ข้าวแคบ
อ่าน: 2849
“อะไรเอ่ย เล็กที่สุด” เคยเล่นทายปัญหาอะไรเอ่ยไหมครับ อุ้ย
คำถามนี้คนเจียงใหม่รุ่นผมจะตอบว่า “ข้าวแคบ” เพราะ “แคบ”เป็นคำพ้องเสียงแต่ต่างความหมายกันระหว่างภาษาคำเมืองกับภาษากลาง
แคบ ในความหมายของภาษากลาง แปลว่า คับแคบ ไม่กว้างขวาง แต่…
แคบ ในความหมายของคนยวนล้านนา แปลว่ากรอบ (คำเมืองว่า ผ่อย) เช่น แคบหมู แคบไข ข้าวแคบ เป็นต้น
ข้าวแคบ เป็นของกินเล่นของคนบ่ະเก่าจาวเหนือ ปกตินิยมทอดจี่กันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เมื่อก่อนแม่จะจืนข้าวแคบใส่ก๋วยหน้อยไว้รับแขก แบ่งไปทานขันข้าวที่วัด แบ่งไปดำหัวคนเฒ่าคนแก่
ไปเยี่ยมยามพี่น้องลาวลื้อบ้านเวียงแก้ววันก่อน ติดตามการปลูกงา การซอยยาขื่น(ทำยาฉุนยาเส้น) การทอผ้า การทำบัญชีครัวเรือน ก็หวังพึ่งการพัฒนาอาชีพของแม่บ้านนี่แหละมาทดแทนรายได้จากการทำนาที่ต้องหดหายไป ส่วนพ่อบ้านยังนึกไม่ออกว่าจะให้ทำอะไร คงจะต้องรับเข้าทำงานโครงการ และอาจจะไปปลูกชาคั่วชาจีนชาอัสสัมไปโน่น ชาวลื้อปลูกชาเมี่ยงกันอยู่บ้างแล้ว
ไปคุยกับชาวลื้อ ใช้ภาษายวนเจียงใหม่ปนภาษายองบ้านน้ำดิบที่เคยไปจีบสาวสมัยซาวปีก่อน ทำให้สนิทสนมกันได้ถึงแก่น ก่อนกลับแม่บ้านทอดข้าวแคบมาเลี้ยงด้วย ชาวลื้อที่นี่ยังนิยมทำข้าวแคบกันอยู่ โดยเฉพาะในงานบุญผะเวท ทำให้ชาวลาวเรียกบุญผะเวทของคนลื้อว่า “บุญข้าวแคบ” โดยนัยยะแล้วเป็นการแสดงความหมายในเชิงแบ่งพรรคแบ่งพวกนิดๆ
แถมท้ายด้วยรูปพ่อพญานั่งเฮือนลื้อครับ คริ คริ