สองทาง-สมดุล
อ่าน: 2563
ในโลกของความคิดที่แตกต่างหลากหลายของผู้คน บางครั้งบางคราทำให้อดที่จะรู้สึกราวกับจะ “สำลัก” ความคิดไม่ได้ และ “ความคิด” นี่ยังนำไปสู่ “อารมณ์” ต่าง ๆ ได้มากมาย
เข้าทำนอง ฟัง/อ่านแล้วเชื่อทุกอย่างเรียกว่า “โง่” หากไม่เชื่อเลย เรียกว่า “บ้า” (ช่วงนี้ รู้สึกตัวเองทั้งโง่และบ้า…ไปพร้อม ๆ กันเลย ฮา ๆ)
อารมณ์นี้เองที่ก่อให้เกิดปัญหาในบางครั้ง จิตวิทยาสมัยใหม่มักจะเน้นให้เรารู้จักการ “บริหารอารมณ์” แสดงถึงการให้เครติดกับ “อารมณ์” ว่ามีความสำคัญยิ่ง
บางครั้งบางสถานการณ์ แม้เรารู้อยู่แก่ใจว่า “เหตุ” เช่นนี้ จะนำมาซึ่ง “ผล” เช่นไร แต่เราก็มักจะจัดการกับอารมณ์ไม่ค่อยได้ เราปล่อยให้การตัดสินใจถูกชี้นำด้วยอารมณ์ จนเสียการเสียงานมานักต่อนักแล้ว
คิดมาก ๆ เข้าก็วุ่นวาย ยุงตีกันในหัว ก็นี่ล่ะที่ว่า เราติดอยู่ที่ “ฐานคิด” โดยไม่ค่อยได้ฝึก “ฐานใจ” และแทบไม่เหลียวแล “ฐานกาย” ดังที่ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญท่านกล่าวไว้จริง ๆ ด้วยสิ
คิดไปถึง สิ่งที่นักเขียนชาวอเมริกัน F.Scott Fitzgerald (1896-1940) กล่าวไว้ว่า
“เครื่องหมายของจิตใจชั้นยอด คือ ความสามารถในการยึดแนวคิดสองทางที่ขัดแย้งกันไว้ได้ และยังสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ตามปกติ”
@@@นั่นก็คือลักษณะของคนที่บริหารจัดการ “อารมณ์” ให้อยู่ใน “สมดุล”ได้ดี และยังฝึกทั้งฐานคิด ฐานใจ และฐานกายอย่างดีแล้ว จึงจะมีจิตใจชั้นยอดขนาดนั้นได้
@@@
เอาล่ะ…อย่ามัวแต่คิด ๆ จนยุงมันตีกันในหัวอยู่เรื่อย ๆ
ไม่เคยฝึกปรือการจัดการกับฐานคิด ฐานใจ ฐานกายอย่างจริงจัง
พอเจอบทเรียนก็…เดี้ยง อย่างนี้แหละ