ในช่วงปิดเทอมใหญ่จะจัดโปรแกรมไปที่ สวนป่านะค่ะ พร้อมกลุ่มครูค่ะ สำหรับช่วงนี้เร่งให้นักศึกษาเข้าเรียนให้ทันค่ะเพราะเปิดเรียนล่าช้าไป เกือบ 2 สัปดาห์ค่ะ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง
    สุรีย์ ธรรมิกบวร


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.10716104507446 sec
Sidebar: 0.048496007919312 sec