การจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อ่าน: 14783
วันนี้มาแปลก อยากเขียนเรื่องการศึกษา เพราะก่อนไปเจอกันที่ร้านอาหารเวียตนามวันที่ 1 สิงหาคม โดดขึ้นรถนายกเทศมนตรีไป กทม. เลยไปงานมหกรรมการศึกษาท้องถิ่น ปึ 2551 ที่เมืองทองธานี ไปพิธีเปิด ดูนิทรรศการ ที่สำคัญคือได้ฟัง ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง แนวทางในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพของประชาชน
ไม่ได้เอาเทปไปด้วย ไม่ได้จดบันทึกไว้ จำๆเอาคงเก็บนายละเอียดได้ไม่หมด เล่าให้ฟังเท่าที่จำได้แล้วกัน
…..การศึกษามีประโยชน์อย่างน้อย 4 ด้าน
1. ด้านเศรษฐกิจ การศึกษาจะช่วยขจัดความยากจน เพราะทำให้คนมีความรู้ มีวิชาชีพ จะได้เอาไปทำมาหากิน จะได้หายจน
2. ด้านสุขภาพ ทำให้ชาวบ้านสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตัวเอง ดูแลคนในครอบครัว
สุขภาพดี หมายถึง สุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี สุขภาพสังคมดี และสุขภาพทางจิตวิญญาณที่ดี
3. ด้านการส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี หรือส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย เสมอภาค เสรีภาพ และภราดรภาพ
4. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป้าหมายการศึกษาก็เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ อัจฉริยภาพให้เด็กทุกคนตามความถนัดและความสามารถของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกัน ( ยอมรับความแตกต่างของเด็ก ไม่ใช่พยายามทำให้เด็กทุกคนเหมือนกันแบบที่เคยทำกันมา หรือจะทำกันต่อไปอีก ? ) ซึ่งท่านองคมนตรีก็ยอมรับว่าเรื่องนี้ท้องถิ่นทำได้ดี
การศึกษาต้องทำให้เด็กดีขึ้นและทำให้สังคมดีขึ้นด้วย การศึกษาต้องตอบสนองความต้องการของสังคม
การศึกษาต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูต้องเป็นกัลยาณมิตร
การศึกษาต้องให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบ ใช้ทรัพยากรทั้งหมดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ท่านองคมนตรีก็ตั้งข้อสังเกตว่า โรงเรียนที่มีเด็กน้อย 60-70 คน กระทรวงศึกษาธิการจะยุบโรงเรียน ท้องถิ่น ( อบต. ) รับโอนมา บริหารไปสักพักเด็กมากขึ้นเป็น 2-300 คน เป็นเพราะอะไร ?
ท่านก็ให้ข้อคิดไว้ว่า คุณภาพของการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับการเรียนการสอนในชั้นเรียน บรรยากาศและสิ่งที่เกิดขึ้นในขั้นเรียน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการศึกษา ไม่ใช่อาคารเรียนหรือส่วนประกอบอื่นๆ ( ซึ่งมีความสำคัญเหมือนกัน แต่เป็นอันดับรองลงมา )
ในงานก็มีการจัดนิทรรศการของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมีเรื่องราวที่น่าสนใจและนวัตกรรมอีกมากมาย คงเล่าไม่ไหว แต่สรุปได้ว่า มีการพัฒนาการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปมาก เช่นมีการจัดตั้งโรงเรียนกีฬา การจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ฯลฯ
« « Prev : Chaos Theory - ทฤษฎีไร้ระเบียบ
Next : เทควันโด – ความประทับใจ » »
8 ความคิดเห็น
อนาคตชาติ การพัฒนาความรู้ และภูมิปัญญาของบุคคลากรชาติเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก
เราได้ทรัพยากรที่ทรงคุณค่า แล้วสิ่งอื่นๆก็จะตามมา
ซึ่งเราอาจจะต้องใช้เวลากันบ้าง
เราเสียเวลากับการสร้างความเจริญทางวัตถุมานาน พยายามให้ทันประเทศที่เจริญแล้ว
แต่สัดส่วนแห่งความรู้ปัญญา ช่างมีช่องว่างกันมากมาย
ภาพที่ชาวบ้านได้เรียนรู้ล้วนเป็นความรู้ที่เป็นขยะทางวัตถุทั้งนั้น
ไม่มีเวลาเลยที่จะพัฒนาความแข็งแกร่งอย่างมีเป้าหมาย
ไม่มีเวลาเลยที่รัฐฯให้ความสนใจอย่างจริงจัง
ส่วนที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ล้วนเป็นส่วนฐานรากที่พยายามผลักดันกันทั้งนั้น
การพัฒนาการเรียนสู่ความรู้ที่แท้จริง ทางรัฐฯไม่เคยให้ความสนใจอย่างจริงจัง
ขอบคุณมากครับหมอที่เปิดประเด็นนี้ขึ้นมาแลกเปลี่ยนกัน
พอพูดถึงการศึกษา เป็นหัวข้อที่ถูกใจ อยากให้เปิดประเด็นมากค่ะ พูดถึงการศึกษาต้องมีปรัชญา ที่ชัดเจนสั้นๆ ง่ายต่อการ เข้าใจ เข้าถึงปฏิบัติได้จริงๆ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ทำได้ เพราะทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษา ก็แค่มีหนึ่งสมองกับสองมือเท่าๆกัน
สิ่งที่ต่างกันคือจิตวิญาณของความเป็นผู้ให้ ภายใต้ข้อจำกัดของสภาวะแวดล้อม และค่านิยมของคนในชาติ
กลับมาเถิดศีลธรรม กลับมาเถิดคุณธรรม หากเรามีปรัชญญาการศึกษา “ตือการ ค้นหาตวามจริง ” ให้รู้ ให้เข้าใจ ให้ปฏิบัติได้จริงในทุกๆสภาวะกาล เพื่อการดำรงค์ชีพอย่างความเป็นมนุษย์ที่มีศักศรี เป็นเบื้องต้น คือปัจจัยใจสี่
ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหาร และยารักษาโรค หากทำได้ อย่างน้อยเราก็คงไม่ต้องมานั่งรันทดใจ ที่เห็น
ภาพเพื่อนร่วมชาติ ที่เป็นคนแก่ เด็ก คนพิการ คนที่ตกอยู่ในสภาพ บั่นทอนจิตใจคนในชาติ แต่ที่สำคัญและเห็นชัดเจน คือคนยากจนจะเข้าใจและเข้าถึงช่วยเหลือเจือจุนตามบุญตามกรรม หากโชคดีสื่อเอามาตีแผ่ก็ไดรับความช่วยเหลืออย่างล้นเหลือ แล้วที่เหลืออยู่ทั่วทุกชุมชนใครเป็นผู้รับผิดชอบค่ะ
ที่ผ่านมา ชนชั้นผู้ปกครองทุกระดับได้การศึกษามาสูงจน ผลักดันตัวเองเป็นชนชั้นผู้ปกครอง รับเงินเดือนจากภาษี
ท่านเรียนรู้หรือไม่ว่ามีคนในพื้นที่ ที่ท่านเป็นชนชั้นผู้ปกครองดูแลอยู่ มีสภาพของความเป็นมนุย์ที่มีปัจจัยสี่เป็นเบื้องต้นหรือยัง ถ้ายังอันดับแรกทำเสีย ก่อนที่จะไปทำอย่างอื่น อย่าให้ภาพความเป็นจริงฟ้องความมีอยู่ของศีลธรรม จริยธรรม ความเคารพความเป็นมนุษย์ถดถอย
ถ้ามีการกำหนดทิศทางการศึกษาโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามความต้องการของชุมชนนั้นๆ ควบคู่กันไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม น่าจะดีนะครับ เช่น ภูเก็ตเราเน้นการท่องเที่ยว การศึกษาภูเก็ตจึงต้องเน้นผลิตบุคลากรเพื่อรองรับการท่องเที่ยว เช่น สาขาวิชาการโรงแรม สาขาท่องเที่ยว ภาษาต่างประเทศ ด้านความบันเทิง ด้านบริหารจัดการ ฯลฯ
วันนี้เพิ่งถูกเชิญคุยไปกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถึงการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องที่ที่จะรับโอนสถานศึกษา แต่ก็พูดถึงเหตุผลของการที่ครูอยากถ่ายโอนและไม่อยากถ่ายโอน ถ้าเราสามารถสนับสนุนเงินรางวัลหรือรายได้พิเศษให้กับครูที่จะมาสอนให้กับโรงเรียนที่รับการถ่ายโอนโดยให้มีค่าตอบแทนดดยภาพรวมมากกว่าครูที่อยู่กับกระทรวงศึกษา อาจทำให้การถ่ายโอนเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น
#1 สิทธิรักษ์
#2 Lin Hui
ขอบคุณทั้งสองท่านมากครับที่มาช่วยต่อยอด
ท้องถิ่นเริ่มลดสัดส่วนงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐาน หันมาดูแลคุณภาพชีวิตมากขึ้น เพราะเริ่มมีการถ่ายโอนภารกิจด้านคุณภาพชีวิตมาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลครับ
ระยะยาวคงจะชัดเจนและดีขึ้นเรื่อยๆครับ
โทษทีครับ ที่ตอบความเห็นไปว่าสองคน ท่านอัยการเล่นสวนวันเวย์เข้ามานี่ครับ
ดีใจครับที่ประเด็นการศึกษาเป็นที่สนใจของเราชาวลานปัญญาครับ
นโนบายการถ่ายโอนภารกิจด้านการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่งเริ่ม และยังขาดความชัดเจน อนาคตก็ยังไม่แน่นอน แต่เท่าที่ติดตามดู ก็เริ่มดีขึ้น เริ่มชัดเจนขึ้นครับ
ระยะทางยังอีกยาวไกล ถ้าเข้าใจกัน ช่วยกัน อนาคตของเด็กไทยน่าจะดีครับ
การศึกษาท้องถิ่น อย่างน้อยก็เรียนเรื่องที่ทำให้อิ่มท้องก่อนละ
กินอิ่ม นอนอุ่น ไม่ว้าวุ่นใจ
เรียนไปเพื่อให้อิ่มท้อง อิอิ
[...] เพื่อพัฒนาคุณภาพของประชาชน ( ได้เขียนเล่าไว้แล้วครับ ) [...]