ผมจะพาชาวหงสา “ปลูกเร่ว”

โดย silt เมื่อ 28 กรกฏาคม 2011 เวลา 12:33 (เช้า) ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 5875

“กองบ้านไผ่ อยู่ในเขตเมืองจำพอน (ชุมพร) แขวงสุวรรณเขตปัจจุบัน นายกองมี บรรดาศักดิ์ว่า “หลวงสุริยวงษา” เก็บส่วยผลเร่วส่วย (หมากแหน่ง) ปีละ 10 หาบหลวง (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 33 หอสมุดแห่งชาติ) กองบ้านผึ่งแดด อยู่ในแขวงสุวรรณภูมิเขตดินแดนลาวปัจจุบัน นายกองส่วยมีนามว่า “ท้าวโพธิสาร” เก็บส่วยเป็นเงินปีละ 3 ชั่ง 10 ตำลึง ส่งเมืองมุกดาหารหรือผลเร่ว (หมากแหน่ง) หนักปีละ 14 หาบหลวง” (เครดิต http://nipapon.wordpress.com/author/nipapon/)

กำลังจะปูเข้าเรื่องหมากแหน่ง หรือเร่ว ซึ่งเป็นพืชที่คุ้นชื่อมาหลายปีดีดักตั้งแต่สมัยที่คลุกคลีกับพี่น้องชาวดงหลวง มุกดาหาร ข้อความข้างบนก็เป็นส่วนหนึ่งจากประวัติเมืองมุกดาหารครับ สมัยนั้นท่านส่งผลเร่วเป็นส่วยเข้าฉางหลวง แล้วคลังท่านก็ขายลงสำเภาไปเมืองจีนอีกต่อหนึ่ง เคยอ่านเจอว่าสมัยก่อนที่ชายฉกรรน์ต้องไปเข้ากะทำงานหลวงปีละสามเดือนหกเดือนนั้น หากใครไม่อยากไปก็ให้ส่งผลเร่วไปแทนคนละหาบ แสดงว่าเร่วหรือหมากแหน่งนี่ถือเป็นสินค้ามีค่ามาช้านาน

บริเวณสองข้างทางในแขวงหลวงน้ำทา และอุดมไช จะพบเห็นแปลงปลูกเร่วกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนใหญ่มักปลูกบริเวณหุบร่องห้วยที่มีความชื้นสูง เย็นวันที่กลับจากเมืองสิง ตามหมู่บ้านชาวกิมมุเห็นพ่อค้าชาวเมืองหลวงน้ำทามารอรับซื้อผลเร่วดิบกันหลายจุด มีผู้หญิงและเด็กๆแบกกะชุออกจากป่ามาขายกัน กิโลละ ๓๐๐๐กีบ เป็นผลเร่วที่เก็บจากในป่า รอบๆหมู่บ้านเห็นมีแปลงสวนเร่วหลายแปลง อ้ายคำออน เล่าให้ฟังว่าที่บ้านปลูกสองแปลง แปลงหนึ่งปลูกเร่วธรรมดาหรือที่เรียกกันว่าพันธุ์ปากช่อง พันธุ์นี้ปลูกในที่โล่งได้แต่ราคาขายถูก (๓๐๐๐กีบต่อกิโล) ส่วนพันธุ์กวางตุ้งที่ปลูกอีกสวนหนึ่งนั้นต้องการร่มไม้รำไรแต่ราคากิโลละ ๗๐๐๐กีบ ติดต่อขอซื้อพันธุ์ไว้ทั้งสองพันธุ์ อ้ายคำออนนัดไว้ว่าเดือนสี่ปีหน้าค่อยมาเอา เอาไปตอนนี้ปลูกไม่ทันฤดูแล้ว

ประเมินรายรับจากการปลูกเร่ว หลังจากปลูกแล้วสามารถเก็บผลได้ในปีที่ ๓ พื้นที่ปลูก ๑เฮกตาร์จะได้ผลเร่ว ๑ตันครึ่ง หากขายผลเร่วดิบจะได้เงินราว ๑๐ล้านกีบถ้าเป็นพันธุ์กวางตุ้ง เอามาปลูกแซมป่าไม้ไผ่ก็น่าสนใจ คิดว่าน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับพี่น้องชาวกิมมุบ้านนาหนองคำ กับนาไม้ยม ที่ปฏิเสธบ่มักสวนยางเพราะ    ”บ่อยากตื่นแต่เดิกไปปาดยาง” เดินเลาะเล่นในเมืองหลวงน้ำทาเห็นสาวแก่แม่บ้านนั่งแกะผลเร่วตากแดดกันหลายบ้าน เป็นครอบครัวของพ่อค้าที่ไปรับซื้อผลดิบจากชาวกิมมุนั่นเอง เพิ่นเล่าว่าพอแกะเปลือกตากแห้งแล้วขายส่งพ่อค้าจีนกิโลละ ๕๐พันกีบ(๒๐๐บาท) เลยคิดต่อว่าหากเราขายแบบแห้งพี่น้องก็น่าจะมีรายได้สูงขึ้นอีก ท่องเน็ตดูข้อมูลการปลูกเร่วบ้านเราเห็นมีการทำผลิตภัณฑ์ เร่วผง น้ำมันหอม เจลล้างมือด้วย นี่ก็น่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้

ฝันเข้าไป….ลุงเปลี่ยน

« « Prev : คาสิโน no more

Next : ว่าด้วยเรื่องจรรยาบรรณ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 กรกฏาคม 2011 เวลา 1:07 (เช้า)

    ผมเชื่อว่า เร่ว กับ กระวาน เป็นพี่น้องกัน ต่างกันอย่างไรก็น่าศึกษาดู

    ทั้งสองสกุล เท่าที่ผมสังเกตคือ ชอบขึ้นในที่ชื้น ริมน้ำ ใต้ร่มเงา

    มีมากที่วน.เขาสอยดาว และเขาใหญ่ ริมธานน้ำไหลจากน้ำตก แสดงว่าชอยที่สูง อากาศเย็น สมัยหนุ่มๆผมไปเห็นมาทั้งสองที่

    ผมคิดมานานว่าถ้าผมทำสวนป่า ผมจะปลูกไม้รำไรใต้ต้นไม้ใหญ่ โดยต้นไม้ใหญ่ใบต้องโปร่งให้แดดส่องถึงด้วย

    น่าสังเกตว่าพืชฉ่ำน้ำพวกนี้ ขิง ข่า เร่ว กระวาน ดาหรา ชอบแดดรำไร ริมน้ำทั้งสิ้น มันเป็นจริต ที่เราต้องเรียนรู้เพื่อความอยู่รอด

    ถ้าเราทำนา อีสาน อากาศเย็น แล้วเอาไม้ใหญ่ใบโปร่งไปปลูกริมคันนา เช่น เลี่ยน(ไม้โตเร็วมาก ใบโปร่งมาก ที่โลกลืม ที่ชอบริมน้ำ) ส่วนริมต้นก็เอาไม้ที่ชอบแดดรำไร และริมน้ำไปปลูก เช่น เร่ว กระวาน ผักหวานบ้าน และ ฯลฯ

    ก็คงไม่ต้องไปรับจ้างกาบัตรเลือกตั้งแบบวันนี้ แล้วมาทำทีว่าเป็นเจ้าของประเทศ (too late wa)

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 กรกฏาคม 2011 เวลา 4:06 (เช้า)

    ขอพันธุ์แร่วสายพันธุ์กวงตุ้ง นำเน่ จะทดลองปลูกในป่าไผ่
    ถ้าจะปลูกพืชร่มเงา แถวต้นไม้ควรจะห่างออกไปบ้าง เพื่อให้มีแสงรำไร แต่เรื่องนี้ชวนใครๆยาก อยากแต่จะปลูกชิดๆมากๆต้น โดยไม่ศึกษาอาการต้นไม้

    การแสวงหาพืชมาปลูกร่วมควรต้องเสาะหาต่อไป ไปจีนคราวนี้เห็นเขาปลูก”โลติ้น” กันเป็นกอบเป็นกำ อายุเก็บ 3 ปี นานพอๆกับเร่ว พาพันธุ์โลติ๊นในบ้านเราได้น้อย อาจจะต้องสั่งจากจีนมาทดลองสักรถ 10 ล้อ ถ้าที่ลาวมีลองขยายพันธุ์ไว้บ้างเด้ออ้าย อิ

  • #3 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 กรกฏาคม 2011 เวลา 9:16 (เย็น)

    เปลี่ยน เคยทราบว่ากรมวิชาการเกษตรทดลองปลูกเร่วตรงระหว่างแถวยางพาราที่จันทบุรี น่าสนใจนะได้ยางและได้เร่ว อย่าลืมเร่วหอมด้วยนะที่หอมทั้งหมดตั้งแต่ใบจนถึงราก หมอธีระบ้านโพนสว่างปลูก พ่อไอ้สยามก็เคยตัดมาจากป่าเอามาตากแห้งส่งพ่อค้าไปทำอบสปาในเมืองกรุง เคยเอาให้ผ้าจุ๋มไปปลูก ที่บ้านขอนแก่นก็ปลูกใต้ต้นมะม่วง เร่วหอมก็น่าสนใจ ผลเร่วน่าที่จะส่งไปให้คณะเภสัชกรรมวิเคราะห์ตัวยาเพิ่มเติมว่า เร่วที่นั่นกับเร่วไทยมีคุณสมบัติต่างกันมากแค่ไหน..


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.082458019256592 sec
Sidebar: 0.057676076889038 sec