ร่าง-แผนสุขภาวะชุมชนเชิงลุก
อ่าน: 4775
ถามว่า..ใครไม่ป่วยเอามือลง จะมีสักกี่คนที่เอามือลงได้ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ เพียงแต่ว่าเราจะบริหารปัญหาเหล่านี้ให้อยู่ในระดับปกติได้อย่างไร
“ถ้าคนในชาติมีสุขภาพที่ดี หมายถึงความแข็งแรงของชาติ”
“ถ้าคนไทยป่วยจำนวนมาก คือดินพอกหางหมูชาวสาธารณะสุข”
“ถ้าคนไทยบาดเจ็บ-ป่วย-ป่วน ประเทศนี้ทุพลภาพด้วย”
“สวัสดิภาพทางสังคม ขึ้นอยู่กับสวัสดิภาพของประชาคม”
“อมทุกข์ อมโรค ไม่เหมือนอมฮอลล์หรอกนะขอครับ”
ถ้าอาการออกมาอย่างนี้ สังคมไทยจะปกติสุขได้อย่างไร เมื่อประมวลภาพรวมทั้งสาเหตุและมูลเหตุแล้ว นักบริหาร-บริการสุขภาวะชุมชน ..จะต้องทำงานเชิงรุกแล้วละครับ จะทำงานเชิงรุกได้ต้องลุกจากเก้าอี้เสียก่อน.. ผมเห็นว่ามีบางหน่วยบางแผนงานเริ่มไปจ่อเรื่องนี้กับฐานชุมชนบ้างแล้ว ส่วนมากจะเป็นการเข้าไปเฉพาะกิจ ยังไม่อยู่ในระดับพบกันครึ่งทาง การพบกันครึ่งทางหมายถึงเฉลี่ยความรับผิดชอบร่วมกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน เกิดความตระหนักถึงความดีความงามที่จะช่วยกันสร้างชาตินี้ให้มีสุขภาพที่ดีทั่วหน้า
จะทั่วหน้าได้อย่างไร?
ถ้าไม่จับคนไทยตรวจให้รู้ว่าใครเป็นโรคอะไร?
โห..จะเอางบประมาณที่ไหน?
อ้าว!.. ก็งบไทยเข้มแข็งไง
จัดสรรงบประมาณมาผลิตพยาบาลทางด้านเทคนิคให้เพียงพอ
จัดสรรงบประมาณซื้อเครื่องมือเจาะ-ตรวจโลหิตฯลฯ
จัดการบรรจุนักคลินิกวิทยาในโรงพยาบาลชุมชน
ถ้าเงินไม่พอละ
งบบัตรทองเอามาใช้ได้ไหมเล่า?
หรือจะจะออกแบบเบี้ยประกันสุขภาพชุมชน
เรื่องนี้ต้องทำกันถึงเลือดถึงเนื้อ
โดยตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจเจาะโลหิต หาอาการพื้นฐานแต่ละคน
ออกแบบสารสนเทศสุขภาพรายหมู่บ้าน
วางแผนทยอยตรวจปีละกี่เปอร์เซ็นต์ก็ว่ากันไป
เพื่อตรวจดูว่าใคร-เป็นเบาหวาน-ความดัน-ตับ-ได-สำไส้-เนื้องอก-ภูมิแพ้ฯลฯ เมื่อตนเองรู้แน่ชัดว่าตนเองส่ออาการไปในโรค มี2ทางเลือกให้พิจารณา ใครจำเป็นต้องรักษาแพทย์แผนไทย ก็แยกไป ใครสมควรรักษาแพทย์ไทย ก็แยกไปปรึกษาหารือ ว่าคนเป็นเบาหวาน ความดัน เก๊าส์ ปวดท้อง ตับ ไต ฯลฯ ควรจะปฏิบัติต่อตนเองอย่างไร เรื่องอาหารควรละเว้นประเภทไหน ใช้สมุนไพรชนิดไหน การหลับนอน การพักผ่อน การออกกำลังกาย ควรอยู่ในระดับไหนอย่างไร
ยุทธศาสตร์ที่ให้ชาวบ้านรู้ตัวรู้โรครู้วิธีปฏิบัติต่อตนเองนั้นสำคัญนัก สิ่งนี้จะนำไปสู่การเฉลี่ยความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม ที่ผ่านมาหมอรู้โรคฝ่ายเดียว เวลาอธิบายก็มีน้อย ผู้ป่วยมีหน้าที่แค่..รับใบสั่ง-รับคำสั่ง-รับยา-รับใบนัด มาตกคลักออกันอยู่เต็มโรงพยาบาล มีโรงพยาบาลสักกี่แห่งที่มีที่จอดรถเพียงพอ-มีเตียง-มียา-มีเครื่องมือ-มีหมอ-มีพยาบาล-มีงบประมาณเพียงพอ-สุดท้ายมีความสุข
ในช่วงที่ผ่านมา
กระแสเศรษฐกิจพอเพียงเอื้ออึงไปทุกย่อมหญ้า ระดับนโยบายประกาศเป็นวาระแห่งชาติ ขานรับกันทั่วๆหน้า บางสถาบันบางหน่วยงานเอาจริงเอาจัง แต่หลายคนขี้สงสัย ไม่ยอมลงมือทำ เอาแต่นั่งตีความซ้ำซาก ไม่ยอมตีแตกให้เห็นหน้าเห็นหลัง ไม่ฟิตจัดเหมือนหน่วยงานด้านจัดกำลังพลกระทรวงสาธารณสุข ประชุมกันไปยกหนึ่ง เกิดดวงตาเห็นธรรม เห็นทีจะต้องลงไปขยายความคิดกับเครือข่ายที่ดำเนินการเรื่องประชาคมสุขภาพ ที่จังหวัดขอนแก่นในวันที่19พฤศจิกายน ศกนี้ ช่วงเช้าจะไปตั้งหลักปักฐานที่โรงพยาบาลน้ำพองจังหวัดขอนแก่น ช่วงบ่ายจะย้ายมากระตุกหัวใจกันในตัวจังหวัดขอนแก่น พี่น้องชาวมอดินแดงสนใจเตรียมกายใจให้เอี่ยมอ่องไว้.. จัดที่โรงแรม…
งานนี้ท่านอาจารย์ น.พ.ประเวศ วะสี มาเจิมกำลังใจให้ประชาคมคนรักสุขภาพอีสานด้วยตัวเอง มีท่านปลัดกระทรวงสาธารณะสุข คุณหมออำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นแม่งาน นอกนั้นเป็นลูกคู่ยกขบวนมาลุยอีสาน
ประเด็นก็คือ
หาวิธีการที่จะทำให้เรื่องสุขภาวะชุมชนติดเทอร์โบ เดินหน้าเข้าถึงความตระหนักให้เกิดความรักตนเอง ดูแลและป้องกันโรคภัยให้แก่ครอบครัว และชุมชน ไปช่วยยกระดับชุมชนคนรักสุขภาพให้มีชีวิตชีวา ไม่ใช่สร้างกระแสไฟไหม้ฟางแน่นอน
ทำอย่างไร คนไทยทุกผู้ทุกนามจะมีลาภอันประเสริฐทั่วหน้า ด้วยการไม่มีโรค หรือที่มีอยู่แล้ว ก็สามารถตอบตัวเองได้ว่า จะจัดการดูแลตัวเอง พึ่งตนเอง มีภูมิปัญญาที่จะช่วยกันดูสังคมสุขภาพให้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงอย่างไร ไม่อย่างนั้น ต่อให้สร้างโรงพยาบาล ผลิตหมอ-พยาบาลออกมามากเท่าใดก็ไม่เพียงพออยู่ดี ถ้าเราไม่ชวนคนไทยร่วมใจกันตีแตกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของตนเองด้วยตนเอง มีผู้รู้กล่าวว่า..”ตัวเราคือหมอคนแรก” และเป็นหมอที่มีศักยภาพยอดเยี่ยมที่สุดในโลก ถ้าเรารักตนเอง ใส่ใจตนเอง ไม่ประมาท และรับผิดชอบสุขภาพ ทั้งๆที่เรื่องนี้เป็นผลประโยชน์โดยตรง แต่คนไทยก็ละเลยเรื่องนี้อย่างมาก ถ้าไม่ป่วยจนครางฮือๆไม่มีวันไปหาหมอ อาการป่วยที่ปล่อยละเลยจนถึงขั้นยุ่งยากนี่เอง เป็นวัฒนธรรมที่น่าเบื่อของคนไทย จะมีสักกี่คนที่ไปตรวจสุขภาพประจำปี ชาวบ้านส่วนมากจะไปตรวจโรคก็ต่อเมื่อจนมุมแล้ว
· เข้าห้องไปหาหมอเพื่อไปอยู่ไอซียูก็มาก
· เข้าห้องอุบัติเหตุก็เยอะ
· เข้าห้องดับจิตก็ไม่น้อย
จากประสบการตรงของคนขี้โรค ผมได้รับมอบหมายให้มาแหย่รังแตน..ผมเห็นว่าชาวบ้านที่อยู่ในชนบท ส่วนมากได้รับการฝึกอบรมเรื่องการทำเกษตรประณีต การทำเศรษฐกิจพอเพียง การพึ่งพาตนเอง ยกระดับวิชาการสู่วิชาชีพ ปลุกกระแสเรื่องการกินอยู่อย่างปลอดภัย ใส่ใจเรื่องบริโภคมากขึ้น มีการใช้สมุนไพร และการแพทย์แผนไทยในบางส่วน
แต่งานเหล่านี้ยังไม่โยงให้เชื่อมต่อกัน ถ้าเอ็กซเรย์ดูในแปลงสวนครัวของเกษตรกรที่ใส่ใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จะเห็นว่าเริ่มตระหนักถึงดุลยภาพของชีวิตบ้างแล้ว การพบปะกัน ถ่ายทอดความรู้ด้านการเพาะปลูกพืชอินทรีย์ การปลูกสมุนไพร การรักษาแบบแพทย์แผนไทย ต้นทุนเหล่านี้มีอยู่แล้วจริงๆ ไม่ต้องนับหนึ่งใหม่ สามารถตั้งหลักโดยเอา เรื่องสุขภาพมาเป็นตัวเบิกนำ
1. ถ้าทำให้คนไทยเป็นหมอรักษาตนเอง
ตื่นเช้า..ดื่มน้ำสะอาด
หลังจากนั้นดื่มน้ำปั่นสมุนไพร
เอามาจากไหน?
โธ่! ใบหญ้านาง ใบกระวานฮ็อก หญ้าปักกิ่ง ใบบัวบก ใบเตย ใบคาวตอง ฯลฯ ใครเป็นโรคอะไรก็ปรึกษาแพทย์ทางเลือก อ่านในตำรา เข้าอบรม จัดกิจกรรค่ายสุขภาพระดับครัวเรือน บรรจุความรู้เข้าไปในหัวใจแล้ว มีใครบ้างที่ไม่ต้องการหายป่วย ไม่ต้องทรมาน ต้องการแข็งแรง ไม่เป็นภาระการดูแล ไม่ต้องเสียทรัพย์ไม่รู้จบสิ้น ตีแตกตรงจุดนี้ให้ชัดๆ
2. หลังจากนั้นก็มาดูเรื่องอาหารการกิน
ข้าวก็มีเต็มยุ้ง สีข้าวกล้อง ทำข้างงอก หุงข้าวธัญพืชรับประทาน
โรคอะไรที่ต้องละเว้นเนื้อสัตว์ ละเว้นอาหารรสจัด ละเว้นเครื่องดอง ไขมัน และสารปรุงรส อาหารสุกๆดิบๆ สุรายาสูบ ถ้าไม่อยากตายเร็ว ก็ช่วยตัวเองในเรื่องที่ไม่เหลือบ่ากว่าแรง กินอาหารและผลไม้ให้เป็นยา ลงมือปฏิบัติให้เป็นวิถีประจำวัน
3. เรื่องออกกำลังกาย ในระดับชาวบ้านไม่ต้องไปเต้นตาม
จังหวะเครื่องเสียงในสนามหรอก มันฝืนธรรมชาติของชาวบ้าน ไม่ยั่งยืนอะไร พาไปดูการทำสวนครัวรอบบ้าน ปลูกผักและสมุนไพรที่ตนเองต้องใช้ประจำ ใช้เนื้อที่ประทานประมาณ 20-40 ตารางว่าก็พอแล้ว จะปลูกผักและสมุนไพรอะไรบ้าง ก็ควรปรึกษาแพทย์แผนไทย หมอชุมชนที่มีประสบการณ์จะบอกเราได้ว่า..เราต้องรักษาแบบ “หยิน” หรือ “หยาง” ซึ่งโรคแต่ละกลุ่มอาการต้องใช้ผักและสมุนไพรไม่เหมือนกัน เรื่องนี้เป็นผลประโยชน์ร่วมกันทั้งครัวเรือน พ่อ-แม่-ลูก ช่วยกันปลูกช่วยกันกินจะไม่มีความสุขได้อย่างไร สิ่งที่ตามมานอกจากความห่วงหาอาทรกันเองแล้ว ยังเป็นการยกระดับเศรษฐกิจพอเพียงอย่างล้ำลึก
4. เรื่องการพักผ่อน การผ่อนกายผ่อนใจเป็นสิ่งสำคัญ นอกจาก
บริหารร่างกาย เช่น การรำมวยจีน รำไม้พลอง ว่ายน้ำ การนวดรักษษสุขภาพ ฯลฯ การนั่งอาบแดด เดินชมสวนผักยามเช้าตรู่ การฝึก การสนทนาแบบจิตวิวัฒน์ จะส่งผลด้านการผ่อนพัตรตระหนักรู้ คุยกันเรื่องหลับนอนตามนาฬิกาชีวิต งานด้านดนตรี ศิลปะ จัดมาเชื่อมโยงในจุดที่เหมาะสม
สรุป เรื่องทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการเรียนรู้และจัดการความรู้ที่เอา ชาวบ้านมาเป็นพระเอก-นางเอก- พวกเราชาวสาธารณสุขคอยเป็นพี่เลี้ยง คอยเติมเต็มในจุดที่ยังขาดเหลือ คอยยิ้มปลอบให้กำลังใจ
ถ้าทำได้อย่างนี้ สุขภาวะชุมชนเชิงรุก ลุกขึ้นได้อย่างแน่นอน
เรื่องสุขภาพไม่ใช่เรื่องล้อเล่น แต่ก็ไม่ใช่จะเล่นไม่ได้ ขอแต่เล่นให้เป็น เล่นให้ถูก เล่นให้เหมาะ การแสวงหาความรู้ทำไมต้องเครียดด้วย เรียนรู้วิธีทำความเข้ากันให้สนุกเถิด ถ้าใจสบายมีความสุข มีหรือที่ใครจะไม่โหยหา อิ อิ..
หมายเหตุ
* เรื่องนี้เขียนขึ้นมาเพื่อโยนหินถามทาง เชิญท่านผู้รู้ได้โปรดชี้แนะความรู้ความเห็นที่ถูกที่ควรให้ด้วยครับ ป้าหวาน อาม่า พระิอาจารย์Panda รอกอด ป้าจุ๋ม คุณหมอจอมป่วน อุ๊ย น้าอึ่ง ครูอึ่ง ท่านบางทราย ตาหวาน ฯลฯ อย่าช้า เดี๋ยวของบูด!..
Next : เล่าเรื่องยาว ๆ จากอุบล » »
18 ความคิดเห็น
สวัสดีค่ะพ่อครู การจะมีสุขภาพร่างกายผู้คนที่สมบูรณ์แล้วแข็งแรง ลดภาระทางการแพทย์ การสาธารณสุข งบประมาณเทใส่กันลงไปโครมๆ ให้ดีต้องวางแผนกันตั้งแต่ยังเป็นวุ้นนะคะ เป็นผู้ผลิตคนมาบนโลก พ่อ-แม่ ต้องตระหนัก รับผิดชอบคุณภาพชีวิตของลูกน้อย ไม่ใช่เออ… ให้หลุดจากท้องให้เห็นก่อนเถอะค่อยว่ากัน ลูกคนนะคะ หนูเห็นน้องๆที่ทำงาน ตั้งท้องกันอยากกินไร กินอย่างตามใจปาก คนเป็นแม่อ้วนกลมจนเป็นแม่หมู คลอดลูกออกมาตัวนิดเดียว ต่ำกว่าเกินมาตรฐานกันอีกิ แถมนมก็ไม่มีให้ลูกกิน ก็ยังงงอยู่ค่ะ ของเราให้ลูกกินครึ่งทิ้งครึ่ง แฮ่ๆๆ ตอนนั้นไม่รู้จะแบ่งน้ำนมให้ใครดี เลี้ยงลูกไม่มีนมให้ลูกกิน เสียเงินเสียทองซื้อนมวัวมาให้ลููกกินกัน กินเข้าไปภูมิแพ้ ท้องเสีย เล่นงานกันตั้งแต่เป็นทารก 3 วันดี 4 วันไข้ ป่วยแต่ละครั้ง ลองไปดูที่ รพ. เถอะค่ะ เข็มคาเส้นเลือดลูกกันไว้เลย มีชีวิตโดยการรอยาหมอหยอดเข้าไป เดี๋ยวๆก็หายใจไม่ออก วิ่งกันให้วุ่น เสียงานเสียการ เลี้ยงลูกคนไม่แค่จน 10 ปีแล้วค่ะ อิอิ
ขอร่วมวงด้วยคนครับพ่อ
ผมวางแนวทางสุขภาพชุมชนไว้กว้างๆ เป็นแผนงานไว้อย่างนี้ครับ
ต้องเริ่มที่เวทีชุมชน คุยกันให้แตก ชี้นำแต่ไม่ตัดสินใจแทน ปล่อยให้ชุมชนเลือกแนวทาง
จากนั้นชวนพี่น้องเลือกทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพดังนี้
๑ ออกกำลัง อาจจะโดยการทำงานในสวน หรือการรำมวยจีน โยคะ พลอง ก็แล้วแต่มัก
๒ ผักปลอดสาร อาหารปลอดภัย สอนให้ปลูกผักกินเอง หรือส่งเสริมการตลาดชุมชนในท้องถิ่นไปเลย จะได้ไม่ต้องบริโภคอาหารพิษจากภายนอก
๓ ปรุงแต่งอาหารจากธรรมชาติ ทำผงนัวจากพืชสมุนไพร เครือข่ายอินแปงพี่น้องผมมีสูตรบักคักๆทำขายกันปีละหลายตัน สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชมงคลสกลนครก็ทำขายทำวิจัยเป็นล่ำเป็นสัน ลองเอามาเผยแพร่ดู ทำง่ายๆ
๔ โครงการดื่มน้ำต้ม น้ำสมุนไพรให้ครบทุกครัวเรือน
๕ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สมุนไพรไทย ส่งเสริมการใช้ ก่อนที่ต่างชาติจะมาจดทะเบียนจดลิขสิทธิ์
๖ ยังมีองค์ความรู้แพทย์แผนไทยอื่นๆอีก เช่น หมอต่อกระดูก หมอบีบนวด ก็น่าสนใจ
ขอขายโครงการเบื้องต้นเท่านี้ก่อนครับ
เอาไว้ค่อยมาโม้ต่อ
การทำเรื่องปกติให้เป็นปกติ ร่างกายคนเราตามปกติ ก็เป็นปกติอยู่แล้ว ตามกรรม เป็นธรรมชาติ เกิดมามีกรรมที่ติดตัวมาให้เห็นๆ กันอยู่แล้ว
กรรมตัวแรก คือกรรมพันธุ์ ด่านแรกถือว่าสำคัญที่สุด ที่ปกติมนุษย์มีสิทธิ์ที่จะรู้จักต้นเถาเหล่าก่อของตัวเอง ที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษพูดง่ายๆ ว่าก็ได้รับฝากติดตัวมาจากเทือกเถาเหล่ากอนั่นเอง แต่ใช่ว่าทุกคนจะรู้
ปัญหาอยู่ที่ว่า แล้วจะรู้ไปทำไม ขอโยนลูกให้ผู้มีพื้นฐานที่เรียนมาทางด้านสิ่งมีชีวิต วิทยาศาสตร์สุขภาพตอบ จำเป็นไหมที่ทุกคนที่ต้องรู้ รู้ระดับไหน เพื่ออะไร แล้วทำอย่างไร ใครเป็นผู้ให้คำตอบที่เชื่อถือได้ไหม ถ้าจำไม่ผิดเราก็เรียนมาเป็นฐานของสิ่งมีชีวิต แต่การขาดการจัดการองค์ความรู้ ที่นำมาจัดการให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต ตั้งแต่เริมปฏิสนธิ องค์ความรู้เหล่านี้ได้มีการจัดการดีพอหรือยัง เราเคยมีการเรียนการสอนความรู้เบื้องต้นที่ปฏิบัติจริงได้หรือยัง ในการเตรียมคนที่จะเป็นพ่อแม่ที่จะสร้างชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้น จากกรรมฯที่ติดตัวมาก่อน ทั้งฝ่ายชายฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นสาเหตุความเจ็บป่วยที่ตามกรรมฯมาอย่างที่น่าหลีกเลี่ยงได้ ด้วยการไม่ก่อกรรม ฯเพิ่ม?
วันนี้ขอกรรมตัวแรกก่อน จะเป็นแผนสุขภาพเชิงรุกที่สำคัญที่สุด ที่อาจถูกมองข้ามไปนานแล้วก็ได้ ถ้าตอบได้กระจ่างชัด ย่อมสร้างแผนสุขภาวะเชิงรุกที่เป็นประโยชน์ที่เดียว แล้วจะให้ข้อคิก กรรมตัวที่สองต่อในคราวต่อไปค่ะ แค่ตอบเรื่องกรรมตัวนี้ให้ครบถ้วน ทุกด้านก็สร้างงานด้านสุขภาวะเบื้องต้นได้อย่างมากมานแล้วค่ะ
ขอบคุณอาว์เปลี่ยน
สุวรรณา
และพระอาจารย์Panda
..ส่วนท่านอื่นกำลังรอขอบคุณ
ช่วยกันทำมาหากินหน่อยนะครับ
มีคนรออ่านเยอะแยะ คิคิ
เอ เบิร์ดคิดต่างหรือเปล่าน้อ เพราะคำว่าสุขภาวะ เบิร์ดมองเป็นเรื่องของ Well-Being คือการอยู่ร่วมกันอย่างอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งครอบคลุมทั้ง 4 มิติได้แก่ จิต กาย ปัญญา และสังคม ที่เอื้อต่อกันทุกด้าน เพราะเรื่องของสุขภาพคงไม่จำกัดอยู่แค่โรคภัยไข้เจ็บเท่านั้นน่ะค่ะ แต่ควรเป็นสุขภาพของสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อตัวเราทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ระบบเศรษฐกิจ และสถานการณ์ปัจจุบันควรรวมการเมืองเข้าไปด้วย ^ ^
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่กระทบเราแล้วทำให้ชีวิตไม่เป็นสุข ทั้งทางกายและทางใจซึ่งก้าวล่วงพรมแดนของสาธารณสุขออกไปน่ะค่ะ ไว้ตกผลึกแล้วจะมาคุยด้วยนะคะ
ก็คล้ายๆเรื่องการศึกษาครับ
ทำกันมาตั้งนานยังไม่ดีขึ้น เอะใจกันมั่งรึเปล่า ? อิอิ
จ๊าบส์จริงๆเลยละครับ
ท่านอื่นที่ยังไม่แสดงความเห็นอย่าช้านะครับ
ช่วงนี้มีโปรโมชั่นด้วยสิครับ คิคิ
ป้าหวานขอร่วมคิดค่ะ ขอเสนอ
วิธีการเข้าถึงใจชาวบ้าน
1 เข้าใจ ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา แพทย์เข้าใจความต้องการของชาวบ้าน ชาวบ้านเข้าใจความต้องการของแพทย์ คนแต่ละวัยต้องการไม่เหมือนกัน แต่ละคนมีรายละเอียดต่างกัน ให้เหมือนกันเท่ากับสูญเสียบางส่วนไป บางแห่งมีลักษณะเฉพาะควรจัดให้เหมาะตามนั้น จะให้เพื่อระยะสั้น หรือ ระยะยาวคำนวณผลไว้ก่อนแล้ว ระยะนั้นควรเน้นอะไร ให้บ่อยเท่าใดจะเพียงพอ
2 มีสื่อที่เหมาะสม กับ ผู้รับ มีภาพมากกว่าตัวหนังสือ มีถ้อยคำเข้าใจง่าย สุรปชัดเจน
3 ใช้เวลาน้อย ประทับใจ จำได้ ทั้งขบวนการกระชับ ฉับไวเหมาะสมกับเวลาที่มีน้อยของชาวบ้าน
4 มีสื่อหลายเมนูให้เลือกได้ด้วย ถ้ารวมอยู่ด้วยกันจะได้ผลรวมน้อยกว่าแยกกัน เลือกให้ เลือกรับได้มากกว่า น่าสนใจกว่า
ยุทธวิธีเลียนแบบการตลาดยุคใหม่ สื่อสารแบบสั้นๆ ง่ายๆ บ่อยๆ
นำกลยุทธ์การตลาดมาใช้กับการแพทย์ เพราะเหตุใดคนจึงใช้มือถือ เพราะเหตุใดคนจึงซื้อ…ใช้เหตุผลเดียวกันคือ ตอบสนองความต้องการถูกจุด
งบประมาณบางส่วนเกี่ยวกับสื่อ ใช้น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า บริษัท มหาชน ทั้งหลายที่มีงบโฆษณา และงบเพื่อการกุศล ใช้วิธีแทรกไปด้วยกัน เช่น ไปกับโฆษณามือถือ ใช้ได้กับกลุ่มใดบ้าง ไปกับโฆษณาเครื่องดื่ม ใช้ได้กับกลุ่มใดบ้าง เป็นต้น เลือกเมนูสื่อให้เหมาะกับกลุ่ม เช่นวัยรุ่น ให้สื่อเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การตรวจก่อนแต่งงาน เป็นต้น ผู้ปกครองเด็กเล็ก เน้นการให้ภูมิคุ้มกัน การดูแลอนามัย การป้องกันโรค วัยกลางคน เรื่องเบาหวานไขมัน โรคตับ โรคไต วัยสูงอายุ เรื่องการดูแลสุขภาพต่อเนื่อง รวมทั้งสิ่งต่างๆที่พ่อครูแนะนำมาค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
ร่วมด้วยช่วยกัน แว๊ปมาเจ๊าะแจ๊ะหน่อย
โห ป้าหวาน
โห ท่านบางทราย
คักอีหลี ขอคาวระน้ำสมุนไพร 1 จอก
ท่านอื่นละครับ
จำเป็นเร่ง เพราะจะสรุปประเด็น และข้อเสนอแนะนะขอรับ
อาม่า เต็มด่วน
เบิร์ด ปั่นๆๆๆแล้วรีบแปะ เวลาวารีไม่คอยใคร ถ้าไม่ใช่แฟน ขอบอก คิคิ
เอ ใครหน่า ..อ้อ อุ้ย นี่มืออาชีพ เห็นบอกว่ากำลังทำแผนสุขภาวะองค์กรชุมชน อบต ..ขอด่วน คะร๊าบ
จะสรุป ทำเอกสาร แล้วจะต่องานของเราต่อไปเรื่องออกแบบหลักสูตรสวนป่าด้วย คิคิ
แป๊ด หนิง 2 แคว มิ้ง สิงห์ป่าสัก ท่านไร้กรอบ มาแต่ละทีโลกตีลังกา
ช่วยๆกันบริจาคความคิดเพื่อชาติกันหน่อย
เอกสารจะเสนอก่อนวันที่ 19 ครับ
วันที่ก็ถ่ายทำรายการทีวีไปแล้ว
ทุกฝ่ายให้ความสำคัญชาวเฮ
ถือว่ามีประสบการณ์ด้านเครือข่าย
กอดของชาวเฮ -คนที่เป่าแซกโฟโฟนอวด -ล้วนเป็นมิติของสุขภาวะ แม่นบ่
อาว์เปลี่ยนแถมมาด่วน
โห วัยรุ่นใจร้อน ครับ คอยๆๆๆ
เอ๋า งานเข้าอีกแล้วครับท่าน
คิดแบบเร็ว ๆ เพราะปั่นเพื่อแปะก็คงบอกว่า “หัวใจ” ของแผนสุขภาวะชุมชน คือการร้อยเรียงคนที่มีความเชื่อ อุดมการณ์ และความสัมพันธ์ของคนที่อยากเห็นสุขภาพของตนและชุมชนดีขึ้นน่ะค่ะพ่อ
ซึ่งการร้อยเรียงนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่รู้ว่าใคร ทำอะไร อยู่ที่ไหนบ้าง
สิ่งที่ควรทำคือทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างคนเหล่านี้ เพื่อสร้างค่านิยมและมีเป้าหมายเดียวกันให้ได้ ส่วนตัวเบิร์ดเองไม่เคยทำแผนชุมชนมาก่อน ได้แต่มองจากมุมคนนอกและการทำงานอาหารปลอดภัย เบิร์ดว่าความพยายามที่จะให้เกิดความตระหนักร่วมกันนั้นต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรค่ะพ่อ ดังนั้นกรอบเวลาจึงเป็นเรื่องที่ควรมองว่าจะทำได้อย่างไรโดยไม่ทำให้งานฉาบฉวย
นอกจากระยะเวลาแล้วยังต้องมีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องร่วมกับมีรูปธรรมให้เห็นชัด ๆ ในพื้นที่ด้วย และต้องเป็นความร่วมมือจากหลายฝ่ายในชุมชนนั้น ๆ น่ะค่ะ ไม่ควรเป็นคนนอกเข้าไปจัดการ ไม่งั้นจะกลายเป็นระบบราชการเหมือนที่เป็นมา งบหมดก็หมดกัน ปิดโครงการก็จบ…ถ้าเบิร์ดมองนะคะคนที่สำคัญที่สุดในการเป็นแกนนำขับเคลื่อนคือ อสม.ค่ะพ่อ เพราะ อสม.มักเป็นคนที่ได้รับการยอมรับจากชุมชนและเป็นผู้นำตามธรรมชาติในชุมชนนั้น ๆ อยู่แล้ว แถมมีหมวกหลายใบอีกต่างหาก บางคนเป้นผู้ใหญ่บ้าน บางคนเป็นอบต.ก็มี
ถ้ามีโอกาส สธ.น่ายกระดับอสม.ให้เป็นแกนนำที่มีศักยภาพและมีมิติในการพัฒนาให้หลากหลายมากขึ้นค่ะ …เพราะกองทัพหน้าเหล่านี้เป็นตัวอย่างของจิตอาสาที่จับต้องได้ เป็นวิถีปฏิบัติที่งดงามของชุมชน เพียงแต่เชื่อมโยงเขาเหล่านี้ และให้เขาได้มีโอกาสในการพัฒนาชุมชนของตัวเองโดยมีเราเป็นพี่เลี้ยงน่าจะเกิดมิติใหม่ ๆ ของการพัฒนาได้ค่ะพ่อ
มาเติมเต็มกรรมที่สอง กรรมเกิดจากการกระทำ เป็นการกระทำตั้งแต่เริ่มมีชีวิตเป็นตัวอ่อนในท้องมารดา รับกรรมตรงๆ จากมารดาผู้ตั้งครรภ์ ตั้งแต่การกินอยู่หลับนอน สิ่งแวดล้อม และอารมณ์ สุขภาวะแรกเริ่มของชีวิต ใครควรทำอย่าง เมื่อไหร่ เพราะอะไร แล้วได้อะไร แล้วยังไงต่อไปละ พอให้กำเนิดชีวิตมาแล้ว ทารกจะปกติสมบูรณ์ แข็งแรงหรือไม่ก็ขึ้นอยู่ต้นทุนกรรม ทั้งสองกรรมติดตัวและตามตัวมาแล้ว หากปกติดี ควรเลี้ยงดูอย่างไร ให้เป็นเด็กที่มีชีวิตที่มีคุณภาพ ไม่เป็นภาระต่อสังคม ใครมีหน้าที่อย่างไร แค่ไหน เพราะอะไร ทำไม แล้วได้อะไร เสียอะไร แล้วอะไรจะเกิด แก้ไขอย่าง ทิ้งไว้ให้ไปช่วยกันให้คำตอบเป็นกรอบของความคิด แล้วจะมาเติมกรรมตัวต่อไป
ยกมาจากบันทึก นี้ ค่ะ
ตามโจทย์ที่ครูบายกไว้ให้ช่วยกันระดมความคิดในการจัดทำแผนสุขภาวะชุมชน….ในบันทึกที่มีการระดมความคิดจากหลายๆมุมมอง และครูบาบอกว่าอยากให้ออกความเห็นด้วยนั้น
บันทึกนี้จึงเขียนเฉพาะกิจสำหรับเสนอความคิดเห็นให้ครูบาค่ะ
ครูบาคะจะลองคิดในเรื่อง สุขภาวะชุมชน ว่าอย่างไรจึงจะเป็นสุขภาวะชุมชนและจะทำให้มันเป็นแผนอย่างไรดี
ถ้าว่าคิดนอกลู่นอกรอยก็อาจจะได้ ตรงที่มักจะนึกเสมอมาว่าเวลาที่ใครๆ คิดว่าสุขภาวะ และแสวงหาสุขภาวะนั้น มันเป็นเรื่องทวนกระแสธรรมชาติหรือเปล่า…และน่าจะเป็นการแสวงหา”ความไม่ปกติ” มากกว่า
ก็เพราะว่าความเป็นปกติของทุกคนนั้น ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น มีทุกข์เพราะความเสื่อม ความเจ็บความตายที่เป็นปกติธรรมดาของทุกๆคน …พออยากเกิดสุขภาวะก็เลยกลายเป็นเรื่องมามองหา ตัวกำหนดว่า จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร และตัวไหนเป็นตัวชี้วัดว่าจะทำให้พ้นทุกข์ หรือพ้นจากความเจ็บ ยืดอายุให้ความตายมาช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้
ตัวชี้วัดระดับบุคคลยังขึ้นกับมุมมองของแต่ละคนที่ไม่ค่อยเหมือนกัน แล้วตัวชี้วัดของชุมชนก็ไม่ยิ่งไปกว่าหรือคะ
ดูแต่เรื่องสุขภาวะของบุคคล พอนึกถึงทางพ้นทุกข์ ก็สาระพัดทุกข์และโลกของการแพทย์ก็แสวงหาลู่ทางในการสงวนสิทธิ์ของความเจ็บความตายเอาไว้ ในด้านหนึ่งเพื่อให้บุคคลพ้นจากความทุกข์และในอีกด้านหนึ่งก็มากจนสุดโต่งและกลายเป็นการแสวงหาความบกพร่องในตัวของบุคคลอย่างไม่สิ้นสุดแม้ในระดับเล็กที่สุด
การแสวงหาสุขภาวะหรือทางพ้นทุกข์จากความเจ็บความตาย คิดว่าไม่มีตัวชี้วัดใดที่ใช้ได้ทุกเรื่องแน่นอนอยู่แล้วค่ะ การหาตัวชี้วัดจากผลเลือดหรือค่าการตรวจต่างๆ บางทีกลับเป็นการหลอกตัวเองว่ากำลังมีสุขภาวะเพราะผลเลือดไปตรงระดับที่ “คนส่วนมากมีกัน” อยู่ก็ได้ การลงทุนที่การตรวจเอาค่าผลเลือดมาบอกสุขภาวะเป็นเรื่องที่เหมือนดาบสองคมได้เหมือนกันค่ะ…ขณะที่เคยมีงานวิจัยพบว่า คนไทยให้ความหมายของคำว่าสุขภาพคือความสบาย …ความสบายไม่เจ็บไม่ปวดเมื่อย…และงานวิจัยที่เคยทำบอกว่า สุขภาพในมุมคิดของผู้หญิงมีความหมายที่ความสามารถในการทำหน้าที่ได้ตามปกติ…ความแตกต่างของการให้ความหมายเหล่านี้…ภาครัฐเคยระลึกถึงหรือไม่อย่างไร????
สุขภาวะในอีกรูปแบบคือ ความสมบูรณ์ หรือที่มาจากคำภาษาอังกฤษว่า wellness ซึ่งคนคิดคำนี้ชื่อ Halbert L. Dunn ที่เขียนไว้ในหนังสือชื่อ High Level Wellness ปีค.ศ. 1961และบอกว่า ‘High level wellness for the individual is defined as an intregrated method of functioning which is oriented toward maximizing the potential of which the individual is capable. It requires that the individual maintain a continuum of balance and purposeful direction whichin the environment where he is functioning’ (p. 4-5) เป็นการมองสุขภาวะในแง่บวกและให้คุณค่าของคนไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะใดก็ “มีสุขอย่างสมบูรณ์ได้”
การมองอย่างนี้..ถ้าในระดับบุคคล….ถึงแม้ว่าผลเลือดจะ “ผิดปกติ” ตามนิยามของค่าชี้วัด แต่ไมได้เป็นอุปสรรคต่องสุขภาวะของบุคคลถ้าบุคคลนั้นได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ
ถ้าเช่นนั้นแล้ว….ถ้าบุคคลจะมีสุขภาวะสมบูรณ์…บุคคลก็ควรรู้ขีดความสามารถของตัวเอง ค้นพบศักยภาพของตัวเอง โดยทีมสุขภาพทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนและมีความร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายในการบรรลุซึ่งศักยภาพอันสูงสุดนั้นได้
ที่ยกคำของ Dunn มาไว้ เพราะอยากโยงถึงคำว่า สุขภาวะชุมชนค่ะ
ตรงที่ว่า แล้วชุมชนจะแสดงศักยภาพเต็มความสามารถอย่างไร ….ชุมชนคือใคร และเข้าใจรับรู้ค้นพบศักยภาพของตนเองอย่างไร หรือไม่
แผนการก้าวเดินเชิงรุกที่อยากเรียนเสนอคือการมีเวทีสำหรับให้ชุมชนได้อธิบายตัวเอง เข้าใจความเป็นชุมชนของตัวเอง และตระหนักรู้ศักยภาพของตัวเอง ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ชุมชนเคยให้ความหมายของสุขภาวะของตนเองอย่างไร อะไรคือทุกข์ของชุมชน บุคลากรสุขภาพเคยเข้าใจชุมชนอย่างที่เขาเป็นและอยากให้เป็นอย่างไร…แต่ละชุมชนก็คงเช่นเดียวกับแต่ละบุคคลน่าจะมีความแตกต่างหลากหลาย…ภาครัฐจะนำนโยบายแผนเดียวใช้กับทุกชุมชนในเรื่องสุขภาวะ…..จะทำได้เหมาะสมเสมอ???
ครูบาคะ …ในความเห็นส่วนตัวแล้ว…คิดว่าไม่มีตัวชี้วัดใดที่สมบูรณ์แบบสำหรับเรื่องสุขภาพของคนและชุมชน ตามกาลต่างวาระก็ทำให้ตัวชี้วัดเปลี่ยนแปลงได้ และแผนก็คงจะเปลี่ยนแปลงเช่นกัน????
ในยุคที่อุตสาหกรรมรุ่งเรือง เราก็ถูกฝังหัวว่า ร่างกายเหมือนเครื่องจักร ชิ้นส่วนไหนเสียก็ถอดออกใส่ของใหม่เข้าไปแทน จนเราแทบจะมองว่าคนที่มีสุขภาวะคือคนสมบูรณ์แบบไม่เจ็บไม่ป่วยไม่มีความทุกข์ร้อนใดๆอวัยวะทุกส่วนไม่สึกหรอ
ถึงยุคที่มองทุกอย่างให้เป็นองค์รวม เราก็บรรจุเรื่องจิตวิญญานเข้าไปและพยายามตีความกับคำที่ใช้ จะเป็น wisdom health หรือ spiritual health จนปัจจุบันเราก็เกิดกระแสเรื่องการสร้างปัญญาอย่างหลากหลาย มีตัวชี้วัดการจัดการให้ได้มาซึ่งความรู้และปัญญาอย่างยุ่งเหยิง
ขอลองคิดว่าใน อริยสัจจ์ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จะนำไปสู่สุขภาวะได้อย่างไร
ก็ขอนำเสนอเท่าที่นึกได้ตอนนี้ค่ะ
[...] ตามโจทย์ที่ครูบายกไว้ให้ช่วยกันระ
ขอเชิญส่งการบ้านได้อีกนะครับ