ขำ ขำ จากหงสา
ท่านนคร (หัวหน้างานชาวหลวงพระบาง) โทรศัพท์หาเพื่อนร่วมงาน ” ท่านอยู่ไส”
ท่านประณต (หัวหน้างานชาวบางกอก) “ผมรออยู่ที่บ้านทำอิฐ”
ท่านนคร “บ้านทำอิด…แม่นบ้านหานนี่บ่” (บ้านหานเป็นหมู่บ้านแรกที่ออกจากแคมป์ไปก็เจอ)
ท่านประณต “ปล่าวครับท่าน ผมรออยู่ที่บ้านทำอิฐ”
ท่านนคร “ฮ่วยกะบ้านทำอิดกะแม่นบ้านหานนี่ล่ะหวา” (คำลาว บ้าน คือหมู่บ้าน ทำอิด แปลว่า อันแรก ครั้งทำอิด แปลว่าครั้งแรก)
ท่านประณต “ผมรอท่านอยู่ที่เรือนท้าวไซพอนที่มีเตาเผาอิฐ ที่เราจะไปจ่ายเงินเขาไงครับท่าน”
ตะแลม ๆ ๆ ๆ
อาจานเปลี่ยน “คำหมั้นคาบนี้เอื้อยเลี้ยง(แม่ครัว)เฮดหยังให้กิ๋น”
คำหมั้น “คั่วหมูกะทิอาจาน” อ้อ พะแนงหมู
มื้อต่อมา “แกงผักบุ้งกะทิอาจาน” อ้อ…แกงเทโพ
มื้อต่อมา “คั่วเฝอยองหน้าด้วยคั่วผักกาดอาจาน” อ้อ..วันนี้มีก๋วยเตี๋ยวราดหน้า
มื้อต่อมา “มื้อนี้น้องห่อข้าวเหนียวแจ่วบ่ะกอกกับซิ้นหลอด(เนื้อแดดเดียว)มากินอาจาน บ่กินมันแล้วข้าวฟรีอยู่นี่กินบ่แซปห่อมากินเองดีกว่า”
ตะแลมๆ ๆ ๆ
ขำขันสองเรื่องนี้สอนว่า “อย่าคิดว่าเหมือนกัน อย่าคิดว่าพูดภาษาเดียวกัน แต่ในความเหมือนมีความต่าง” คริ คริ
Next : ใช่ว่าอยากให้อะไรแล้วจะได้ให้ (บันทึกจากหมอจำเป็น) » »
3 ความคิดเห็น
เล่าที่หงสา ไหงมาขำที่พิดโลก ก๊ากส์ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
อ่านแล้วอมยิ้มค่ะ น่ารักและทำให้ได้คิดว่าอย่าเพิ่งตัดสินด้วยความเห็นของเราเอง
เรื่องอาหารนี่ก็เหมือนกันค่ะพี่เปลี่ยน เวลารพ.ทำเมนูก็ต้องดูก่อนว่าส่วนมากคนไข้ของรพ.เป็นกลุ่มไหนและเค้ากินอะไร อาหารคนไข้จึงมีบางวันเป็นข้าวเหนียว + อาหารเมือง ^ ^
หากท่านประณตต้องการให้ท่านนครเข้าใจชัดแจ้งต้องเว้าเป็นคำลาวว่า
“น้อง ถ้า(รอ)อ้ายอยู่เรือนเผาดินจี่ เจ้า”
คนลาวไม่ชอบแกงกะทิครับ แต่คนไทยชอบ แม่ครัวต้องตามใจคนไทยครับ(เพราะเป็นเจ้านาย อิ อิ)
โครงการเลี้ยงข้าวกลางวันพนักงานด้วยครับ แต่ลุงเปลี่ยนเป็นที่ปรึกษาบ่แม่นพนักงาน จึงไม่มีอัตตากิน ถึงให้กินก็คงไปกินกับเขาไม่อร่อยเพราะตัวเองเป็นพวกกินผักงดเนื้อ เลยห่อข้าวมากินเอง
ยกเว้นวันไหนโรงครัวมีขนมหวาน ลอดช่องน้ำกะทิ สาคู กล้วยบวด รวมมิตร น้องๆทุกคนต่างถือถ้วยของหวานมา”ใส่บาตร”อาจานเปลี่ยนไม่ตำกว่าสี่ถ้วย แถมแม่ครัวยังแอบตักมาให้ก่อนเพื่อนอีกชามบักเอ้ก
จานเปลี่ยนกลัวเสียน้ำใจ เลยจัดการซะเรียบ…คริ คริ