อกหักลด5%
อ่าน: 1543
คำเตือน
บทความข้างหน้าเต็มไปด้วยหลุมบ่อทางอารมณ์
และขวากหนามทางความคิด
โปรดคาดเข็มขัดรัดตัวก่อนอ่าน
หัวข้อนี้ถ้าเขียนตามใจฉันน่าจะต่อถ้อยว่า อิทธิพลความคิดนำไปสู่ความรู้ มูลเหตุมาจากการได้รับหนังสือเล่มเล็กแต่มีโยงใยเรื่องใหญ่ๆไว้เต็มอัตราจากท่านจอหงวน ที่เกิดจากความตั้งใจจะสำแดงความเป็นจริงตามในการทำหน้าที่อย่างยิ่งยวดเต็มกำลัง เป็นหนังสือที่อ่านแล้วยากจะวาง ถึงตัวอักษรจะตัวเล็กแต่พลังที่อัดแน่นด้วยชนวนจูงเราไปเป็นขยักๆ สาระในระหว่างอ่านบังคับเราว่าอย่าวอกแวก บางบรรทัดต้องอ่านทวนอยู่หลายครั้ง หนังสือบ้าอะไรเล่า ถึงทำเราเป็นไปปานนั้น
ผมเป็นคนเรียนน้อยจึงแสวงหาครู ทุกคนที่ผมรู้จักล้วนเป็นครูของผมทั้งสิ้น ตามที่ผมกำหนดเอาเองว่า “ผิดก็ได้เรียน ถูกก็ได้เรียน” เพราะผมไม่มีเครื่องวัดแบบทันทีทันด่วนว่าอะไรผิดอะไรถูก และถ้าไปตั้งเงื่อนไขไว้อย่างนั้น มันก็ไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว ไ ม่ มี เ ห ตุ ผ ล อ ะ ไ ร ที่จะสร้างขวากหนามกางกั้นไม่ให้ความโง่ตัวเองเล็ดลอดออกไปเสียบ้าง ก า ร ก ร ะ จ า ย ค ว า ม เ สี่ ย ง ค ว า ม โ ง่ นั้ น น่ า ส น ใ จ น ะ ค รั บ
เราอยู่ในโลกของความผิดถูกที่เหลื่อมล้ำกันอย่างยากที่จะแยกแยะ ผมจึงเป็นมนุษย์ที่มีคุณลักษณะครึ่งๆกลางๆ บ้าก็ได้บอก็ดีบางทีก็เว่อสุดๆ แต่ตระหนักว่า วิ ธี ถ ลำ โ ง่ เ ท่ า นั้ น จะ ช่ ว ย ใ ห้ เ ร า รู้ จั ก ค ว า ม บ้ อ ง ตื้ น ข อ ง ตั ว เ อ ง ดี ขึ้ น มีคนพูด..อยากได้ลูกเสือต้องเข้าถ้ำเสือ สมัยนี้ตกยุคไปแล้ว จึงเปลี่ยนมาเป็นการเข้าหาผู้ที่อุปการะรู้สึกนึกความคิดดีกว่า เ บื้ อ ง ห ลั ง ค ว า ม คิ ด นั้ น อ ร่ อ ย แ ล ะ ห อ ม ห ว า น ยิ่ ง นั ก
จริตเยี่ยงนี้ถึงจะมีอยู่ทั่วไป แต่ก็ใช่ว่าเราจะได้พบได้สัมผัสง่ายๆ ถ้าวาสนาไม่พอเพียง ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับจริตของเราด้วย เราชอบหรือไม่ชอบแบบไหน ถ้าชอบแบบนี้ก็พัฒนาการไปอย่างชื่นมื่น แค่เปิดหน้าแรกผมก็ชอบแล้ว มีลูกล่อลูกชนที่เขียนตัวหนา
นี่ไงละเสน่ห์แม่ไม้ครูไทย ที่ยอกเอินอย่างเนียนก่อนที่จะเอาน้ำร้อนลวกแล้วเอามีดโกนขูดขนจนหนังกำพร้าระเรื่อ เป็นหนังสือบันทึกถ้อยความมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีของ รศ.ดร.ทวิช จิตรสมบูรณ์ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อส่งมอบงานให้ท่านรองฯท่านใหม่ที่จะเข้ามารับงานต่อ เขียนไปเขียนมาเอนดอร์ฟินเกิดการหลั่งเกินควบคุมได้ เลยขยายกรอบออกไปเป็นหนังสือบันทึกการบริหารงาน ภายหลังที่ทำงานมาประมาณ 2 ปี 1 เดือน ตลอดจนเพิ่มวัตถุประสงค์อื่นๆๆ เข้ามาอีกบานเบอะ
ข้อเขียนในหนังสือเล่มนี้ไม่ได้บานเบอะอย่างเดียวยังบานแบะอีกด้วย ผมอ่านแล้วนึกเห็นหน้าคนรักที่อยากจะให้ได้อ่านด้วยหลายท่าน แต่ได้รับมาเล่มเดียว ก็คงต้องเดี่ยวไมโครโฟน แกะเอาเรื่องที่จำเป็นต้องใช้เฉพาะหน้า ส่วนเรื่องอื่นๆที่แทงใจดำจำจะต้องกระแซะเอาไปใช้ประโยชน์ในวาระที่อำนวยต่อไป
ดังที่เคยเกริ่นไว้ว่า จะไปขึ้นเวทีในงานประชุมวิชาการที่มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาในปลายเดือนพฤษภาคมศกนี้ ผู้เชิญได้ขอให้เขียนบทความประกอบการเสวนา ผมมีมะพร้าวห้าวที่จะขนเอาไปขายให้นักวิชาการนักวิจัยอยู่หลายเรื่อง ยากจะแยกย่อยให้พอดีกับเหตุอันควร ซึ่งมีเหตุผลต่อการคัดเรื่องละล้าละลัง คนที่ไม่รู้จริงจะเกิดความไม่มั่นใจอย่างนี้ละครับ เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้เหมือนคนหมดแรงได้ยาหม่องยาดม ปิ๊งวาบ!
โธ่! นักวิชาเกินอย่างผม จะไปผสมห้าประสมสิบกับนักวิจัยตัวจริง พี่เลี้ยงก็ไม่รู้อยู่ที่ไหน คนที่หิ้วปีกเข้ามุมอยู่ก็ไหนก็ไม่รู้ กองเชียร์ก็อยู่ไกล..ผีถึงป่าช้าจะทำอะไรได้ นอกจากเสี่ยงตายเอาดาบหน้า ประเด็นที่คิดว่าจะเอามาคลุกเคล้าก็คือ เรื่องมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย กับการวิจัยแบบไทบ้าน เพื่อจะบอกเล่าเก้าสิบว่า บริบทของการวิจัยนั้นมันไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย ถ้าเข้าใจอย่างถ่องแท้ แม้แต่ ก ล้ ว ย สุ ก เ ค รื อ เ ดี ย ว ก็ เ ป็ น ง า น วิ จั ย ไ ด้ แต่ก็นั่นแหละ..ตาบอดถ้ามีคนจูงน่าจะไม่สุ่มเสี่ยงมากนัก จึงขออนุญาตตัดตอนจากหนังสือท่านจอหงวนมาเปิดผ้ากั๊ง
วิจัยจากรากหญ้าสู่สากล
ภารกิจด้านการวิจัยของมสท. ยังไกลตัวเกินไป เรื่องนี้พูดกันมานานนมน่าเบื่อหน่าย พวกนักวิจัยเพ้อฝันที่หลงละเมอว่าตนเองคือพวกชั้นสูง (ที่มักชอบดูถูกชนชาววิจัยชั้นต่ำอยู่ในที) ก็รักษาผลประโยชน์ตนอยู่ต่อไป ที่ชอบแต่จะทำงานวิจัยชั้นสูงมากๆยิ่งขึ้น
ผมเห็นว่าหากคนมีใจเอื้อเฟื้ออาทรต่อสังคมเป็นทุน ย่อมสามารถแสวงหาแนวทางการวิจัยให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับสังคมรากหญ้าได้เสมอ ทั้งนี้โดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือเรียนรู้หลักวิชาการใหม่มากนัก เช่น ผมเคยทำงานวิจัยอยู่กับองกรนาซ่า 13 ปี เป็นการวิจัยพื้นฐานเพื่อนำไปสู่การออกแบบเครื่องยนต์ยานอวกาศแบบใหม่ที่สามารถบินได้เร็วถึง25เท่าของเสียง โดยการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งจัดว่าเป็นงานวิจัยระดับสูงมาก
แต่พอผมกับมาเมืองไทยอยู่มสท.ผมเลิกงานนี้โดยสิ้นเชิง เพราะเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์ใดกับเมืองไทย ผ ม จึ ง หั น ม า ทำ วิ จั ย เ รื่ อ ง ก า ร อ บ แ ห้ ง ข้ า ว เ ป ลื อ ก ซึ่ ง ผ ม พ บ ว่ า ใ ช้ ห ลั ก ก า ร เ ดี ย ว กั น กั บ ก า ร วิ จั ย เ ค รื่ อ ง ย น ต์ ย า น อ ว ก า ศ แต่ไม่น่าเชื่อว่ายากและลุ่มลึกกว่าการวิจัยระดับอวกาศเสียอีก หากผมเห็นประโยชน์ตนเป็นที่ตั้งก็คงทำงานวิจัยหัวข้อเดิมอย่างต่อเนื่อง ผลิตผลงานเพื่อความเจริญทางวิชาการ (และตำแหน่งทางวิชาการ) ของตนเองได้อย่างรวดเร็ว
ผมเชื่อมั่นเหลือเกินว่า หากเรามีใจรับใช้สังคมอย่างไม่เห่อเหิมตามกระแส หรืออย่างหน้าใหญ่ใจโต ย่อมปรับงานวิจัยเราให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับสวัสดิภาพสังคมและอุตสาหกรรมรากหญ้าได้เสมอ ต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งละถ่องแท้แบบสำรวมตนว่า ประเทศเรายังยากจนอยู่ เราต้องวิจัยเพื่อปากท้องก่อนการวิจัยเพื่อตีพิมพ์ เอาไว้รวยเสียก่อนค่อยวิจัยทำนองนั้น
แรงดลใจอีกประการที่ทำให้ผมคิดการณ์นี้คือ ผมเห็นว่าคนไทยขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองมาก ทำให้ขณะนี้ไม่กล้าทำอะไรเอง ต้องทำตามทฤษฎีฝรั่งไปหมด แม้แต่ในเรื่องการบริหารสังคมซึ่งเราเกิดกินอยู่กับมันแท้ๆก็ยังทำตามทฤษีฝรั่งงกๆ คนไทยด้วยกันเองพูดอย่างไรก็ไม่เชื่อ ทำให้ต้องเดินทางไปดูงานต่างประเทศเปลืองเงินเปลืองทองกันไม่รู้จักจบสิ้นเสียที
จากการศึกษาเทคโนโลยีไทยโบราณ ผมเห็นว่ามีหลากหลายสิ่งทีเดียวที่บรรพบุรุษไทยได้คิดค้นไว้อย่างก้าวล้ำนำโลกจริงๆ คนไทยควรศึกษาให้ดีจะเกิดความภาคภูมิใจและมั่นใจในตนเองจนพอจะยืนอยู่บนสังคมโลกนี้ได้อย่างมีศักดิ์ศรี
ผมเกิดความฉงนมานานแล้วว่า นิยามของคำว่า”มหาวิทยาลัยวิจัย” ที่เราหลายท่านใฝ่ฝันอยากไปให้ถึงนั้นมันหมายความว่ากระไรกันแน่ ถามผู้ที่คิดว่าน่าจะสันทัดกรณีหลายท่าน(เพราะท่านเหล่านั้นต่างก็เป็นผู้บริหารระดับสูงที่อยากพามหาวิทยาลัยของตนไปสู่การนั้นด้วยกันทั้งนั้น) แต่ท่านก็ไม่สามารถให้คำตอบที่มีหลักฐานอ้างอิงแน่นอนได้ ซึ่งนับว่าน่ากลัวเป็นอย่างยิ่งที่เราอยากไปกันจังแต่ไม่รู้ว่าจะไปไหนกันแน่ (เหมือนกับที่อยากไปโลกาภิวัฒน์กันไม่มีผิด) เมื่อขึ้นเป็นรองวิชาการ ผมจึงถือเป็นภารกิจเร่งด่วนที่จะต้องเสาะหานิยามนี้ ผมทำด้วยการลุยอินเตอร์เนท ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลมหาวิทยาลัยมาหลายปุ้งกี๋ แต่ก็ยังจับไม่มั่นคั้นไม่ตายทีเดียวนัก ผมต้องทำการกรองและต้มข้อมูลดิบอีกหลายครั้งจึงได้ข้อสรุปที่สำคัญว่า มหาวิทยาลัยวิจัยทั้งหลายในสากลโลกกำหนดภาระงานสอนน้อยกว่ามหาวิทยาลัยสอนประมาณครึ่งต่อครึ่ง กล่าวคือ มหาวิทยาลัยสอนจะมีภาระงานสอนประมาณ 12-24 นก.ต่อภาค ในขณะที่มหาวิทยาลัยวิจัยมีภาระงานสอนอยู่ที่6-11นก. สุดแล้วแต่ความเข้มข้นของการวิจัย
เมื่อได้ตระหนักในสิ่งต่างๆที่กล่าวมา ยิ่งทำให้ผมเกิดแรงดลใจมากขึ้นในการที่จะปรับเกณฑ์ภาระงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงเสนอมหาวิทยาลัยขอจัดตั้งคณะทำงานยกร่างข้อกำหนดภาระงาน ซึ่งมีรองวิชาการเป็นประธาน คณบดีทุกสำนักเป็นคณะทำงาน เริ่มประชุมครั้งแรกผมให้นโยบายกว้างๆว่า ต้องละเอียดถึงระดับหนึ่งที่จำเป็น แต่ต้องไม่หยุมหยิมจนเกินจำเป็น ความละเอียดต้องมีเพื่อผดุงความยุติธรรม
ระบบเดิมกำหนดให้สอนถึง9นก.ต่อไตรภาค ซึ่งโน้มเอียงไปทางการเป็นมหาวิทยาลัยสอนมากกว่า เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ผมจึงเสนอให้ลดภาระงานสอนลงเหลือเพียง5นก.เท่านั้น ซึ่งถือเป็นภาระงานสอนขั้นต่ำที่ทุกท่านต้องทำด้วย เมื่อเทียบชั่วโมงสอนตลอดปีจะเทียบได้กับการสอน6นก.ทวิภาค(เนื่องจากเราสอนในระบบไตรภาค) การที่เรากำหนดไว้9นก.นั้น ผมคะเนว่าคงมีที่มาจากการให้สอดคล้องกับเกณฑ์คณะกรรมการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
ภาระงานสอน5นก. ที่กำหนดใหม่นี้ นับเป็นภาระงานสอนของมหาวิทยาลัยวิจัย ที่ต่ำที่สุดในโลกแล้ว แต่เชื่อไหมว่ายังมีคณาจารย์หลายคนด่าด่าว่าผมกำหนดการะงานสอนมาก>>
การทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆในมหาวิทยาลัยไทย
ยากยิ่งกว่าการย้ายป่าช้า
ทองอินทร์ วงศ์โสธร *
ผมเคยฝันว่าจะมีนักวิชาการนักวิจัยสักคนไหมหนอ ที่เข้าใจงานวิจัยไทบ้าน ยอมรับว่าชาวบ้านก็ทำการวิจัยได้ และอยากจะเข้ามาเป็นป๋าดันช่วยชาวบ้านอย่างสุดฝีมือ ตอนนี้ผมเจอแล้ว>> ลองอ่านสิครับ
บั้งไฟ ตะไล และระหัดวิดน้ำพลังน้ำ บั้งไฟนั้นผมเชื่อว่าเป็นจรวดเครื่องแรกของโลก..หากใครได้เห็นตะไลทะยานสู่ฟากฟ้าแล้วจะทึ่งมาก ที่เทคโนโลยีโบราณนี้ทำจรวดวิ่งได้เร็วปานจรวดเอกโซเซต์ฉะนั้น จากดินสู่กลีบเมฆได้ในพริบตา การขับเคลื่อนก็นับว่ายากแล้ว ยังการทรงตัวอีกเล่า บางครั้งเกิดการระเบิดก่อนขึ้น ก็มีคนวิจารณ์เชิงลบ โดยหารู้ไม่ว่าจรวดนาซ่าที่สร้างมาอย่างแพงโดยปริญญาเอกเป็นกระบุง ก็ระเบิดก่อนปล่อยมานักต่อนักแล้ว
ส่วนระหัดวิดน้ำก็เช่นกัน นับเป็นเทคโนโลยีมหัศจรรย์ที่พบเห็นในประเทศอียิปต์โบราณและในประเทศไทย พบมากแถบสีคิ้ว ลำตะคอง แว่วว่าแถวภาคเหนือก็พบ ผมให้นักศึกษาไปแอบถ่ายรูปเกือบถูกชาวบ้านยิงเอา เพราะเขาคิดว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมชลฯ ที่จะให้พวกเขาเลิกเลิกใช้ระหัด โดยอ้างว่ากีดขวางการไหลของน้ำ แสดงว่าวิศวไทยเข้าใจแรงอันเนื่องจากกลศาสตร์ของไหลอย่างดีมาก จึงสามารถออกแบบเพื่อดึงพลังจากการไหลของน้ำมาเป็นต้นกำลังในการขับกังหันเพื่อตักน้ำเข้าสู่ไร่นาได้
น่าสังเกตว่าบรรพชนไทยมีความฉลาดล้ำลึกปานนั้น แต่ทำไมประเทศไทยไม่เจริญเท่าที่ควร ผมฟันธงเลยว่า สา เ ห ตุ สำ คั ญ ป ร ะ ก า ร ห นึ่ ง เ พ ร า ะ เ ร า ไ ม่ ภ า ค ภู มิ ใ จ ใ น อ ดี ต ข อ ง ค ว า ม เ ป็ น เ ร า อ ย่ า ง เ พี ย ง พ อ ถึ ง ร ะ ดั บ ที่ จ ะ เ กิ ด เ ป็ น พ ลั ง ขั บ เ ค ลื่ อ น สั ง ค ม เ ร า ไ ด้ แ ร ง พ อ
ที่ท่านจอหงวนกล่าวไว้ เป็นเหตุเป็นผลประการหนึ่งที่เราแบ่งวิธีการศึกษาวิจัยออกจากฐานชีวิตและสังคมไทย บางทีก็ไปเอาวิธีการวิจัยของต่างด้าวมาสวมทั้งดุ้นเหมือนกินทุเรียนทั้งเปลือก ที่ชาวเฮฮาศาสตร์อยากจะมาลูบๆคลำในช่วงจัดเฮฮาศาสตร์นั้นนับว่าเข้าเค้าอย่างยิ่ง บรรพชนไทยนั้นธรรมดาที่ไหนเล่า ไปคล้องช้างเอามาฝึกใช้งานได้ ฝึกวัวควายไว้ไถนา สร้างเกวียนไว้บรรทุก สร้างระหัดไว้วิดน้ำ สร้างเครื่องมือดักจับสัตว์ ในอดีตเรามีชุดความรู้ของตนเองอย่างเพียงพอที่จะพัฒนาสังคมให้อยู่ได้อย่างปกติ แต่พอมาตัดตอนตาสีตาสาไม่มีน้ำยาวิจัย ทำวิจัยไม่ได้ไม่เป็น มันจึงเกิดโรคเอ๋อทั้งประเทศ
ถ้าจะขุดคุ้ย ลุยเลยดีกว่า
ผมเรียนวิชาวิจัยภาคบังคับ สาขาตกกะไดพลอยโจน
วัวผมกำลังจะอดตาย หญ้าปลูกไว้ก็แห้งกรอบ
จะไปซื้อหัวอาหารมาเลี้ยงมันก็ไม่คุ้ม
วัวแต่ละตัวโซผอมลงๆจนกลายเป็นพันธุ์หนังหุ้มกระดูก
ถ้าเป็นตัวท่าน..จะแก้ปัญหาอย่างไร
จะไปถามใคร จะไปหาความรู้ได้จากที่ไหน
ถาม ผมอยู่กับชุดความรู้อะไร?
ตอบ อยู่กับความรู้เก่าในขณะที่สภาพแวดล้อมฯเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
ถาม วิกฤติขนาดไหน?
ตอบ จนมุม จนใจ นั่งถอดใจ กลอกตาประหลับประเหลือก
โจทย์บีบกระชับจนหลังชนฝา แต่แล้วสวรรค์ก็มีตา ทำให้ผมได้เครื่องสับกิ่งไม้มา 2 เครื่อง ทดลองเอาใบไม้มาสับ กะว่าให้วัวกินพอปะทะปะทังความโหยหิว ก่อนที่จะล้มตายเป็นเบือเหมือนอย่างที่เห็นในทีวี..และแล้ววิธีลองผิดลองถูกนี่เองเป็นปฐมเหตุที่นำไปสู่การวิจัยแบบไทยบ้าน วัวที่ผอมโซจะตายเหล่มิตายเหล่ค่อยๆมีน้ำมีนวล ชวนให้ไปลูบหัวปรับทุกข์ข้างๆคอก “เจ้ารอดตายแล้วนวลเอ๋ย” เจ้าโชคร้ายที่มีเจ้าของโง่ทำการเลี้ยงดู
ในระหว่างที่กำลังคลี่คลายปัญหานี้
สิ่งดีๆผุดพรายขึ้นมาเป็นระยะๆ
การกล้าทดลองสิ่งใหม่ๆเป็นหัวใจของการวิจัย
ให้คนงานไปตัดใบก้ามปู ใบมะม่วง ใบมะขามเทศ ใบขนุน ใบมะกอก ใบโน่นใบนี่เอามาสับๆๆปนกันไปแล้วเทให้กิน ให้เมื่อไหร่ก็เกลี้ยงรางเมื่อนั้น ผลการวิจัยเริ่มโผล่ขึ้นมารางๆ..แบบนี้มันเข้าท่านี่ว่า..เกิดกำลังใจ ที่ไหนมียอดกระถิน ยอดอ้อย ต้นข้าวโพดไปขอมา ท้องทีเคยแฟบก็ป่องออก ขนใหม่ๆสีใสส่ออาการว่าสุขภาพดีขึ้น ซี่โครงหลบในเนื้อหนังเริ่มผุดผ่อง มันเป็นความสุขอย่างบอกไม่ถูกที่เราสามารถกอบกู้ชะตากรรมให้วัวทั้งฝูง
เมื่อเกิดกำลังใจ พลังใจก็ตามมา ทุกคนช่วยคิดกันใหญ่ เจ้าทินคนเลี้ยงปีนต้นไม้ไปตัดใบโน้นใบนี้มาทดลองอยู่เรื่อยๆ ห้องเล็ปก็คือคอกวัวนั่นแหละ เครื่องมือวิจัยก็ท้องวัวไงเธอ กินเท่าไหร่ก็ขี้ออกมาเท่านั้น แถมยังเป็นปุ๋ยชั้นยอดไม่มีเมล็ดหญ้าปะปน เอาไปใส่พืชผักสบายไม่ต้องกังวลเรื่องหญ้าขึ้นแปลงผัก
วิธีประเมินผลการวิจัย ดูสภาพความเจริญโดยรวม ลูกเต้าออกมาก็อ้วนท้วนแข็งแรง เต้านมเต่งตึงไม่เหี่ยวแฟบเหมือนเมื่อก่อน น้ำนมพุ่งจู๊ด ลูกวัวชุดนี้จะไม่แคระแกรนเหมือนที่ผ่านมา บางวันยังไปแบ่งน้ำนมมาผสมน้ำฉีดผักอีกแน๊ะ ต่อไปนี้ผักสดๆจากสวนป่านะเธอ โคตรอนามัยเลยแหละ ..วันไหนว่างจะรีดนมมาแบ่งกันกินกับลูกหมู
ปริมาณความรู้ เพิ่มขึ้นใหม่ๆ เจ้าคนเลี้ยงเสนอว่า นอกจากเราจะปลูกกระถินณรงค์ กระถิน แค มะรุม ส้มเสี้ยวเพิ่มมากๆไว้สำหรับเลี้ยงปศุสัตว์แล้ว ต้นไทรนี่แหละสุดยอดเชียวแหละ ไทรปลูกง่าย เอากิ่งไปปักตรงไหนก็ขึ้น ทนแล้ง ถ้าตัดแตกใบอ่อนทั้งปี ปลูกเป็นแถวเป็นแถวไว้เป็นพืชสำรองฉุกเฉินจะเหมาะมาก ทำให้เกิดความมั่นใจว่า ต่อไปนี้แล้งมหาโหดอย่างไร วัวสวนป่าจะมีอาหารสดให้เคี้ยวอิ่มอร่อยทั้งปี แถมยังประหยัดเวลาและน้ำมันรถ ไม่ต้องไปหาใบไม้จากที่อื่น
กินของที่นี่ ขี้ไว้ที่นี่ วิถีพอเพียงจากปากถึงก้น
คุณภาพของความรู้ ที่เล่ามาทั้งหมดเป็นแค่การแง้มประตูงานวิจัยเบื้องต้นเท่านั้น ยังมีเรื่องคุณภาพของใบไม้แต่ละชนิด มีคุณค่าทางอาหารแตกต่างกันอย่างไร สัดส่วนการผสมใบไม้แต่ละชนิดมีผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์อย่างไร สูตรเอาใบไม้เลี้ยงสัตว์จะนำไปเลี้ยงแพะแกะหรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆได้อย่างไร ฯลฯ
การทวีคูณความรู้ ช่วงที่ได้สนทนากับนักวิจัยตัวจริง ท่านจอหงวนเสนอว่า น่าจะเอาใบขี้เหล็กมาผสมอาหารสัตว์ เพราะขี้เหล็กมีสารอาหารดีๆมากมาย เรื่องนี้ไม่ยากเพราะมีอยู่แล้ว แต่ใบขี้เหล็กมันขม เอามาผสมสัก5%ก็ย่อมได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของมันมะพร้าวมันมือเสือมาเกี่ยวข้อง ถ้าเราปลูกแบบประณีต ใส่ปุ๋ยรดน้ำช่วยบ้าง ปลูกมันมือเสือมันมะพร้าว1งาน ขุดหัวมันมาสับตากแห้งแล้วป่นผสมลงในอาหารสัตว์ วัวก็จะปึ๊กยิ่งขึ้น ปีนี้เอาแน่ พันธุ์ต่างๆก็หาไม่ยาก ปีหน้าวัวจะมีออเดิฟเพิ่มขึ้นอีกหลายเมนู
การตีแตกความรู้ เคยทราบว่าวัวทาจิมะของญี่ปุ่น เจ้าของให้กินเบียร์ ฟังเพลง และนวดกล้ามเนื้อให้ด้วย วัวพันธุ์นี้จึงขายได้แพงตัวละเป็นแสนถึงห้าแสนบาท ถ้ามันดีป่านนั้นทำไมวัวไทยจะทำไม่ได้เล่า >> ปีนี้ผลไม้ป่าติดผลเยอะมาก ลูกสะเดาสุกหล่นเกลื่อน โฉมยงกับป้าสอนไปเก็บมาวันละหนึ่งรถไส เอามาหมักทำไวน์ได้หลายถัง ตอนนี้กำลังส่งกลิ่นฟุ้ง ผมก็จะเอาไวน์ที่ว่านี้ไปทดลองราดใบไม้ให้วัวชิม นอกจากอิ่มแล้ววัวยังจะนอนเคี้ยวเอื้องอารมณ์ดี จะเปิดหมอลำให้ฟัง ถ้าทำได้ยังงี้วัวไทยจะแพ้วัวซามูไรก็ให้มันรู้ไป
ไม่ต้องอิจฉาวัวหรอกนะเธอ
วันที่22-24 เมษายนจะขนเอาไวน์ไปให้ชิม
งานวิจัยที่ดีต้องอร่อยและชิมได้
ภายใต้ความเปลี่ยนผันทางธรรมชาติและสังคม
เราจะมานิ่งดูดายอยู่กับความรู้เก่าๆกระไรได้
ขืนไม่ทำการวิจัย..เกษตรกรไทยอ่วมอรทัยแน่
ผมยังมีเรื่องที่ต้องวิจัยให้กระจุยอีกเยอะ
วันที่ 19-21 พฤษภาคม กรมป่าไม้กับสภาวิจัยแห่งชาติ
จะมาทำการอบรมการประดิษฐ์ไม้ท่อนขนาดเล็ก
ใครมีแผนจะแต่งงานจองเตียงวิวาห์ก็ได้นะจ๊ะ
ค น อ ก หั ก ล ด 5 % คิ คิ . .
« « Prev : เมษาไปเฮฮาไหว้ย่าดีไหม ?
4 ความคิดเห็น
บาท่านยกย่องจนผมชักเขิน อิอิ
ว่าแต่ว่าวัวกันไวน์เนี่ย ผมกลัวแต่ว่ามันเมาแล้วจะบ้าพลัง เลยคิดแวบไปว่า รีดเอาพลังวัวเมามาหั่นใบไม้ดีไหมครับ ทำนองว่า เถาถั่วต้มถั่ว คือให้มันวิ่งขึ้นวิ่งลงไม้กระดก (แบบที่เด็กๆ นั่งโยกกันที่โรงเรียน) พอไม่กระดกไปมา ก็ส่งอาการไปบดอัดใบไม้ให้ละเอียด เพื่อเอามาเป็นอาหารวัวอีกที ส่วนวัวก็ได้ออกกำลังกาย ก็มีร่างกายกำย้ำล้ำเลิส กล้ามเนื้อก็เกิดเป็นสะเต็กที่อร่อยกว่าปกติ
ความจริงนี่เป็นวิทยายุทธต่อยอดที่ผมคิดไว้นานแล้วเรื่องการให้อาหารปลา คือผมคิอว่ามันน่าจะทำได้ที่สร้างอุปกรณ์ให้ปลามันว่ายและหรือกระโดดเข้ามาฮุบกินอาหาร แรงที่มันออกนั้นให้เอามาหมุนกังหันขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เติมอากาศเพื่อบำบัดน้ำ ถ้าทำได้แบบนี้ก็เลยไม่ต้องมีเครื่องเติมอากาศให้ยุ่งยาก เพราะอาศัยแรงจากปลานั่นเอง ส่วนปลาก็ได้ออกกำลังกาย ก็โตเร็ว สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคง่ายๆ
แล้วเมื่อไหร่เราจะฝึกช้างให้เด็ดใบไม้สูงๆ มาให้วัวกิน พร้อมกับเอาไปใส่ลงในกระพ้อ จากนั้นช้างมาเหยียบกลไกบดใบไม้อีกต่างหาก …ฝากโจทย์ให้บาท่านคิด รับรองว่าสนุกแน่ครับ ต้องรู้จริตวัว
วันนี้ผมนั่งรถกลับมาจาก กทม. พบเห็นที่ว่างรกร้างริมทางมากมาย เห็นแล้วเสียดาย น่าจะเอามาจัดตั้งวิทยาเขตของมหาชีวาลัยอีสานจริงๆ อ้อ..ศูนย์โอทอป ที่คุยกันไว้นั้น ชื่อ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 ครับ อยู่ริมถนน อ. สูงเนิน ถ้ามาจากโคราชอยู่ซ้ายมือ เลยป้อมยักษ์กลางถนนประมาณ 1 กม. นะครับ เห็นแล้วน้ำยายไหย อยากให้บาท่านไปยึดมาทำประโยชน์จริงๆ เอาแฟงยักษ์ไปปลูกห้อยล่อใจไว้ที่เกาะกลางถนน รับรองว่ามีนักศึกษาเข้ามาให้เคาะกะโหลกจนไม้สึกแน่ๆ ครับ อิอิ
ขอบคุณครับที่แจ้งข่าว จะลองให้พรรคพวกไปเตาะแตะดูนะครับ พอมีช่องทางอยู่บ้าง
อ่านโจทย์วิจัยของท่านจอหงวนแล้วสนุกครับ
แต่วัวกินไวน์นี่จะหมอบ หรือจะคึก ยังสงสัยนะครับ อิอิ
หนังสือของอาจารย์ มีคนสนใจขออ่านมากมาย
ผมขายความคิดนิดหน่อยๆ ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า อิอิ
อีกที่ที่ผมว่าน่าสนใจจัดตั้งวิทยาเขตคือ วัดสรพงษ์ (หลวงพ่อโตองค์ใหญ่) ที่สีคิ้วครับ เห็นมีที่ว่างอยู่มาก (ริมรั้วด้านตรงข้ามกับองค์หลวงพ่อโต) ประกอบกับคุณสรพงษ์ก็ชอบทำบุญอยู่แล้วด้วย คงคุยไม่ยาก เพราะจะเสริมพลังกัน ถ้าได้ตรงนี้นศ.เข้ามามหาศาลเลย เรียกว่า ทูอินวัน ได้สักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่เอากิเลสออก จากนั้นมาให้บาท่านเคาะกะโหลกเอาสีเขียวเติมสมอง ยิ่งถ้าเราไปเสนอว่าจะเอาอาหารมาส่งให้โรงทานสรพงษ์ที่เลี้ยงดูแขกฟรีในราคาทุน ท่านสรพงษ์คงสนใจครับ เมนูอาหารเช้าต้มน้ำเตา กลางวันผัดน้ำเต้า เย็นแกงน้ำเต้า อย่างนี้ก็อยู่ร่วมกันสบายๆครับ 555
น่าสนใจครับ ต้องหาผู้ประสานงานไปคุย
วันพรุ่งนี้จะเอาน้ำเต้าไปให้ป้าหวานทดลอง เมนูน้ำเต้าบันลือโลก
-แกงเลียง
-ต้มจืด
-ยำ
-เฉาะจิ้มน้ำพริก
-ผัด กระทะร้อน
บางสายพันธุ์เริ่มแก่แล้ว จะเพาะเป็นถั่วงอก
แล้วค่อยคิดเมนูเด็ดภายหลัง อิอิ