ข้อสังเกตกลุ่มงานบล็อกBlog
อ่าน: 2749(ฝนตก รถติด ดันตูด ถึงขึ้นได้)
1. ผมลองเข้าไปดูหมวดหมู่ในระบบข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ อาจจะเป็นมือใหม่หัดค้น จึงค่อยๆแกะรอยไปตามจุดต่างๆ เมื่อคืนต้องการที่อยู่ครูภูมิปัญญาไทย (อ.สวิง บุญเจิม) ค้นเท่าไหร่ก็ไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เจอแต่ข้อมูลแวดล้อม ไปเจอรายการจัดสรรงบประมาณให้ส่วนท้องถิ่น มีรายการแจ้งให้ดูเป็นราย-จังหวัด -อำเภอ -ตำบล แต่เป็นข้อมูลปี2544 อ้าว! มาลงไว้เป็นตัวอย่างทำไม แล้วข้อมูลปัจจุบันทำไมไม่ลง หรือลงไว้ที่อื่น ผมตาถั่วมั่วไปไม่ถึงเอง
เรื่องวิธีค้นก็ควรจะสอนด้วยนะครับ จะได้รู้วิธีสืบค้นให้ถูกต้องแต่แรก
2. เข้าไปดูตามBlogต่างๆบ้าง ส่วนมากจะเป็นการนำข้อมูลจากที่อื่นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน วิธีนี้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและเป็นประโยชน์มาก มีตัวช่วยสืบค้นเรื่องดีๆพิเศษๆมา บางก๊วนบางกลุ่มก็กระจายฝากเรื่องให้กันอย่างเป็นระบบ
จุดนี้น่าจะเรียกว่าการเอื้ออาทรความรู้จะได้ไหม?
3. บางกลุ่มจะบันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ตรง ทักษะสะสม ออกมาเล่าเมาส์กระจาย จะเป็นวิชาการโดยตรงก็ไม่ใช่ไม่เอาเสียเลยก็ไม่เชิง น่าจะเป็นวิชาตามใจฉันมากกว่า เป็นการเขียนที่ไร้กรอบ
มีอิสระในการออกแบบการคิดการเขียนที่เรียกว่าสไตล์เฉพาะตัว
ความเป็นอิสระนี่เองนำไปสู่ความคุ้นเคย สนิทสนมที่ภาษาทางการเรียกเครือข่าย แต่ชาวเราเรียกเครือญาติ ตั้งเป็นสกุลแซ่ต่างๆ แล้วลงท้ายคนสวยต่อท้าย กลุ่มที่ว่านี้มีไม่มากนักยังเป็นเรื่องใหม่ บางคนอาจจะรู้สึกประหลาดใจ พวกนี้มาจากโลกไหนวะ
..ถึงไม่ชอบแต่ก็มีบ้างที่แอบอ่าน! ช่วงมีเรื่องจัดไปทัวร์ในสถานที่ต่างๆ เป็นการต่อยอดตัวหนังสือออกมาสื่อถึงตัวตน แบบเข้าใจ เข้าถึง รู้จัก รู้จริง รู้ใจ เข้าทำนองความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง ความเป็นญาติในสาระบบไทย ที่แก่นสารวัฒนธรรมต่างจากวัฒนธรรมชนชาติอื่น ไทยช่วยไทยยังไงก็ได้ถ้าเป็นเพื่อนกันแล้ว สมัยก่อนเราเรียกว่า”เสี่ยว”ในภาคอีสาน เรียกว่า“เกลอ” ในภาคกลาง ภาคเหนือ-ภาคใต้เรียกว่าอะไรยังนึกไม่ออก..
เรื่องที่นำเสนอในกลุ่มข้อที่3 เป็นเรื่องราวที่มีชีวิตชีวา
คลิ๊กเล็กคลิ๊กน้อยที่นำมาเสนอเป็นยาประสานสังคม
เป็นเสน่ห์ทำให้ตัวหนังสือกระโดดโลดเต้นได้
เรียกรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และน้ำตาได้
ทำให้ผู้บันทึกเรื่องราวมีกำลังใจ
ใส่ใจที่จะเขียนให้โดนใจผู้อ่าน
เป็นพัฒนาการทักษะเฉพาะตัวเฉพาะใจ
4. กลุ่มสุดท้าย น่าจะเป็นกลุ่มที่ทำอะไรอยู่ในระบบ เน้นงานเชิงวิชาการเป็นส่วนใหญ่ จะเขียนสะเปะสะปะตามอำเภอใจคงไม่ได้ บางหน่วยงานใช้ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ งานกิจกรรมพิเศษ การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กร รวมทั้งหมวดงานวิจัย และเผยแพร่วิทยานิพนธ์ ฯลฯ
ไม่ทราบว่ามีประเด็นอื่นอีกไหม?ครับ ขอเชิญมาต่อแต้มความคิดนะขอรับ
Next : ตะกูหรือจะสู้เอกมหาชัย » »
3 ความคิดเห็น
ขออนุญาตครูบาครับ
ทางซีกโลกตะวันตก ได้เสนอทฤษฎีไร้ระเบียบ ( Chaos Theory ) มานานพอสมควร
พยายามเปลี่ยนแนวคิดผู้คนในยุคเก่าๆ จากความคิดแบบแยกส่วน ( linear ) หรือแบบนิวตัน ( Newtonian ) มาเป็นความคิดแบบองค์รวม ( Holistic ) หรือแบบ Bohmian
หลักๆก็พยายามชี้ให้เห็นว่า ธรรมชาติประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยๆ ที่เป็นองค์ประกอบของหน่วยอื่น แต่มีความสัมพันธ์กันทั่วทั้งจักรวาล ( Holon )
หน่วยย่อยต่างๆมีความแตกต่างกัน แต่จะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันทั่วทั้งจักรวาล จึงมีคำพูดที่ว่า ผีเสื้อกระพือปีก หรือเด็ดดอกไม้จะกระเทือนไปถึงดวงดาว ฯ …..
แนวทางพัฒนาองค์กร พัฒนาบุคคลากร จึงมุ่งให้เห็นความแตกต่างของแต่ละบุคคล หน่วยงานและองค์กร
และยอมรับซึ่งกันและกัน จะได้อยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
มันถึงได้มีกลุ่ม ก๊วน ลาน… ไง เป็นธรรมชาติ
คนที่ไม่เข้าใจ หรือระบบที่พัฒนามาแต่เดิมตามแนวความคิดเดิมถึงเริ่มมีปัญหา
เปรียบเทียบระบบราชการ มุ่งให้คนเหมือนกัน แต่งเครื่องแบบเหมือนกัน ต้องทำอะไรๆ เหมือนๆกัน แถมพยายามใหคิดเหมือนกัน มันจึงพัฒนายาก ไม่มีความคิดสร้างสรร ( Innovation )
จึงมีคนพยายามจัดตั้งองค์กรแบบ Chaordic Organization ยอมรับความแตกต่าง มีระเบียบน้อยที่สุด มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน แต่ไม่ถึงกับตึงเปรี๊ยะ ฯ
กระบวนกร หรือคุณอำนวยก็ต้องเข้าใจตรงนี้
จึงพยายามทำให้คนในกลุ่มหรือวงสนทนาเข้าใจถึงความแตกต่างของบุคคลและยอมรับตรงนี้ จึงจะทำให้ลดอัตตาลง ยอมรับกัน บรรยากาศจะได้ดี รู้สึกปลอดภัย เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
ถึงได้มีเรื่องผู้นำสี่ทิศ นพลักษณ์ ฯ…….
แต่ถ้าศึกษาดีๆจะพบว่าเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ เป็นเรื่องที่พุทธศาสนาได้พูดถึงและมุ่งสั่งสอนมานานแล้ว
การศึกษาธรรมะคงเพื่อค้นพบความจริงแล้วปรับปรุงตัวเอง ไม่ได้มุ่งไปเปลี่ยนธรรมชาติหรือคนอื่น คนเราจะทุกข์ จะสุขอยู่ที่ใจเรา ไม่เกี่ยวกับคนอื่น
พูดถูกรึเปล่าเนี่ย ?
พอก่อนครับ เดี๋ยวเขียนมากกว่าเจ้าของบันทึก อิอิ ชอบป่วนบันทึกคนอื่น 5555
ดีมากๆเลยที่คนชอบวิ่งมาช่วยต่อความรู้ให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น
[...] #1 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 7 สิงหาคม 2008 เวลา 9:49 [...]