กะเหรี่ยงตะเพินคี่

โดย น้องจิ เมื่อ 12 กรกฏาคม 2009 เวลา 13:10 ในหมวดหมู่ Uncategorized #
อ่าน: 4645

…….. น้องจิไปลงพื้นที่ศึกษาวัฒนธรรมกะเหรี่ยงที่หมู่บ้านตะเพินคี่ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี..(จังหวัดคุ้นๆชะมัด อิอิ)….อันที่จริงแล้วการลงพื้นที่คราวนี้ไม่ได้อยู่ในวิชาเรียนของน้องจิเจ้าค่ะ แต่มันอยู่ในวิชาเรียนของรุ่นพี่ปี 3 ทีนี้น้องจิกับเพื่อนอีกคนหนึ่งเลยขอติดไปด้วย เพราะอยากไปดูวิถีชีวิตกะเหรี่ยงแล้วก็อยากไปสัมผัสบรรยากาศที่ได้ขึ้นชื่อว่า สวิซเซอร์แลนด์เมืองไทย…….รุ่นพี่ปี 3 จะเดินทางในวันที่ 6 กรกฏาคม…แต่อาจารย์ น้องจิกับเพื่อนและมีรุ่นพี่อีกสองคน ชื่อ พี่อ๊อฟ กับ พี่หล้า  จะเดินทางล่วงหน้าไปก่อนเพื่อเตรียมดูพื้นที่และถือโอกาสสำรวจหมู่บ้านไปก่อนด้วย อาจารย์  พี่อ๊อฟ  พี่หล้า เจ้าเอ็ม น้องจิ ออกเดินทางตั้งแต่วันที่ 3 กรกฏาคม…

……พอไปถึงขนส่งด่านช้าง….ก็มีเพื่อนของอาจารย์ชื่อว่า ครูใหญ่…ขับรถมารับ…ระยะทางจากขนส่งด่านช้างไปหมู่บ้านตะเพินคี่ประมาณ 50 กิโลเมตรเจ้าค่ะ…น้องจิกับเพื่อนแล้วก็พี่ๆนั่งข้างหลังไป…เพราะอยากรับลมและก็ถ่ายรูป…ส่วนหน้ารถเอาไว้เก็บของ 5555++…..อาจารย์บอกว่า ที่หมู่บ้านนั้นไม่มีไฟฟ้า น้ำปะปา ….น้องจิกับเพื่อนจึงเตรียมเทียนไปเต็มที่….พอรถวิ่งขับไปสิ้นสุดที่ถนนลาดยาง…ทีนี้ก็เป็นถนนดินธรรมดาแล้วเจ้าค่ะ…เป็นอะไรที่สนุกและผจญภัยมากๆ….เส้นทางคดเคี้ยว ต้องขึ้นไปบนเขาข้ามเขาประมาณ 3-4 ลูกเจ้าค่ะ….ลุยจริงๆ

เส้นทางที่ผจญภัย

……พอไปถึงหมู่บ้านตะเพินคี่แล้ว พวกเราก็กางเต้นท์ จุดไฟ ต้มน้ำ…แล้วก็เข้านอน…สิ่งที่ไม่คาดหวังว่าจะได้เจอในเมืองสุพรรณก็คือ..ทะเลหมอกในตอนเช้าตรู่เจ้าค่ะ….อากาศที่หมู่บ้านแทบจะไม่มีแสงแดดเลย อุณหภูมิประมาณ 19 องศา…แอบไปดูเทอร์โมมิเตอร์ของเจ้าหน้าที่มา อิอิ…หนาวมากๆ….แต่ก็คุ้มค่าเมื่อตื่นมายามเช้าแล้วเจอภาคบรรยากาศที่ขึ้นชื่อว่า ” สวิซเซอร์แลนด์เมืองไทย”  ใครน้อเป็นคนตั้งฉายานี้ให้กับหมู่บ้านตะเพินคี่ แจ๋วจริงๆ…อยากให้ทุกท่านมาสัมผัสด้วยตัวเองจังเลยค่ะ

ดอกหญ้าออกมาเต้นระบำกันอย่างเริงร่าในยามเช้า………….อิอิ

ทะเลหมอกยามเช้า……ที่สุพรรณมีด้วยหรือเนี่ย อิอิ

…….วันแรกของการผจญภัยคือ..อาจารย์กับครูใหญ่พาพี่อ๊อฟ พี่หล้า น้องจิ เจ้าเอ็ม ไปพบลุงผู้ใหญ่บ้าน ลุงผู้ใหญ่ชื่อ จะเอ็ง..ซึ่งแปลว่า เทวดา ….เราไปหาลุงที่บ้านแต่ภรรยาลุงบอกว่า ลุงไปตัดหญ้าในไร่…พวกเราก็เลยเดินไปหาลุงในไร่…ซึ่งตลอดทางที่เราได้เดินไปหาลุงนั้น อาจารย์ก็ได้อธิบายพืชพรรณต่างๆที่น้องจิไม่เคยเห็น… ซึ่งทำให้เห็นวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันในสังคมของชุมชนกะเหรี่ยงเป็นอย่างดีและน่าอยู่มากๆค่ะ….น้องจิจะยังไม่เล่าเรื่องราวต่างๆที่ไปมานะคะ..แต่จะบอกว่าไปแล้วได้อะไรมาบ้างก่อน…เรื่องเล่าสนุกๆมีมากมายแต่เอาไว้ทีหลัง อิอิ

ด้านการเกษตรและการทำมาหากิน

…….สวนของลุงผู้ใหญ่มีผลไม้หลายชนิด…เช่น  เงาะ ส้มโอ ลูกจาก ส่วนผักก็มีมากมาย เช่น เฉอเก้ซา(พริก) โละเก้ซา(ฟักทอง)  ถี่คว้าซา(แตงกวา) ถี่มึงซา (แตงไทย)  หย่องคว้าทองหมุ่งซา (มะเขือพวง)  และที่น้องจิเห็นอีกส่วนหนึ่งของการเกษตรกะเหรี่ยงก็คือ..การปลูกข้าวไร่…ชาวกะเหรี่ยงนั้นมีวัฒนธรรมประเพณีเกี่ยวกับข้าวไม่เหมือนกับเกษตรกรอย่างเราๆ…นั่นก็คือเขาจะมีการทำ สะเด่อ เปรียบเสมือนฉัตร เอาไว้ขอพรเจ้าพ่อเจ้าแม่ให้พืชผลออกมาดี  แต่แถวบ้านน้องจิหรือที่น้องจิเคยพบเห็นมานั้นจะมีการทำขวัญข้าว มีการลงแขกเกี่ยวข้าว…ซึ่งชุมชนกะเหรี่ยงไม่มี…ที่สำคัญพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกนั้นจะเป็นพันธุ์เหลืองเงิน(บึ๊จิว่ะ) หนวดดำ(บึ๊ซาลิน่า)…ซึ่งชาวกะเหรี่ยงนั้นจะไม่ปลูกเพื่อขายแต่จะปลูกเพื่อกินภายในบ้านเท่านั้น…..ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่จะปลูกพืชผักเพื่อดำรงชีวิตมากกว่าการทำงานในส่วนอื่นๆ…ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือจะไม่พบเด็กที่รุ่นๆเดียวกับน้องจิเลยภายในหมู่บ้าน(เด็กหายไปไหนหมด????)….พืชที่น้องจิสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ ลำไย…แทบทุกบ้านจะมีต้นลำไยปลูกไว้แถมดกอีกด้วย…ทำให้น้องจิกับเพื่อนกินลำไยกันอย่างอร่อยเหาะไปเลยเจ้าค่ะ….ซึ่งไปมีผลกับเพื่อนน้องจิที่เกิดอาการไข้ขึ้น..หน่วยพยายาลอย่างน้องจิก็ต้องคอยส่งยาสิเจ้าค่ะ อิอิ

ด้านความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของคนกะเหรี่ยงในชุมชนตะเพินคี่

……..เท่าที่น้องจิสังเกตุดู…คนในชุมชนตะเพินคี่นั้นจะอยู่กันแบบญาติพี่น้อง….ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมักจะพูดเป็นภาษากะเหรี่ยง ….พระอาทิตย์ส่องแสงก็ออกไปทำไร่ทำนา…พอพระอาทิตย์ตกดินก็กลับบ้าน…แต่คนกะเหรี่ยงนั้นจะรอให้สมาชิกทุกคนในบ้านครบหมดจึงจะกินข้าวพร้อมกัน(น่ารักชะมัด)…..ลักษณะของบ้านจะเป็นบ้านที่ทำง่ายๆมีบันได ซึ่งบันไดแต่ละขั้นนั้นจะมีขนาดไม่เท่ากันเจ้าค่ะ ใครที่เดินตกบันไดหรือกระโดดข้ามบันไดนั้นต้องทำการขอขมาครั้งใหญ่เลยเพราะเขาถือมากๆ….

ด้านประเพณีวัฒนธรรม

……..ประเพณีของคนกะเหรี่ยงนี้น่าสนใจเจ้าค่ะ….ตั้งแต่เกิดเลย เด็กแรกเกินนั้นจะโกนผมออกเพราะเขาเชื่อกันว่า เด็กจะโตเร็ว…ส่วนประเพณีที่เกี่ยวกับการเกษตรก็มี  ประเพณีข้าวใหม่ เป็นการบูชาแม่โพสพ จะทำกันในเดือน 3 ของทุกปี…และประเพณีที่เกี่ยวการเรียกขวัญกำลังใจก็คือ ประเพณีการผูกข้อมือ…กะเหรี่ยงชุมชนนี้เป็นกะเหรี่ยงด้ายเหลืองเจ้าค่ะ…ซึ่งประเพณีผูกข้อมือนี้จะทำกันในเดือน 5 ของทุกปีค่ะ….นอกจากนี้ยังมีประเพณีการแต่งงาน….ซึ่งน่าสนใจมากค่ะ ลุงผู้ใหญ่บอกว่า เกิดมาเป็นคนกะเหรี่ยงนี้ขาดทุนแม้กระทั่งจะไปขอลูกสาวเขาแต่งงาน…ซึ่งคนกะเหรี่ยงเวลาจะแต่งงานจะไม่ใช้สินสอดในการสู่ขอ ถ้ารักใคร่ชอบคอกันก็จะให้ผู้ใหญ่ไปสู่ขอแล้วก็มาอยู่เลย…ถ้าลูกชายเราไปชอบลูกสาวคนไทยละก็ เราจะต้องหาสินสอดไปให้เขา…แต่ถ้าลูกชายที่เป็นคนไทยมาชอบลูกสาวกะเหรี่ยงเขาไม่ต้องให้สินสอดเรา (มีงี้ด้วยนะเนี่ย)

ด้านดนตรีและภาษา

……..ชาวกะเหรี่ยงมีภาษาที่น่าฟังมากค่ะ…น้องจิไปอยู่ที่นั่นก็พอจะพูดจะฟังได้บ้าง(นิดหน่อย)ประมาณ 2-3 คำ อิอิ….น้องจิพยายามฝึกพูดภาษากะเหรี่ยงให้ได้มากที่สุด อย่างน้อยก็เป็นคำทักทายและคำที่ต้องใช้กันบ่อยๆ…ภาษาของเขามีตัวเขียน…ซึ่งลุงคนหนึ่งเขียนภาษาให้น้องจิและพี่ๆที่ไปทำวิจัยดูเป็นภาษาที่เขียนแล้วสับสนเหมือนกัน 55555++…แต่อาจารย์ของน้องจิ อ่านออก เขียนได้สบายมาก…เรื่องดนตรีของชุมชนนั้น ส่วนใหญ่แล้ว ชาวบ้านจะมีการรำตง..เป็นการแสดงที่หาดูได้ยากมากๆ..น้องจิก็โชคดีที่มีโอกาสได้เห็น ทั้งการเต้น ท่ารำ เครื่องดนตรีที่ใช้…ซึ่งท่ารำแต่ละท่านั้นก็มีความหมายที่แตกต่างกันออกไปและสอดคล้องกับเนื้อเพลงที่เป็นภาษากะเหรี่ยงที่ร้องด้วย (ฟังแล้วมันได้บรรยากาศของชาวเขามากๆค่ะ)

ด้านหัตถกรรมและงานฝีมือ

……ชุมชนกะเหรี่ยงส่วนใหญ่นั้น ..ผู้ชายจะออกไปทำไร่ทำนา…ส่วนผู้หญิงนั้นจะอยู่บ้านเลี้ยงลูกและทอผ้า…ผ้าที่ทอนั้นจะมีลวดลายต่างๆเช่น ไช่เผลว  ไช่เด้ยอง  อะมีซา  เฌออะไก  อะสะ (ภาษาสำเนียงที่น้องจิเขียนนี้อาจจะเพี้ยนหน่อยนะคะ เพราะว่าน้องจิเป็นกะเหรี่ยงเหน่อ เอ๊ยไม่ใช่  ความจริงภาษากะเหรี่ยงไม่สามารถจะนำมาเขียนเป็นภาษาไทยได้เพราะมันมีเสียงก้องเสียงกักออกเสียงต่างจากภาษาไทยมากๆเลยค่ะ ถ้าเพี้ยนเสียงวรรณยุกต์ไปแค่นิดเดียวก็เป็นอีกความหมายหนึ่งเลย อันนี้น่ากลัวมากๆขอบอก อิอิ )สีสันสดใสมากๆเลยค่ะทั้งสีแดง สีเหลือง สีฟ้า สมกับเป็นชาวกะเหรี่ยงจริงๆ….น้องจิซื้อย่ามกะเหรี่ยงมาหนึ่งใบสีฟ้า ซึ่งไปดูเขาทอมาด้วย อิอิ…ผ้าถุงที่ชาวบ้านทอนั้นจะนำไว้ใช้เองในพิธีกรรมต่างๆ…แต่ถ้ามีนักท่องเที่ยวจะซื้อ เขาก็ยินดีขายให้…เห็นยายนั่งทอผ้าแล้วมันแสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ความอดทน มานะ ที่จะนำด้ายทีละเส้นมาเรียงและเย็บเข้าด้วยกัน…นี่แหละเจ้าค่ะงานฝีมือแท้ๆเลย

ด้านการปกครอง

……ชาวกะเหรี่ยงนี้มีการควบคุมภายในหมู่บ้านที่แตกต่างไปจากเราเจ้าค่ะ…ถ้าเป็นบ้านเรานั้น พระภิกษุจะมีหน้าที่สั่งสอนให้ประชาชนเป็นคนดี ตำรวจมีหน้าที่ตรวจตราดูแลความสงบสุข ….แต่ชาวกะเหรี่ยงนี้มีเจ้าวัด ซึ่งเป็นบุคคลภายในหมู่บ้านที่เชื่อกันว่า เจ้าพ่อเป็นผู้สั่งให้เขามาคอยสั่งสอนควบคุมดูแลความประพฤติ…ดังนั้น ผู้ที่เป็นเจ้าวัด จึงมีหน้าที่คอยตักเตือนสั่งสอนคนในหมู่บ้านให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ห้ามนำเหล้า สิ่งเสพย์ติดเข้ามาในหมู่บ้านเด็ดขาด…..และผู้ที่จะทำหน้าที่ตัดสินความผิดเมื่อเกิดการฝ่าฝืนก็คือ ผู้ใหญ่บ้าน….ดังนั้นคนที่จะมีอำนาจในชุมชนก็มี 2 คนก็คือ  เจ้าวัดและผู้ใหญ่บ้าน

ภายในถ้ำตะเพินทองเจ้าค่ะ

ภายในถ้ำตะเพินธรรมค่ะ

 

น้ำตกตะเพินคี่น้อยค่ะ….มีสัตว์แปลกๆอยู่เต็มเลยเอาไว้น้องจิจะเอารูปมาลงให้ดูอีกนะคะ

ด้านการท่องเที่ยว

……ที่หมู่บ้านตะเพินคี่ อ.ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวสุพรรณที่มีคนขนานนามว่า สวิซเซอร์แลนด์เมืองไทยเลยเจ้าค่ะ เพราะอากาศที่นั่นเย็นสบายตลอดทั้งวัน แถมวิวทิวทัศน์สวยงามไปด้วยเนินเขาน้อยใหญ่ที่สลับกันไปมามองแล้วเวียนหัว 55555++….(เว่อเกิน)….ข้างหมู่บ้านมีน้ำตกด้วยเจ้าค่ะ น้ำตกก็มีอยู่สองที่ด้วยกันก็คือ น้ำตกตะเพินคี่น้อยและน้ำตกตะเพินคี่ใหญ่…ระหว่างการเดินทางไปน้ำตก อาจารย์ก็ชี้ต้นไม้แปลกๆให้ดูมากมายโดยเฉพาะเห็นพันธุ์ต่างๆ เช่น เห็ดร่างแห(เยื่อไผ่)  เห็ดปะการัง (เหมือนปะการังมากๆ ถ้าเอามาปลูกไว้ที่บ้านคงจะมีคนมาขอหวยกันแน่ๆ อิอิ )  นอกจากน้ำตกแล้วยังมีถ้ำอีก 4 แห่งด้วยกันเจ้าค่ะ…คือ ถ้ำตะเพินทอง ถ้ำตะเพินเงิน ถ้ำเพชร ถ้ำตะเพินธรรม  ซึ่งน้องจิไปได้แค่ 2 ถ้ำคือ ตะเพินทอง กับ ถ้ำตะเพินธรรม อีกสองถ้ำเอาไว้โอกาสหน้านะจ๊ะ …แถมยังมีที่ให้นักไต่เขาปีนขึ้นไปบนยอดเขาเทวดา ซึ่งถือว่าใครมาถึงตะเพินคี่แล้วไม่ขึ้นเขาเทวดาถือว่ามายังไม่ถึง บนยอดเขาก็จะเขียนไว้ว่าเป็นจุดสูงสุดของสุพรรณเลยค่ะ  อิอิ….

เห็นเขาแล้วเวียนหัวเจ้าค่ะ……อิอิ

……ที่หมู่บ้านนี้มีตาน้ำผุด(ไถ่ทองผุ)….ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ชาวบ้านใช้สอยกัน….เวลาเอามือล้วงลงไปแล้วมันเหมือนจะดูดนิดๆด้วยเจ้าค่ะ…ตาน้ำผุดของหมู่บ้านนี้มี 4 จุดด้วยกันจุดแรกคือ “ที่ไคร่เซอะ” แปลว่า ห้วยเต่าดำเป็นตาน้ำผุดที่สูบน้ำมาใช้บนเขาในอุทยาน   จุดที่สองคือ “ที่กะเพ้อ” จุดนี้เป็นจุดที่ชาวบ้านนำมาใช้สอยกัน  จุดที่สามคือ “ที่ขรุเผ่อ” จุดนี้ชาวบ้านก็นำมาใช้ในหมู่บ้านเช่นกัน จุดสุดท้ายคือ “ที่ต่าไม่” เป็นตาน้ำผุดที่นำมาใช้บริเวณที่เป็นบ้านสวนกล้วยไม้ ดังนั้น หมู่บ้านนี้ไม่มีน้ำปะปาแต่น้ำใสเย็นยิ่งกว่าปะปาบ้านเราอีกเจ้าค่ะ…ลงไปแช่มาแล้ว…อิอิ

……..นี่คือรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่น้องจิเก็บมาฝาก..หลังจากไปบุกหมู่บ้านกะเหรี่ยงมานะเจ้าค่ะ….ส่วนเรื่องราวสนุกๆนั้นยังไม่ได้เล่าเจ้าค่ะ…มีอีกมากเอาไว้เป็นคราวหน้าก็แล้วกัน ตอนนี้น้องจิขอตัวไปทำกิจกรรมหอพักก่อนนะเจ้าคะ เดี๋ยวจะตกหอซะก่อน อิอิ….

………รักและคิดถึงทุกๆท่านนะคะ รักษาสุขภาพด้วยเจ้าค่ะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ…หนูจิ…กอดๆๆๆๆๆๆ

………น้องจิต้องขอบคุณอาจารย์โกวิท แก้วสุวรรณ  ….ครูใหญ่  ที่เป็นผู้มอบโอกาสดีๆให้กับน้องจิและเพื่อนๆพี่ๆ แล้วยังคอยดูแลพวกเราตลอดการเดินทางไปหมู่บ้านกะเหรี่ยงเลยค่ะ…อิอิ…”รักอาจารย์ที่สู๊ดดดดดดดดดดดดดดด”

« « Prev : เรียนรู้งานวิจัยจนได้ฉายา”เจ้าแม่”

Next : สะเก็ดภาพ…จากกะเหรี่ยง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

16 ความคิดเห็น

  • #1 สุวรรณา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 กรกฏาคม 2009 เวลา 13:30

    คิดถึงหลานสาวป้าคนนี้จัง กอด กอด  สบายใจแล้วนะคะ ป้าทึ่งความสามารถน้องจิมากลงพื้นที่ได้ข้อมูลเชิงลึก ไม่เล็กน้อยเลย รายละเอียดเยี่ยมมากจ้ะ

  • #2 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 กรกฏาคม 2009 เวลา 14:02

    เ่ก่งจ้ะ เก็บรายละเอียดได้ดีอย่างนี้อนาคตไกล ว่าแต่ตาน้ำผุดที่น้องจิลงไปเล่น ป่านนี้ยังผุดอยู่มั้ยน้อ ^ ^

  • #3 น้องจิ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 กรกฏาคม 2009 เวลา 14:03

    สวัสดีเจ้าค่ะ ป้านิด
    ……ลงพื้นที่คราวนี้ไม่ใช่วิชาเรียนของน้องจิ แต่น้องจิก็ได้ถือโอกาสฝึกวิธีการเก็บข้อมูลมาด้วยค่ะ สนุกมากๆเลย..บรรยากาศดี …ชาวบ้านน่ารัก…อิอิ คิดถึงป้านิดนะคะ….ความจริงข้อมูลที่ได้มาเป็นเพียงส่วนย่อยมากๆเลยค่ะ…..ยังไม่ค่อยละเอียดเท่าไหร่ เอาไว้จะมาเล่าให้ฟังอีกนะคะ…รักษาสุขภาพด้วยนะคะป้าจ๋า กอดๆๆ…..หนูจิ

  • #4 น้องจิ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 กรกฏาคม 2009 เวลา 14:05

    สวัสดีเจ้าค่ะ น้าเบิร์ด
    ….มันผุดตลอดเจ้าค่ะ ถ้าไม่ผุดแล้วชาวบ้านจะใช้น้ำจากที่ไหนละคะ..แต่ไม่แน่น้องจิไปเล่นทีเดียวหายผุดเลย 5555++ คิดถึงนะคะ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ…เชียงรายหนาวไหมเอ่ย น้องจิดีใจจังที่สุพรรณมีบรรยากาศเหมือนเชียงรายเลย อิอิ ….จุ๊บๆๆนะคะ ..หนูจิ

  • #5 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 กรกฏาคม 2009 เวลา 16:13

    ท่าทางจะสนุกมากนะครับ ดีแล้วที่ปรับความเข้าใจกับอาจารย์ได้ ครูบาอาจารย์ที่แท้จริง ไม่โกรธศิษย์หรอกครับ (อาจมีชั่ววูบได้บ้าง แต่เมื่อพบทางลงแล้ว ก็ไม่เก็บอาการของขึ้นไว้หรอกครับ)

  • #6 rani ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 กรกฏาคม 2009 เวลา 19:54

    โห สวยจริง ๆ หนูจิเอ๋ย ได้เที่ยวด้วยทำงานด้วย ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวเลย อิอิ 
    ชักอยากไปสุพรรณแล้วซิ สวยมากๆๆๆๆๆ เลยค่ะ

  • #7 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 กรกฏาคม 2009 เวลา 21:04

    รูปถ่ายสวยมาก  ขอบอก  อิอิ

  • #8 น้องจิ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 10:25

    สวัสดีเจ้าค่ะ อาคอนจ๋า
    …คิดถึงอาจังเลย สนุกมากๆเลยค่ะ ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง …คุณครูใจดีมากๆเลยค่ะ อิอิ…รักษาสุขภาพด้วยนะคะอาจ๋า..หนูจิ

  • #9 น้องจิ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 10:26

    สวัสดีเจ้าค่ะ น้าราณี
    …….ความจริงงานนี้น้องจิเที่ยวอย่างเดียวไม่ได้ทำงานค่ะ แต่บังเอิญเที่ยวแล้วแอบเก็บข้อมูลมาเล็กน้อย อิอิ คิดถึงน้านะคะ รักษาสุขภาพด้วยเจ้าค่ะ…หนูจิ

  • #10 น้องจิ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 10:31

    สวัสดีเจ้าค่ะ ลุงหมอ
    ….อิอิ เอามาฝากจากตะเพินคี่ค่ะลุง…เดี๋ยวเอามาให้ดูอีก..อันนี้เรียกน้ำย่อยไปก่อน อิอิ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ คิดถึงเน้อ กอดๆๆ..หนูจิ

  • #11 สิทธิรักษ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 กรกฏาคม 2009 เวลา 0:21

    แว๊บบบบบ

  • #12 น้องจิ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2009 เวลา 22:44

    อิอิ

  • #13 บอย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 มกราคม 2010 เวลา 17:34

    ได้ความรู้มากเลยครับ ผมเป็นคนสุพรรณแท้ๆแต่ยังไม่เคยไปเที่ยวที่นั้นเลย
    ดูภาพน้องจิกับคณะแล้วน่าอิจฉาจัง ว่างๆส่งภาพมาให้ดูอีกนะครับ

    ขอบคุณครับ

    บอยสุพรรณ

     

  • #14 casinobet99 ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 กรกฏาคม 2010 เวลา 21:17

    <!– /* Font Definitions */ @font-face {font-family:”Angsana New”; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:”Cordia New”; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:”Cambria Math”; panose-1:2 4 5 3 5 4 6 3 2 4; mso-font-charset:1; mso-generic-font-family:roman; mso-font-format:other; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:0 0 0 0 0 0;} @font-face {font-family:Calibri; panose-1:2 15 5 2 2 2 4 3 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1610611985 1073750139 0 0 159 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-unhide:no; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:”"; margin-top:0cm; margin-right:0cm; margin-bottom:10.0pt; margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:”Calibri”,”sans-serif”; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-fareast-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:”Cordia New”; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} h1 {mso-style-priority:9; mso-style-unhide:no; mso-style-qformat:yes; mso-style-link:”หัวเรื่อง 1 อักขระ”; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; mso-outline-level:1; font-size:24.0pt; font-family:”Angsana New”,”serif”; mso-fareast-font-family:”Times New Roman”;} span.1 {mso-style-name:”หัวเรื่อง 1 อักขระ”; mso-style-priority:9; mso-style-unhide:no; mso-style-locked:yes; mso-style-link:”หัวเรื่อง 1″; mso-ansi-font-size:24.0pt; mso-bidi-font-size:24.0pt; font-family:”Angsana New”,”serif”; mso-ascii-font-family:”Angsana New”; mso-fareast-font-family:”Times New Roman”; mso-hansi-font-family:”Angsana New”; mso-bidi-font-family:”Angsana New”; mso-font-kerning:18.0pt; font-weight:bold;} .MsoChpDefault {mso-style-type:export-only; mso-default-props:yes; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-fareast-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:”Cordia New”; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} .MsoPapDefault {mso-style-type:export-only; margin-bottom:10.0pt; line-height:115%;} @page WordSection1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 72.0pt 72.0pt 72.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.WordSection1 {page:WordSection1;} –>

    /* Style Definitions */
    table.MsoNormalTable
    {mso-style-name:ตารางปกติ;
    mso-tstyle-rowband-size:0;
    mso-tstyle-colband-size:0;
    mso-style-noshow:yes;
    mso-style-priority:99;
    mso-style-qformat:yes;
    mso-style-parent:”";
    mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt;
    mso-para-margin-top:0cm;
    mso-para-margin-right:0cm;
    mso-para-margin-bottom:10.0pt;
    mso-para-margin-left:0cm;
    line-height:115%;
    mso-pagination:widow-orphan;
    font-size:11.0pt;
    mso-bidi-font-size:14.0pt;
    font-family:”Calibri”,”sans-serif”;
    mso-ascii-font-family:Calibri;
    mso-ascii-theme-font:minor-latin;
    mso-fareast-font-family:”Times New Roman”;
    mso-fareast-theme-font:minor-fareast;
    mso-hansi-font-family:Calibri;
    mso-hansi-theme-font:minor-latin;}

    คาสิโนออนไลน์ ที่มีมาตรฐานสากลและให้บริการสมาชิกทุกท่านดุจเครือญาติ เปิดให้บริการสมาชิกตลอด 24 ชั่วโมง เพียงท่านสมัครเป็นสมาชิกกับเราพร้อมทั้งโปรโมชั่นสุดพิเศษสำหรับสมาชิกใหม่ ทุกท่าน เพียงบ้านของท่านมีอินเตอร์เน็ตก็สามารถดาวน์โหลดเกมส์มาเล่นได้อย่างสบายสบายไม่ต้องเดินทางไปไกล

    สนใจติดต่อเรา ตลอด 24 ชั่วโมง

    AIS : 084-417-7063

    DTAC : 080-559-7275

    http://www.casinobet99.com

  • #15 Rhypere ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2023 เวลา 9:23

    They were informed of possible risks associated with multiple pregnancies and of chances of success after subsequent frozen embryo transfer cycles cialis for daily use Luteinized thecoma

  • #16 cwiJfrKt ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 สิงหาคม 2023 เวลา 5:08

    Rosacea often has a positive family history cialis prescription online In a more recent study Hylin et al


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.13372206687927 sec
Sidebar: 0.027498006820679 sec