ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อการหลอกลวงตนเอง

6 ความคิดเห็น โดย แสวง เมื่อ 8 February 2010 เวลา 9:04 am ในหมวดหมู่ อาหารปลอดภัย
อ่าน: 2306

วันนี้ผมได้สนทนาวิชาการเล็กๆน้อยๆกับลูกสาวที่กำลังเรียนมหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ ๓ และเตรียมสอบวิชาเกี่ยวกับ “ระบบประสาทของมนุษย์”

ที่เป็นสื่อสำคัญทำให้ให้เรา “รู้ตัว” “รักษาตัวเอง” และ “เอาตัวรอด” ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างน่าทึ่งจริงๆ

มี ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ ความสามารถในการรับรสชาติอาหาร ที่เป็นสื่อของความ “อร่อย” ว่าคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร มีอะไรเป็นตัวกระตุ้นระบบทำงาน มีไว้ทำอะไรในระบบของสิ่งมีชีวิต

หลัง จากการวิเคราะห์ประเด็นทางชีววิทยาและวิวัฒนาการ เราได้ข้อสรุปว่า แท้ที่จริง “ความอร่อย” ก็คือการรับรู้ว่ามี “กลูตาเมท” ในอาหารชนิดนั้นๆ

แล้ว “กลูตาเมท” มีประโยชน์ต่อระบบการบริโภคอาหารของสิ่งที่มีชีวิต อย่างไร

เรา เริ่มวิเคราะห์แบบสืบค้นต่อไป ก็พบว่า “กลูตาเมท” จะมีมากในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตที่มีกิจกรรมสูง เมื่อมีกิจกรรมสูง ก็น่าจะมีสารอาหารมาก เมื่อมีสารอาหารมาก ก็มีคุณค่าควรแก่การบริโภคมาก

คิดไปแล้วน่าทึ่งจริงๆ ทางด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ช่างชาญฉลาดจริงๆ

แสดงว่า ความอร่อยน่าจะเป็นระบบการรับรู้ที่ช่วยให้เราบริโภคอาหารที่มีคุณค่าโดยแทบไม่ต้องใช้ความรู้ทางโภชนาการอะไรเลย ก็ได้

ไม่ต้องมีความรู้อะไรมาก แค่ “อร่อย” แบบธรรมชาติ ก็มีโอกาสได้สารอาหารดีๆ ที่สุดที่มีในอาหารประเภทนั้นแล้ว

แต่ต้องเป็น “ความอร่อย” ตามธรรมชาติ ไม่มีการ “ปรุงแต่ง” หรือ “ใช้สารเคมีหลอกตัวเอง”

ในอีกมุมหนึ่ง การรับรสชาติน่าจะกลไกธรรมชาติในการป้องกันการบริโภคสารพิษ อาหารบูดเน่า ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

แต่

ใน ในสังคมของเรากลับหาวิธี “หลอกตัวเอง” ด้วยการปรุงแต่งรสชาติอาหารโดยวิธีต่างๆ เพื่อ ทำอาหารให้เสมือนหนึ่ง “มีคุณค่า” ทางโภชนาการ กระตุ้นการบริโภค ด้วยเครื่องปรุงรสต่างๆ

ตั้งแต่สมัยโบราณมาก็ใช้ เกลือ น้ำตาล เครื่องเทศ ที่บางอย่างก็อาจมีคุณค่าทางโภชนาการ หรือด้านเภสัชกรรม แต่หลายๆอย่างก็ไม่ค่อยมีประโยชน์ และอาจเป็นพิษเป็นภัยก็เป็นได้ เช่นการบริโภคอาหารรสจัดทั้งหลายนั้น เป็นการหลอกตัวเองอย่างสุดๆ และน่าจะมีผลเสียมากกว่าผลดี

ใน ปัจจุบัน เรายังมีการผลิตสารเคมี “กลูตาเมท” เพื่อใส่ในอาหารแบบ “ยิงหมัดตรง” หลอกตัวเองอย่างสุดๆ ว่า อาหารที่ตนเองรับประทานนั้นมี “กลูตาเมท” ที่เป็นตัวชี้วัดทางธรรมชาติ และชีววิทยา ว่า มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยที่ สิ่งที่จะบริโภคนั้น อาจจะไม่ใช่อาหาร หรือ ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการแต่อย่างใด

และพบว่า การหลอกตัวเองในลักษณะนี้ มีอยู่ในทุกรูปแบบ ทั้ง สัมผัส รูป รส กลิ่น เสียง

ทั้งๆ ที่ ระบบประสาทเหล่านี้ น่าจะมีไว้เพื่อการรับรู้ธรรมชาติ สิ่งที่เป็นอยู่รอบตัวเรา เพื่อให้เราได้รู้ตัวว่า เรากำลังเผชิญอะไรอยู่ และควรตอบสนองอย่างถูกต้องได้อย่างไร ทั้งการตอบรับ การวางเฉย หรือปฏิเสธ

แต่ มนุษย์เรากลับใช้สมอง ใช้ความรู้เพื่อจะหลอกตัวเองให้ไม่รู้ตัว ด้วยการปรุงแต่งอย่างเทียมๆ ให้เกิดการบริโภคอย่างผิดๆ ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว

ตั้งแต่ การปรุงอาหาร ที่ส่วนใหญ่ก็ “หลอก” แบบ “หวังดี” ที่บางทีก็เกิด “ผลร้าย” ไปจนถึง การปรุงรสสารพิษ สารเสพติด (เช่น แอลกอฮอล์ นิโคติน แอมเฟตามีน ฯลฯ) ให้บริโภคง่ายขึ้น ที่ไม่ทราบว่า “หวังดี” หรือ “หวังร้าย” กันแน่

แต่ ผมกลับคิดว่า เราน่าจะเน้นความพยายามเข้าใจตนเอง เข้าใจธรรมชาติ ใช้ความรู้ เทคโนโลยีเพื่ออยู่กับธรรมชาติแบบ “ไม่หลอกตัวเอง” น่าจะดีกว่า

สิ่ง ที่ครอบครัวของผมเลิกไปนานกว่า ๒๐ ปีแล้วก็คือ ไม่สนับสนุน และไม่บริโภคสารเคมีปรุงรส อาหารซอง หรือน้ำอัดลมใส่สี ใส่กลิ่น ใส่สารปรุงรส และสารกันบูดเน่า ที่หลอกให้เราบริโภคสิ่งที่ไม่ค่อยเป็นประโยชน์

และ เราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้มีโทษ มากกว่ามีประโยชน์

ส่วน ตัวผมเอง แม้แต่ยาแก้ไข้แก้ปวด ที่หลอกตัวเองว่า “ปกติดี” ผมก็ไม่รับประทาน เพราะผมอยากรู้ว่าตอนนี้ ร่างกายกำลังเป็นอะไร มากแค่ไหน ที่ตรงไหน

ที่ผมคิดว่าดีกว่า “การปิดบังตัวเอง ไม่ให้ตัวเองรู้ ว่าตัวเองกำลังเป็นอะไร”

ข้อนี้ก็แล้วแต่ความชอบส่วนบุคคล ที่ไม่จำเป็นต้องว่าอะไรดีไม่ดี

แต่ผมคิดว่า การใช้ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อการหลอกตัวเอง ปิดบังตัวเอง หรือแม้กระทั่งทำลายตนเอง ไม่น่าจะดีสักเท่าไหร่

ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยครับ


ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง “โมถ่าย” อีกหนึ่งความหวังของประเทศไทย

อ่าน: 76324

เมื่อช่วงปลายธันวาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา ผมได้รับการร้องขอจากสหายร่วมอุดมการณ์ (ท่านอาจารย์แฮนดี้-พินิจ พันธ์ชื่น) ตั้งแต่เมื่อหลายเดือนก่อนว่าทางบ้านเกิดของท่านได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย ผ่านมาทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอไชยา ด้วยวงเงินหลักหลายล้านให้มีการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่ตำบลโมถ่าย เป็นหนึ่งในเจ็ดศูนย์ใหม่ในระดับประเทศ

ผมมีความตื่นเต้นมากเป็นพิเศษที่จะได้มีส่วนร่วมในโอกาสสำคัญนี้ โดยมีการวางแผนการเดินทางไปในช่วงที่มีงานแต่งงานของลูกชายท่านอัยการชาวเกาะ ที่ภูเก็ต

ท่านครูบาสุทธินันท์ ก็ได้แสดงความจำนงเข้าร่วมกิจกรรมนี้ในช่วงขากลับจากภารกิจสำคัญ โดยมาแวะพักที่บ้านพี่สาวของท่านอาจารย์แฮนดี้เป็นฐานการประสานงาน

เราเริ่มจากการสำรวจสภาพพื้นที่เพื่อความเข้าใจของเราเอง

ทำให้ทราบว่า

  • พื้นที่เดิมของโมถ่ายเป็นพื้นที่ทำนา แต่ได้ปรับไปเป็นสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันเกือบทั้งหมด
  • เหลือคนทำนาไม่กี่คน และมีนาเพียงแปลงเล็กๆที่เหลืออยู่
  • นอกนั้นเป็นแปลงปลูกยางพารา ปาล์ม และนาร้าง
  • บ้านทรงเดิมๆ และบ้านรุ่นใหม่หลังใหญ่ๆ หลายหลังแทบไม่มีคนอยู่อาศัย
  • มีการจ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานแทนคนในพื้นที่

ที่มีลักษณะเป็นตัวแทนที่ดีของสังคมภาคใต้ในปัจจุบัน

ที่มีปัญหาด้านการใช้ที่ดิน เศรษฐกิจ และสังคม ที่สวนกระแสกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศ

อันเนื่องมาจาก

  • การพัฒนาการพึ่งพาภายนอก
  • ทั้งอาหาร และแรงงาน

ดังนั้น

การตั้งศูนย์เรียนรู้จึงเป็นสิ่ง “ท้าทาย- challenging” พอสมควรว่า

ถ้าทำได้จริงก็จะเป็นความหวังของภาคใต้ และของประเทศ

ที่จะพยายามพัฒนา

  • ระบบเกษตรอินทรีย์
  • การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า
  • การผลิตข้าวเพื่อการบริโภค
  • การพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน
  • การฟื้นฟูหัตถกรรม และ
  • การพัฒนากลุ่มและการรวมกลุ่ม

โดยมีท่านนายก อบต. ให้การสนับสนุนอย่างใกล้ชิด เข้าร่วมประชุม ปรึกษาหารือกันอย่างเอาจริงเอาจัง

มีแกนนำด้านการประชาสัมพันธ์ของตำบลเป็นกำลังหนุน

และอาจารย์แฮนดี้ก็กำลังทำงานแปลงโฉมตัวเองจากอาจารย์มหาวิทยาลัย ไปเป็นเกษตรกร เพื่อจะทำนาคล้ายๆกับที่ผมทำที่ขอนแก่น โดยปัจจุบันได้วางตัวเป็นแกนนำในการเชื่อมโยงประสานกลุ่มเฮฮาศาสตร์ลงไปช่วย

ฐานแนวคิดที่สำคัญก็ได้มาจากวัดธารน้ำไหล (สวนโมกข์) ที่อยู่ใกล้ๆ

ดูแล้วก็น่าจะมีความพร้อมพอสมควร

แต่สิ่งที่ท้าทายที่เหลือก็คือ

ชุมชนจะสามารถระดมทรัพยากรที่เหลืออยู่ เพื่อกลับมาฟื้นฟูระบบเกษตรกรรม สังคม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมให้เป็นตัวอย่างของระบบเศรฐกิจพอเพียงได้อย่างไร

ถ้าได้ ก็จะเป็นตัวอย่าง และเป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีพลังจริงๆ

ผมจึงมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า

แผนงานการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ที่กำลังทำอยู่ จะเป็นจริงและผลิดอกออกผลตามที่ตั้งใจไว้

ผมได้แจ้งกับทางทีมงาน และอาจารย์แฮนดี้ว่า

พร้อมที่ช่วยเหลือในทุกเรื่อง และทุกโอกาส

เห็นว่าจะมีการจัดเฮฮาศาสตร์สัญจรในครั้งต่อไปที่ไชยา เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศูนย์เรียนรู้นี้

ผมขอไปด้วยนะครับ และจองที่ล่วงหน้าให้กับคนที่รู้ใจสักสองที่นะครับ อิอิ

 


ครูที่ไม่อยากสอน กำลังสอนเด็กที่ไม่อยากเรียน

1 ความคิดเห็น โดย แสวง เมื่อ 20 November 2008 เวลา 7:25 pm ในหมวดหมู่ การศึกษา, การเรียนกรสอน, ปรัชญาชีวิต
อ่าน: 2862

เท่าที่ผมติดตามสังเกตระบบการเรียน การสอน และการศึกษาในปัจจุบัน

ผมรู้สึก (เพี้ยง! ขอให้ผิดเถอะ) ว่า

  • เรามีครูจำนวนหนึ่งที่สอนแบบ “ซังกะตาย”
  • สอนเพราะมีหน้าที่ หรือได้รับคำสั่งให้ต้องสอน
  • สอนเพราะทำมาหากินอย่างอื่นไม่เป๊น หรือ
  • สอนเพราะบังเอิญสอบผ่านเข้าไปเรียนวิชาครู และสอบบรรจุได้ เป็นครู โดยไม่เคยคิดอยากจะเป็นครู ทั้งก่อนเรียนครู เมื่อกำลังเรียนครู และเมื่อสอบบรรจุได้เป็น “ครู”
  • ที่โดยรวมเป็นครูที่ไม่อยากสอน
  • จึงไม่ใฝ่หาเทคนิดการสอน ความรู้ในการสอน และเอาใจใส่ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการสอน (การวิจัยในห้องเรียน)
  • ไม่พัฒนางานของตัวเอง เน้นการท่องหนังสือที่พอมี หรือคิดขึ้นเอง (แบบไม่มีหลักการพื้นฐานใดๆ) ไปสอน

ทีนี้ทางฝ่ายนักเรียนก็ “สักแต่ว่า” ทำอย่างไรก็ได้ที่ทำให้ผ่านวิชาตามหลักสูตร หรือต้องเรียน เข้าเรียนบ้าง ไม่เข้าบ้าง ทำพอให้ผ่านการสอบ ความรู้จะได้ไม่ได้ ไม่ใช่สาระ

  • วิชาไหนผ่านง่ายได้คะแนนดีก็ไปเรียนวิชานั้น โดยไม่สนใจว่าจะได้ความรู้อะไร
  • โดยเฉพาะเมื่อมีการให้คะแนนแบบอิงกลุ่ม นักเรียนจะพยายามเกาะกลุ่มกันให้แค่พอผ่าน ก็จะได้เกรดดี เพราะผูสอน “ให้ตก” ไม่ได้ ถ้าขืนให้ ก็มาหนักเรื่องซ่อมวิชาอีก ทำให้ผู้สอนที่กลัวงานหนัก จะพยายามให้ “ผ่าน” ไว้ก่อน คุณภาพเป็นอย่างไร ไว้ว่ากันทีหลัง ที่ส่วนใหญ่ก็ไม่มีการตามประเมิน ว่าหลังเรียนวิชานั้นไปแล้ว ๕ ปี ๑๐ ปี ผู้เรียนเหลืออะไรติดอยู่บ้าง นอกจากได้คะแนน”ผ่าน”

พอขนมผสมน้ำยาแบบนี้ ผลลัพธ์เป็นอย่างไร

 

ไม่อยากคิดเลย เท่าที่เห็นก็ไม่อยากมอง เพราะไม่อยากเสียกำลังใจในการเตรียมสอน

“นักเรียน” ที่ไม่อยากเรียนนั้น อย่างมากจะเข้าห้องเรียนพอให้มีสิทธิ์สอบ เน้นท่องไปสอบมากกว่าที่จะเรียนรู้อะไร พอสอบผ่าน ก็ทิ้งทุกอย่าง

แล้วเขาจะมีความรู้อะไร ทำอะไรได้ ให้กับตัวเอง และสังคม

ผมไม่เข้าใจ

นี่คือสิ่งที่ผมคิดไม่ออกจริงๆ ว่าทางออกคืออะไร

เพียงแต่หวังว่า “ที่ผมเล่ามานั้น” ผิดทั้งหมด

หวังแต่แค่นี้เองครับ

สวัสดีครับ


เรื่องแปลกๆ และความรู้ใหม่ที่ได้ในการเดินทางไปเอธิโอเปีย (๓)

อ่าน: 3655

การเดินทางไปประเทศเอธิโอเปียในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของผมในประเทศนี้ และเป็นครั้งที่ ๔ ในทวีปอัฟริกา

ที่ผ่านมา ๓ ครั้ง ผมก็ได้มีโอกาสเรียนรู้สังคมและวิถีชีวิตของแต่ละประเทศ แบบ “เท่าที่จะทำได้” โดยอาศัยการสร้างเพื่อน ที่ทำให้เขาเล่าชีวิต และความเป็นมาของประเทศเขา ได้ดีนอกเหนือจากการอ่านจากเอกสาร และอินเตอร์เน็ต ที่อาจจะครอบคลุมบางมุม และขาดบางประเด็น หรือขาดรายละเอียดในประเด็นที่เราสนใจ

โดยเฉพาะเรื่องชนเผ่านั้น จะไม่ค่อยมีปรากฏในข้อมูล เพราะบางแห่งถือว่าเป็นการแบ่งแยก ที่ทำให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านปกครองและระบบเศรษฐกิจ การนำเสนอทางเอกสารทั่วๆไปจึงจะไม่เน้นตรงนี้ นอกจากงานวิจัย และราบงานการพัฒนาที่เจาะลงลึกทางสังคม ที่อาจจะให้รายละเอียดได้ดีพอสมควร

จากข้อมูลเอกสารที่ผมอ่านก่อนเดินทางมาเอธิโอเปีย เขาบอกว่า มีตั้ง ๘๐ เผ่า ๘๐ ภาษา แล้วก็ไม่พูดอะไรมากกว่านั้น ทำให้ผมต้องจินตนาการต่อเอาเองว่าเขาจะอยู่จะกินกันอย่างไร

อ่านต่อ »


เรื่องแปลกๆ และความรู้ใหม่ที่ได้ในการเดินทางไปเอธิโอเปีย (๒)

6381 ความคิดเห็น โดย แสวง เมื่อ 6 November 2008 เวลา 10:18 am ในหมวดหมู่ การศึกษา, การเรียนกรสอน, ปรัชญาชีวิต
อ่าน: 56061

ก่อนจะเดินทางไปประเทศเอธิโอเปีย เพื่อนต่างชาติที่ทำงานด้วยกัน และแม้กระทั่งครอบครัวของผมก็เตือนผมให้นำหม้อข้าว ข้าวสาร และอาหารแห้งมาเตรียมไว้รับประทานเอง เพื่อป้องกันความ “อดอยาก”

ดังที่มีข่าวเสมอๆ ทุกวันว่า ประเทศนี้ อดอยากขาดแคลน ยากจน

ในตอนเตรียมตัวเดินทางนั้น ด้วยความรีบร้อนแบบ “วินาทีสุดท้าย” ก็เลยข้ามประเด็น “อาหาร” ไป

ในใจขณะเตรียมตัวจัดกระเป๋าเดินทางนั้น ก็คิดว่า ถ้า “ขาดแคลน” จริงๆ ผมมีแผนจะทำ ๒ อย่าง

1. ลดน้ำหนักให้ได้ตามแผนที่วางไว้นานมาแล้ว ให้ต่ำกว่า ๗๐ กก. (ตอนนี้ นน. เกิน…. เท่าไหร่ไม่บอก อิอิ)

2. ไปปฏิบัติธรรมด้านการบริโภคอาหาร (มีอะไรก็บริโภค ไปตามนั้น ทั้งจำนวน ชนิด และรสชาติ) และถ้าจำเป็นก็ลดการบริโภคให้เหลือมื้อเดียว แบบถือศีลแปด ไปซะเลย

และคิดว่า ถ้าคนที่เชิญผมไปประชุมจะปล่อยให้ผมอดอยาก ก็จะได้รู้กันในครั้งนี้ คราวหน้าจะได้ไม่ต้องคบกันอีก

อ่านต่อ »



Main: 0.052347898483276 sec
Sidebar: 1.0863978862762 sec