การพัฒนาหลักสูตร

โดย จอมป่วน เมื่อ 14 กุมภาพันธ 2009 เวลา 22:00 ในหมวดหมู่ จอมป่วน, เฮฮาศาสตร์, แลกเปลี่ยนเรียนรู้ #
อ่าน: 1769

ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาหรอกครับ แต่ความจำเป็นบังคับให้ต้องจัดการฝึกอบรมสัมมนา ทำผิดมามาก เสียค่าโง่มามาก แต่ยังโชคดีที่เอะใจก็เลยพัฒนาหลักสูตรขึ้นมา โชคดีที่มีงบจากโครงการความร่วมมือกับทางเยอรมันช่วยพัฒนาหลักสูตร และมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเลยพอได้อะไรติดไม้ติดมือมาบ้าง

การอบรมหรือสัมมนาแต่ละครั้ง ไม่มี(หลัก)สูตรตายตัวนะครับ เหมือนต้องวัดตัวตัดเสื้อใหม่ ไม่ใช่เสื้อโหลที่จะใส่ได้ทุกคน ต้องดูวัตถุประสงค์ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสัมมนา(เป็นกลุ่มไหน มีปูมหลังอย่างไร การศึกษา ประเพณีวัฒนธรรม ฯ) ระยะเวลา ถ้าต้องการความสำเร็จมากแต่เวลาน้อยเกินไป ก็ต้องปรับให้ลงตัว ให้พอดีกัน

ในบางครั้งก็อาจต้องแบ่งการฝึกอบรมเป็นหลายครั้ง เพื่อให้เวลาพัฒนาตัวเองสักระยะหนี่ง คือเป็นแบบขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูง ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมสัมมนาต้องมีคุณสมบัติขั้นต้นที่ผ่านเกณฑ์ เช่นความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ฯ

หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นก็ต้องมีความสอดคล้อง ต่อเนื่อง มีลำดับก่อนหลังที่เหมาะสม วิธีการที่ใช้ก็ต้องปรับให้เหมาะสมกับกลุ่มที่เข้ารับการฝึกอบรมสัมมนา

ในการฝึกอบรมก็มีการหารือระหว่างวิทยากรที่ร่วมงานกันตลอดเวลา อาจต้องปรับหลักสูตรหรือกิจกรรมตามความเหมาะสม มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ประเภทกระบี่อยู่ที่ใจ ไร้กระบวนท่า วิทยากรก็ต้องมีวิทยากรหลักที่รับผิดชอบกิจกรรมทั้งหมด ทีมวิทยากรก็ต้องมีลมหายใจเดียวกัน แบบว่า มองตาก็รู้ใจ

มีการประชุมหารือกันทุกวันเมื่อสิ้นสุดการอบรม เพื่อหาจุดบกพร่องและแนวทางแก้ไข บางครั้งก็มีการปรับหลักสูตรและเนื้อหาให้เหมาะสมและทันสมัยขึ้น

กลุ่มวิทยากรก็จะมีเครือข่าย ที่จะคอยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน มีการสังคายนาเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่ใช้เป็นแนวทางในการฝึกอบรมสัมมนาด้วย รวมทั้งมีการเยี่ยมติดตาม ประเมินผลและมีการจัดชุมนุมลูกศิษย์เป็นระยะๆ เพื่อทราบความก้าวหน้า เป็นการประเมินผลการฝึกอบรมสัมมนาไปด้วย

เคยเจอบ่อยๆที่ใช้หลักสูตรเดิมมานาน เหมือนฉายหนังซ้ำ ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเลย การฝึกอบรมสัมมนาเลยเนือยๆ ไม่มีชีวิต ไม่ทันสมัย

บันทึกนี้ว่าด้วยหลักสูตร คราวหน้าว่าด้วยเรื่องอะไรดี วิทยากรหรือกระบวนกรดีมั๊ย อิอิ

Post to Facebook Facebook

« « Prev : การฝึกอบรมสัมมนา

Next : วิทยากร » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6 ความคิดเห็น

  • #1 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 กุมภาพันธ 2009 เวลา 22:55

    สวัสดีคุณครู หนูมาเรียนแล้วครับพ้ม

  • #2 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 กุมภาพันธ 2009 เวลา 23:36

    #1  สาวตา 
    อนุญาตให้ลาป่วย  รักษาใจแตก  หน้าแตกให้หายดีก่อนแล้วค่อยมาเรียนนะนู๋ตา
     

  • #3 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 กุมภาพันธ 2009 เวลา 0:08

    นักกระบวนกรไม่จำเป็นต้องเรียนจบมาทางการศึกษา ทุกอาชีพสามารถเป็น ผชช.ได้ ถ้าท่านสนใจก็เป็นได้ ท่านก็ทราบดี น้องคนหนึ่งเรียนจบพัฒนาชุมชนแต่เอาดีทางโปรแกรมเมอร์ที่เบียร์สิงห์  เอากะมันซิ…ก็สนใจอ่ะะ เรียนรู้เองก็ได้…

    วิศวกรมาเป็นนักสังคมดังๆก็หลายคน

    การพัฒนาหลักสูตรเป็นเรื่องที่เราเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ

    • ปัจจุบันนี้นับตั้งแต่เบอร์หนึ่งของ สปก.เข้ามาลุยงานที่กลุ่มผมทำอยู่ ท่านลงมายกเลิกหลักสูตรฝึกอบรมหมด ไม่เอา เลิกกันที เปลี่ยนใหม่เป็นการจัด Field Day เรื่องนี้มีที่มาที่ไป ยาว ซึ่งการยกเลิกมีทั้งดีและไม่ดีในทัศนของผม แต่ไม่ขอกล่าวนะครับ
    • อย่างไรก็ตามหลักสูตรที่เราจัด กับชาวบ้านนั้น เน้นเรียบง่าย ไร้รูปแบบอย่างที่เฮียตึ๋งพยายามบอกเรานั่นแหละครับ  เราทำได้หากเราเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด สลัด สะบัด กำจัดรูปแบบออกไปให้หมด เอากลุ่มเป้าหมายเป็นตัวตั้งให้มากที่สุด แต่กระนั้นก็มีข้อจำกัดที่เราก็พยายามแก้ไขไปเรื่อยๆ เช่น การอธิบายแก่ชาวบ้านให้เลิกการใช้ปุ๋ยเคมีหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพนั้น เรื่องนี้มันมีสาระวิชาการเข้ามาด้วย เช่น พืชไม่ได้ต้องการเพียง NPK แต่ต้องการสารอาหารอีกตั้ง 10 ชนิด ซึ่งไม่มีในปุ๋ยวิทยาศาสตร์ แต่มีในปุ๋ยชีวภาพ ….การที่จะโน้มน้าวให้ชาวบ้านเข้าใจเจ้าธาตุอาหารอีก 10 ขนิดนั้นต้องใช้ทักษะกันมากหน่อยว่าเจ้าโบรอน แมกนีเซี่ยมพืชเอาไปทำอะไร  เรื่องเหล่านี้แหละที่เราต้องการนักเทคนิค นัก animation เข้ามาช่วยส้รางกระบวนความเข้าใจแบบง่ายๆและเป็นวิทยาศาสตร์  หรือเราต้องการกลุ่มละคอนเพื่อชาวบ้านมาศึกษาทำความเข้าใจชุมชนแล้วก็สร้างละคอนสะเทือนใจขึ้นมาตระเวนไปเล่นในหมู่บ้าน  ก็เคยเห็นมาบ้างแล้วว่าละคอนบางคณะนั้นสร้างผลสะเทือนมาก หรือที่สาวตาเรียกว่าเหนี่ยวนำนั่นใช่ไหม….
    • ผมเคยฝันว่ามีหน่วยงานใดที่รวบรวมยอดฝีมือมาร่วมกันทำงานเพื่อชาวบ้านยกทีมไปด้วยกัน สร้างเครื่องมือแบบง่ายๆแต่สามารถทำให้ชาวบ้านเข้าใจ  เราก็ได้แค่ฝัน…และข้อจำกัดนี้เองเราก็ยังยืนพูดหน้าชั้น เวลาหน่วยงานสร้างโครงการเขามองไม่เห็นเครื่องมือสำคัญขององค์ประกอบเหล่านี้ที่จะช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้  คนมีฝีมือมีมากครับในบ้านเรา แต่กระจัดกระจายไปเป็นวงดนตรีของใครของมัน
    • มีครั้งหนึ่งเราจัดพาชาวบ้านไปศึกษาดูงานกลุ่มออมทรัพย์ที่อุบลราชธานี เอาแม่บ้านไปด้วย  ที่นั่นเขามีกระบวนการให้ความรู้ความเข้าใจที่ดี จึงสร้างความเข้าใจ แลเห็นประโยชน์และความจำเป็น เมื่อชาวบ้านกลับมาดงหลวง เขาก็ชวนผมไปตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นในหมู่บ้านของเขา โดยผู้หญิงเป็นตัวนำในการทำกิจกรรมนี้….
    • หากเรามีบุคลากรที่พร้อมก็สามารถเอาหลักสูตรดีดีแปลงไปสู่การปฏิบัติที่ “มีพลัง” ได้มาก ไม่เช่นนั้นเราก็ย่ำอยู่กับรูปแบบเดิมๆไปอีกนานเท่านาน

    ดีดี เฮียตึ๋ง  เอาอีก

  • #4 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 กุมภาพันธ 2009 เวลา 0:52

    #3  ลุงบางทราย

    ……ดีดี เฮียตึ๋ง  เอาเขียนบันทึกอีก  …..  ขอแก้ไขหน่อย  อิอิ

    จริงๆที่ลุงบางทรายแสดงความเห็นมานี่  เขียนตำราได้เป็นเล่มเลยนะครับ  อิอิ

     

  • #5 จันทรรัตน์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 กุมภาพันธ 2009 เวลา 14:58

    อ่านอย่างตั้งใจค่ะ

    ตามที่มีประสบการณ์เล็กๆน้อยๆค่ะ
    ผู้ร่วมสร้างหลักสูตรต้องเข้าใจวัตถุประสงค์หลักจริงๆ ไม่งั้นก็เป็นวัดตัวตัดเสื้อแต่ออกมาเป็นกางเกงนะท่านจอมป่วน

  • #6 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 กุมภาพันธ 2009 เวลา 0:02
    #5  อุ๊ยจั๋นตา
    แหมๆๆๆๆ พูดทีไร  ถูกทุกทีเลยครับ  ตั้งใจตัดเสื่อ  ไปๆมาๆ  ได้กางเกง  ได้กระโปรง  ฮ่าๆๆๆๆๆ  ฮิ้ว……….

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.67828297615051 sec
Sidebar: 0.057487010955811 sec