จี๋กุ๊ก

โดย silt เมื่อ 12 สิงหาคม 2010 เวลา 4:46 (เย็น) ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 9771

ดอกจี๋กุ๊ก ที่ตลาดเช้าหลวงน้ำทา

เห็นกองๆสีแดงๆในภาพนั่นแหละครับ จี๋กุ๊กที่จะเขียนถึงในบันทึกนี้

ไม่ใช่กุ๊กทำอาหาร ไม่ใช่ครูกุ๊กพระเอกในละครทีวีขวัญใจสาวๆ แต่เป็นต้นกุ๊กที่เป็นพืชชนิดหนึ่ง ต้นกุ๊กเป็นพืชหัวในตระกูลข่า นั่นคือส่วนที่เป็นลำต้นของกุ๊กคือส่วนที่มีหัวอยู่ใต้ดิน ผมรู้จักต้นกุ๊กเพียงผิวเผิน จำได้ว่าแม่ปลูกไว้ข้างรั้วใกล้ๆกับกอข่า กอไพล(ปูเลย) กอขมิ้น(เข้าหมิ้น)

ไม่ทราบว่าภาษากลางเรียกว่าต้นอะไร แต่สอบเทียบกับคำลาวที่หงสา และคำยวนบ้านนาสีนวนแขวงไชยะบุรี ก็เรียกว่า ต้นกุ๊ก ต้นหมากตำกุ๊ก คล้ายๆกับคนยวนเจียงใหม่ และชาวกาวเมืองน่านก็เรียก กุ๊กเหมือนกัน

จี๋กุ๊ก คือดอกอ่อนของต้นกุ๊ก จี๋แปลว่าอ่อนๆ เช่นสาวจี๋แปลว่าสาวน้อย จี๋กุ๊กหรือดอกกุ๊กไม่ได้เกิดตรงใบตรงยอดแต่จะแตกออกมาจากเหง้าหรือหัวที่อยู่ใต้ดิน ที่เห็นในภาพเป็นดอกอ่อนคือดอกจี๋ ใช้กินเป็นเครื่องเคียงเป็นผักกินคู่กับยำหน่อไม้ไร่ หรือแกงใส่หน่อไม้ ผมเคยเห็นแม่โยนจี๋กุ๊กหมกในขี้เถ้าร้อนๆให้พอสุก จะช่วยให้หอมนุ่มมากขึ้น น้ำมันในดอกกุ๊กมีกลิ่นหอมทำนองเดียวกับว่านไพล มีสรรพคุณช่วยไล่ลมแก้ท้องอืด

ส่วนอ้ายทองแหลง เพื่อนร่วมงานชาวไชยะบุรี ยืนยันว่า จากดอกอ่อนเป็นดอกแก่แล้วจะกลายเป็นหมาก(คือผล) เวลาสุกเด็กๆ(รุ่นก่อน)ชอบเอามาแกะกินเล่นมีรดชาดหอมหวานดี

ทุกวันนี้ต้นกุ๊กได้หายไปจากแม่แตง หรือแม้กระทั่งที่ไชยะบุรีก็หาไม่ค่อยเห็นแล้ว รูปที่เห็นผมไปเจอในตลาดเช้าหลวงน้ำทาเมื่อปีกลายครับ

เสียดายที่สมุนไพรมีคุณค่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนรุ่นเก่า ที่ท่านรู้จักกินอาหารสมุนไพร ที่มีประโยชน์ ที่มีสรรพคุณแก้พิษกัน จะหายสาบสูญไปกับวันเวลา ต่อไปเด็กๆรุ่นหลังคงจะไม่รู้จัก

เห็นรูปดอกจี๋กุ๊กแล้วคิดถึงยำหน่อไม้ไร่ที่แม่บรรจงใช้ขนเม่นจักหน่อให้นุ่ม ใส่ใบขิงอ่อน ใส่น้ำปู๋ แล้วก็กินกับจี๋กุ๊กหมกขี้เถ้าด้วยครับ

« « Prev : ข้าวแคบ

Next : หมากคิ้ง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

5 ความคิดเห็น

  • #1 freemind ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 สิงหาคม 2010 เวลา 5:21 (เย็น)

    จี๋กุ๊ก คงเป็นพืชตระกูลข่าดังที่ว่าค่ะ
    ยังไม่เคยได้ทาน แต่น่าจะอร่อย ยิ่งทานกับน้ำปู๋…สุดยอดเลย
    หิว ๆ แล้ว

  • #2 ป้าจุ๋ม ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 สิงหาคม 2010 เวลา 9:46 (เย็น)

    เห็นแล้วน้ำลายสอเลยค่ะ…ทำให้ป้าจุ๋มคิดถึงแม่เช่นกัน ป้าจุ๋มเคยกินตอนเด็กๆ นำมาต้มหรือย่างจิ้มน้ำพริกปลาย่าง(ใช้ปลาช่อนที่ย่างเองจนกรอบหอม คั่วพริกแห้ง หอม กระเทียม โขลกรวมกัน น้ำกระทิใส่ปลาร้าเล็กน้อยต้มกับใบมะกรูดและใบหม่อนด้วย แล้วนำมาต้มละลายส่วนผสมที่โขลกไว้…จิ้มกับผักจี๋กุ๊กย่างหรือต้มก็ได้ อร่อยอย่าบอกใคร เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม…กลิ่นหอมชื่นใจค่ะ อร่อยด้วยค่ะ
    คุณแม่บอกว่าช่วยขับลม แก้ท้องอืดเช่นกันค่ะ…คนแก่ชอบกิน…ป้าจุ๋มก็ชอบกินตั้งแต่เด็กๆเลยค่ะ(อย่างนี้เรียกว่าเด็กแก่แดด…อิอิ)

  • #3 dd_l ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 สิงหาคม 2010 เวลา 6:44 (เย็น)

    อยากรู้เหมือนกันว่าคนทางภาคกลางเรียกว่าอะหยังเนาะเจ้า ดูเหมือนว่า น้องบ่าวอ้ายเปลี่ยน(คนเฒ่าน้อยนะ) มีต้นอยู่ต้นหนึ่งเจ้า เป๋นดีใค่ไปแอ่วกาดบ้านเปิ้นเนาะ..^^

  • #4 silt ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 สิงหาคม 2010 เวลา 9:16 (เย็น)

    #1จนด้วยเกล้าครับว่า ภาษากลางเรียกว่าต้นอะไร เมื่อคืนท่องโลกเน็ตจนถึงห้าทุ่มจนไฟฟ้าดับก็ไม่เจอ แต่รับประกันความอร่อยได้จากเม้นท์ของป้าจุ๋มครับ
    บางเจ้าที่เจอในเน็ต ท่านว่า กุ๊ก คือ กะทือป่า แต่ดูรูปแล้วไม่น่าจะใช่ ดอกไม่เหมือนกันครับ
    ทีนี้ก็มางงต่อว่า เจ้ากะทือนี่ คำเมืองเรียกอะไร เหมือนเคยเห็นที่บ้านแม่ปลูกไว้กอหนึ่ง เหมือนกัน เก็บความสงสัยไว้เสาะหาคำตอบต่อครับ
    #2ป้าจุ๋มครับ ที่บ้านป้าจุ๋มก็เรียกกุ๊กเหมือนกันหรือเปล่าครับ น้ำพริกปลาย่างสูตรเด็ดของคุณแม่ต้องยืมไปเผยแพร่ซะแล้ว
    #3 แล้วคนเฒ่าหน้อยเปิ้นว่าต้นหยังน้อ เมื่อคืนค้นเน็ตเจอเวปของกิ๋นคนเมือง เปิ้นเอาจี๋กุ๊กใส่แกงผักป้อค้าตีเมีย เป็นดีใค่อยากแต้ว่าครับ

  • #5 krupu ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 สิงหาคม 2010 เวลา 10:49 (เย็น)

    มาแอบดู ปี้ครูอึ่งกะอ้ายเปลี่ยนอู้กำเมืองกันหน่ะเจ้า แต่อี่น้องเริ่มมึนที่อันนี้หน่ะเจ้า

    “เป๋นดีใค่ไปแอ่วกาดบ้านเปิ้นเนาะ”

    นึกถึงเพลงผักกาดจอเลยค่ะ “กึ๊ดไปเป๋นดีใคร่หุย กินยาหมูตุ้ยกับผักกาดจอ”

    ยังคงมั่วคำเมืองวันละคำอยู่เน่อ อิอิอิ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.14289689064026 sec
Sidebar: 0.026409149169922 sec