มีไหมเอ่ย ครูอกหัก ขอสักคน
อ่าน: 1841
หมู่นี้มีอันต้องได้ไปยุ่งกับครู เอ๊ย…. วงการศึกษาค่อนข้างบ่อย เริ่มตั้งแต่ได้เป็นกรรมการประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไปพบปะพูดคุยที่ร้านอาหารญวณ ก็มีโอกาสไปงานมหกรรมการศึกษาท้องถิ่น ปี 2551 ได้ฟัง ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง แนวทางในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพของประชาชน ( ได้เขียนเล่าไว้แล้วครับ )
ในงานนี้ เดินดูนิทรรศการก็ได้หนังสือดีๆมาหลายเล่ม ที่กำลังอ่านอยู่ก็เป็น รายงานการวิจัย ภาคีบ้านเรียน การจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างครอบครัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และเครือข่าย ซึ่งศึกษาโดย คุณยุทธชัยและคุณ อุทัยวรรณ เฉลิมชัย จากสมาคมบ้านเรียนไทย ซึ่งตีพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อมิถุนายน 2550 โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
แรกๆก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่า บ้านเรียนนี้คืออะไร ? อ่านไปอ่านมาก็ Home School นี่เอง ยังอ่านไม่จบดีครับ
วันจันทร์ที่ 8 กันยายน บ่าย พาครูบาไปเยี่ยมลูกหลานที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ท่านคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ก็เชิญทีมงานเฮฮาศาสตร์ไปนั่งคุยที่ห้องทำงานของท่าน นั่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเรื่องการศึกษาอยู่นานเหมือนกัน ตอนค่ำท่านคณบดีก็ไปที่เรือ แต่ไม่ได้ล่องเรือชมน้ำน่านด้วยเพราะแพ้อากาศ ไม่ค่อยสบาย
วันอังคารที่ 9 กันยายน บ่ายก็พาครูบาไปพูดเรื่อง บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการศึกษา ให้คณะครูของเทศบาลนครพิษณุโลกฟัง
เมื่อวานนี้ วันพุธ ที่ 10 กันยายน หลังจากเอาแผ่น CD ภาพถ่ายของผาซ่อนแก้วไปให้หลวงพ่อที่สนามบิน ก็ต้องไปรับมอบโล่เกียรติยศและลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย กับทาง กศน. ( สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ) แทนท่านนายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก
มีการบรรยายพิเศษโดย ดร. บุญเลิศ มาแสง ผู้คร่ำหวอดในวงการ จอมป่วนนั่งฟังจนจบครับ ได้ความรู้มากเลยครับ
วิทยากรเริ่มเล่าให้ฟังตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ให้โอกาส ให้มีทางเลือกทางการศึกษามากขึ้น มีการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย
และมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ซึ่งจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในวงการศึกษาอีกมาก
วิทยากรได้พูดถึงคำศัพท์หลายๆคำ เช่น การศึกษา การเรียน การเรียนรู้ การศึกษาในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย การศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน การศึกษาในโรงเรียน การศึกษานอกโรงรียน การศึกษาตลอดชีวิต การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้ในวิถึชีวิต การเรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ด้วยตัวเอง การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษาทางเลือก การศึกษาเพื่อปวงชน ปวงชนเพื่อการศึกษา
คำพูดโดนๆก็มีมาก เช่น
กศน. เดิม = การศึกษานิดหน่อย การศึกษานอกโรงเรียนแต่ให้ทำการเรียนการสอนแบบในโรงเรียน ยึดแนวสายสามัญ รับแต่ผู้ใหญ่ เรื่องมาก กระบวนท่าเยอะ
กศน. มิติใหม่:
ทำไมต้องเรียนเหมือนกันหมด ?
เน้นความต้องการของผู้เรียน
ปรับคุณภาพชีวิต
รับเด็กวัยเรียนด้วย
จัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ( นึกถึง CBM ของจอมป่วนเลย Community Based Solid Waste Management )
วิชาสากลเรียนพอเหมาะสม
ต้องสอนให้คิดเป็น
เน้นการเรียนรู้ อาชีพ การดำรงชีวิต
ขาดโรงเรียนน้ำน่าน น้ำยม ( หมายถึงเรื่องราวของท้องถิ่น ) แต่ดันไปรู้เรื่องของฝรั่ง
สุดท้ายก็สรุปว่า สุดยอดของ กศน. คือทำอย่างไรประชาชนจะเรียนรู้ได้เอง
หน้าที่ของ กศน. คือพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ ( เหมือนบทบาทกระบวนกรเลย อิอิ )
โจทย์ที่ท้าทายคน กศน. คือ คน กศน. เข้าใจไหม ? มีปัญญาทำไหม ? ( วิทยากรพูดนะครับ จอมป่วนนั่งจดแล้วเอามาเล่าต่อ ไม่อยากเจ็บตัวโดยไม่จำเป็นครับ อิอิ )
ที่เล่าให้ฟังนี่ นึกย้อนดูก็เหมือนที่เคยนั่งคุยกับครูบาสุทธินันท์ เหมือนแนวทางที่คุยกับ อ. วิศิษฐ์ วังวิญญู
ยังไม่จบนะครับ เดี๋ยวยาวไป
โปรดติดตามตอนต่อไป อิอิ…….
แหมๆๆ ชักเข้าฝัก ชื่อบันทึกไปทาง รูปไปทาง เนื้อเรื่องไปอีกทาง 555555
« « Prev : ภูหินร่องกล้า - เราเรียนรู้อะไร ?
Next : มีไหมเอ่ย ครูอกหัก ขอสักคน ( ต่อ ) อิอิ » »
2 ความคิดเห็น
เล่าเลยค่ะๆ น่าติดตามออกค่ะ
ยิ่งรู้ว่ามีคนคอยอ่านยิ่งเล่นตัว อิอิ
คำเตือน: บันทึกของจอมป่วน ห้ามอ่านเกินวันละ 1 บันทึก อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 555555