สะอึก

3 ความคิดเห็น โดย putarn เมื่อ 20 มีนาคม 2012 เวลา 3:11 (เย็น) ในหมวดหมู่ เล่าสู่กันฟัง #
อ่าน: 1782

วันนี้ได้พบอาจารย์สาวโสดจากเวียดนามอีกครั้ง

ดูเหมือนเรากำลังจะทำสถิติพบกันปีละครั้งอย่างไรพิกลอยูู่

อาจารย์ท่านนี้มีความขยันหมั่นเพียรมากกกกกก… มากกว่าปกติของคนทั่วไป มาก

ปีก่อนอาจารย์ค่อยๆเล่าว่าทำไมจึงอดทนทำงานสอนในมหาวิทยาลัยไปด้วยและเรียนไปด้วย

อาจารย์อพยพตัวเองมาจากเวียดนามอย่างกล้าบ้าบิ่น

อาศัยที่เป็นคนหัวดีในแถบบ้านชนบท

สู้อดทนสอบจนได้ทุนเรียนฟรีจากมหาวิทยาลัยจนถึงขั้นปริญญาเอก

เรียนก็หนักอยู่แล้ว แต่อาจารย์ยังรับทำงานพิเศษคือเป็นติวเตอร์ให้กับนักศึกษาในภาควิชาเดียวกันอีก
และไม่ใช่เพียงวิชาเดียว… แต่ตั้งหลายวิชาในหนึ่งเทอม

ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าทุนที่ได้รับไม่พอ

หากแต่ที่บ้านอาจารย์ยังมีพ่อแม่พี่น้องอีกสิบกว่าชีวิตที่แทบจะไม่มีอะไรกิน

รายได้พิเศษของอาจารย์จึงเป็นความหวัง… เป็นรายได้ของครอบครัวที่เวียดนาม

และเมื่อปีที่แล้วอาจารย์ก็เพิ่งเข็นตัวเองสำเร็จปริญญาเอกจนได้ พร้อมกันก็ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยทันที

อาจารย์ดีใจสุดๆเพราะนั่นหมายถึงรายได้เป็นกอบเป็นกำมากกว่าเงินทุนบวกค่าแรงติวเตอร์ที่เคยได้รับ

และมองเห็นรำไรว่าทุกชีวิตในครอบครัวที่เวียดนามจะมีความเป็นอยู่สะดวกสบายเสียที

อาจารย์ไม่ยอมแต่งงานเพราะไม่ต้องการภาระหรือเป็นภาระของใคร… ไม่ยอมแม้กระทั่งจะให้โอกาสใครรวมถึงตัวอาจารย์เอง

แต่แล้ว…

มาปีนี้ อาจารย์กลับบอกว่า ตอนนี้ต้องประหยัดกว่าเมื่อก่อนอีก

รายได้เงินทองที่มีไม่กล้าใช้… ตัวเองไม่สบาย ไม่เป็นไร… ทน และไม่รักษา!

..ก็อดไม่ได้อีกที่จะต้องถามว่า ทำไม?

อาจารย์บอกว่า เพราะตอนนี้แม่กำลังเป็นอัมพาตครึ่งตัว พ่อก็เพิ่งตรวจพบมะเร็งถึงสองแห่ง

ข้าพเจ้า ฟังแล้วสะอึก… สะท้อนใจว่าทำไมชีวิตของอาจารย์ท่านนี้จึงเป็นเช่นนี้


พระพุทธเจ้า

2 ความคิดเห็น โดย putarn เมื่อ 7 มีนาคม 2012 เวลา 12:07 (เย็น) ในหมวดหมู่ เนื่องมาจากการอ่าน, เล่าสู่กันฟัง #
อ่าน: 2121
Photobucket
บุพกรรมของพระพุทธองค์ครั้งยังดำรงอยู่ในอัตภาพของพระโพธิสัตว์ (ขุททกนิกาย อปทาน พุทธาปาทาน) อันเป็นสาเหตุทำให้ต้องทรงใช้ระยะเวลานานกว่าจะบรรลุพระอรหันตสัมมาสัมโพธิญาณได้นั้นกล่าวไว้ดังนี้
ในสมัยพระกัสสปะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ชื่อโชติปาละ ไม่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา ทราบว่าพระกัสสปะทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กล่าวว่าการตรัสรู้ของสมณะโล้นจักมีมาแต่ที่ไหน
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ต้องเสวยทุกข์ในอบายเป็นเวลานาน แม้ในภพสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้ ด้วยเศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ พระองค์ยังต้องหลงเดินทางผิด บำเพ็ญทุกรกิริยาทรมานพระองค์เองด้วยวิธีต่างๆ อันเป็นวัตรของเดียรถีย์ มีการอดอาหารเป็นต้น จนสรีระผอมเหลือแต่กระดูก ได้รับทุกขเวทนาอันเกิดจากความเพียรเป็นเวลานานถึง ๖ ปี กว่าจะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ
(จากหนังสือ พระพุทธประวัติ ของสุรีย์ มีผลกิจ และวิเชียร มีผลกิจ)
~~
คำเรียก พระพุทธเจ้า นั้นก็ด้วยเหตุที่ท่านเป็นเจ้า เป็นผู้นำ เป็นหัวหน้าของพระ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ พระที่เป็นเจ้า เป็นขัตติยวงศ์
ในระยะอันใกล้ที่ได้ล่วงมาแล้วได้มีพระพุทธเจ้าตรัสรู้มา ๒๕ พระองค์ ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งอายุ ความสูง ตระกูล ปธาน (ระยะเวลาบำเพ็ญเพียร) รัศมี ยานพาหนะที่ใช้ออกผนวช ต้นไม้ตรัสรู้ และบัลลังก์ (มาในมธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาขุททนิกาย พุทธวงศ์)
Photobucket
และแท้จริงแล้วพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ล่วงมาแล้วมีเป็นจำนวนหลายหมื่นหลายแสนพระองค์โดยไม่นับพระปัจเจกพระพุทธเจ้าและเหล่าพระพุทธสาวก และยังมีที่จะตรัสรู้ในระยะเวลาอันใกล้นี้อีก ๑๐ พระองค์ด้วยกัน
ถ้าจะกล่าวถึงประเภทของพระพุทธเจ้า ท่านได้จัดไว้เป็นสามประเภท คือ ปัญญาธิกะ สัทธาธิกะ และวิริยาธิกะ
ในบทเจริญพระพุทธมนต์ก็มีการกล่าวถึงเช่นกัน ดังที่ปรากฏในบทสัมพุทเธ มีเนื้อหาว่า
สมฺพุทฺเธ อฏฺฐวีสญฺจ ทฺวาทสญฺจ สหสฺสเก
ปญฺจสตสหสสานิ นมามิ สิรสา อหํ
เตสํ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ อาทเรน นมามิหํ
นมการานุภาเวน หนฺตฺวา สพฺเพ อุปทฺทฺเว
อเนกา อนฺตรายาปิ วินสฺสนฺตุ อเสสโต ฯ
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมธรรม และพระสงฆ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยความเคารพ
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม ขอจงขจัดอุปัทวะทั้งปวง อันตรายทั้งหลาย จงพินาศไปโดยไม่มีส่วนเหลือ
*ในบทแรกนี้จะหมายถึง พระพุทธเจ้าประเภทปัญญาธิกะ คือ พระพุทธเจ้าที่ใช้ปัญญาเป็นตัวนำในการสร้างบุญบารมีและบำเพ็ญเพียรเพื่อให้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
สมฺพุทฺเธ ปญฺจปญฺญาสญฺจ จตุวีสติสหสฺสเก
ทสสตสหสฺสานิ นมามิ สิรสา อหํ
เตสํ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ อาทเรน นมามิหํ
นมการานุภาเวน หนฺตฺวา สพฺเพ อุปทฺทฺเว
อเนกา อนฺตรายาปิ วินสฺสนฺตุ อเสสโต ฯ
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๑,๒๔,๐๕๕ พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมธรรม และพระสงฆ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยความเคารพ
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม ขอจงขจัดอุปัทวะทั้งปวง อันตรายทั้งหลาย จงพินาศไปโดยไม่มีส่วนเหลือ
*ในบทที่สองนี้จะหมายถึงพระพุทธเจ้าประเภทสัทธาธิกะ คือ พระพุทธเจ้าที่ใช้ศรัทธาเป็นตัวนำในการสร้างบุญบารมีและบำเพ็ญเพียรเพื่อให้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
สมฺพุทฺเธ นวุตฺตรสเต อฏฺฐจตฺตาฬีสสหสฺสเก
วีสติสตสหสฺสานิ นมามิ สิรสา อหํ
เตสํ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ อาทเรน นมามิหํ
นมการานุภาเวน หนฺตฺวา สพฺเพ อุปทฺทฺเว
อเนกา อนฺตรายาปิ วินสฺสนฺตุ อเสสโต ฯ
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๒,๗๔๘,๑๐๙ พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมธรรม และพระสงฆ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยความเคารพ
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม ขอจงขจัดอุปัทวะทั้งปวง อันตรายทั้งหลาย จงพินาศไปโดยไม่มีส่วนเหลือ
*ในบทสุดท้ายนี้จะหมายถึงพระพุทธเจ้าประเภทวีริยาธิกะ คือ พระพุทธเจ้าที่ใช้วิริยะ ความเพียร เป็นตัวนำในการสร้างบุญบารมีและบำเพ็ญเพียรเพื่อให้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
จากบทเจริญพุทธมนต์ดังกล่าวสรุปได้ว่า
ในอดีตกาลอันยาวนานมา พระพุทธเจ้าที่ใช้วิริยะความเพียรเป็นตัวนำในการบำเพ็ญเพียรจนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมมาพุทธเจ้า มีมากกว่า พระพุทธเจ้าที่ใช้ความศรัทธา ความเชื่อมั่นเป็นตัวนำสองเท่า และมากกว่า พระพุทธเจ้าที่ใช้ปัญญาเป็นตัวนำสี่เท่า
*** กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระมหาวิเศษ ปญฺญาชิโร (ผศ.) ปธ.๙, ศษ.บ, ศน.ม. ***


พระอัจฉริยภาพเจ้าฟ้าหญิงน้อย

107 ความคิดเห็น โดย putarn เมื่อ 19 สิงหาคม 2011 เวลา 7:48 (เย็น) ในหมวดหมู่ เล่าสู่กันฟัง #
อ่าน: 2054

 

 

คงเป็นตัวการ์ตูนต่างๆและตุ๊กตุ่นตุ๊กตาที่ล้อมรอบตัว ทำให้สนใจสิงสาราสัตว์ รวมทั้งชีวิตยามเด็กที่มีโอกาสอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ วังสวนจิตรลดาฯกว้างถึง ๑ ตารางกิโลเมตร ไม่ได้เต็มไปด้วยผู้คนและอาคารเหมือนทุกวันนี้ แต่เป็นที่ที่มีต้นไม้สมบูรณ์ มีอีกามาก(ยังมากมาจนถึงทุกวันนี้) ข้าพเจ้าพายเรือไปไหนๆตามคลองกับเด็กๆเพื่อนเล่นได้โดยอิสระ ยิ่งเวลาไปอยู่เชียงใหม่ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ล้อมรอบด้วยป่า เป็นแหล่งสร้างจินตนาการ เมฆหมอกที่ปกคลุม ต้นไม้ใหญ่ๆ น้ำตก นกหลากสี รวมทั้งผีเสื้อ ตัวแมลงแปลกๆรูปร่างเหมือนกิ่งไม้ ใบไม้ บางตัวก็มี “ตาดุ” เหมือนตาผีคอยจ้องเรา

ตอนนั้นข้าพเจ้าป่วยบ่อยไปหน่อย เลยต้องอยู่นิ่งๆ อันเป็นผลให้ได้อ่านหนังสือเยอะแยะเท่าที่จะมีได้ในตอนนั้น รวมทั้งหนังสือเกี่ยวกับป่าซึ่งคุณหมอบุญส่งแต่ง เล่มที่ชอบที่สุดเห็นจะเป็นเรื่อง “ชีวิตของฉัน-ลูกกระทิง” เป็นเรื่องของลูกกระทิงตัวน้อยๆที่เที่ยวไปในป่า เที่ยวคุยกับสัตว์ต่างๆชนิดที่อยู่ในป่านั้น ทำให้รู้วิถีชีวิตของสัตว์เหล่านั้น บางอย่างก็อ่านไม่เข้าใจ เพราะข้าพเจ้าอายุแค่แปดขวบ

เผอิญเกิดไปเจอคุณหมอบุญส่งเข้าที่โรงเรียนจิตรลดา คุณหมอจะไปทำไมที่นั่น ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้แล้ว ก็เลยไปถามที่ไม่เข้าใจ คุณหมอบุญส่งชอบใจมาก ก็เลยรับที่จะพาข้าพเจ้าดูนกในสวนจิตรฯนั่นเอง วิธีการดูคือใช้กล้องสองตาส่องดูตามต้นไม้ เห็นนกอะไรก็ดูเทียบกับหนังสือนก เราก็จะทราบชื่อสามัญของนก ชื่อวิทยาศาสตร์ ข้อมูลเกี่ยวกับนกชนิดนั้น และจะจดเอาไว้ว่าวันที่ดูนกเป็นวันที่และเวลาใด ที่ไหน ลักษณะของสถานที่ บางที่ก็จะถ่ายภาพนกเอาไว้ เช่นรูปนกฮูก น่าเสียดายที่ข้าพเจ้าหาที่จดเอาไว้ไม่พบเลย ที่สวนจิตรฯมีต้นไม้มาก น่าจะมีนกมาก แต่ก็ไม่มีมากเท่าที่ควร เพราะว่ามีอีกาแยะ คอยรังแกนกเล็กๆ

เวลาไปเชียงใหม่ คุณหมอบุญส่งไปด้วยเป็นบางครั้ง และพาดูนกบริเวณพระตำหนักภูพิงค์ฯ คุณหมอแนะนำให้ข้าพเจ้ารู้จักคุณกิตติ ทองลงยา นักวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ตอนนั้นดูเหมือนจะเรียกว่าสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์) คุณกิตติท่านนี้เป็นคนพบ “นกเจ้าฟ้าสิรินธร” ที่บึงบอระเพ็ดและตั้งชื่อนกตามชื่อข้าพเจ้า เจอค้างคาวที่เล็กที่สุดในโลกที่เรียกว่า “ค้างคาวกิตติ” และเจอตัวอะไรต่างๆอีกหลายอย่าง ตอนนั้นคุณกิตติกางเต็นท์อยู่แถวๆดอยปุย เช้าขึ้นพวกเราเด็กๆก็ไปหาคุณกิตติ ที่ข้างเต้นท์มีตาข่าย ทุกวันมีนกมาติดตาข่าย เขาจะแกะนกจากตาข่ายมาดู ทำบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับนก ใส่ห่วงที่ข้อเท้านกเพื่อศึกษาว่านกไปไหนบ้าง ข้าพเจ้าชอบไปช่วย(ยุ่ง)

คุณหมอบุญส่งมีนกชนิดต่างๆที่สตั๊ฟฟ์ไว้มาก ก็ได้เอามาศึกษาดูด้วย

เมื่อวันก่อนจะทูลลากลับจากเชียงใหม่ สมเด็จแม่ประทับทรงงานอยู่ มองออกไปข้างนอกเห็นนกตัวเล็กๆสีแดงและสีเหลืองเกาะอยู่ที่ต้นสน ข้าพเจ้าก็เลยกราบทูลว่านี้คงเป็นนกพญาไฟ ตัวผู้สีแดง ตัวเมียและลูกนกสีเหลือง(แต่ก่อนเคยเห็นมันบินเป็นฝูงใหญ่มาบ่อยๆ) ความรู้เก่าไม่ทราบว่าผิดหรือถูก ที่สวนจิตรฯมีนกขมิ้น(ไม่เห็นตั้งนานแล้ว) ตัวผู้สีเหลืองอ่อน ตัวเมียสีออกเขียว

นอกจากนกแล้ว คุณหมอบุญส่งก็ยังสอนเรื่องสัตว์อื่นๆด้วย แถมเอาตัวจริงๆมาให้ดู เช่นตัวหมาหริ่ง บอกว่าจะให้ขอยืมเอาไว้เล่นสักสองสามวัน เล่นเอาพี่เลี้ยงร้องเสียงหลงไม่ให้เลี้ยง หรือบอกว่าให้ดูค้างคาวบินไปมาน่ารัก มีหนังสือให้ด้วยทั้งสมุดระบายสีสำหรับเด็ก หนังสือเรื่องสัตว์ส่วนมากเป็นหนังสือฝรั่ง หนังสือที่คุณหมอแต่งเอง ส่วนมากจะเซ็นให้ด้วย ยังอยู่ในห้องหนังสือข้าพเจ้าทุกวันนี้

ตอนอยู่ป.๔ ข้าพเจ้าหัดแต่งกลอนกับครูกำชัย แต่งแล้วเอามาอวดคุณหมอ ได้รับคำชมว่าแต่งยังกับเจ้าฟ้ากุ้ง ข้าพเจ้าไม่ทราบหรอกว่าเจ้าฟ้ากุ้งแต่งอย่างไร คุณหมอก็ชมไปอย่างนั้นเอง

เหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือตอนอยู่ป.๔ นี่เอง ที่นักเรียนชั้นพี่หญิง(อยู่ม.ศ.๑) ชั้นพี่ชาย(ป.๗) และชั้นข้าพเจ้าได้ไปเที่ยว(ทัศนศึกษา)น้ำตกสามหลั่นที่สระบุรี ข้าพเจ้ารีบไปจองเป้ ซึ่งโตกว่าที่เขาให้เด็กใช้(เพราะอยากใส่ขนมมากๆ) มีกระติกน้ำ ในกระเป๋ามีขนมเต็มไปหมด มีสมุดที่ครูบอกให้ไปจดความรู้ต่างๆ

จำได้แต่ว่ามีน้ำตกอยู่ใกล้ๆกันหลายแห่ง มีหินดาด โตนเกือกม้า โตนอะไรอีกอย่าง(จะชื่อต้นไทรหรือรากไทรอะไรก็จำไม่ถนัดแล้ว) ที่จำอะไรไม่ค่อยได้เห็นจะเป็นเพราะข้าพเจ้าไม่ฟังใครเลย(แต่ก็ยังจำได้ว่าครูกำชัยเป็นลม ต้องขี่คอครูสำเริงไป และครูโยมูระไล่ตักผีเสื้อ) มิไยคุณหมอบุญส่งพยายามอธิบายต้นไม้ข้างทางว่า “นี่เรียกว่ากูดงอดแงดพะยะค่ะ” แล้วต่อว่า “อ้าว! ไปไหนแล้ว…”(ตรงนี้ข้าพเจ้าไม่ทราบ เพราะวิ่งไปแล้ว ผู้ใหญ่เล่าข้าพเจ้าดูแต่กูดงอดแงด เมื่อดูเห็นแล้วก็วิ่งต่อไปเลย)

ตอนที่น้ำหมด จะเอาน้ำในน้ำตกมาดื่มก็ไม่ได้ เพราะน้ำไหลผ่านหินปูน ขุ่นขาว คิดกันว่าต้องไปเอาที่ต้นน้ำ ข้าพเจ้าก็ปีนขึ้นไปกับเด็กผู้ชาย(ที่โตกว่า) ต้องมีผู้ใหญ่ขึ้นไปตามวุ่นวายไปหมด ตกน้ำตกท่าเปียกไปหมด

ขากลับหมดแรง นอนหลับหนุนตักครูสุนามันตลอดทาง

ข้าพเจ้าถูกผู้ใหญ่ทูลฟ้องว่าซนมากที่สุดในขบวน ความรู้อะไรก็ไม่เห็นได้มา ที่ให้จดก็ไม่ได้จด แถมสมุดตกน้ำเปียก สมเด็จแม่ไม่กริ้วเลย ขำไปเสียอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องคุณหมอบุญส่งกับต้นกูดงอดแงด แต่ก็ไม่ให้ไปไหนอีก ทั้งๆที่คนที่ไม่เข็ดเลยก็คือคุณหมอบุญส่ง และพยายามจะขอพาข้าพเจ้าไปแก่งคอยอีก ซึ่งขอไม่สำเร็จ

ภายหลังข้าพเจ้าเรียนหนังสืออย่างอื่น ก็เลยอดดูนกเที่ยวป่า เจอคุณหมอบุญส่งน้อยลง คุณหมอยังให้หนังสืออยู่บ้าง

เมื่อข้าพเจ้าโต เรียนจบ ทำงาน คุณหมอบุญส่งป่วย ก็เลยไม่ได้ติดต่อกันอีก ข้าพเจ้าอยากไปเยี่ยม แต่ก็ไม่กล้ารบกวน เลยไม่ได้พบกันอีก ได้เพียงแต่รำลึกในโอกาสนี้ว่า ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ให้คุณค่าแก่ชีวิตวัยเยาว์ของข้าพเจ้า เป็นความสุข สร้างความรู้ความคิด ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการก้าวต่อไปในชีวิตในโลกกว้างแห่งนี้

 

~~~

ข้างต้นเป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี พระราชทานเป็นสิริมงคลแด่หนังสือของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล “ชีวิตของฉัน ลูกกระทิง” เนื่องในโอกาสที่หนังสือเล่มนี้ได้รับการบรรจุเป็นหนังสืออ่านเล่นนอกเวลาเรียน(จากคำนำลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๔) ที่เพิ่งมีโอกาสได้อ่านเป็นครั้งแรก

ให้นึกแปลกใจตัวเองอยู่เหมือนกันว่าเหตุใดจึงไม่เคยได้ยินกิตติศัพท์หนังสือดีๆอย่างนี้มาก่อน

ไหนจะสำนวนเล่าง่ายๆอ่านแล้วเพลิดเพลินราวกับกำลังเดินป่าท่องไพรที่ไหนสักแห่งด้วยตัวเองของคุณหมอบุญส่ง…ที่เล่าเรื่องราวของชีวิตสัตว์ป่านานาชนิดผ่านการเจริญเติบโตเรียนรู้ชีวิตอื่นๆในป่าของตัวเอกซึ่งเป็นเจ้ากระทิงเกิดใหม่

แล้วไหนจะพระราชนิพนธ์อันหาค่ามิได้ของเจ้าฟ้าหญิงน้อยข้างต้นนี้อีก

ช่างน่าเสียดายที่หนังสืออันทรงคุณค่าอย่างนี้ได้หายไปจากวงการศึกษาไทย

 

 


ค้างคาว pteropus alecto : พาหะโรคติดต่อจากม้าสู่คน

2 ความคิดเห็น โดย putarn เมื่อ 14 สิงหาคม 2011 เวลา 5:55 (เย็น) ในหมวดหมู่ เล่าสู่กันฟัง #
อ่าน: 1809

 

หลายปีหลังมานี้ ที่นี่มีไวรัสตัวหนึ่งที่เป็นอันตรายต่อชีวิตทั้งคนทั้งม้า  

ซึ่งถ้าหากไม่มีการคุกคามถึงขั้นเสียชีวิตของสัตวแพทย์ที่ดูแลม้าเกิดขึ้น

เรื่องราวก็คงไม่ลุกลามใหญ่โตถึงเพียงนี้  

เรื่องของเรื่องก็สืบเนื่องมาจากตัวพาหะอย่างดีเช่นค้างคาวชนิดกินพืช pteropus alecto 

ที่เมื่อกินผลไม้คือเคี้ยวแปรรูปน้ำตาลในผลไม้ให้เป็นพลังงานเสร็จแล้วก็คายกากทิ้ง(เพื่อที่ตัวมันเองจะได้มีน้ำหนักเบาไม่เป็นอุปสรรคต่อการบิน)   

จากนั้นม้า(ที่เข้าใจว่าได้รับอาหารไม่เพียงพอ)ก็กินกากนั้นต่อ

นั่นหมายถึงมันต้องกินไวรัส Hendra ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำลายค้างคาวที่ตกค้างเข้าไปด้วย  

แล้วต่อมาผู้ที่ต้องคลุกคลีกับม้าเหล่านั้นเช่นคนเลี้ยงม้า หรือ สัตวแพทย์ ก็ได้รับไวรัสเข้าสู่ร่างกายเต็มๆเพราะปราศจากการสวมใส่เครื่องป้องกัน

และ กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว    

งานนี้มีรายงานการค้นคว้าออกมาอยู่เนืองๆหากยังไม่ประสบผลสำเร็จในแง่การควบคุมได้เด็ดขาดเพราะยังไม่ทราบว่า ทำไมหรืออะไรที่ช่วยให้ตัวพาหะอย่างค้างคาวไม่ได้รับอันตรายจากไวรัสชนิดนี้เลย              

ดังนั้นความหวาดผวาวิตกจริตก็จึงยังคงเขย่าขวัญผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจที่เกี่ยวกับม้าๆอันมีมูลค่ามหาศาลต่อไป   

แต่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องก็ไม่ยอมจำนนต่อปัญหาง่ายๆ

เพราะปีหน้าบรรดาม้าในอาณาบริเวณที่มีค้างคาวเจ้าปัญหาเหล่านั้นจะได้รับการฉีดวัคซีนแก้ไวรัสชนิดนี้ทุกตัว(ตอนนี้กำลังเร่งผลิตวัคซีนกันอยู่)       

โชคดีบ้านเราที่ไม่มีปัญหาอย่างนี้เกิดขึ้น  

 

 

 


เสน่ห์ชาวบ้าน

121 ความคิดเห็น โดย putarn เมื่อ 22 กุมภาพันธ 2011 เวลา 7:24 (เย็น) ในหมวดหมู่ เนื่องมาจากการอ่าน, เล่าสู่กันฟัง #
อ่าน: 2815

พักนี้มีโอกาสได้ดูชมความงามแห่งชีวิต…ตลอดสองฝั่งแม่น้ำโขง

ต้องยอมรับ…ถือเป็นการท่องเที่ยวทางลัดที่ให้ผลคุ้มค่าส่งวิสัยทัศน์ให้กว้างไกลออกไปอีก

กับการคล้องช้างที่อ่านแล้วอ่านอีกในนิทานโบราณคดี เมื่อได้มาดูของจริงจากคุณลุงชาวกูยและลูกทีมแสดงให้ดูว่าการคล้องช้างป่าต้องทำอย่างไรบ้าง… สเต็ปบายสเต็ป

ต้องขอบอกว่า ยิ่งใหญ่ น่าทึ่ง น่าทึ่ง และน่าทึ่ง… จนต้องเข้าอินเตอร์เน็ทหาความเป็นจริงที่น่าชื่นชมด้านอื่นอีก…ถ้ามี

แล้วก็พบเรื่องราวหนึ่งที่มีความเรียบง่ายคลาสสิคอย่างบังเอิญที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์ทุกท่านก็ไม่เคยคาดคิดถึงผลลัพธ์มาก่อน…

 

 

เมื่อปี ๒๔๙๘

ชาวกูยได้ทราบข่าวว่ามีเฮลิคอปเตอร์มาลงที่บ้านตากลาง…หมู่บ้านของชาวกูย ที่ทุกบ้านเลี้ยงช้างเป็นสมาชิกของครอบครัว

ก็จึงชักชวนกันออกไปดู

โดยที่แต่ละคนแต่ละครอบครัวต่างพากันนั่งช้างออกไปดูเฮลิคอปเตอร์ !

พอไปถึงจุดที่เฮลิคอปเตอร์จอด ปรากฏว่าช้างที่ไปรวมกันอยู่ณ.ที่นั้นนับได้กว่า ๓๐๐ เชือก

ทำเอาคนที่มากับเฮลิคอปเตอร์ตกใจและแปลกใจมากกว่าชาวบ้านเสียอีก


เสาร์เช้า

4 ความคิดเห็น โดย putarn เมื่อ 20 กุมภาพันธ 2011 เวลา 5:09 (เย็น) ในหมวดหมู่ เล่าสู่กันฟัง #
อ่าน: 2478

Photobucket

 

เช้านี้อากาศยังคงสดใสเฉกเช่นเมื่อวานเช้า

ท่ามกลางความสงบเงียบ เราเดินดูต้นไม้ใบหญ้ารอบบ้านแหงนมองท้องฟ้าแจ่มกระจ่างไร้เมฆไร้หมอกสูดโอโซนบริสุทธิ์ และนึกอยู่ในใจ… เหลืออีกอาทิตย์เดียวก็เข้าฤดูใบไม้ร่วงแล้ว

 

Photobucket

.

Photobucket

.

Photobucket

 

เราจะไม่พบกับความอบอุ่นถึงร้อนในบางวันอย่างนี้ไปอีกราว ๑๐ เดือน

 

 

Photobucket

.

Photobucket

 

เมื่อจัดการอาหารเช้าใกล้เที่ยงเสร็จแล้วเราเข้าป่าหาผลไม้ฟังเสียงนกเสียงน้ำน่าจะดีกว่า

 

 

Photobucket

 

แบล็คเบอรี่…ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของบรรดาตระกูลเบอรี่ทั้งหลาย

 

Photobucket

 

 

แอ๊ปเปิ้ลป่า…อ้าวมีที่นี่กะเขาด้วย

 

Photobucket

 

 

และก็แอบภาวนาเล็กน้อยเมื่อนึกถึงต้นกล้วยที่เพิร์ธทางทีวีเมื่อคืนก่อน ทั้งๆที่รู้ว่าเป็นไปไม่ได้…ขอเจอสักต้นเถอะ

 

 

Photobucket

 

เพราะที่นี่เวลานี้กล้วยหอมจากควีนส์แลนด์ราคากิโลละ ๖ เหรียญ ๙๕ เซ็นต์เข้าไปแล้ว

ทั้งนี้ก็เพราะเจ้าพายุ Yasi นั่นทีเดียว 

 

 

Photobucket

 

 

ขณะกำลังเก็บแบล็คเบอรี่เพลินๆ…ใส่ปากบ้างใส่ตะกร้าบ้าง

 

Photobucket

 

 

เสียงมือถือก็ปลุกจากภวังค์

 

Photobucket

 

 

เป็นน้องเราโทรมาจากเมืองลอดช่องนั่นเอง

 

Photobucket

 

 ก็จึงพาไปนั่งฟังเสียงน้ำตกด้วยกันซะเลยจนกระทั่งแบตฯหมด

 


ยางพารา

89 ความคิดเห็น โดย putarn เมื่อ 16 มกราคม 2011 เวลา 1:15 (เย็น) ในหมวดหมู่ เล่าสู่กันฟัง #
อ่าน: 2636

Photobucket

 

เคยเรียนเมื่อสมัยเด็กๆเรื่องยางพาราว่ามีปลูกกันมากมายในภาคใต้ แต่ก็จดจำอะไรไม่ได้มากไปกว่านี้และยังรู้สึกอีกด้วยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องไกลตัว 

ครั้นมาอยู่ที่นี่ก็เคยได้ยินชาวอีสานมักเล่าให้ฟังถึงชีวิตลำเค็ญ(ที่เราไม่ค่อยอยากเชื่อนัก)ว่าพอหมดฤดูทำนาบางคนต้องเดินทางลงใต้เพื่อไปรับจ้างกรีดยาง

 

 

เมื่อกลางเดือนที่แล้วนับว่าเราเดินวินโดว์ช็อปปิ้งได้ดีมากเพราะได้ปิ๊งพบพรมขนสัตว์ชั้นเยี่ยมที่ทางร้านกำลังกระหน่ำลดราคาลงมาอย่างไม่น่าเชื่อเข้า(ราว๔๐%นิดๆ) 

 

เราใช้เวลาตัดสินใจ ๑ คืน เปลี่ยนพรมใหม่ทั้งหมด โดยมีของเดิมที่สภาพค่อนข้างจะไม่น่าดูไม่น่าใช้ต่ออยู่แล้ว เป็นตัวช่วยตัดสิน

  

วันต่อมาก็จึงกลับไปที่ร้านพรมอีกครั้งเพื่อตกลงสั่งซื้อ  
 

 

ครั้นคุณป้าคนขาย(ที่วัยน่าจะอยู่บ้านเลี้ยงเหลนมากกว่า)ถามว่าแล้วจะเอา underlay แบบไหน เราถึงกับใบ้รับประทาน

 

ด้วยในชีวิตไม่เคยต้องเปลี่ยนพรมเอง ไม่เคยรู้เห็นมาก่อนเลยว่าวิธีการปูพรมจริงๆแล้วเป็นอย่างไร บ้านหรืออพาร์ตเมนท์ที่เคยอยู่ก็ล้วนแล้วแต่เป็นของใหม่สำเร็จรูปทั้งสิ้น ส่วนบ้านที่เมืองไทยก็ไม่ต้องพูดถึงเลยเพราะไม่ปูพรมอยู่แล้ว จะมีก็เพียงพรมผืนที่นำมาใช้เป็นครั้งคราวเสร็จแล้วก็ซักเก็บ ซึ่งเป็นการดูแลที่แสนง่าย นำออกมาใช้เมื่อไหร่ก็สะดวก

 

 

 

Photobucket

 

เรามองหาผู้ช่วยเพื่อถามไถ่ปรึกษา มองหลังซ้ายขวาบนล่างแล้วก็ไม่ยักกะพบใคร จึงตัดสินใจถามคนตรงหน้านี่แหละ…แล้วเขาใช้อะไรกันล่ะคุณป้า
  

คุณป้าก็แสนดี กุลีกุจอวางตัวอย่างแผ่นเล็กๆที่มีคุณภาพให้ดูให้ทดลอง ๒ แผ่น พร้อมกับบอกว่าอย่างที่คุณภาพแย่กว่านั้นอย่าได้ใส่ใจให้เสียเวลา เก็บเชื้อโรคก็เท่านั้น เดินเหินไม่สนุกเท้าก็เท่านั้น และของอย่างนี้เราเลือกครั้งเดียวแล้วใช้ไปอีกนานมากจนถึงตลอดชีวิตก็ว่าได้ อีกทั้งพรมที่เราสั่งซื้อก็เยี่ยมที่สุดแล้วจะมาทำให้คุณภาพด่างพร้อยเพราะ underlay ไม่มีคุณภาพได้อย่างไร ของดีต้องคู่กับของดีจึงจะถูก…แล้วเธอจะไม่ผิดหวัง เชื่อฉันสิ 

 

 

เราฟังคุณป้าท่านเพลินๆและพินิจพิจารณาสินค้า ๒ ตัวนั้นเงียบๆ พอคุณป้าบอกว่า เชื่อฉันสิ เราก็เลือกได้ทันที…ถ้าอย่างนั้นใช้ตัวนี้ก็แล้วกัน  

 

เราฟังคุณป้าท่านเพลินๆและพินิจพิจารณาสินค้า ๒ ตัวนั้นเงียบๆ พอคุณป้าบอกว่า เชื่อฉันสิ เราก็เลือกได้ทันที…ถ้าอย่างนั้นใช้ตัวนี้ก็แล้วกัน  

 

 

 

 

 

 

 

 

Photobucket

 

 

นั่นคือ…

 

 

underlay ที่ผลิตจากยางพารา มีราคาแพงกว่าอีกตัวหนึ่ง ๙ เหรียญต่อตารางเมตร

 

ส่วนสาเหตุที่เราเลือก ไม่ใช่เราเชื่อคุณป้าท่านหรอก

หากเราคิดถึงบ้านเราและจำได้ยางพารามีมากในภาคใต้ สินค้าตัวนี้อาจใช้วัตถุุดิบจากที่นั่นก็ได้

 

 
เราอยากอุดหนุนสินค้าบ้านเรา

 

 

Photobucket

 

Note: คำโฆษณา underlay   

-         เป็นวัสดุธรรมชาติเพราะทำจากยางพารา  

-         ต่อต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

-         ดูดซับคลื่นเสียงหรือเก็บเสียงในแต่ละห้อง

-         ติดไฟยาก

-         สะอาด ไม่เก็บกักฝุ่น ไม่เป็นที่อยู่ของริ้นไร

-         ระบายอากาศได้ดีเยี่ยม ไม่กักเก็บความชื้น

-         ทนทานความร้อนได้ถึงอุณหภูมิ ๔๐ องศาเซลเซียส

-         มีการระเหยของสารประกอบต่ำมากจึงแน่ใจได้ว่าอากาศภายในบ้านไร้มลพิษ

-         ช่วยกักเก็บความร้อนไว้ภายในบ้านได้นาน

-         ช่วยรองรับน้ำหนักที่กดลงบนฝ่าเท้าได้ดี ทำให้รู้สึกนุ่มเท้า

 

 



Main: 0.24588990211487 sec
Sidebar: 0.00020408630371094 sec