วิชาการป่าไม้เพื่อประชาชน

อ่าน: 1659

บ้านเมืองเรามีสถาบัน-องค์กร-หน่วยงานทางวิชาการมากมาย ทุกฝ่ายมีผลงานด้านการค้นคว้าวิชาการกันทุกปี หลายโครงการตั้งเป้าหมายไปที่การช่วยเหลือสังคมและประชาชน เพียงแต่รูปแบบการขยายผลอาจจะทำแตกต่างกันไป บางส่วนก็ทำเสงี่ยมหงิม ทดลองและวิจัยมาแล้วก็พิมพ์เอกสารไปเก็บไว้ในหิ้ง ดังที่่กระแน๊ะกระแหนกันว่าวิจัยฝุ่น ถ้าทุกชุดวิจัยนำเสนอผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากจะจัดประชุมวิชาการประจำปีแล้ว ควรคิดว่า..แล้วยังไงต่อ หัวใจอยู่ที่จะต่อแต้มความรู้สู่การพัฒนาให้แก่บ้าานเมืองเราอย่างไร ไม่อย่างนั้นเราก็จะมีผลงานวิชาการที่แห้งๆเทื่อๆ มันน่าเสียดายนัก

ช่วยๆกันคิดช่วยกันมองด้วยนะครับว่า..จะขายความคิดอย่างไร เมื่อวานนี้กรมป่าไม้เปิดการประชุมวิชาการป่าไม้ ประจำปี 2554 ในฐานะผู้ที่เกี่ยวข้องและคุ้นเคยกับกรมป่าไม้มายาวนาน ได้รับประโยชน์-ได้เรียนรู้จากนักวิชาการป่าไม่มาก็ไม่น้อย คนปลูกป่าก็ต้องแสวงหาความรู้ในงานที่เกี่ยวข้องสิครับ กรมป่าไม้เคยเสนอชื่อผู้เขียนเป็น “เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาปลูกสร้างสวนป่า” และรับรางวัลจากFAO. ในฐานะผู้สร้างฟาร์มต้นไม้ ในวันอาหารโลก ตั้งแต่ปีมะโว้แล้วละครับ ผมนั้นถือได้ว่าเป็นก้นหม้อของกรมป่าไม้ได้เลยละครับทุกวันนี้ก็ยังมีงานอบรม-งานวิจัย-งานเสนอหน้า ร่วมกันอยู่พอประมาณ ที่มาบางกอกเที่ยวนี้ก็เกี่ยวข้องกับการประชุมวิชาการนี่ละครับ

ช่วงบ่ายวันนี้จะขึ้นไปโม้หัวข้อ “ผลงานวิจัยป่าไม้สู่ประชาชน”

:: ประเด็นที่จะเสนอก็คือ

..ผมขอยืนยัน นั่งยัน นอนยัน ว่างานวิจัยด้านการป่าไม้นั้นสำคัญมากนัก เพราะเป็นกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับภาคธรรมชาติ ที่เป็นหัวใจหลักของความเป็นไปของโลก และสัมพันธ์กับการเกษตรของคนส่วนใหญ่ แต่เรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นชุดความรู้เฉพาะทาง ที่จำเป็นต้องยกระดับไปสู่ภาคการขยายลงสู่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ที่ผ่านมาก็ไม่ใช่ไม่ทำกันนะครับ จัดฝึกอบรม จัดสัมมนา แจกกล้าไม้ ส่งเสริมการปลูกป่ามาเป็นระยะๆ แต่งานมันไม่ค่อยออก ยังไม่ฮือฮาเหมือนการแห่แหนกันไปปลูกยางพารา ทั้งๆที่ทำได้ ตีปิ๊บได้ เพราะเนื้อหามันมีความสำคัญอยู่ในตัว ชาวบ้านมีความต้องการ และชาวบ้านบางส่วนก็ทำวิจัยแบบงกๆเงิ่นๆ ถ้ามีพี่เลี้ยงอย่างแข็งขัน เหมือนที่ศูนย์วิจัยสะแกราชทำ หรือ สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ทำ จะช่วยให้บทบาทของงานวิจัยไปโลดเลยละขอรับ

>> แนวคคิดเรื่องการปลูกต้นไม้แล้วเอาใบเอากิ่งมาใช้ประโยชน์เบื้องต้นด้วยการนำมาเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ อธิบายให้ชาวบ้านเห็นช่องทางการใช้ประโยช์จากต้นไม้อย่างสมบูรณ์และยั่งยืน เปลี่ยนแนวคิดเรื่องการปลูกต้นไม้..กว่าจะได้ประโยชน์ต้องรอต้องใช้เวลานาน

>> ด้วยแนวคิดนี้ นำไปสู่เชิงนโยบาย ทำการวิจัยให้ทราบว่าควรจะปลูกต้นอะไร สัดส่วนเท่าใด เพื่อวัตถุประสงค์ใด การที่ผู้ปลูกไม้ต้องรีบตัด จะทำให้ปริมาณต้นไม้เพิ่มมากขึ้น กระจายตัวยิ่งขึ้น เพิ่มตัวเลขป่าไม้ได้อยางเป็นรูปธรรม ในเมื่อประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจและตั้งใจปลูกต้นไม้ ..ต้นไม้หลายๆต้น รวมกันเข้า ก็จะเป็นป่าไม้

>>จากผลการวิจัยกรมป่าไม้ ไม้สกุลอะคาเซีย ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งคุณภาพดี ชาวบ้านสามารถตัดเอากิ่งมาใช้ประโยชน์ ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้กลมขนาดเล็ก ทำเชื้อเพลัง ทำฟืน เผาถ่าน เป็นการสร้างงาน หรือ ถ้ามีกิ่งก้านที่ต้องแต่งมากก็เอามาสับใส่ลงไปในคอกสัตว์ช่วยเพิ่มปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ได้

>> ไม้ไผ่ควรเป็นไม้ที่รณรงค์ให้มีการปลูกอย่างกว้างขวาง นอกจากจะกินหน่อ นำลำต้นมาจักสาน หรือใช้ประโยชน์ด้านต่างๆแล้ว พบว่า..ไม้ไผ่อายุตั้งแต่3-4ปีขึ้นไป จะมีลำไผ่ให้หมุนเวียนตัดมาใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยบรรเทาการขาดแคลนไม้ใช้สอยไม้เชื้อเพลิงในชุมชนได้ แทบไม่ต้องไปอาศัยไม้ยืนต้นชนิดอื่น  สามารถบริหารจัดการไม้ไผ่ในชีวิตประจำวันได้อย่างดี

>> บ้านเรามีไม้ไผ่หลายสกุลพันธุ์ เลือกสรรปลูกกันหลากหลายวัตถุประสงค์ ปลูกกันลม ปลูกเป็นร่มเงา ปลูกเป็นไม้ทำเครื่องเรื่อน ของใช้ไม้สอย เผาถ่านก็ได้ผ่านคุณภาพพิเศษ ที่สำคัญปลูกไผ่ไม่ต้องใช้เวลารอนานเหมือนการปลูกไม้ยืนต้นทั่วไป

>> กลุ่มงานวิจัยเกี่ยวกับไม้ผักยืนต้นพื้นเมืองก็น่าสนใจ กลุ่มไม้สมุนไพร กลุ่มไม้หอมไม้พืชน้ำมัน ถ้ามีการวิจัยแล้วถ่ายทอดสู่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยกลุ่มนี้จะได้เพื่อนได้ภาคร่วมกิจกรรมอย่างอุ่นหนาฝาคั่งเลยละครับ

>> กลุ่มไม้ล้อม ไม้ประดับ ไม้ประแดก ยังเป็นเรื่องผิวๆ ยังไม่มีการนำผลวิจัยลงสู่สาธารณชนเท่าที่ควร ส่วนมากจะเป็นกิจการของภาคประชาชน ลองนำไปเป็นโจทย์วิจัยแบบเข้มข้นดีไหมละครับ

>> ประเทศไทยมีการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิงจากภายนอกเป็นอย่างมาก แค่ท่อก๊าซรั่วในอ่าวไทย อัตราค่าเฉลี่ยไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้นหลายสตางค์ การวิจัยเรื่องไม้เพื่อพลังงานน่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่จะชวนให้ชาวบ้านมีงานมีอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้น ดีกว่าจะทำนโยบายกระจายหนี้แบบพรรคงานเมืองโง่ๆกำลังทำอยู่ขณะนี้ พืชน้ำมันมีทั้งแบบที่ปลูกเอาเมล็ด และปลูกเอาวัตถุดิบไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า ตรงนี้จำเป็นต้องได้ผู้ที่มีวิสัยทัศน์ด้านการพลังงานเชิงรุก ถ้ามีแต่พวกอ่อนหัดมาบริหารพลังงาน คนไทยก็เจ๊กอั๊กยังงี้ละครับ

>> ประเทศเรามีความเหมาะสมที่จะปลูกต้นไม้อยู่แล้ว อนึ่ง ความหลากหลายทางชีวภาพก็ไม่เป็นรองใคร ถ้าช่วยกันอย่างเป็นระบบ ผืนแผ่นดินไทยก็จะเขียวขจี มีความปกติสุข ลักษณะงานดังกล่าวข้างบน สามารถรองรับผู้ที่ตกงาน- ผู้ที่อยากเปลี่ยนงาน- ผู้ที่กำลังเลือกงาน ถ้ารัฐฯมีนโยบายเชิงรุกเกี่ยวกับการสร้างเสริมสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน ประเทศเราจะผ่อนคลายเรื่องมลภาวะจากอุตสาหกรรม-ลดเรื่องวิฤติภัยธรรมชาติ-ลดเรื่องภัยจากโรคแมลงรบกวนพืชผัก-ช่วยสร้างความสมดุลด้าน/อากาศ/ฤดูกาล/ฟ้าฝน/

>> ช่วยกันหางเสือของภาคการเกษตรมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับป่าไม้ ปลูกไม้ทุกแห่งหน ผู้คนจะร่มเย็น”

” รั ก ต้ น ไ ม้  ไ ม่ มี อ ก หั ก ”

การประชุมวิชาการป่าไม้ ประจำปี 2554 “เทคโนโลยีด้านป่าไม้เพื่อประชาชน”
ณ ห้องประชุม อาคารกริต สามะพุทธิ
เมื่อวันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2554

นายชลธิศ สุรัสวดี รองอธิบดีกรมป่าไม้ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการป่าไม้ ประจำปี 2554 “เทคโนโลยีด้านป่าไม้เพื่อประชาชน” ณ ห้องประชุม อาคารกริต สามะพุทธิ เมื่อวันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2554 โดยมีนายเริงชัย ประยูรเวช และนายประยุทธ หล่อสุวรรณศิริ รองอธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมผู้บริหาร เข้าร่วมประชุมดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีให้หน่วยงานที่มีผลงานทางวิชาการด้าน ป่าไม้ ได้นำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาเผยแพร่ และเปิดโอการให้นักวิชาการ เกษตรกร ผู้ประกอบการ และประชาชนผู้สนใจด้านการป่าไม้ ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ แนวความคิด รวมถึงการสร้างความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยแบบบูรณาการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีคุณค่าและยั่งยืน อันจะส่งผลให้การบริหารจัดการ ทรัพยากรป่าไม้มีประสิทธิผล ก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของชาติต่อไป โดยมีกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การประชุมวิชาการด้านป่าไม้ และนิทรรศการด้านป่าไม้ในส่วนของกรมป่าไม้ ได้นำเสนอนิทรรศการเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้สกุลอะเคเซีย ไม้สกุลยูคาลิปตัส ไม้เทพทาโร และไม้ไผ่ โดยจะแสดงผลงานตั้งแต่การพัฒนาพันธุ์เพื่อการเพิ่มมูลค่าและผลผลิต ไปจนถึงการใช้ ประโยชน์ทั้งในระดับครัวเรือนและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังมีการแสดงผลงานวิจัยด้านอื่น เช่น พลังงานจากไม้ เศรษฐกิจป่าไม้ กีฏวิทยาป่าไม้ และจุลินทรีย์ป่าไม้ นอกจากนี้ภายในงาน กรมป่าไม้ได้นำกล้าไม้สายพันธุ์ดี ซึ่งผ่านการพัฒนาพันธุ์แล้ว เช่น ไม้ กระถินณรงค์ ไม้กระถินลูกผสม ไม้สักเสาชิงช้า มาแจกจ่ายให้ผู้ร่วมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

การจัดงานในกรมป่าไม้วันนี้

ทุกหน่วยงานจัดนิทรรศการน่าชมมาก

มีการแจกไม้พันธุ์ดีด้วย

แหม..ถ้าหมอเจ๊ คนสวยแซ่แฮยังอยู่บางกอก

จะชวนมาชมงานนี้ น่าจะได้แนวคิดในการไปปรับปรุงสวนที่ซื้อใหม่

กลับไปปลูกต้นไม้ให้ไฉไลสมใจหวัง

ส่วนท่านที่อยู่บางกอกถ้าว่าง..จะมาเที่ยวกรมป่าไม้ก็อย่าอิดออดนะครับ

วันนี้เป็นวันสุดท้ายแล้ว

เขาจัดได้ดีจริงๆนะ เดี๋ยวจะหาว่าหล่อไม่ชวน อิ อิ

« « Prev : ศึกษาศาสตร์สุโขทัยธรรมาธิราชบุกสวนป่า

Next : ของดีๆที่น่าเสียดาย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 มิถุนายน 2011 เวลา 12:31

    แหม อยากจะมาร่วมฟัง และชมความก้าวหน้าทางวิชาการป่าไม้ ก็มีภาระกิจตัดหน้าทุกที ผมยังอยู่ที่ สปก. เย็นนี้กลับขอนแก่นแล้ว..

  • #2 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 มิถุนายน 2011 เวลา 20:10

    สิบปีมาแล้ว ผมคิดคำนวณเรื่องผลผลิตไม้ไผ่ตามประสาผม ตกใจมากๆว่า มันให้เนื้อไม้ต่อไร่ต่อปีสูงกว่ายูคา 8 เท่า ผมต้องการยืนยันว่าผมไม่โง่บ้าไปแล้ว ด้วยการค้นในเน็ตของกรมป่าไม้ กรมวิชาการเกษตร ก็ไม่เจอ ไปค้นด้วยตัวเองที่ห้องสมุดกรมป่าไม้ ก็ไม่เจอ

    ผมว่ามันบ้าไปแล้วประเทศเรา ที่มันทำวิจัยนาโน (โก้กว่านาข้าว) วิจัยอวกาศบ้าแตก แต่ใบไม้เขียวเต็มป่าตำตามันทุกวัน มันไม่เคยคิดจะทำ

    ผมเป็นนายกฯวันไหน พับพ่า จับมาตัดหัวหมด ไอ้พวกทรยศขายชาติพวกนี้

    (พูดเป็นอุปมานะ ธ่อ มดสักตัวผมยังไม่กล้าฆ่า)

  • #3 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 มิถุนายน 2011 เวลา 22:21

    ปีนี้กรมป่าไม้จัดได้ดีมากจนเสียดายแทนคนนอกที่ไม่ได้มาณู้เห็น95% เป็นคนในวงการกันเอง แหมถ้ารู้อย่างนี้โทรไปชวแล้ว เอกสารดีๆแจกเพียบ นิทรรศการก็สุดยอด ได้ความคิดดีๆมาพอสมควร อิอิ

  • #4 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 มิถุนายน 2011 เวลา 22:22

    ท่านจอหงวนอย่าฮึดฮัดไปเลย ใครไม่ทำเราทำกันเอง งานวิจัยที่เสนอต้องปรับแก้พอสมควร มอบให้ผู้สันทัดกรณีชาวป่าไม้แก้ให้แล้ว ผลเป็นประการใดโปรดอดใจรอด้วยความระทึกระทวยใจ อิ อิ

  • #5 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 มิถุนายน 2011 เวลา 22:52

    ผมพูดตรงๆ ข้อด้อยของกรมป่าไม้ ก็ดี หรือกรมวิชาการเกษตรก็ดี และสำนักอะไรต่างๆทางเกษตรที่ตั้งกันมาราวดอกเห็ดคือ ..คนกลุ่มพวกสีเดียวกัน ส่วนใหญ่จบมาจากสถาบันเดียวกัน ก็ฮั้วกันไป ตามประสาปี้น่อง คนนอกเข้าไปเสนออะไรไม่ได้ ขอทุนก็ไม่ได้

    ส่วนหมอก็จุฬา มหิดล สองสถาบันนี้เท่านั้น

    วิศวะก็จุฬาลูกเดียว จริงๆ มีบางมดแทรกมาได้เป็นบางคราว …หลักสูตรทั้งประเทศลอกจุฬาหมด ถ้าจุฬาโง่ก็โง่หมดประเทศ เช่น หลักสูตรวิดวะเครื่องกล จุฬา(โง่)ไม่เรียนเรื่องการเผาไหม้ (ทั้งที่สำคัญมาก) ม.ไทยทุกแห่งก็ไม่มีเรียนเรื่องเผาไหม้ …จนปล่อยให้มันเผาไทยไปหมด

    รัดสัตว์ก็มีสิงห์สองสามสีเท่านั้น

    หอคอยงาช้างนั้นผมไม่ว่าเลยสักคำ นิยมด้วยซ้ำไป เพราะบางทีเราก็ต้องการมุมมองจากที่สูงเหมือนกันนะ

    แต่แหม..มันงาเทียมที่ก๊อปเขามา แถมต้นแบบก็งาเก๊อีกต่างหาก

  • #6 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 มิถุนายน 2011 เวลา 2:54

    เมื่อรู้แล่ว ควรเข้าใจธรรมชาติขององค์กร วัฒนธรรมขององค์กร เลือกจุดดี จุดแข็ง มาร่วมมือกันทำประโยชน์ อิ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.79466605186462 sec
Sidebar: 0.062948942184448 sec