ห้องผ่าตัดเลี้ยวทางนี้
อ่าน: 4020:: พูดถึงห้องผ่าตัด หรือ “ห้องปาด” ในภาษาลาว
จะมีสักกี่คนที่อยากจะเข้าไป แม้แต่มองป้ายก็ยังแหยง
เว้นแต่มีภาวะจำยอมที่ยากจะหลีกเลี่ยงได้
แต่แพทย์และพยาบาลกลุ่มหนึ่งที่ต้องเข้า-ออก-เป็นประจำ
ทำอย่างไรคำว่า ประจำจะเป็นการทำงานที่เบิกบานแจ่มใส
เป็นไปได้ไหมครับ! นอกจากจะจัดประชุมเชิงวิชาการแล้ว
ชาวห้องผ่าตัดควรจะมีโอกาสพบปะสังสรรค์สบายๆสไตล์เฮฮาศาสตร์
กล่าวนามตามท้องเรื่อง ผมได้รับหนังสือจากสมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการสัญจร ประจำปี 2554 “Quality and Safety in OR” วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 5-6 มีนาคม 2454 ณ ห้องประชุมโรงแรมพูลแมน จังหวัดขอนแก่น
:: ปัจจุบันมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีและวิชาการทางพยาบาลอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้องในระบบต่างๆ ทำให้พยาบาลผ่าตัดต้องพัฒนาสมรรถนะของตนเอง โดยเฉพาะด้านความรู้ให้ก้าวหน้าต่อการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ใช้บริการ เช่น ความปลอดภัยจากการติดเชื้อจากการผ่าตัดเป็นต้น สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้จัดประชุมวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ รวมทั้งมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างเครือข่ายให้เข็มแข็ง ..เหล่านี้คงเป็นที่ไปที่มาหัวข้อที่ผมได้รับ
(นักศึกษาแพทย์บุกมหาชีวาลัยอีสาน)
หัวข้อ”การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในห้องผ่าตัด:คุณภาพและความปลอดภัย”
· ถ้าเอาแค่การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้อาจจะพอดำน้ำไปได้
· พูดถึงเครือข่ายชาวเฮ
· พูดถึงหนังสือเจ้าเป็นไผ
· พูดถึงการจัดงานชาวเฮฮาศาสตร์
· พูดถึงการช่วยกันเป็นวิทยากรเมื่อมหาชีวาลัยอีสานจัดค่ายการเรียนรู้ต่างๆ
.พูดถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลานปัญญา
· พูดถึงงานกำลังพลกระทรวงสาธารณสุข
(ร่วมมือร่วมใจสไตล์แซ่เฮ)
แต่การเรียนรู้ในห้องผ่าตัด : คุณภาพและความปลอดภัยนี่คงต้องร้องโอ๊ก!เลยละครับ ผมเคยผ่าใหญ่เจียนอยู่เจียนไปหลายครั้งก็จริง แต่เข้าห้องผ่าตัดตอนที่วิสัญญีวางยาสลบแล้ว จึงไม่ได้รู้เห็นความเป็นไปว่าหมอ-แหวะ-เฉาะ-เลาะ-เชือน-อะไรยังไงบ้าง
แต่ถ้าถามว่า คนที่รู้ตัวว่าจะเข้าห้องผ่าตัดรู้สึกตุบๆต้อมๆคงจะบอกได้ว่ารู้สึกยังไง พระอาจารย์ไร้กรอบเคยเล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านบอกว่ายกสังขารให้หมอแล้ว ก็แล้วแต่หมอจะทำอะไร ปล่อยวาง เพราะหน้าสิ่วหน้าขวานอย่างนั้น คิดอะไรก็ไม่มีประโยชน์อันใด ได้แต่นึกถึงพระคุณพ่อแก้วแม่แก้วทั้งหลาย ฝากชีวิตทั้งหมดไว้กับหมอ/พยาบาล ช่วยสำเร็จก็รอด ช่วยไม่ได้ร่วง ในรายที่ประสบอุบัติเหตุรุนแรงด้วยแล้ว ไม่รู้จะเอาอะไรมาวัดว่าจะรอดไม่รอดกี่เปอร์เซ็นต์ ทุกอย่างขึ้นกับการช่วยเหลือของแพทย์และพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพในห้องนั้น เท่านั้น!! โลกทั้งใบยกให้เลยละครับ ญาติๆก็ได้แต่รอและรอ จะออกหัวออกก้อย !
อุ้ยเล่าให้ฟังว่า..การผ่าตัดแต่ละครั้ง นอกจากจะเตรียมความพร้อมด้านต่างๆแล้ว การเตรียมรับสถานการณ์วิกฤติที่อยู่เฉพาะหน้าเป็นเรื่องสำคัญ ควรลืมทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องจดจ่อกับภาระที่จะต้องยื้อชีวิตกลับคืนมาให้ได้ ลองนึกดูเถิด>>แพทย์-พยาบาลต้องทำงานที่ผิดพลาดแทบไม่ได้เลย จะต้องการความร่วมมือร่วมใจของทีมงานประมาณไหน ทุกขั้นตอนควรจะสอดรับกันอย่างราบรื่น การช่วยต่อชีวิตของคนไข้นั้นประเมินค่าไม่ได้ ก่ อ น ผ่ า ระ ห ว่ า ง ผ่ า ก า ร ดู แ ล ห ลั ง ผ่ า ตั ด ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นภาระสืบเนื่องที่ปล่อยวางไม่ได้เลย แต่เมื่อคนไข้อยู่รอดปลอยภัย กุศลในหน้าที่ๆผ่านแรงกายแรงใจของชาวห้องผ่าตัดทั้งหลาย คงจะหายเหนื่อย ความภาคพูมใจเป็นพลังวิเศษยืนหยัดให้บริการในงานที่ลุ้นระทึกต่อไป..
(คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อุบลฯ บุกมหาชีวาลัยอีสาน)
ไหนๆก็รับหัวข้อเรื่องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้มาแล้ว ผมขออนุญาตเริ่มแสวงหาความรู้เลยนะขอรับ ในเครือข่ายเราก็เป็นแพทย์เป็นพยาบาลกันหลายท่าน พูดถึงประสบการณ์ก็ธรรมดาที่ไหนเล่า น่าจะช่วยผมลงจากเตียงผ่าตัดในครั้งนี้ได้ ผมนึกเห็นหน้าหลายท่าน อาจารย์ปรารถนา สำเร็จ อยู่กับห้องผ่าตัดมาหลายสิบปีแล้ว อบรมสั่งสอนน้องนุ่งมาก็มิใช่น้อย หมอเบิร์ด ฝ่ายจิตวิทยา คุณหมอจอมป่วนก็จบมาทางเชือดเฉือน เคยเป็นปังตอมือฉมังผ่าตัดมากี่ร้อยกี่พันรายแล้ว หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ ป้าแดง ป้าหวาน อาจารย์น้อย ดงลำดวน ช่วยเติมเต็มให้ด้วยเด้อ !
ดูรายชื่อวิทยากรล้วนแล้วแต่คุณภาพคับห้องผ่าตัด ผู้เข้าร่วมสัมมนา500ท่าน คงได้รับความรู้จากวิทยากรที่หลากหลายครบถ้วนทุกแง่มุมตลอดเวลา2วัน ด้วยการชมนิทรรศการ และเข้าสู่บรรยากาศการบรรยายและอภิปราย ดังนี้
Ø เปิดประชุม โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภิเศก ลุมพิกานนท์
-คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Ø บรรยาย เรื่องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในห้องผ่าตัด:คุณภาพและความปลอดภัย
โดยครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
-มหาชีวาลัยอีสาน บุรีรัมย์
Ø บรรยายเรื่อง สมรรถนะของพยาบาลห้องผ่าตัด และเส้นทางสู่ความก้าวหน้า
โดย ศิริพร พุทธรังษี
-รอง ผ.อ.วิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย ฝ่ายวางแผนและพัฒนาคุณภาพ
น.ส.ภัทรภร สีตลวรางค์
-ผู้ช่วยหัวหน้าห้องผ่าตัด วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพ และ วชิรพยาบาล
นางสมปรารถนา ดาผา
-พยาบาลชำนาญการพิเศษ ร.พ.ศรีนครินทร์ คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Ø บรรยายเรื่อง การป้องกันการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล
-คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Ø อภิปรายเรื่อง นานาทัศนะในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดให้ได้รับความปลอดภัย
โดย น.ส.วรรณเพ็ญ พรพานิชพงษ์
-หัวหน้าห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครราชสีมา
นางจุฬาภรณ์ ศักดิ์สิงห์
-พยาบาลวิชาชีพชำนาญพิเศษ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
นางกิ่งกาญจน์ โคตรพัฒน์
-ผู้ดำเนินการอภิปราย พยาบาล พนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลศรีนครินทร์
วันที่ 6 มีนาคม 2554
Ø บรรยายเรื่อง การผ่าตัดและการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดผ่านกล้องวีดิทัศน์
โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เกรียงศักดิ์ เจนวิถีสุข
-อาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์
อาจารย์ แพทย์หญิง เยาวภา จงเป็นสุขเลิศ
-อาจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนารีเวชวิทยา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ เสริมศักดิ์ สุมานนท์
-รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นางงามพิศ ธนไพศาล
-พยาบาลชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Ø อภิปราย : ประเด็นการพยาบาลในห้องผ่าตัด
โดย น.ส.ศัลยา ไผ่เข็มศิริมงคล
-นายกสมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล
-คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
น.ส.เสาวลักษณ์ ริรัตนพงษ์
-พยาบาลชำนาญการพิเศษ หัวหน้าหน่วยผ่าตัด2 โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิริพร พุทธรังสี
-ผู้ดำเนินการอภิปราย รองผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย ฝ่ายวางแผนและพัฒนาคุณภาพ
Ø สรุป และปิดการประชุม
โดย น.ส.ศัลยา ไผ่เข็มศิริมงคล
นายกสมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย
รายการนี้ขอคิวตั้งแต่ปีมะโว้แล้วละครับ จะให้ไปในงานประชุมพยาบาล ผมนึกว่าไม่มีอะไรมาก เพราะก่อนหน้านั้นก็เคยไปจ้อในการประชุมประจำปีของคณะแพทย์มาแล้ว แต่คราวนี้ไม่ยั้งงั้นนะสิครับ หัวเร่อไม่ได้ร้องไห้มิออกได้กรอกตาเหมือนนกทึดทือ ท่านผู้เชิญนี่หนอ น่าจะรู้ว่าผมมีกึ๋นแค่หางอึ่ง จะให้กินลมท้องโป่งพองได้ยังไง ก็ยังเป็นอึ่ง..
พระอาจารย์JJ. แจ้งว่าจะเดินทางมารับล่วงหน้า1วัน
จะได้นอนคุยกันว่าจะมีวิธีขึ้นลงเตียงอย่างไรถึงจะไม่เดี๊ยง!
หมู่นี้คนขี้โรคมีเหตุให้ไปวนเวียนโรงพยาบาลอยู่เรื่อย
วันที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์ 2554
ดร.สุรีย์ ธรรมิกบวร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จะชวนไปโม้ที่โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบล
ก็ดีครับ >> อยู่ใกล้พยาบาลอาการจะได้หายฟุ้งซ่าน !
ชิมิ ชิม
9 ความคิดเห็น
สวัสดีค่ะพ่ออ่านชื่อเรื่่องจึงเสียว ทั้งที่รู้แพทย์-พยาบาลห้องผ่าตัดทำงานหนัก เรื่องเตรียมความปลอดภัยให้คนไข้ทุกคนให้ดีที่สุด ตัวหนูคุณหมอก็ขยันให้เอาอวัยวะที่หมดประโยชน์ออกจากร่างกาย มีลูกกับเค้าคลอดเองไม่ได้สักคน มานี่จะเอาที่อยู่ของลูกหนูเคยอยู่ออก ลูกสาวบอกแม่ผ่ามาตั้งหลายหนแล้วยังกลัวอะไร แม่บอกคราวก่ิอนผ่าแล้วได้ของ ครั้งนี้ผ่าแล้วเสียของแม่ยังไม่ให้เอาออกหรอก ยืื้้อไว้ให้สุดๆก่อน อิอิ ขอเป็นกำลังใจให้คุณหมอทั้งหลายนะคะ
ความก้าวหน้าของวงการแพทย์ ช่วยให้มีวันนี้ ของใครๆหลายคน
รวมทั้งผมด้วย ถ้ายังไม่มีระบบการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ ป่านฉะนี้คงไป
กู่อยู่โลกไหนก็ไม่รู้ เป็นหนี้บุญคุณห้องผ่าตัดหลายครั้งแล้ว
ถ้าจะเข้าห้องผ่าอีก ก็ขอให้ปลอดภัยเน้อ อิ
รอรับที่ขอนแก่นครับพ่อฯ
ที่จริงก็ไปขอนแก่นบ่อย แต่โทรหาออตยากมาก บ่ฮู้จเะทำยังไง เลยอดกาแฟ อิ
5555 สัญญานไม่ค่อยดีครับพ่อฯ
ถ้าพ่อมาในช่วงนั้น(ต้น มีนาคม) อาจจะขอจัดเฮฮาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนฮักสคูลนะครับ
ไม่แน่พ่อว่างหรือเปล่า อยากจะเชิญชวนให้ชาวเฮฮาศาสตร์ที่สะดวกมาในช่วงนั้น
เยี่ยมโรงเรียน การเรียนการสอน ของฮักซักหน่อย
ได้เลย วางโปรแกรมเนิ่นๆ จะโชว์อะไรก็งัดๆๆๆๆออกมา อิ
ขอบพระคุณในความกรุณาครับ
แล้วจะจัดสรรเวลาเพื่อเปิดสมองให้ครูชาวฮักได้รู้จักศาสตร์สไตล์ใหม่
. ให้ดีควรไปชวนครูอึ่ง ครูอาราม มาด้วย อิ
ทางลาวช่างตั้งชื่อ “ห้องปาด” ได้น่าสยดสยองนะคะ
อ่านแล้วรู้สึกเจ็บเลยค่ะ