๗ ตุลา ช่อมาลาแด่ “นายคู” ที่หงสา
วันสองวันนี้ หงสายามเช้าสดใสสวยงามเป็นพิเศษ ยามเมื่อเห็นเด็กน้อยนักเรียนแต่งเครื่องแบบใหม่ ในอ้อมแขนน้องน้อยทุกคนประคองดอกไม้ช่อโต เดินมุ่งหน้าไปโรงเรียนด้วยประกายตาฉายแววสุข(เพราะไม่ต้องเรียนหนังสือ) บรรดาเหล่าทโมนหนุ่มรุ่นแตกพานแก๊งค์เด็กรถ(ถีบ)ซิ่ง ประจำโรงเรียนมัธยม ก็ไม่ได้ยกเว้นที่จะเหน็บช่อดอกไม้เยินๆติดรถจักรยานไปโรงเรียนด้วยเช่นเดียวกัน
นายคู คือคุณครู ….ที่หงสา ครูบาอาจารย์ทุกท่านไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย เราจะเรียกคำนำหน้าท่านว่า “นายคู”
๗ ตุลาคมของทุกปีถือเป็น “วันครู” ประจำชาติของ สปป ลาว ที่เริ่มสสถาปนามาตั้งแต่สมัยเปลี่ยนระบอบใหม่ๆ (อันที่จริงเรื่องการไหว้ครูนี่ทั้งลาวทั้งไทยสมัยบุราณ ท่านก็มีพิธีกรรมอันศักสิทธิ์ประจำสำนักมานานเนิ่น) กลับมาที่เมืองลาว สมัยที่เป็น สปป ใหม่ๆท่านให้จัดเป็นวันครูสากล โดยยึดถือวันที่ตรงกับของสหภาพโซเวียต ต่อมาราวปี ๑๙๙๓-๙๔ ท่านจึงให้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ ๗ตุลา โดยถือเป็นการยกย่อง ท่านนายคูคำ ท่านนายคูคำท่านเป็นครูสอนหนังสืออยู่เวียงจันทน์ในสมัยที่จักรวรรดิฝรั่งเข้ามาเมืองลาว ในวันที่ ๗ตุลา ท่านนายครูคำเป็นผู้นำพาบรรดาครูลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องเอกราช ดังนั้นทาง สปป ลาวจึงกำหนดให้วันนี้เป็น “วันครู”
ชีวิตนายคูเมืองหงสา “เป็นตาน่ายกย่องชมเชย” และทำให้หวนคิดถึงคุณครูประชาบาลสมัยที่เพิ่งหัดเขียน ก.ไก่ กล่าวคือ เห็นว่าบรรดาคุณครูท่านยังมีบทบาทเป็นที่เคารพนับถือของเด็กประเภทที่ยังยกเป็น “ของสูง” ครูที่เป็นพนักงานสัญญาจ้าง มีค่าตอบแทนที่ถือว่าน้อยมาก (เมื่อเทียบกับค่าครองชีพในบ้านเรา คือประมาณ ๒-๓ พันบาทต่อเดือน) ครูต้องออกไปอยู่ตามหมู่บ้านห่างไกลเดินเท้าหลายสิบกิโล ฯลฯ แต่นายครูท่านก็ยังประกอบสัมมาชีพ อย่างสมถะ กระเตงลูกน้อยขึ้นหลังมาสอนหนังสือ กลางวันกลับไปหุงหาอาหารที่บ้าน วันหยุดไปทำไร่ไถนา น่าชมเชยท่าน”เรือจ้าง” แต่ก็อดห่วงใยไม่ได้เมื่อได้อ่านลิ้งค์ในเวปซ์ไวด์ที่อ้ายน้องส่งมาให้อ่านเกี่ยวกับนโยบายการศึกษาฯ (เซ็นเซอร์ คนนอก คนนอก คนนอก ท่องไว้)
การจัดงานวันครูเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากการซอกแซกซักถามเพื่อนพ้องน้องพี่ที่เคยเป็นนักเรียน ได้รับการถ่ายทอดว่าสมัยก่อนงานวันครูจะให้นักเรียนเอาข้าวต้มมัดมาจากบ้าน โรงเรียนเตรียมน้ำอ้อยน้ำตาล มะพร้าวไว้ให้ บางปีก็มีหมูหัน หรือวัวที่จัดเตรียมไว้ เมื่อถึงเวลานักเรียนมานั่งรวมกัน ตัวแทนนักเรียนกล่าวอวยพรครู ครูให้โอวาทพร้อมเล่าประวัติความเป็นมาของวันครู แล้วก็กินข้าวกินขนมสามัคคี สำหรับทุกวันนี้ มีความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้สองประการ คือ ๑. เรื่องการมอบของขวัญพบว่าปัจจุบันเป็นประเพณีปฏิบัติที่นักเรียนทุกคนตั้งแต่ชั้นอนุบาลขึ้นไป ต้องมีช่อดอกไม้และของขวัญมอบให้อาจารย์ แล้วยังมีของขวัญพิเศษมอบให้กับครูที่ “สอนเสริม คือ สอนพิเศษ” อีกต่างหากตามความสมัครใจ การเปลี่ยนแปลงประการที่ ๒. ได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง มีการแจกบัตรเชิญ เชิญแขกมาร่วมทานอาหาร เครื่องดื่ม เบียร์ มีดนตรีอิเลคโทน แล้วก็จัดรอบรำวง
“คนนอก” ควรมีบทบาทเยี่ยงใด? ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม คนนอกที่คุ้นเคยกับห้องการต่างๆ ต้องได้รับบัตรเชิญร่วมงานวันครูทุกปีๆละหลายโรงเรียน โดยส่วนตัวแล้วตรงไปตรงมาคือ ไม่ไป(เพราะไม่อยากเมา) ส่วนการ “ส่งบัตรเชิญ หมายถึง เอาบัตรเชิญหรือซองไปส่งคืน” ก็ใช้วิธีฝากเงินใส่ซองให้น้องๆที่ไปร่วมงานถือไปให้ หรือบางทีก็เอาเงินฝากให้น้องซื้อเบียร์ไปร่วม ๑-๒ ลัง ทำอย่างนี้อาจรอนน้ำใจกันบ้าง ความสนิทชิดเชื้ออาจไม่แนบแน่น (แต่ไม่เป็นไร จารย์เปลี่ยนไปหาพรรคในวงวัดได้) มีความคิดว่าโครงการน่าจะมีวิธีเข้าไปมีส่วนในงานวันครูได้อย่างไร หรือในรูปแบบใด นอกเหนือจากการ “ส่งบัตรเชิญ”โดยการสนับสนุนเงินในงานเลี้ยงเฉลิมฉลอง…….
เนื่องในวันครูแห่งชาติ สปป ลาว ขอฝากความคิดถึงไปยัง ครู(s)นันทวิศาลเมืองหละปูน ครูแม่ใหญ่ ครูบู๊ธ ครูออตแก่นขอน ครูพยาบาลสวนดอก ครูอาม่าอากงโคราช ครูสอนครูท่านที่ย้ายไปอยู่เมืองใต้ ครูสอนเลขจบเยอรมัน ครูแห้วเมืองกรุง ครูเหน่อเมืองเลาขวัญ ครูสุ ครูคิม ครูมิมเมืองสองแคว ครูอะไรอีกบ้างหนอ อ้อ ครูบาฯแห่งสวนป่า และบรรดาครูผู้มีพระคุณทุกๆท่านในโลกหล้า
Next : (เมื่อน้ำเป็นภัย) ได้โปรดเถิด ช่วยกัน ช่วยกัน » »
6 ความคิดเห็น
ขอบคุณที่คิดถึงกันค่ะ
เหนียมๆ เขินๆ อย่างไรไม่รู้ มายกเราเป็นครูเป็นบา อิอิ
แต่นั่นแหละ คนที่คิดดีดีกับคนอื่นๆมักได้ดีเสมอๆ
เพราะความดีนั้นเป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่ส่งผลไปถึงคนทำดี คิดดี
อิอิ ไม่ใช่ครูพูดนะ เป็นเพื่อนร่วมงานพูดน่ะ
ถ้ามีรูปมาอวดด้วยท่าจะดี
บ่ากึ๊ดเติงหาอุ้ยผ่องหล้อ…อิอิ
อ่านแล้วนึกึถงวันไหว้ครูไทยโตยค่า สมัยก่อน กำหญ้าแพรก ดอกมะเขือ ดอกเข็มใส่สวยดอกมีเทียนมีธูปปักไปโฮงเฮียน ครูอยู่หน้าห้องเฮียนใครห้องเฮียนคนนั้น..นักเรียนก่อเข้าแถวเอาดอกไปหื้อครู แล้วครูก่อลูบหน้าลูบหลังหื้อคำพร
สมัยนั้นบ่าเห็นมีห้องพักครูเลย ครูมีโต๊ะประจำหน้าห้อง ครูห่อข้าวมากินกลางวันพร้อมๆ กับดูเด็กน้อยว่ากิ๋นข้าวกลางวันกันก่อคนไหนบ่ามีของกินก่อเอาของครูมากิ๋นได้
บ่ามีพิธีอะหยังนัก
สมัยนี้นักเรียนไทยหอบตังค์ไปร้านดอกไม้สด จ่ายค่าพานดอก พานธูป แล้วทำพิธีไหว้หลอกๆ จำลอง ครูก่อมาหื้อคะแนนพานพุ่ม
บางที่เกิ้นก่อดีอยู่ เอาตุ๊เจ้ามาเทศน์ธรรมหื้อตึงนักเรียนตึงครู ..บางที่ก่อหื้อนักเรียนทำพิธี
พิธีก่อมีร้องเพลง กล่าวคำสดุดีครู มอกพอหื้อครูน้ำตาปริ จากนั้นก่อพิธีมอบรางวัลเรียนดีหื้อนักเรียน แล้วก่อแยกย้ายกันไป….คอนเวิด ทางใครทางมัน
วันหลังเตียวสวนกั๋นก่อบ่าฮู้จักกั๋นแล้ว
มีวันครูวันเดียวสองชั่วโมงในหนึ่งปีการศึกษา หุหุ
สปป ลาว คงบ่าเฮียนแบบพี่ไทยทุกเรื่องหน่อ
ช่อดอกไม้ที่ว่า เป็นช่อดอกไม้ใบโกสน หมากผู้แดงที่เก็บได้ตามบ้านครับ ไม่ได้งดงามช่อดอกไม้เมืองหนาวเหมือนที่เราเห็นในหนังในละคร
ของขวัญก็ตามกำลังทรัพย์ เช่นผ้าเช็ดหน้า สบู่ ผงซักผ้า ผ้าเบี่ยง เป็นต้น
ที่น่าชื่นชมอีกอย่างก็คือ งานพิธีและงานเลี้ยงนั้นท่านจัดก่อนวันจริงหนึ่งวัน ส่วนวันครูจริงๆคือวันที่ ๗ นายคูจะพักผ่อนอยู่บ้าน ให้ลูกศิษย์เก่าแก่ที่ระลึกถึง มาเยี่ยมคารวะ อันนี้น่ายกย่อง
มีคนกึ๊ดเติงหา ปาหื้อใจจื้นใจบาน..^^
วันนี้ฮู้สึกเหมือนแม่ก๊าถ่านหาบถ่านมาเติ้งเหยิ้ง..เติ้งเหยิ้ง..แล้วได้วางหาบลงพัก เอาหมวกวีพึบพับไล่ร้อนสักกำ
แล้วค่อยยกหาบใส่บ่า..เตียวต่อ..
ละอ่อนสอบเสร็จกันแล้ว..จะปิดเทอมกันไปสองสามอาทิตย์..
อยู่กับละอ่อนน้อย จนถึง วัยเขี้ยวแดง บางทีก็เป๋นปาก บางทีก็มีเรื่อง คะล่มโต้มต้ำไปตามประสา
ผ่อลูกเปิ้นก็ต้องระแวดระวังไปทุกเรื่อง ผิดพลาดมาได้เจ็บได้ไข้ หรือ ว่า ถ้าสดล่นหายไปแอ่วตางไดเหียคน ก็เป็นเรื่องได้ทุกเมื่อ
เขาก็น่าฮักกั๋นนาเจ้า แต่ความที่ต้องระแวดระวังละอ่อนเป็นร้อยๆ นี่ บางทีก็เหมือนแม่ค้าถ่านหาบก๋วยเนาะ ปิดเทอมกำ ก็ได้วางกำ..
วิถีคนเฮาก็เปลี่ยนไป โลกสมัยใหม่ ละอ่อนบางทีก็เหมือนถูกปล่อยปละละเลย จนบางทีครูก็ต้องสอน ต้องใส่ใจ ในเรื่องที่สมัยก่อนแทบบ่ต้องสอนเพราะเปิ้นได้ฝึกมาจากบ้านแล้ว มีซะป๊ะเรื่องที่ต้องดูแลผ่อกอยเขา..
เป็นครูนี่เนาะ ก็แบกก๋วยถ่านเตียวไปเตีอะเนาะเจ้า..เตียวไป ผ่อดอกไม้ข้างตางไปก็ยังดีก่อหา..^^