พระพุทธเจ้า
อ่าน: 2121บุพกรรมของพระพุทธองค์ครั้งยังดำรงอยู่ในอัตภาพของพระโพธิสัตว์ (ขุททกนิกาย อปทาน พุทธาปาทาน) อันเป็นสาเหตุทำให้ต้องทรงใช้ระยะเวลานานกว่าจะบรรลุพระอรหันตสัมมาสัมโพธิญาณได้นั้นกล่าวไว้ดังนี้
ในสมัยพระกัสสปะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ชื่อโชติปาละ ไม่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา ทราบว่าพระกัสสปะทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กล่าวว่า “การตรัสรู้ของสมณะโล้นจักมีมาแต่ที่ไหน”
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ต้องเสวยทุกข์ในอบายเป็นเวลานาน แม้ในภพสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้ ด้วยเศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ พระองค์ยังต้องหลงเดินทางผิด บำเพ็ญทุกรกิริยาทรมานพระองค์เองด้วยวิธีต่างๆ อันเป็นวัตรของเดียรถีย์ มีการอดอาหารเป็นต้น จนสรีระผอมเหลือแต่กระดูก ได้รับทุกขเวทนาอันเกิดจากความเพียรเป็นเวลานานถึง ๖ ปี กว่าจะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ
(จากหนังสือ พระพุทธประวัติ ของสุรีย์ มีผลกิจ และวิเชียร มีผลกิจ)
~~
คำเรียก พระพุทธเจ้า นั้นก็ด้วยเหตุที่ท่านเป็นเจ้า เป็นผู้นำ เป็นหัวหน้าของพระ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ พระที่เป็นเจ้า เป็นขัตติยวงศ์
ในระยะอันใกล้ที่ได้ล่วงมาแล้วได้มีพระพุทธเจ้าตรัสรู้มา ๒๕ พระองค์ ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งอายุ ความสูง ตระกูล ปธาน (ระยะเวลาบำเพ็ญเพียร) รัศมี ยานพาหนะที่ใช้ออกผนวช ต้นไม้ตรัสรู้ และบัลลังก์ (มาในมธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาขุททนิกาย พุทธวงศ์)
และแท้จริงแล้วพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ล่วงมาแล้วมีเป็นจำนวนหลายหมื่นหลายแสนพระองค์โดยไม่นับพระปัจเจกพระพุทธเจ้าและเหล่าพระพุทธสาวก และยังมีที่จะตรัสรู้ในระยะเวลาอันใกล้นี้อีก ๑๐ พระองค์ด้วยกัน
ถ้าจะกล่าวถึงประเภทของพระพุทธเจ้า ท่านได้จัดไว้เป็นสามประเภท คือ ปัญญาธิกะ สัทธาธิกะ และวิริยาธิกะ
ในบทเจริญพระพุทธมนต์ก็มีการกล่าวถึงเช่นกัน ดังที่ปรากฏในบทสัมพุทเธ มีเนื้อหาว่า
สมฺพุทฺเธ อฏฺฐวีสญฺจ ทฺวาทสญฺจ สหสฺสเก
ปญฺจสตสหสสานิ นมามิ สิรสา อหํ
เตสํ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ อาทเรน นมามิหํ
นมการานุภาเวน หนฺตฺวา สพฺเพ อุปทฺทฺเว
อเนกา อนฺตรายาปิ วินสฺสนฺตุ อเสสโต ฯ
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมธรรม และพระสงฆ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยความเคารพ
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม ขอจงขจัดอุปัทวะทั้งปวง อันตรายทั้งหลาย จงพินาศไปโดยไม่มีส่วนเหลือ
*ในบทแรกนี้จะหมายถึง พระพุทธเจ้าประเภทปัญญาธิกะ คือ พระพุทธเจ้าที่ใช้ปัญญาเป็นตัวนำในการสร้างบุญบารมีและบำเพ็ญเพียรเพื่อให้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
สมฺพุทฺเธ ปญฺจปญฺญาสญฺจ จตุวีสติสหสฺสเก
ทสสตสหสฺสานิ นมามิ สิรสา อหํ
เตสํ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ อาทเรน นมามิหํ
นมการานุภาเวน หนฺตฺวา สพฺเพ อุปทฺทฺเว
อเนกา อนฺตรายาปิ วินสฺสนฺตุ อเสสโต ฯ
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๑,๒๔,๐๕๕ พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมธรรม และพระสงฆ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยความเคารพ
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม ขอจงขจัดอุปัทวะทั้งปวง อันตรายทั้งหลาย จงพินาศไปโดยไม่มีส่วนเหลือ
*ในบทที่สองนี้จะหมายถึงพระพุทธเจ้าประเภทสัทธาธิกะ คือ พระพุทธเจ้าที่ใช้ศรัทธาเป็นตัวนำในการสร้างบุญบารมีและบำเพ็ญเพียรเพื่อให้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
สมฺพุทฺเธ นวุตฺตรสเต อฏฺฐจตฺตาฬีสสหสฺสเก
วีสติสตสหสฺสานิ นมามิ สิรสา อหํ
เตสํ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ อาทเรน นมามิหํ
นมการานุภาเวน หนฺตฺวา สพฺเพ อุปทฺทฺเว
อเนกา อนฺตรายาปิ วินสฺสนฺตุ อเสสโต ฯ
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๒,๗๔๘,๑๐๙ พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมธรรม และพระสงฆ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยความเคารพ
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม ขอจงขจัดอุปัทวะทั้งปวง อันตรายทั้งหลาย จงพินาศไปโดยไม่มีส่วนเหลือ
*ในบทสุดท้ายนี้จะหมายถึงพระพุทธเจ้าประเภทวีริยาธิกะ คือ พระพุทธเจ้าที่ใช้วิริยะ ความเพียร เป็นตัวนำในการสร้างบุญบารมีและบำเพ็ญเพียรเพื่อให้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
จากบทเจริญพุทธมนต์ดังกล่าวสรุปได้ว่า…
ในอดีตกาลอันยาวนานมา พระพุทธเจ้าที่ใช้วิริยะความเพียรเป็นตัวนำในการบำเพ็ญเพียรจนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมมาพุทธเจ้า มีมากกว่า พระพุทธเจ้าที่ใช้ความศรัทธา ความเชื่อมั่นเป็นตัวนำสองเท่า และมากกว่า พระพุทธเจ้าที่ใช้ปัญญาเป็นตัวนำสี่เท่า
*** กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระมหาวิเศษ ปญฺญาชิโร (ผศ.) ปธ.๙, ศษ.บ, ศน.ม. ***
Next : สะอึก » »
2 ความคิดเห็น
ขอบคุณสำหรับข้อมูลชุดนี้ครับ
ด้วยความยินดีค่ะคุณบางทราย