สู้ดี สู้ร้าย

อ่าน: 1004

ชีวิตของคนเราประกอบด้วยสิ่งดี สิ่งร้าย

แล้วแต่เราจะเลือกที่จะเดินทางไปในวิถีใด

หลาย ๆ ครั้ง “เราต้องดับด้วยการปิดตา  และหลาย ๆ คราเราต้องดับด้วยการเปิดใจ”

 

โอกาสดีดี และมักได้มองเห็นสิ่งดี ๆ จากการอ่าน จึงเป็นสิ่งที่เราเรียนรู้ได้

ในการดำเนินชีวิตของตัวเองนั้น การรู้กาละเทศะ รู้จักผุ้อื่น รู้จักจังหวะในการใช้ชีวิต เป็นสิ่งที่ตัวเองได้ดำเนินตามแนวนั้นมาตลอด แต่บางครั้งก็ด้วยพร่องใน”ทำ” อาการ”สู้ดี สู้ร้าย” จึงย่างกรายเข้ามาให้เห็น”ธรรม”

วันนี้ได้มีโอกาสได้เข้าใจถึงหลัก สัปปุริสธรรมที่มีอยู่ในจิตใจของตนเอง และพยายามดำเนินตามและรู้ตัวของตนตามหลักนั้น

 

สัปปุริสธรรมทั้ง 7 นั้น อย่างง่าย ๆ

1) ธมฺมญฺญุตา  รู้จักเหตุ

2) อตฺถญฺญุตา  รู้จักผลของเหตุ

3) อตฺตญฺญุตา  รู้จักตนเอง

4) มตฺตญฺญุตา  รุ้จักประมาณตนเข้าใจการปฏิบัติ

5) ปริสญฺญุตา  รู้จักชุมชนนั้น การพูดอย่าขัดกับเขา

6) ปุคฺคลญฺญุตา  รู้จักบุคคลนั้นว่าเขาทำงานอะไร อยู่อย่างไร เข้าใจในการคบคน รู้จักคนดีคนไม่ดี ควรคบไม่คบ

7) กาลญฺญุตา  รู้จักกาลเทศะในการคบหาสมาคมว่าบุคคลชั้นใดวารรณไหนต่ำสู่อย่างไร ให้เข้าใจ

 

เรียนรู้ได้ก็สบายเป็นที่สุด  หายใจเข้าก็สบาย หายใจออกก็สบาย

ติดขัดบ้างก็ช่วยกันให้สบาย

ทุกอย่างเมื่อ “ทำ” เราจะเห็น “ธรรม”

พร่องในการ”ทำ”เมื่อไร “ธรรม” ย่อมโบยบิน

สิ่งดี สิ่งร้าย เราเลือกได้เองค่ะ

 

ข้อมุลสัปปุริสธรรม จากวิกิพีเดีย

 

Post to Facebook


ความไม่ถึงพร้อม

7 ความคิดเห็น โดย sompornp เมื่อ สิงหาคม 16, 2010 เวลา 16:50 ในหมวดหมู่ การจัดการความไม่รู้, ตามจริต, บ่น, เรื่องเล่า #
อ่าน: 1171

เพราะฉันบริหารไม่เป็น
หรือคนที่ฉันบริหารไม่เข้าใจ
หรืองานบริหารไม่เหมาะกับฉัน
ควรที่จะเป็นหรือไม่เป็น
ต้องตัดสินใจ
………
วันนี้สิ่งที่วิเคราะห์ “คือการบริหารที่ล้มเหลว”
ขอบคุณลูกน้องทุกคนที่เป็นผู้ให้เห็นธรรม

 

วันนี้ได้ post ข้อความนี้บน Facebook ด้วยที่ตัวเองสอบตกวิชาการพิจารณาตัวเองแต่เช้า

ทั้ง ๆ ที่ก่อนออกจากบ้านทุกวัน จะอ่านและเตือนตัวเองเสมอถึงการปฏิบัติให้ถึงพร้อม ซึ่งการมีสติในการใช้ชีวิต โดยให้เป็นปกติในชีวิตประจำวันของเรา  แต่ท้ายที่สุดแล้ว อะไรกระทบ และเรารู้ไม่เท่าทัน มันก็เกิดอาการอย่างที่เป็นอย่างนี้

 

เห็นทีชาตินี้จะเป็น”โจรกลับใจ”ยากซะแล้ว (ก็ไม่รู้)

อิอิอิ

Post to Facebook


ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน

อ่าน: 1150

เมื่อวานอ่านหนังสือ 9 พุทธ 9 เต๋า 9 เซ็น
อ่านเรื่องนี้ถูกใจจึงอยากเล่า เป็นเรื่องที่ 7ของเต๋า จากหนังสือดังกล่าว
“ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน”

เมื่อจัดลำดับเท่าเทียมกันหมด
ความแตกต่างก็ไม่มี
เมื่อสภาพเท่าเทียมกัน
เอกภาพก็ไม่มี
เมื่อประชาชนทั้งหมดเท่าเทียมกัน
ความเป็นระเบียบก็ไม่มี
ฟ้าและดินยังมีอยู่ตราบใด
ตราบนั้นย่อมต้องมีสูงมีต่ำอยู่
ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินเสมือนต้นน้ำ
ถ้าต้นน้ำใสสะอาด กระแสน้ำก็ใสสะอาด
ถ้าต้นน้ำเน่า กระแสน้ำก็เน่า
ผู้ใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเหมือนจานใส่น้ำ
ถ้าเป็นจานกลม น้ำในจานก็กลม
ถ้าจานสี่เหลี่ยม น้ำในจานก็เป็นรูปสี่เหลี่ยม
ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเหมือนลม
ประชาชนเปรียบเหมือนหญ้า
หญ้าต้องลู่ไปตามลม
และดูลมไหวที่ยอดหญ้า
ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเหมือนเรือ
ประชาชนเปรียบเหมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้
และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน

 

อ่านเรื่องนี้สะท้อนให้คิดว่า ทุกอย่างเป็นสิ่งสมมุติ

ตำแหน่งหน้าที่การงานคือหัวโขน

ทุกคนคือปถุชน ธรรมดา มีศักดิ์และศรี เท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์

ให้ใช้ความเป็นมนุษย์ในการดำรงหน้าที่ด้วยอริยบทอันเบิกบาน

“บอกตัวเองค่ะ”

Post to Facebook


กฎ กติกา และมารยาท

อ่าน: 1114

กระบวนการจัดการความรู้ของคณะเภสัชศาสตร์ในปีนี้ ดำเนินการโดยผ่านทีมกระบวนกรหัดขับ(เคลื่อน)

และเนื่องจากในปีนี้ได้มีการเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ ทำให้การทำงานเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง  จึงได้มีปรับกระบวนการการจัดการความรู้ เป็นการถอดบทเรียนโดยทีมกระบวนกรได้เข้าไปเยี่ยมในแต่ละงาน และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมโดยการเล่าเรื่องการทำงาน  และถอดบทเรียนในงานที่ตนเองเห็นว่ามีการพัฒนา และสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานอื่นได้

วันนี้ได้โอกาสในการเข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสายงานบริการการศึกษา มีผู้เข้าร่วม 12 คน เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้เล่าในงานของตัวเอง  บรรยากาศเป็นกันเอง  แรก ๆ ก็อาจจะมีประหม่า และดูเหมือนว่าจะเล่าดีไม่เล่าดี  ในงานบริการการศึกษาได้มีน้องกระบวนกรอยู่ร่วมด้วย และเป็นน้องใหม่  เห็นบรรยากาศเงียบ จึงเป็นผู้อาสาเล่าเรื่องเป็นคนแรก  (น้องยะ เป็นกระบวนกรฝึกหัดที่มีโอกาสได้ร่วมเรียนรู้กับพี่ ๆ กระบวนกร  จึงมีวิทยายุทธที่จะเรียนรู้ว่า ช่วงเวลาใดที่จะเสริบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ จึงได้เปิดประเด็นก่อน) น้องได้เล่าถึงกระบวนการทำงานของตัวเอง และการนำ IT เข้ามาปรับใช้ในงาน เพื่อให้ค้นหาข้อมูลได้ง่าย และใช้ประโยชน์ของ IT ได้อย่างเต็มที่

หลังจากนั้น น้อง ๆ แต่ละคน ได้เปลี่ยนกันเล่าเรื่องงานที่ตัวเองทำ และมีงานเด่น ๆ ที่ได้มีการพัฒนา หรือกรณีมีปัญหา ได้ใช้กระบวนการในการแก้ไขอย่างไร  ทำให้มองเห็น มุมมอง และการเสริมจากเพื่อน ๆ ในกลุ่มอย่างเป็นธรรมชาติ 

ประเด็นที่ได้คุยของแต่ละคน จะพบว่าจากเรื่องราวที่เป็นความสำเร็จ หรือประเด็นปัญหา  หนีไม่พ้นเรื่อง กฎ ระเบียบ และกติตกาต่าง ๆ ที่เราได้ตกลงร่วมกัน  แต่ในการปฏิบัตินั้น ไม่เป็นไปตาม กฎ ระเบียบ และกติกาที่ตั้งไว้  ตัวอย่างเช่น  การขอข้อมูล และระบุว่าขอให้ส่งภายในวันที่ …..  เพื่อจะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป  ซึ่งงานดังกล่าว เป็นเวลาที่ถูกกำหนดไว้  เพื่อให้งานดำเนินเป็นไปตามแผน  แต่เมื่อไม่ได้ข้อมูล  แผนการทำงานก็กระทบไปกับงานอื่น ๆ จึงทำให้เกิดการทำงานล่าช้า  บางครั้งถึงกับต้องเสียสิทธิ์ในงานนั้น ๆ ไป  จึงได้มีประเด็นตามมาว่า ถ้าคนเราทุกคน รู้จัก กฎ กติกา แต่ไม่มีมารยาทในการใช้ร่วมกัน กฎ กติกานั้นก็ไม่สร้างประโยชน์ที่จะใช้ร่วมกันได้ (อันนี้ตัวเองเป็นคนชูประเด็นเอง)  ทุกคนจึง ฮา ๆ ๆ และพูดพร้อม ๆ กันว่า น่าจะจริง  จึงถามต่อไปว่าแล้วทำอย่างไร (นอกจากทำใจ)  หัวหน้าได้ตอบแทนว่า นอกจากทำใจ แล้ว ยังต้อง ธรรมะด้วย  ดังนั้น ทุกวันนี้เราจึงอยู่ปฏิบัติงานด้วยหน้าที่ การทำใจ และใช้ธรรมะในการครองงานในภาระกิจของทุกคน

 

สรุปว่าวันนี้จึงเป็นวันนี้ที่ได้ย้อนมามองตัวเองว่า  เราได้ปฏิบัติงานทุกวันนี้ตามกฎ กติกา  แล้วเรายังมีมารยาทที่จะทำตามกฎ กติกานั้นด้วยหรือไม่  ก็เป็นประเด็นที่ต้องกลับมาย้อนมองตัวเอง

เป็นอีกวันหนึงที่สุขใจ หลังจากได้ทำความสะอาด Big Cleaning Day เมื่อเช้านี้

สบายใจวันหยุดนะคะ

Post to Facebook


วันนี้ใจฉันเต้นเป็นปกติ?

อ่าน: 1254

เช้านี้เกิดอาการ “อืม….” อีกครั้ง

ด้วยได้รับการสกิดใจจากน้อง freemind ทักทายจากบันทึกของเธอว่า วันนี้ใจคงเต้นเป็นปกติดีนะคะ”

ทำให้ไดมีโอกาสคิดว่า การเจริญสติของเรานั้นเป็นอย่างไร

อ่านหนังสือครูบาอาจารย์ก็ได้เรียนรู้ว่าการเจริญสตินั้นแล้วแต่อารมณ์ที่เราถนัด

สำหรับตัวเองนั้น ในแต่ละวันได้ใช้กายใจทำงานอย่างไม่ทะนุถนอม ปล่อยให้สภาวะอารมณ์เกิดขึ้นตามสิ่งเร้ารอบกาย ปล่อยให้ทุกอย่างกระทบอย่างไม่ปลง ไม่วาง และปล่อยกาย ปล่อยจิต ให้ไปสัมผัสอย่างประมาณว่า ถ้าเกิดอะไรก็ตายกันไปข้างหนึ่ง  แต่ในความเป็นจริงสิ  ถ้าเจอแล้วตาย ก็ดีไป แต่ประเภทต้อง แขนหัก ขาหัก ซี่โครงเดี้ยง ม้ามแตก ปอดฉีก ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เราจะเยียวยามันได้อย่างไร

จึงได้มีโอกาสได้กลับมาเรียนรู้สภาวะตัวเองว่า สิ่งใดที่เหมาะที่จะทำให้เราได้เจริญสติในทางที่ถนัดนั้น

วิธีใช้มองกาย อาจจะไม่ถนัด เพราะวิเคราะห์ตัวเองว่าไฮเปอร์ แล้วการดำเนินชีวิตในทุกวัน มันโลดแล่นไปกับร่องอารมณ์เสนอ จึงใช้วิธีดูที่จิต จิตมันจะเจอสภาวะอารมณ์ใด ก็ปล่อยมันไป เรียนรู้่ไปทีละก้าว ทีละขั้น ทีละตอน และหลอมให้มันเป็นเรา  จิตมันจะสุข ทุกข์ คุ้มดี คุ้มร้าย หดหู่ ฟุ้งซ่าน กังวล ชื่นชม ยินดี ปรีดา จิ๊ด ๆ มันเป็นอย่างนี้ได้ในทุก ๆ วัน  เราก็ตามดูมันไป  เมื่อเรียนรู้ในอารมณ์ขณะนั้น ก็มีโอกาสได้กลับมาดูกายตัวเอง  ขณะที่จิ๊ด ๆ ใจเป็นอย่างไร เต้นแรงไหม มือสั่นหรือเปล่า  หรือว่าเท้ามันอยากจะนำไปประจันบานแล้ว หรือแฟ้มบินซะแล้ว(55555) ฯลฯ เราก็เรียนรู้สภาวะที่เกิดขึ้น ก็ปฏิบัติมา ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็เรียนรู้กันไป เพราะสิ่งที่เราได้ มันรู้อยู่ในใจ เราไม่ต้องไปบอกใครก็ได้ ใครเขาคิดอย่างไร ก็เป็นเรื่องของคนอื่น ไม่ใช่เรา  “สัญญา” เก่าที่เขามีกับเรา ก็เป็นเรื่องของเขา เพียงแต่เรารู้ว่าเราเป็นอย่างไร ก็ดีใจ เรียนรู้ที่จะไม่เอาจิตออกจากกายไปตัดสินคนอื่นเขา “มันก็เบา ที่ตัวเราเอง”

 

ย้อนกลับมาที่ประโยคของน้อง freemind ที่ทำให้คิดต่ออีกว่า  ในวันหยุด เราใจเต้นเป็นปกติ  แล้วทำไมในวันทำงาน เราไม่ทำให้เต้นเป็นปกติอย่างวันหยุดบ้าง (เหมือนที่หมอป่วนบอกเสมอ “ต้องรอให้ถึงวันนั้นหรือ” “หัวใจดวงเดียวกันหรือเปล่า” )

คำตอบคือ : ก็พยายามและถือปฏิบัติอยู่ค่ะ อิอิอิอิ

 

ซึมซับ และได้เรียนรู้ตัวเองจากประโยคสะกิดน้อง freemind แต่เช้า

ขอบคุณมิตรที่ดีอีกคน นะคะ 

Post to Facebook


น้ำดับไฟ

อ่าน: 1557

การเอาธัมมะมาเป็นน้ำดับไฟไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรง

เพราะต้นทุนบุญกุศล ในตัวแท้ของเรา

เป็นน้ำเปี่ยมชุ่มเต็มในใจอยู่แล้ว

เพียงแค่รักษาสติไว้ให้อยู่กับใจ

โลภะ โทสะ โมหะ กิเลสทั้งปวง

ก็ไม่สามารถเกาะใจเราได้ ไฟกิเลสก็สิ้นฤทธิ์

ทำให้ใจสงบ ร่วมเย็น เป็นธรรม

………

                  ขอบคุณครูอาจารย์

                  พญ.อมรา  มลิลา

ถวายเทียนเข้าพรรษา สถานธรรม ห้วยผาพลู ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

22 กรกฎาคม 2553

Post to Facebook


คุณอ่านได้ไหม….

อ่าน: 1135

เรื่องดีดีมีมาจากเพื่อนเสมอ

ได้รับเมลฉบับ หนึ่ง หัวข้อก็คือ “คุณอ่านได้มั้ย”

พออ่านแล้วรู้สึกสนุกดี ว่า….เอ้ !! แปลกจังเลย นี่เราก็ยังอ่านมันได้นี่หน่า แม้เหมือนจะงง ไม่เข้าใจ

แล้วทำให้เกิดข้อคิดบางอย่างขึ้นมา ท่ามการดำเนินชีวิตในสถานการณ์ที่ดูสับสนอลหม่านวุ่นวายในยุคปัจจุบันนี้

ไม่ รู้ว่าคุณเคยอ่านหรือยัง แต่เอาล่ะ เราไปอ่านกันดู ดูสิว่าคุณอ่านมันได้มั้ย แล้วค่อยมาคุยกันต่อ

คณุ อาน่ได้มยั้

ถ้า คณุอาน่บทคาวมนี้ได้
คณุมีความคดิที่แขง็แรงพอสวคมรเลยนะ
คณุอาน่ได้ หรอืเลป่าล่ะ
มีแค่ 55 คนจาก 100 เท่านนั้แล่หะที่อาน่ได้

ฉนั ไม่อายกจะเชอื่เลยว่า
ฉนัเข้าใจสงิ่ที่ฉนักำลงัอาน่อู่ยนี้
มนัเป น็ปฎกราากรณ์ของคาวมคดิของม์ษุยน
ผลการศกึาษวจิยัจาก มวหายิทัาลย แบมคิร์จด ก่าลวว่า

มนัไม่ สคำญเลยว่าตวัอรัษกเยีรงถตอ้กูงหรอืไม่ในคำคำหนงึ่
มนัสคำญแค่ว่า ตวัอษักรแรกและตวัอษกัรตวัสดุทาย้ของคำ
นนั้อู่ยในตนำแห่งที่ถกูตอ้ง ที่เลืหอนนั้มนัจะมวั่ซวั่อ่ายงไร
คณุก็อาน่มนัได้อู่ยดี ไม่มีปหญัา

ที่ เปน็อาย่งนี้เราพะคาวมคดิของมษุน์ยนนั้
ไม่ได้อาน่ตวัอษกัรทกุตวัซกัห อน่ย
แต่อาน่เปน็คำเตม็ ๆ คำ
สดุยอดเลยใช่มยั้ล่ะ…ใช่เลย
แต่ ยงัไงฉนัก็คดิว่าการสกะดมนัสคำญันะ
ถ้าคณุอาน่บควาบมนี้ได้ ชว่ยสง่ตอ่หอน่ยนะ


ฉะนั้น ความสับสันวุ่นวายไม่ได้เป็นเหตุทำให้เราไปต่อไม่ได้ และเราไม่ควรจะวิตกจริตกับสิ่งต่างๆที่ประดังประดาถ่าโถมเข้ามาในชีวิตจน เกินเหตุ

จงเผชิญกับมันเถิด แล้วคุณจะรู้ว่า

คุณสามารถอ่าน ปัญหาที่ดูงงงวยได้ไม่ยาก และสามารถเผชิญหน้ามันต่อไปได้ และไปจนถึงความสำเร็จ

ใช่….. คุณยังไหว…..และคุณอ่านมันได้

 

โอว…แม่เจ้า ทุกอย่างมีทางออกของมันเสมอจริง ๆ

Post to Facebook


อย่าเปิดโอกาสแก่มาร…

9 ความคิดเห็น โดย sompornp เมื่อ กรกฏาคม 21, 2010 เวลา 7:41 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, การจัดการความไม่รู้, ตามจริต #
อ่าน: 1643

เช้าวันจันทร์

อ่าน”ฉลาด…ได้อีก” ของพระอาจารย์ เตือนสติตัวเอง ก่อนตัดสินใครก็ให้เคารพในความแตกต่าง ห้วยแขวนคำพิพากษา เข้าในคนอื่น เข้าใจปมเขาและเรา

ดังนั้น อย่าคิดว่า เราเก่งแล้วคนอื่นทำไม่ได้ ให้ยอมรับและให้โอกาส การให้โอกาสผู้อื่น คือการให้โอกาสตัวเราเอง เช้านี้เจอเรื่องกระทบจากกงาน(อย่างแรง) จากเพื่อนร่วมงาน (ไม่ว่าจะตำแหน่งใด ทุกคนคือเพื่อนร่วมงาน) การยอมรับและให้โอกาสเขาทำในสิ่งที่ควรทำ เท่ากับเปิดโอกาสให้ตัวเองเห็นธรรม
…..
สังเกตตัวเอง ใจเต้นแรงไหม ผ่อนได้ไหม ไม่มีผิด ไม่มีถูก ขึ้นอยู่กับสมมุติสัจจะของแต่ละคน
…..
“ใจดี ใจสบาย”
…..
กราบขอบคุณพระอาจารย์ค่ะ

หมายเหตุ :  วันนี้ใจเต้นแรง 4 ครั้ง

แทบระเบิดออกจากอก  แต่ห้อยแขวนไว้ แล้วก็ผ่านไป

…………………………………………………

เช้าวันอังคาร

ก็เบิกบานด้วยการเตือนใจจำถ้าใจเราไม่มีความสุข ทุกข์ที่มีมันจะตามเราไปทุกหนแห่ง และทำให้การงานอันเบิกบานของเรา ขุ่นเหมือนกับใจด้วย
การดูแลตัวเอง เป็นสิ่งที่ควรเริ่มก่อน อย่าแบกความขุ่นมัวไว้ และให้มองผู้อื่นดังที่เช่นมองตัวเอง เขาทำงานอย่างไม่มีความสุขเพราะเขามีสิ่งที่ไม่มีความสุขในใจ
…..
สอนตัวเองเช้านี้ก่อนการทำงาน
และให้มองผู้อื่นด้วยความเมตตา… เช่นเราเมตตาตัวเอง
…..
วันนี้จะเป็นอีก 1 บทเรียน
…..
กราบขอบคุณพ่อแม่ครูพระอาจารย์

หมายเหตุ : วันนี้ใจเต้นแรง 1 ครั้ง

ได้วาง และ “ระบาย” เป็นการ ปลด และ แลกเปลี่ยนความรู้สึก

(ถึงแม้ไม่สุนทรีย์ แต่ก็ใช้ได้)

………….

วันพุธ

ก็เป็นอีกโอกาสที่เปิดให้ใจตนเอง

อะไรก็ไม่สำคัญ ถ้าทำทุกวันให้เป็นสุข
สุขกับเรื่องราวในชีวิต
“มีสติ” นะคะ บอกตัวเองทุกเช้าค่ะ
เป็น 3 วันที่ดีขึ้น

 เตือนตัวเองค่ะ

Post to Facebook


ทะเลาะกันไปทำไม

5 ความคิดเห็น โดย sompornp เมื่อ มิถุนายน 24, 2010 เวลา 23:09 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, การจัดการความไม่รู้, ตามจริต, เรื่องเล่า #
อ่าน: 1068

หลาย ๆ ครั้งที่ประเด็นในการทำงานร่วมกันของความเป็นหัวหน้ากับลูกน้อง กับเพื่อนร่วมงานย่อมหลีกหนีความไม่เข้าใจ นำไปสู่การทะเลาะกันในการงานก็เป็นได้  ประเด็นที่จะกล่าวถึงไม่ใช่มองหาประเด็นว่า มันเกิดขึ้น เพราะอะไร แล้วจะแก้ไขอย่างไร  แต่วันนี้จะขอเล่าเรื่องการกลับเข้ามาดูในใจตัวเองทุกครั้งที่มีประเด็นดังกล่าวเกิดขึ้น

การวางอารมณ์ไว้ภายนอกกายและใจ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติยาก  แต่มันก็เป็นเรื่องที่พยายามที่จะเรียนรู้ทุกครั้ง เมื่อเกิดภาวะนี้ เพียงเราเริ่มต้นที่เมื่อมีเหตุเกิด มันเกิดจากความเข้าใจ ความต้องการของบุคคลนั้น ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความเข้าใจกับความต้องการของเรา  ซึ่งถามว่าผิดไหม จริง ๆ มันไม่มีผิด ไม่มีถูก  เพราะสิ่งที่เรามองนั้นเป้าหมายมันต่างกัน  จึงพยายามเรียนรู้ที่จะเข้าใจ  และถ้ามีโอกาส ก็จะรับฟังและถ้าต้องการคำอธิบายก็จะลองแลกประเด็นกัน  แต่ถ้าใจแต่ละคนไม่เปิด ที่จะยอมรับฟังกัน  สิ่งที่จะก่อประโยชน์ก็จะไม่เกิดขึ้น  บางครั้งอาจต้องการเวลา และโอกาส ซึ่งรวมถึงพื้นที่ปลอดภัย ที่จะร่วมเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

จึงเริ่มเข้าใจว่า แล้วเราจะทะเลาะกันไปทำไม

เรียนรู้เป็นเด็กอนุบาลอีกคนตาม อ.สร้อยค่ะ

 

รูปนี้ยืมน้องบ้านมกรามาค่ะ

Post to Facebook


เรื่องสืบเนื่อง(ก็แล้วกัน)

อ่าน: 1210
  • - หัวหน้าเต้นไปกับท่าน ๆ หรือเปล่า ทำไมไม่เป็น back ให้น้อง ๆ อะไรก็รับมา แบบนี้น่าจะไม่มีความสุขนะ (อืม…..1 ดอก)
  • - แล้วที่มาทำงานก่อนเวลานี่ห้องอื่นเขาทำกันหรือเปล่า หรือว่าที่ไหนขอ(บังคับ)ได้ก็ขอ แต่ที่ไหนไม่สามารถจะทำได้ก็เว้นไป (อ่อนไหนแทง แข็งไหนเว้นนั่นแหละ…อิอิอิ  ดอกที่  2 )
  • - อยากรู้เป้าหมายของการมาทำงานก่อนเวลานี่คืออะไร เพราะส่วนงานที่เราให้บริการที่เป็นงานต้องติดต่อในเวลาราชการอยู่แล้ว ถ้าเป็นส่วนที่สนับสนุนการเรียนการสอนก็เป็นอีกเรื่อง
  • @#%$@$%&^$$#%FGYT&$@$$#%$
  • จากเรื่องเล่าเมื่อวันวาน มีข้อสรุปที่ได้เรียนรู้คือ

    1) เริ่มแรกรู้สึกเดือด ๆ ๆ ในใจ หัวหน้าไม่ใช่กระโถนนะเฟ้ย หัวหน้าก็ทำตามหน้าที่นะ ไม่เคยที่รับปากมาโดยที่ไม่ถามความคิดเห็นลูกน้องหรอก  แต่จะพูดให้แรงแล้วได้อะไร ถามใจตัวเอง ระหว่างฟังเป็นระยะ ๆ ว่ารู้สึกอย่างไร ตัดสินไหม พิพากษาไหม ก็ค่อย ๆ ปลดทีละล๊อค ๆ ๆ อืม ความรู้สึกเดือด ๆ ก็เย็นลง ๆ ๆ ก็อธิบายด้วยเสียงที่ไม่(ค่อย)ดัง ทำให้ได้เรียนรู้อีกครั้งว่า การฟังอย่างไม่พิพากษา ไม่ตัดสินนั้น มันช่วยให้อะไร ๆ ดีขึ้นจริง  อธิบายแล้ว คุยกันแล้ว ว่ากันแล้ว ก็ประเมินเองว่า ถ้าทุกคนรู้หน้าที่ตัวเอง ไม่เทียบเคียงคนอื่น มันก็สุขได้โดยเริ่มจากใจเรานั่นแหละ  ก็หวังว่าจะเห็นทางสว่างกันบ้างนะ(อันนี้คิดให้ตัวเอง) อุอุอุ

    2) ประเด็นที่ 2 นี้ ได้อธิบายว่า ทำไมเราต้องเทียบกับคนอื่น เราเทียบกับหน้าที่เราไม่ได้หรือ เรามีหน้าที่อะไร แล้วหน้าที่ที่เราทำนั้น ทำได้ไหม มันเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติหรือเปล่า  แล้วมาปรึกษากันนี่ ก็จะถามว่าจะทำไหม สรุปคือ ไม่ทำ ก็รับไปเพื่อสรุปเสนอท่าน ๆ ว่าต่อไปเราจะทำอย่างไร (ตอนนี้ยังไม่ได้เสนอ แต่หัวหน้ามาทำงานก่อนแปดโมงแทน…เพื่อดูสถิติว่า เช้า ๆ มันมีกิจให้ต้องทำอะไรบ้าง…ลองสักตั้งคร๊าบพี่น้อง….อิอิอิ)

    3) ประเด็นนี้ เป็นคำถามเฮงซวยหรือเปล่าไม่รู้  แต่จริง ๆ บทบาทหน้าที่ตัวเองก็ต้องรู้ว่าเราทำหน้าที่อะไร  แต่การที่ไม่รู้ตัวเองนี่ อธิบายตรง ๆ ก็ไม่เข้าใจ อธิบายแบบออฟไซด์ก็จะแรงไป ก็ถามว่า ตำแหน่งของแต่ละคนคืออะไร การที่เราไม่มาทำงานตรงเวลานั้น มันกระทบใครบ้าง แล้วคนที่ต้องทำหน้าที่แทนนั้นมันกระทบกับภารงานประจำอะไรหรือเปล่า @#@$%#$%#@^%R!^ ก็เปิดประเด็นคุยกันยาว  สุดท้ายมาจบลงประเด็นที่ว่ามันก็ไม่มีปัญหาอะไรกันนี่  ก็เลยตั้งคำถามว่า แล้วที่เราบอกว่ามันไม่มีปัญหาทำไมเราต้องมีอะไรในใจว่าคนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้  มันเป็นเพราะเราไม่รู้หน้าที่ตัวเองต่างหากล่ะ  แล้วถ้าทุกคนรู้หน้าที่ตัวเอง มันก็จะทำงานให้เกิดความสุขกันได้ อย่าเอารารมณ์เป็นตัวตั้งเลย  งานต่างหากล่ะ เลิกเหอะ การคิดเล็กคิดน้อย หยุมหยิม พิพากษากันว่าคนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้โดยไม่ดูแลตัวเอง วงก็จบการสนทนาตรงที่ อืม….เราไม่ได้มีปัญหากันนิ  แล้วเราคุยอะไรกัน  หัวหน้าสรุปเองว่า เออ….มันอาจจะต้องคุยกันบ่อยแล้วกระมังนี่ อิอิอิ

     

    การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบที่มากกว่าคนอื่น “การฟัง” เป็นสิ่งที่สำคัญทีเดียวค่ะ

    Post to Facebook



    Main: 1.0721018314362 sec
    Sidebar: 0.13113403320312 sec