บทที่ 1 การจัดการความไม่รู้

อ่าน: 2256

ผมอ่านเจอในบล็อกพวกเรานี่แหละ ใครก็ไม่รู้ พูดว่าอวัยวะที่เปิดกว้างที่สุดของมนุษย์คือ “สมอง” น่าจะเป็นประเด็นเดี่ยวกันการคิดโน่นคิดนี่กระมัง บังเอิญมีโปรแกรมจะไปบรรยายที่ วปอ. ผู้จัดให้หัวข้อพูด เรื่องการจัดการความรู้สไตล์ครูบา ถ้าพูดตามที่เขาให้มา..ผมไม่มีความรู้อะไนพอที่จะไปจัดการ ผมโง่มาทั้งปีทั้งชาติจะไปพูดเรื่องแก่นความรู้ไม่ได้หรอก  มองไปข้างหน้าดีกว่า..

จึงออกแบบ จะไปบอกเล่าเรื่องการจัดการความไม่รู้น่าจะดีกว่า วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือเล่าวิธีที่่ตัวเองกำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน เราอยู่ในสถานะอะไร ดำเนินชีวิตเข้ากับสังคมแบบไหน เจอเงื่อนไขอะไร เข้าใจและเห็นสภาพสังคมอย่างไร เมื่อเห็นแล้ว คิดและทำอะไรบ้าง นี่คือบริบทหยาบ ๆ  คิดแล้วก็ลงมือสิครับ

อันดับแรก เรื่องเศรษฐกิจรายได้ พบว่าคนกรุงมีรายได้สูงเงินเดือนเยอะก็จริง แต่รายจ่ายก็สูงตามไปด้วย คนเดินดินธรรมดาวันหนึ่ง ๆต้องจ่ายเรื่องประจำวัน

(สตอเบอรี่พันธุ์มะนาวเรียกพี่ ครูมิมแนะให้ใส่ตำับักหุ่ง)
ค่ากิน ค่าเดินทาง ประมาณวันละ 150-200 บาท= เดือนละ ุ6,000 บาท

ค่าที่พัก ค่าเสื้อผ้า ค่าเกี่ยวการเรียน ภาษีส่วนตัว ประมาณเดือนละ 5,000+1,000+2,000+1,000=9,000 บาท

แถมให้มีค่าพิเศษอื่น ๆ ท่องเที่ยว ดูหนัง ชื้อของ= 2,000 บาท

รวมสุทธิเดือนหนึ่งจ่ายประมาณ 6,000+9,000+2,000 บาท=17,000 บาท

เบาะ ๆ ก็หมื่นกว่า ถ้าหนุ่มโสดอย่างผมก็พอไหว ถ้าหนุ่ม ๆ คิดจะมีแฟนอย่างอ.ขจิต จะจ่ายอีกเท่าไหร่

สรุปว่าหนุ่มยุคนี้จะต้องมีเงินเดือนขั้นต่ำ 25,000 บาท ถึงจะถ้าจีบสาว ๆ ได้

ภาวะรายได้ตึงตัว เช่นนี้ ทำให้เกิดสภาพจีบกันเจ๊าะแจ๊ะ..แต่ไม่มาขอหมั้นสักที..การยืดอายุความเป็นโสดยาวขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย มีคำถามว่า ..ถ้าเป็นอย่างนี้จะทำอย่างไร? การจัดการความรู้เข้ามาแก้ไขปัญหาหัวใจได้ไหม? ได้สิครับ..ถ้าเราใช้วิธีของสตรีอินเดีย หรือใช้วิธีพบกันครึ่งทาง วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่งหนึ่ง ทุกอย่างหาร 2 อิอิ

หัวใจของ KM อยู่ที่ ต้นทุนความรู้ วิธีเรียนรู้ วิธีสังคายนาความรู้ และวิธีสร้างสังคมของผู้รักการเรียนรู้

ทุกท่านที่เข้ามาเขียนบล็อกในKM. ล้วนเดินมาถูกทางแล้วละครับ

วิธีการอื่น ๆ ที่เคยทำมาก็สำคัญ แต่ถ้าใครเสริมเรื่องการแสวงหาความรู้จากบล็อก จะทำให้ท่านเข้าสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้อย่างบรรเจิด ไม่เซ่อบ๊องอยู่กับวิธีการเก่า ๆ เราจะพบโลกแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ท่านจะมีเพื่อนร่วมเรียนรู้ทุกสาขาอาชีพ ที่สำคัญ..ตอบตัวเองได้ว่า..วันนี้เราอยู่กับความรู้อะไร? เรามีวิธีไขว้คว้าความรู้อย่างไร?

เรื่องการเรียนเราสามารถออกแบบเองได้ ยกตัวอย่างมื้อเช้านี้ ผมมีความคิดว่าทำไมเราจะต้องกินข้าวทุกมื้อด้วย พลิกแพลงเป็นอย่างอื่นดีไหม ..เกิดการถามตัวเอง.. ใครจะตอบละครับ ในเมื่อในห้องนี้มีเราอยู่คนเดียว

การถามและตอบตัวเองจึงเกิดขึ้น..ด้วยกระบวนการเรียนเชิงปฏิบัติ

ผมเอาเนื้อหมูสไลด์แผ่นบางๆ วางลงไปในโถแก้ว แล้วนำไปเข้าเตาไมโครเว๊ป

3 นาทีเอาออกมาเติมน้ำร้อนลงไปในโถ หั่นผักกาด เติมก้อนซุป เติมกุ้งแก้ว เติมเนื้อหมูบด เต็มซ๊อสเล็กน้อย

เอาไปเข้าเตาไมโครเว๊ป 3 นาที ยกออกมาควันหอมฉุย หั่นต้นหอมลงไป ยกออกมาตั้งโต๊ะ

ชงกาแฟ 1 ถ้วย เอาขนมปัง 2 ก้อน มาจิ้มกับถั่วลิสงบด ซดซุปร้อนๆสลับกันไป

ตบท้ายด้วยกล้วยหอม 1 ผล อิ่มอร่อยเหมือนกันนะ

ถามว่ากินแบบนี้บ่อยๆไม่เบื่อรึ  เบื่อสิครับ..ถ้าเราไม่เป็นผู้เรียน

ผู้เรียนก็จะเรียนไปเรื่อย ๆ พลิกแพลงเมนูไปเรื่อย ๆ

ค้นดูในตู้เย็น เจออะไรก็เอามาทำอาหารใหม่ ๆ

เราก้ได้ชิมความรู้ใหม่ ๆ สด ๆ ควันฉุย

ทำใหม่ ก็เกิดความรู้ใหม่

ความรู้ใหม่นำไปสู่ความคิดใหม่ๆ

หลายความคิดใหม่ที่กลั่นกรองแล้วก็จะเป็น นวัตกรรมใหม่ ๆ

เขียนถึงเรื่องนี้แล้วนึกถึงครูปู ทั้ง 2 ปู นั่นแหละ ชอบทำอาหารมาก

ถ้าสักวัน..ชวนมาทำอาหารร่วมกัน

ก็จะเกิดเครื่อข่ายสายKM อาหารบรรลือโลก

สรุปว่า..KM ต้องเกิดจากการปฎิบัติ เราถึงจะได้พบได้ชิมความรู้ใหม่

ถ้าเรียน KM จากหน้ากระดาษ จะเจอกับข้าวบูด ได้ชิมความรู้เก่า

อิ อิ..

« « Prev : บังเอิญ

Next : บทที่ 2 การจัดการความรู้รอบตัว » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

7 ความคิดเห็น

  • #1 สิทธิรักษ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 กุมภาพันธ 2009 เวลา 11:50

    “การถามและตอบตัวเองจึงเกิดขึ้น..ด้วยกระบวนการเรียนเชิงปฏิบัติ”

    เรียกว่าเป็นวิวิฒน์ไม่สิ้นสุด

  • #2 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 กุมภาพันธ 2009 เวลา 12:27

    เคยกินมื้อเช้าที่ห้อง 814 มาแล้วครับ  สมัยที่ยังไม่มีตู้เย็น  อิอิ

  • #3 dd_l ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 กุมภาพันธ 2009 เวลา 12:30

    เฮ้อ..โชคดี  ตู้เย็นไม่ต้องประกอบเอง..ไม่งั้นมีคนอาสามาประกอบตู้เย็นแน่ค่ะครูบา
    ตู้เย็นใหม่..เมนูใหม่..ความรู้ใหม่..อิ อิ

  • #4 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 กุมภาพันธ 2009 เวลา 12:46

    หมอนะรอดตัวไปแบบเส้นยาแดงผ่าแปด อิอิ

  • #5 สร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 กุมภาพันธ 2009 เวลา 21:39

    “เรื่องการเรียนเราสามารถออกแบบเองได้”

    …เห็นด้วยอย่างมากเลยค่ะ..

    มีเรื่องให้เรียนรู้ทุกวันขอเพียงตั้งใจอยากเรียนนะคะ…การทำกับข้าวก็เป็นการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด เพราะความต้องการของคนก็ไม่สิ้นสุด เมนูอาหารถึงได้มีหลากหลายมากมายทั่วโลกนะคะ….

  • #6 krupu ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 กุมภาพันธ 2009 เวลา 15:53

    พ่อ ฯ ขา
    หนูมีเมนูฉบับหน้ามืดมาเสนอ
    (เก็บของเหลือ ๆ ในตู้เย็นมาทำทานเล่นวันหยุด)
    นำเส้นมาม่ามาลวกพอสุด พักไว้สักครู่
    นำไปพันไส้กรอกให้รอบ
    พยายามเรียงเส้นให้เรียบร้อยจากหัวถึงท้าย
    ยกลงไปแช่ในแป้งโกกิที่ผสมน้ำรอไว้แล้ว
    ยกทั้งหมด (แตะตรงปลายของไส้กรอก)ลงทอด ไฟกลาง ๆ
    สุกพอเหลือง ยกขึ้นมาหั่นแนวขวาง
    จะเห็นไส้กรอกรูปเหรียญมีมาม่าทอดสีทอง ๆ พันอยู่
    ทานกับน้ำจิ้มไก่ ก็อร่อยเด็ด

    หนูเคยทำทานวันหยุด ทำไปทำมาหน้าตาดี
    เลยยกไปแจกข้างบ้าน
    พอข้างบ้านชม ก็เลยทำอีก ตกลงแจกไปทั้งซอยเลยค่ะ อิอิ

  • #7 nning ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 กุมภาพันธ 2009 เวลา 17:56

    การจัดการความไม่รู้  ^ ^  พ่อเปิดประเด็นทีไร ได้อะไรดีดีเสมอเลยค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 1.9346859455109 sec
Sidebar: 0.8533718585968 sec