ไผ่ไผคิดว่าไม่สำคัญ
(น้ำฝนดีกว่าน้ำปุ๋ยใดๆ)
ฝนต้นฤดูปีนี้ช่างกระหน่ำให้ชุ่มฉ่ำดีเหลือเกิน ตลอดระยะหนึ่งเดือนแล้วละมังที่ฝนตกทุกวัน ไม่มีเว้นอย่างน่้อยที่อื่นไม่ตกที่นี่ก็ยังหยอดมาไม่ให้เว้นวรรคแม้แต่วันเดียว นอกจากต้นไม้จะเขียวสะพรั่งแล้ว กบเขียดแมลงต่างๆก็พลอยร่าเริงไปด้วย หิ่งห้อยที่หายไปนานกลับมาวิบวับยามค่ำคืน หน่อไม้ที่เคยแห้งเหี่ยวเจียนอยู่เจียนไปช่วงแล้ง กำลังแข่งขันกันแตกหน่อ ลองไปนับดูกอที่สมบูรณ์พบว่ามีหน่อถึง19 หน่อ บางหน่ออวบอ้วนน่าจะน้ำหนักกิโลกว่า ถ้าสับมาต้มกระดูกหมู หน่อเดียวก็อิ่มทั้งบ้าน
ที่เขียนถึงไม้ไผ่ พิเคราะห์แล้วว่า
ไม่มีไม้ชนิดไหนหรอกที่จะมีคุณสมบัติเหมาะสมกับสภาวะที่ขาดๆเขินๆของยุคนี้
นึกดูสิครับ ปลูกปีสองปีก็มีหน่อให้เจี๊ยะ มีลำให้ใช้ประโยชน์ได้สาระพัดนึก
ปลูกง่ายโตไวมีลำต้นหมุนเวียนให้เราตัดออกมาใช้งานได้สาระพัด
ไม่ต้องรอนานเหมือนการปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่น
ไม้ยืนต้นกว่าจะเอามาใช้งาน เช่น อะเคเซีย ก็ต้องใช้เวลารอบตัดสางขยายระยะในปีที่7
ภูมิปัญญาของคนยุคก่อนนำไม้ไผ่มาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างบรรเจิด
วิถีไผ่ วิถีไทย นั้นน่าทบทวนอย่างยิ่งในสถานการณ์วิกฤติสภาพแวดล้อมอย่างนี้
(ไผ่ถึงจะชอบที่ลุ่ม แต่ก็ทนแล้งได้อย่างทรหด)
การปลูกไผ่ลงทุนน้อย เห็นผลเร็ว เหมาะกับการจูงใจชลอหลังยาวให้หันมาแล ถ้าเราสร้างแปลงไผ่ตัวอย่างให้สะดุดตาสะดุดใจ เชื่อแน่ว่า ป่าไผ่จะกลับคืนมาทั่วถิ่นแดนไทย ไผ่เหมาะที่จะเป็นไม้สวนหลังบ้าน ไม้หัวไร่ปลายนา และไม้ในแปลงเศรษฐกิจขนาดย่อม ถ้าเบิ่งตาแลไปทั่วเอเซีย จะเห็นว่าแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับการปลูกไม้ไผ่กันทั้งนั้น ในเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐประชาชนจีน ก้าวหน้าถึงขั้นนำไม้ไผ่มาทำผลิตภัณฑ์นาโนนำโด่งพวกเราไปจนสุดกู่ เรามาเริ่มต้นเอาไผ่เป็นตัวชี้นำเชิงรุกในการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมดีไหมครับ
(ขุดลำต้นไม่แก่ไม่อ่อนมาปลูก ครึ่งเดือนจะเห็นหน่อใหม่เกิด ไม่ต้องชำกิ่ง)
ในกลุ่มของคนรักไผ่ เราคุยกันว่าน่าจะลงมือปลูกไผ่ในปีนี้จำนวน 2สายพันธุ์ คือปลูกกิมซุงไว้เอาหน่อ และปลูกไผ่ราชินีซางนวลไว้เอาลำต้นมาใช้งานแทนไม้ยืนต้น ส่วนไผ่พันธุ์อื่นๆปลูกไว้บ้างเพื่อศึกษาความเหมาะสมต่อๆไป กิมซุงทยอยปลุูกไปแล้ว 5,000 กิ่ง ส่วนไผ่ราชินีซางนวล ทราบว่ามีต้นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อได้เค้ามาอย่างนี้จึงหาเหตุไปดูไปคุยไปซื้อกิ่งพันธุ์มาปลูก ถ้ารวบรวมพันธุ์ได้ก็จะปลูกอีก ถ้าทำสำเร็จตามเจตนารมณ์ ประเทศนี้ก็จะมีไผ่แปลงใหญ่ที่จังหวัดเลย ภายในปีสองปีพื้นที่ป่าไผ่ก็คงจะน่าดูชมแล้วละครับ
เมื่อวาน ได้มีโอกาสคุยกับท่านสมศักดิ์ วิทยอุดม ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ เรื่องไม้ไผ่ ท่านเล่าว่าในเมืองไทยมีโรงงานทำเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไม้ไผ่ที่จังหวัดลำพูน จึงวางแผนไว้ไปดูวงจรไม้ไผ่ที่เมืองลับแลแล้ว ก็จะจรลีต่อไปที่ลำพูน ท่านผู้อำนวยการสำนักฯเล่าว่าเคยไปร่วมประชุมวิชาการไม้ไผ่ที่ประเทศจีน ไปเห็นแล้วอึ้งกิมกี่ ประเทศนี้พัฒนาการด้านไม้ไผ่ไปโลด โดยเฉพาะที่เมืองหางโจ มีชื่อเรียกอีกชื่อว่าเมืองไม้ไผ่ มีพิพิฑภัณฑ์สะสมประวัติไม้ไผ่ไว้สมัยราชวงค์ต่างๆให้ชม ในด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับไม้ไผ่ ไปที่เมืองนี้จบทุกเรื่อง เล่าให้ขาใหญ่ฟัง
ขาใหญ่ขอให้ส่งPASSPORT ทางไปรษณีย์ ด่วน
ผมบอกว่าติดวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ต้องรอวันจันทร์โน่นแหละ
ขาใหญ่บอก..ไม่ทันการ ของให้ฝากมากับรถทัวร์คืนนี้เลย
เอากับพี่ทั่นสิครับ
ไปๆมาๆผมจะต้องไปเมืองหางโจจริงๆหรือนี่
เจอคนปลูกไผ่ใจร้อนก็ยังงี้ละครับ
..ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ แต่เหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา ก็ไม่รู้ นะครับ
อีกคำหนึ่งที่ฮิตกันมาก..ทำตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ
แสดงว่าไผ่มีบทบาทตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ
จะอะไร ยังไง ถ้าได้ปลูกต้นไม้ก็เท่ากับเราไม่หายใจทิ้ง
ฝนตกอย่างนี้ ปลูกแล้วมันก็โตทุกวัน
ถ้าไม่ปลูก..ใ น ค ว า ม ว่ า ง เ ป ล่ า อ ะ ไ ร ก็ โ ต ไ ม่ ไ ด้ ห ร อ ก น ะค รั บ
ปลูกไผ่ ดีกว่าปลูก ต้ น ล ม ๆ แ ล้ ง ๆ ..อิ อิ..
Next : เรียนจนกว่าจะเป็นปุ๋ย » »
2 ความคิดเห็น
เตือนความจำ (ของตัวผมเอง)
ผมได้เสนอบาท่านหน้าโต๊ะโพนยางคำแล้วว่า น่านำเสนอให้ออกมาตรการปลูกไผ่ในพื้นที่เขาหัวโล้น ต้นน้ำ เช่น น้ำหนาว เพราะไผ่มารากตื้น แต่กว้าง ยึดหน้าดินเชิงเขาได้มาก ช่วยอุ้มน้ำ ช่วยนิเวศน์ได้มากหลาย
ส่วนประชาชนก็ตัดป่าอย่างยั่งยืน ด้วยการ “สางป่า”
ไม้ไผ่เอามาทำงานไม้ มาเผาถ่าน AC มาทำไร 108 รวยกว่าปลูกข้าว 10 เท่า โดยไม่ต้องไปเป็น boi ของฝรั่งญี่ปุ่นมาเลย์ที่ริมทะเล
จำได้ครับ ปี้นี้จึงมุ่งทุ่มเทที่จะปลุกไผ่ให้ได้สัก 2-3 หมื่นกอ
กำลังรื้อแปลงยูคาที่สวนส่วนหนึ่ง แล้วจะทำแปลงปลูกไผ่แบบประณีต
ตั้งใจจะให้เป็นลานไผ่อเนกประสงค์
ที่ใครๆมามานั่งเล่น หรือจะแกงหน่อไผ่ใส่ย่านางกับไก่บ้าน
ก็มีปัจจัยพร้อมตลอดปี เพราะกิมซุงมันบ้าหน่อ
จะสร้างบ้านไม้ไผ่ จะไปดูตัวอย่างที่ลำพูนในเร็วๆนี้
เอาแน่ครับ ท่านจอหงวน