ม๊อบดอกกุหลาบ
อ่าน: 2643พ่อแม่พี่น้องครับ
เมื่อคราวที่แล้วผมไปประชุมสภาการศึกษาที่กองบัญชาการทำเนียบรัฐบาล ตอนนี้ทำเนียบฯถูกพันธมิตรประชาธิปไตยยึดครองไว้ รัฐบาลต้องหาที่ประชุมใหม่ ได้ข่าวว่าจะปรับปรุงดอนเมืองเป็นที่ทำการชั่วคราว ซึ่งก็ดีนะครับ รัฐมนตรี หรือสส.ที่อยู่ต่างจังหวัด นั่งเครื่องบินมาลงแล้วเดินเข้าห้องประชุมเลย
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีสำนักงานอยู่ที่ถนนสุโขทัย เยื้องกับสวนรื่นฤดี ยังไม่มีใครมายึด ปกติเราก็ประชุมกันที่นี่ ถามว่าทำไมไปประชุมทำเนียบละ อ๋อ..เป็นครั้งเป็นคราวนะขอรับ ฯพณฯท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษา (ตอนนี้เป็นนายกรัฐมนตรี)ท่านมีบัญชาให้เราประชุมที่ไหนเราก็ต้องไป ไม่มีปัญหา ..
เมื่อวานนี้ ประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ มีวาระสำคัญที่ต้องพิจารณาคือเรื่อง การจัดตั้งเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาจังหวัด เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีมาตรฐาน มีปรากฎการณ์หลายเรื่อง ว่าที่นายกฯรอรับพระราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาทำหน้าที่ประธาน
..ผมไปถึงสถานที่ประชุม มองไปต๊กกะใจ
ทำไมใครๆใส่เสื้อสีชมพูเดินเต็มไปหมด
ถ้าไม่เห็นดอกกุหลาบในมือเธอ คงนึกว่าม๊อบบุก!
..ทราบว่าเป็นคณะก่อการดีของชาวมัธยมศึกษาที่ชวนกันรอฟังข่าวจากทั่วประเทศ
ผมเดินตัวลีบ หลบหลีกม๊อบดอกกุหลาบ
แต่ก็เจอผู้บริหารสถานศึกษาที่มาจากบ้านตัวเองจนได้
อ้าว!. มายังไงกันนี่ ..
ทักทายกันไม่มากนัก จวนจะถึงเวลาประชุมแล้ว จึงอำลาเข้าห้องสิปนนท์ เกตุทัด
ก่อนจะเข้าห้อง ยังมีมือมาสะกิดมอบ..ดอกไม้
ความเป็นมา: สพฐ.เสนอจัดตั้งสำนักเขตพื้นที่มัธยมศึกษาจังหวัดละ1เขต จำนวน76เขต สภาการศึกษา ประชุมครั้งที่2/2551เห็นชอบให้มีการแก้ปัญหาการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการมัธยมศึกษา โดยเห็นควรแยกการบริหารจัดการประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีหลักประกันความสำเร็จ มีการแก้ไขปัญหาเป็นองค์รวม เป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน ระยะสั้น ระยะยาว ผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ เช่น
หลักและแนวคิดการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรการระยะยาว
- การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพวงชน
- แก้ไขปัญหาการศึกษา ซอยแยกเป็นแท่ง แบ่งเป็นท่อน
- หลักกระจายอำนวจให้สถานศึกษา
- ส่วนกลางและเขตพื้นที่มีบทบาทสนับสนุนสถานศึกษา
ทางเลือกที่1
- การจะจัดตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษาได้ ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย
- ให้มีมาตรการระยะยาว และมาตรการระยะสั้น
- วิจัยประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- วิเคราะห์ผลกระทบ
- รับฟังความคิดเห็น
- แนวทางปรับแก้กฎหมาย
- ให้มีการวิจัยประเมินทบทวนการปฏิรูปการศึกษาภาพรวม
ทางเลือกที่2
มาตรการระยะสั้น
ให้มีการดำเนินการด้านกฎหมายจัดตั้งเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา โดยให้มีจำนวนเขตตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด พูดถึงการบริหารงานบุคคล เช่น ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีย้ายผู้บริหาร และการย้ายข้าราชการครูสายงานผู้สอน รวมทั้งการสรรหาผู้บริหาร พิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่เข้ารับการคัดเลือก การบริหารด้านวิชาการ ควรพัฒนากลไกการนิเทศการจัดการศึกษาครอบคลุมทุกช่วงชั้น การบริหารงบประมาณ กำหนดเกณฑ์และจัดสรรงบประมาณแยกประถม มัธยม ให้มีส่วราชการภายใน สพฐ.บริหารมัธยมศึกษาและประถมศึกษาแยกกัน รวมทั้งทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนามัธยมศึกษา เร่งดำเนินการให้สถานศึกษามีความพร้อมเป็นนิติบุคคลแบบองค์การมหาชน รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในช่วงนี้มีมากมาย ขอให้ติดตามได้ที่เว๊ปไซด์ของกระทรวงศึกษาหรือของสภาการศึกษานะขอรับ
ผมขอสรุปแบบย่นย่อว่า ..รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและสภาการศึกษาแห่งชาติ เห็นควรตั้งคณะอนุกรรมการพิจาณาเรื่องการแบ่งแยกมัธยม-ประถม ให้พิจารณาข้อเสนอเพื่อดำเนินการเบื้องต้นภายใน3 เดือน ส่วนมาตรการระยะยาวควรดำเนินงานควบคู่กันไป ไม่แน่นะครับ เราอาจจะมีการปฏิรูปการศึกษายกใหญ่อีกครั้งหนึ่งก็ได้ สืบเนื่แงจากการจัดเสวนาใหญ่วันครบรอบ9ปีการปฏิรูปการศึกษา จะเห็นว่าบางเรื่องเราก็เดินมาถูกทิศถูกทาง แต่บางเรื่องก็ปีนเกลียวกัน อย่างเรื่องประถม-มัธยม มีผู้อภิปรายว่า ..แทนที่จะกลมเกลียวอยู่กันแบบกลมกลืน ก็ฝืนอยู่กันแบบน้ำกับน้ำมัน สไตล์ต่างคนต่างใจ มีเสียงหยอกเอินออกมา..
ผู้บริหารประถมชอบกินลาบกินก้อย
ผู้บริหารมัธยมชอบตีกอล์ฟ
ที่จริงเรื่องแซวกันพวกนี้ไม่น่ามีปัญหา กินก้อยมีแฮงแล้วไปตีกอล์ฟก็ได้ แต่เท่าที่ผู้บริหารมัธยมเข้ามาคุยเรื่องต่างๆให้ฟังก่อนหน้าที่ผมจะเดินทางมาประชุม มันมีปัญหาซับซ้อนมากกว่านั้น เล่าให้ฟังว่ามัธยมอยู่เหมือนลูกเมียน้อย จำนวนมือมัธยมน้อยกว่า ยกมือลงประชามติเรื่องอะไรก็แพ้ตั้งแต่อยู่ในมุ้ง การบริหารการศึกษาแบบจับให้นอนร่วมมุ้งมันจั๊กกะจี้และฝืนความรู้สึก เกิดปัญหาทางกายและทางใจนี่ลำบากจริงๆนะขอรับ เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจทุกฝ่าย เรื่องการปฏิรูปการศึกษายังจะมีการบ้านให้ประชาคมไทยทำกันต่อไปอีกยาวนาน ถ้ามาดูการการรายงานสมรรถะการศึกษาไทยในเวทีสากล พ.ศ.2550
ความเห็นของผู้เขียน
-
เรื่องนี้ไม่มีอะไรใหม่ เป็นการถอยมาอยู่ตำแหน่งเดิมก่อนมีการปฎิรูปการศึกษา ชาวมัธยมไม่ได้ไม่เสียอะไร กลับบ้านเก่า อาจจะดีกว่าเดิม ตรงที่เสนอแนะเรื่องที่เห็นว่าจะช่วยให้ระบบจัดการศึกษาของมัธยมดีขึ้นอย่างไรบ้าง
-
รัฐบาล สภาการศึกษา ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรพัฒนาวิธีการทำงานให้เร็วขึ้น สอดล้องกับสถานการณ์ ขืนโอ้เอ้วิหารราย นอกจากถั่วไม่สุก งาจะไหม้คากะทะ
-
เรื่องการศึกษาเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน เป็นงานยากยิ่งยวด เลิกโทษกัน เพราะคนไทยทมีส่วนทำให้การศึกษาพิกลพิการทั้งนั้น ผมเองก็คนหนึ่ง เป็นตัวดีเลยเชียวแหละ
-
ทุกคนเป็นจำเลย ลอยแพอนาคตลูกลาน ลอยแพการศึกษา ควรจะหันหน้ามาร่วมใจกันสร้างแพยนต์ขนานใหญ่ เพื่อบรรทุกกลไกการศึกษาให้วิ่งฉิว
สมรรถนะของประเทศไทยในเวทีสากล
พิจารณาจัดอันดับสมรรถนะการแข่งขันIMD พิจารณาด้วยดัชนีจาก4องค์ประกอบหลักคือ
-
ความสามารถด้านเศรษฐกิจ
-
ประสิทธิภาพภาครัฐ
-
ประสิทธิภาพภาคธุรกิจ
-
โครงสร้างพื้นฐาน
โดยผลประเมินสมรรถนะของไทยในภาพรวม พ.ศ.2550 ไทยอยู่ในอันดับ 33 จากทั้งหมด 55 ประเทศ ซึ่งสมรรถนะที่เหนือกว่าเพียง2ประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก คือ ฟิลิปปินส์(54) และอินโดนีเนีย (45) เท่านั้น มาดูรายงานที่ว่านี้หน่อยดีไหมครับ
ผลการประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รอบแรก)
ผลการประเมินที่พิจารณามาตรฐาน3ด้าน คือ ด้านผู้เรียน ครู และผู้บริหาร พบว่า
-
โรงเรียนทีได้มาตรฐานระดับดีคือค่าเฉลี่ยของผลการประเมินทั้ง14 มาตรฐาน มากว่า2.50 และไม่มีมาตรฐานใดอยู่ในระดับปรับปรุง รวมจำนวน12.167 หรือคิดเป็นร้อยละ 34.61
-
โรงที่ไม่ได้มาตรฐาน สมศ.จำนวน 22,992 โรงเรียน หรือร้อยละ 65.39
-
โรงเรียนที่อยู่ในระดับปรับปรุง คือ ค่าเฉลี่ยของผลประเมินทั้ง14 มาตรฐาน ต่ำกว่า 1.75 จำนวน668โรงเรียน หรือร้อยละ 1.90
จากผลประมินข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า คุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศยังไม่ดีนัก โดยมีสถานศึกษาที่ได้มาตรฐานไม่ถึงร้อยละ50
ระดับอุดมศึกษา
ผลการประเมินในรอบแรก พบว่า ในภาพรวมผลการประเมินคุณภาพสถาบันอุดมศึกษา 260 แห่ง มีสถาบันที่ได้รับการรับรอง124แห่ง หรือร้อยละ47.69 มีทั้งที่สอบผ่าน100% ผ่านแบบมีเงื่อนไข และที่ไม่ได้รับการรับรอง
ในส่วนของวิทยาลัยชุมชน 10 แห่ง ได้รับการรับรอง1แห่ง
ได้รับการรับรองแบบมีเงื่อนไข 7 แห่ง
ไม่ได้การรับรอง2แห่ง
ในฐานะผู้ประมินรอบแรกและรอบสอง
ผมเห็นการพัฒนาการดีขึ้นมาก จึงสบายใจและมีความสุขกว่าทุกครั้ง
เห็นกิจกรรมกิจการที่น่ายินดี ชื่นชม และให้กำลังใจไปแล้วด้วย
พิจารณาให้ผ่านด้วยความเต็มใจ
แต่..ยังมีจดหมายน้อยจากวิทยาลัยที่ไปประเมิน ส่งมาให้พิจารณาใหม่ว่า
ข้อนั้นข้อนี้ เขาควรจะได้คะแนนเต็ม
อ่านๆไปข้อนั้นก็เด่น ข้อนี้ก็เด่นที่สุด ข้อต่อไปเด่นอย่างยิ่งยวดที่สุด
บางข้อให้เหตุผลว่า ได้เชิญท่านองคมนตรีมาเป็นวิทยากรให้กับประชาชนในจังหวัดทั้ง8โครงการ ถือเป็นโครงการเด่นของวิทยาลัยที่วิทยาลัยแห่งอื่นยอมรับ โธ่..ผู้ประเมินไม่มีเหตุผลที่จะขี้ตืดคะแนน พยายามเจาะหา เพ่งมองมองหาจุดดีจุนเด่น(ซึ่งหายาก) เลขานุการกลุ่มเขี่ยหาจนกระจุย พยายามช่วยจนสุดกำลังแล้ว ไม่ใช่ไม่เคารพความเห็นของพื้นที่ เข้าใจว่างานยากและยุ่ง ถ้าเราไม่เอาความจริงเป็นตัวตั้ง มาตรฐานจะมาจากไหน ผลของการประเมินจะเป็นอย่างไร เราจะเอาผลลัพธ์ไปทำอะไรได้ เราจะประเมินไปทำไม ถ้ามีแต่เรื่องเสมือนจริง
ปัญหาเรื่องการประเมินคูณภาพและมาตรฐานการศึกษาของ สมศ.ก็ควรผ่าตัด
เพราะเราผ่านระยะอี๋อ๋อมาพอสมควรแล้วนะขอรับ
ต้องการได้คะแนนเต็มไม่ยากหรอก
ยินดีรับพิจาณาเสมอ
ขอให้ยืนยันมาอีกครั้งหนึ่ง
เตรียมตะกร้าใส่คะแนนไว้เลย..
อิ อิ อิ
2 ความคิดเห็น
มาตรฐานการศึกษา ขื้นกับบุคคากรการศึกษาความเอาจริงเอาจัง
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวในการสร้างทางเลือก
การปฏิรูปอย่างมีประสิทธิภาพ
แรงกระตุ้นจูงใจ
ปราศจากการครอบงำทางการเมือง
ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน
ประเทศไทย ล้าหลังเหลือเกิน ในการนำพาสู่ ความเป็นเลิศทางการศึกษา ความรู้ความเข้าใจ จนถึงปลายสุดแห่งความรู้คู่ปัญญา ความเข้าใจ รู้สึก ความคิด และการซึมซับต่อสังคม
ล้วนเป็นเรื่องราวของท่านผู้มีหนทางและอำนาจที่จะไปผลักดัน ให้ทิศทางของประเทศเข้าสู่อนาคตที่ต้องการ
หวังอย่างยิ่งว่าพวกเราจะได้ในสิ่งที่ต้องการ ถึงแม้ว่าในภพนี้ พวกเราบางคนจะไม่ได้เห็นก็ตาม แต่ก็ภายในชีวิตลูกหลานจะประสบผลสำเร็จ
ขอบคุณ ครูบาฯ และหลายๆคนที่เอาจริงเอาจังครับ……………… เหลียง
การศึกษาของบ้านเราไม่ทัดเทียมกันเสียมากกว่า สงสารเด็กตามรอยตะเข็บต้องเรียน กับ ตชด. นะคะ