ครูอึ่งยุให้เขียนแบบ อิ อิ แอะ แอะ
อ่าน: 3318
พึ่งหยาดเหงื่อแรงงานตนเอง
พึ่งแรงกายแรงใจในหมู่กันเอง
พึ่งข้าวแดงแกงร้อนเราเอง
พึ่งพลังกายให้เกิดการผลิตพลังงานไว้ใช้เอง
พึ่่งผืนดิน-ฟ้าดิน ผลิตอาหารและยาสมุนไพร
ดูแลสภาพแวดล้อมให้ดี แล้วธรรมชาติจะดูแลเรา
พึ่งความรู้ความคิดเครือข่าย
โลกมีมืด มีสว่าง แต่ถ้าง่วง…ก็นอนเถอะ
ระดมความรู้ ไม่ต้องรออนุมัติจากใคร ลุยได้ลุยเลย
>> คิดเล่น ๆ แบบ อิ อิ อิ
>> ความรู้ควงคู่มากับความไม่รู้ไม่ชี้
>> มูลเหตุอาจจะมาจากโครงสร้างทางวัฒนธรรมการเรียนรู้ ไม่ใส่ใจ-สนใจ-ตั้งใจที่จะวางวิถีการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ให้มันแทรกซึมอยู่ในสำนึกและจิตวิญญาณ ตั้งแต่ตื่นจนล้มตัวลงนอน เราใช้ชีวิตไปตามสภาพแวดล้อมในหน้าที่การงาน ใครมีอาชีพอะไรก็วุ่นอยู่กับพันธกิจแห่งตน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างซับซ้อนเป็นตัวแปรที่ควรพิจารณา ไม่อย่างนั้นก็ชักหน้าไม่ถึงหลัง วกวนอยู่กับการคลี่ปัญหาที่ม้วนดีดกลับมาเหมือนเดิม
>> การประเมินความรู้ของชาติหนึ่งชาติใด จะเห็นได้ชัดในยามวิกฤติเกิดขึ้นในสังคม ยกตัวอย่างเช่นในขณะนี้ คนไทยเผชิญเภทภัยจากโรคไข้หวัด 2009 ถามว่าประเทศเรามีภูมิปัญญาอะไรบ้างที่จะนำมาแก้ไขปัญหา
· ยารักษาโรคนี้มีไหม
· วัคซิน มีไหม ในอนาคตผลิตได้เองไหม
. ความรู้ความเข้าใจมีมากน้อยแค่ไหน
. มีแผนแม่บทที่จะตั้งรับวิกฤติใหม่ๆอย่างไร?
. ญี่ปุ่นก็ป่วย แต่ยังบ่มีคนตาย เขาทำยังไง
>> เมื่อเข้าตาจน คนไทยหันมาเก็บเล็กผสมน้อยจากภูมิปัญญาท้องถิ่น งัดเอาเรื่องสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยมาปะทะประทังยามขัดสน เอาตำรายาพื้นบ้านมาขัดตาทัพ ฟ้าทะลายโจร ต้นใต้ใบ ขมิ้น ไพล มีการพูดถึงและแนะนำให้ใช้ ไม่มีทางเลือก มีข้อจำกัดอย่างมาก เพราะไม่มีตัวเลือก เกิดการตื่นตูมซื้อหาสมุนไพรจนเกลี้ยงร้าน ..หลังจากเรื่องนี้ผ่านไป จะมีใครให้ความสำคัญกับสมุนไพรแค่ไหนก็ไม่รู้
>> สถานการณ์ปัจจุบัน เราต้องพึ่งยาจากต่างประเทศ สั่งซื้อแล้วก็ต้องรอ และรอ ใช่ว่าจะได้รับสินค้าทันที จะเห็นว่าเราเสียงบประมาณกับการตั้งรับวิกฤตแบบจ้าละหวั่นทุกครั้งทุกกรณี จ่ายค่าโง่กันจนเป็นเรื่องปกติ ทั้งนี้เพราะคนไทยเอาเวลาไปทำแต่เรื่องกวนประสาท ไม่เรียนให้รู้จริงเท่าที่ควร ทำให้พึ่งความรู้ของตนเองได้น้อย มีความรู้แค่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ สภาพสังคมบ้านเมืองถึงสุก ๆ ดิบ ๆ จะเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสก็ไม่ง่ายแล้ว ถ้ามีการรวมตัวก่อม็อบมาก ๆ แล้วเกิดโรคไข้หวัด 2009 ระบาดในหมู่ม็อบ
ม็อบ ก็จะเปลี่ยนเป็น หมอบ
หมดแรงที่จะมาเย๊ว ๆ
แหม..อยากเห็นตรงนี้จริง ๆ อิ อิ และ อิ..
« « Prev : อิ อิ แอะ แอะศาสตร์
Next : รายการประเจิดประเจ้อทางวาจา » »
9 ความคิดเห็น
อะฮา ใช่เลย ไม่รู้ไม่ชี้ รู้แล้วชี้ดีกว่า ขาวบ้านในชนบทไม่ตื่นกลัวไข้หวัด 2009 เพราะเข้าไม่ถึงยกเว้นมีคนนำมาฝาก ฉะนั้นการป้องกันจึงง่ายกว่าเป็นไหนๆ เพราะหากเอามากฝาก ก็กักบริเวณแล้วรักษาด้วยสมุนไพรที่สดและสะอาด เมื่อหายแล้วกลายเป็นคนที่มีภูมิต้านทานโรคนี้ คราวนี้ก็ใช้ประโยชน์จากคนนี้ ในการเข้าไปในเมือ งหรือแหล่งที่มีผู้คนมากมายแออัด เพื่อจัดหาซื้อสิ่งของที่จำเป็นที่ไม่สามารถผลิตได้ในชนบท และในที่สุดชุมชนในชนบท ก็จะกลายเป็นแหล่งผลิตอาหารสมุนไพรที่ปลอดภัยที่สุด รับรองถ้ามีน้ำพอเพียง อิอิอิ นี้คือวิฤติที่เป็นโอกาสของชาวบ้านบ้างฮาๆๆๆๆๆๆๆๆ
อาเหลียง อิอิ ตีความได้เยอะนะ
อาม่า ผมกำลังคิดว่า ชาวบ้านจะออกแบบการพึ่งตนเองให้ปลอดภัยจากโรคหวัด 2009 อย่างไร
เพราะใครๆก็บอกว่ามันจะอยู่ยาวไปอีก 2-3 ปี
แสดงว่าคงจะติดต่อกันทั่วหน้า นั่นแหละ
ผ้าปิดจมูกไม่พอหรอก
มันต้องมีผ้าปิดหัวใจด้วย ฮ่าาาาา
แง แง ครูบาว่าหนูไม่รู้ไม่ชี้ ..แง แง
โดน โดนแล้ว!
ขอยืมรูปมาอธิบายเฉยๆ อย่าน้อยใจเลย
ไม่บอกก็ไม่มีใครรู้หรอกว่าเป็นภาพใคร
ในความเป็นจริงนั้นครูสุสู้ตายอยู่แล้ว
พวกเราก็รู้ เดี๋ยวจะให้ตาหวานเอาผ้าห่มไปซับน้ำตาให้ อย่าน้อยใจไปเลย อิอิ
พ่อครูค่ะ อันที่จริงความรู้ในตัวคนนะมีอยู่แล้ว แต่เราไม่ได้ถอดนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ มัวใช้ประโยชน์แต่จากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เดินตามก้นผู้เชี่ยวชาญกันไปซะหมด ถ้าสังเกตให้ดีๆจะพบว่า วิธีป้องกันของผู้เชี่ยวชาญมันมีองค์ความรู้มาจากการเกิดโรคแล้วซะมากกว่ามาก
เสนอให้ลองค้นหาชาวบ้านที่ไม่เคยเป็นหวัดเลยในชีวิตหรือเป็นหวัดน้อยครั้งในชีวิตดูหน่อยซิค่ะ เจอใครก็ให้โอกาสคนนั้นเล่าชีวิตประจำวันให้ฟังว่าอยู่กินอย่างไร
วิถีชีวิตอย่างนั้นแหละค่ะคือวิีธีป้องกันไข้หวัดที่ได้ผลที่สุดสำหรับคนที่มีวิถีชีวิตคล้ายๆกัน วัยใกล้ๆกัน แผ่คลี่มันออกมาให้เห็นจะจะก็จะเห็น how to ค่ะพ่อครู
ความรู้ในตัวคนตามธรรมชาติเหล่านี้ เราไม่เคยถอดออกมาให้เรียนรู้กัน ด้วยดูผิดว่าชาวบ้าน “ไม่รู้”
คนเหล่านี้ถือว่าเป็นปราชญ์ในด้านการป้องกันโรคที่มีบทเรียนเกี่ยวกับธรรมชาติของชีวิตอยู่ในตัวเขาเชียวนะค่ะ
ที่ไหนๆ ระดับใด ก็หวังแต่จะได้ ความรู้ที่สำเร็จรูป ได้หลักการแล้ว จะให้ไปประยุกต์ใช้ก็ยังบอกว่ายาก
ได้สิ่งที่คิดว่าเป็นความรู้สำเร็จรูปแล้ว เจอสถานการณ์ที่ต้องพลิกแพลงก็ไปไม่รอด
นอกจากประเด็นของความรู้จริงแล้ว เรายังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการสอนให้มี วิธีหาความรู้ ด้วยค่ะ
ทุกวันนี้เวลาถามเด็กว่า มาโรงเรียนทำไม เด็กๆ มักจะตอบว่า มาเรียนหนังสือ
ต้องคอยชี้ชวนให้ดูว่า ความรู้ไม่ได้มีแต่ในตำรา แต่ว่า ระบบการศึกษาก็ไม่ค่อยสนับสนุนสิ่งที่เราบอกเด็ก เพราะสอบคัดเลือก สอบแข่งขันทีไร ก็ให้ลอกความรู้ในตำรามาแข่งกันทุกที..
จะให้เห็นเรื่องการเรียนรู้ในชีวิต เป็นเรื่องสำคัญ ก็คงต้องพยายามกันต่อไปค่ะ
ขอต่อยอดจากครูอึ่งประเด็นเรื่อง มาโรงเรียนทำไม ค่ะ
คิดว่า ตัวครูก็สำคัญค่ะ เวลาจัดตารางการเรียนการสอน ก็มักจะคิดว่าต้องอยู่ในห้องเรียนให้ครบชั่วโมงถึงจะเรียกว่ารับผิดชอบ เวลาที่มีเหตุการณ์ที่ต้องปรับเปลี่ยนลดชั่วโมง หรือแม้แต่มีบรรยายพิเศษอยากให้นักศึกษาไปฟัง(เหมือนคราวที่ครูบาไปคณะฯ) อาจารย์หลายๆคนก็กังวลและเดือดร้อนมีปัญหากลัวสอนไม่ทันเวลา ตัดสินใจไมได้กลัวถูกหาว่าไม่รับผิดชอบฯลฯ หรือถ้าประธานวิชาไปจัดตารางให้ต่างจากปีก่อนๆ ที่ผ่านมา เช่นจัดให้อาจารย์ต้องวางแผนการสอนเองก็จะถูกถล่มหาว่าสร้างความยุ่งยาก …ตอนนี้อาจารย์หลายๆๆๆๆคนยังชอบให้ใช้คัมภีร์เล่มเดิมๆ ตารางงานแบบเดิมๆ ถูกควบคุมแบบเดิมๆ และไม่กล้าเปลี่ยนแปลง
เรื่องที่จะให้นักศึกษายืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงความคิด ยอมรับความคิดเห็นคนอื่น เชื่อในศักยภาพคนอื่นก็เลยยากไปด้วยค่ะ
คนไข้หรือชาวบ้านก็กลายเป็นผู้ไม่รู้ตลอดกาลในสายตาของคนที่ยึดคัมภีร์แบบนั้นค่ะ
ที่ไม่กล้าเปลี่ยนนะเป็นเพราะครูไปนึกว่าคำตอบที่จะเฉลยออกมามีวิธีได้มาเพียงวิธีเดียวคือวิธีที่ครูสอนรึเปล่าละ….อุ๊ย
ถ้ามีวิธีเดียวจึงจะมีคำตอบนั้นออกมาได้….จะให้เชื่อถือได้อย่างไรว่า นี่คือ “ผู้เชี่ยวชาญ” ตัวจริง
น่าคิดนะอุ๊ย..เรื่องตัวกู ของกู…แบบนี้