12344
หลายวันมาแล้วที่คุยกับเพื่อนที่เรียนด้วยกัน…
1234 กลุ่มเพื่อนที่เรียนด้วยกันส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้ว ทั้งทำงานเอกชนและรับราชการ ก็มีทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน
1234 ระยะนี้เป็นช่วงของการทำดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) ที่เราชอบเรียกง่าย ๆ ด้วยความเคยชินว่า วิทยานิพนธ์ (Thesis) อาจารย์ต้องทั้งดุและขอร้องให้เราเรียกให้ถูกต้อง แม้ว่าเราจะรู้สึกว่า ไม่ต่างกันหรอก เรียกง่าย ๆ ก็คือ “รายงาน” ชิ้นใหญ่ ที่ต้องทำส่ง ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการจบหลักสูตรนั่นเอง จะเรียกอะไรก็ตามที
1234 ในยุคที่สถานศึกษาต้องแข่งขันด้านคุณภาพ ชื่อเสียง และการหารายได้เพื่อเลี้ยงตนเอง การเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนก็ยิ่งเข้มข้น มีทั้งภาคปกติ (ค่าเรียนถูกหน่อย) ภาคพิเศษ (เรียนนอกเวลาราชการ ค่าเรียนแพงกว่า) และทั้งภาคปกติและภาคพิเศษรุ่นนี้มีนิสิตรวม 18 คน
1234 ทุกวันศุกร์จะมีการรวมกลุ่มเพื่อนเพื่อพบปะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยกันกระตุ้น ติดตามกัน ใครมีปัญหาเร่งด่วนก็นำมาคุยในวงสนทนา เพื่อรับคำแนะนำปรึกษาจากเพื่อน ๆ ซึ่งมีความรู้ชำนาญ และมีเครือข่ายที่หลากหลายกันไป
1234
1234 วันอังคารที่ผ่านมาเป็นการรวมตัวกันนอกรอบ เนื่องจากมีเรื่องเร่งด่วน เราพบว่าในจำนวนพวกเรา 18 คนนั้น มี
- 1 คน สอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ไม่ผ่าน (แม้จะได้สอบแก้ตัวถึง 3 ครั้ง)
- 2 คน ขอลาออกเนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยทางกาย (ซึ่งก็ส่งผลมาจากความวิตกกังวล-ทางจิต)
- 1 คนกำลังจะต้องลาพักหรือลาออกอีก เนื่องจากป่วยด้วยอาการทางจิตเวช (หวาดระแวง) และ
- อีก 2 คน กำลังคิดจะลาออกไม่เรียนต่อ เนื่องจากมีปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว
รวมความแล้วมีเพื่อน ๆ ที่มีปัญหาและออกจากการเรียนไป 4 คน และกำลังจะออกไปอีก 2 คนในไม่ช้านี้
นั่นหมายถึงว่าจำนวน 1 ใน 3 ของผู้ที่เรียน ต้องออกจากการเรียนกลางคัน ไม่สามารถเรียนต่อจนจบหลักสูตรได้ การเรียนในระดับบัณฑิตศึกษานี้ นอกจากค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่ต้องจ่ายจะสูงพอสมควรแล้ว ยังมีส่วนของการลงทุนจากภาครัฐที่สนับสนุนอีกส่วนหนึ่งด้วย … และนี่ก็คือสิ่งที่เรียกกันว่า “ความสูญเสียทางการศึกษา“
1234
เกิดอะไรขึ้น?
เป็นคำถามที่กลุ่มเราพูดคุยกัน หลังจากมีการส่งตัวแทนไปคุยกับเพื่อน ๆ ที่ไม่เรียนต่อด้วยเหตุต่าง ๆ
- สำหรับคนที่สอบหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ไม่ผ่านนั้น ทุกคนได้พยายามช่วยเหลือทางด้านวิชาการเต็มที่แล้ว แต่ไม่สามารถช่วยได้ ต้องปล่อยไป
- คนที่มีปัญหาสุขภาพทางกายและทางจิตนั้น ได้พยายามช่วยแล้ว แต่เกินวิสัยที่จะทำได้ และเป็นการตัดสินใจของเจ้าตัวและครอบครัว ซึ่งเห็นว่าหากการเรียนจนจบเป็นดุษฎีบัณฑิตแล้ว มีโรคติดตัวแถมไปตลอดชีวิต หรือเรียนแล้วต้องเป็นคนบ้า ๆ บอ ๆ เกิดปัญหาทางจิต คงไม่คุ้มกัน
- ส่วนอีก 2 คนที่มีปัญหาครอบครัวนั้น เราเสนอกันว่าควรไปคุยกับครอบครัวของเพื่อน ช่วยอธิบายและผ่อนคลายให้คนในครอบครัว (ภรรยา/สามี) ได้เข้าใจลักษณะการใช้เวลาของผู้ที่เรียนว่าเป็นอย่างไร ฯลฯ ในวันศุกร์นี้
ไม่หนักใจนักที่ได้รับการมอบหมายจากกลุ่มให้เป็นตัวแทนร่วมกับเพื่อนอีกคนหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นคนไปพูดคุยในครั้งนี้ เตรียมข้อมูลไว้แล้ว ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แต่คงต้องปล่อย-วาง-ใจสำหรับผลที่จะเกิดขึ้น
1345
1234 แต่ที่คิดต่อมาอีกก็คือ ทำไม “การศึกษา” ในระบบจึงได้ทำร้าย “ผู้เรียน” ได้ถึงขนาดนี้นะ เกิดอะไรขึ้น และควรจะแก้ปัญหานี้หรือเปล่า จะแก้อย่างไร ใครควรรับผิดชอบ
หรือ… จะตอบง่าย ๆ พอพ้น ๆ ตัวไปเหมือนที่เคยได้ยินได้ฟังมาว่า เรียนถึงระดับนี้แล้ว ต้องแกร่ง เข้มแข็ง อดทนได้ทุกสภาวะ ไม่งั้นไม่สมศักดิ์ศรี (ศักดิ์ศรีอะไรก็ยังไม่แน่ใจ) ระบบการเรียนการสอนต้องไม่ยอมให้ผ่านไปได้ง่าย ๆ ต้องเคี่ยวกรำ บีบคั้น ให้คิดให้แก้ปัญหา ให้ทำได้ ทนได้ทุกอย่าง จบง่าย ๆ ก็ไม่มีคุณค่าน่ะสิ
งั้นการศึกษาก็เป็นเพียงกระบวนการที่จะทดสอบความแข็งแกร่ง เข้มแข็ง อดทน ทนอด ต้องปรับตัวได้ทุกสภาวะแบบ “ศรีทนได้” อย่างนั้นหรือ?
1234
การศึกษาจึงกลายเป็น “กองทุกข์” ก้อนโต คนที่เรียกว่า เก่ง แกร่ง เข้มแข็งที่ผ่านไปได้เท่านั้นจึงจะได้ชื่อว่าเป็น “บัณฑิต มหาบันฑิต ดุษฎีบัณฑิต” แล้วคนที่มีปัญหาในบางด้าน (ใครจะไม่มีปัญหาเลยล่ะ) ถือว่าอ่อนแอ ก็ถูกผลักออกจากระบบการเรียนการสอนไปเลยอย่างนั้นหรือ…(เพื่อนบางคนบอกว่า…โลกนี้ไม่มีที่สำหรับคนอ่อนแอ)
1234
“การศึกษา” น่าจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนทุกคนได้พัฒนาศักยภาพสูงสุดของตน ส่งผลมีความเจริญงอกงามทางสติปัญญา และสามารถนำความรู้และสติปัญญานั้นไปสร้างสรรค์ ทำให้ตนเองและผู้ือื่นได้เข้าสู่การตระหนักในคุณค่าของตน และแผ่กว้างไปจนถึงการทำประโยชน์และสร้างสรรค์สังคมโดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนตัวในที่สุด… มิใช่หรือ?
1234
ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ท่านกล่าวว่าการศึกษาปัจจุบันเป็นการศึกษาของพวก “หมาหางด้วน” เพราะระบบการศึกษาเน้นแต่ให้ “ความรู้” (ทางโลกและโลกย์) แต่ขาดการให้ความรู้ในมิติของ “คุณธรรมจริยธรรม” (หมาที่หางด้วนนี่เสียความเป็น “หมา” ไม่ได้รับการยอมรับ เพราะไม่มีหาง ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญในการสื่อสารสำคัญไปแล้ว)
1234
ว่าที่ “หมาหางด้วน” เลยบ่น ๆ กันเองว่า ก็ในเมื่อระบบการศึกษาสร้างเรา (Treat) เช่นนี้ ก็จำเป็นอยู่เองที่เราจะกลายเป็นเช่นนั้น ไม่งั้นมันไม่จบนี่ มาเรียนแล้วขืนไม่จบก็อายเขาตาย แถมยังรู้สึกต้อยต่ำ ขาดความภาคภูมิใจในตัวเองไปตลอดชีวิต ดังนั้นในทุกวิถีทางไม่ว่าระบบและใครว่าอะไร ฉันก็ต้องทำ ต้องทน ต้องยอมรับให้ได้ … จบเมื่อไหร่ค่อยว่ากันอีกที…
ตกลงก็เลยกลายเป็น… “หมาหางด้วน” ไปเต็มตัว และมีหมาหางด้วน ซึ่งเป็นผลผลิตของระบบการศึกษาเดินเพ่นพ่านเต็มสังคมไปหมด
1234
ยิ่งคิดยิ่งหดหู่ใจ…บ่นและบันทึกไว้ ยังไม่รู้จะแก้อย่างไร แต่อย่างหนึ่งที่คิดขึ้นมาได้ในขณะนี้ก็คือ…
1234
เราไม่อยากเป็นหมาหางด้วน จะไม่เป็น ไม่ยอมเป็น…เด็ดขาด!!!
13424