ครูที่ไม่อยากสอน กำลังสอนเด็กที่ไม่อยากเรียน

1 ความคิดเห็น โดย แสวง เมื่อ 20 November 2008 เวลา 7:25 pm ในหมวดหมู่ การศึกษา, การเรียนกรสอน, ปรัชญาชีวิต
อ่าน: 2862

เท่าที่ผมติดตามสังเกตระบบการเรียน การสอน และการศึกษาในปัจจุบัน

ผมรู้สึก (เพี้ยง! ขอให้ผิดเถอะ) ว่า

  • เรามีครูจำนวนหนึ่งที่สอนแบบ “ซังกะตาย”
  • สอนเพราะมีหน้าที่ หรือได้รับคำสั่งให้ต้องสอน
  • สอนเพราะทำมาหากินอย่างอื่นไม่เป๊น หรือ
  • สอนเพราะบังเอิญสอบผ่านเข้าไปเรียนวิชาครู และสอบบรรจุได้ เป็นครู โดยไม่เคยคิดอยากจะเป็นครู ทั้งก่อนเรียนครู เมื่อกำลังเรียนครู และเมื่อสอบบรรจุได้เป็น “ครู”
  • ที่โดยรวมเป็นครูที่ไม่อยากสอน
  • จึงไม่ใฝ่หาเทคนิดการสอน ความรู้ในการสอน และเอาใจใส่ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการสอน (การวิจัยในห้องเรียน)
  • ไม่พัฒนางานของตัวเอง เน้นการท่องหนังสือที่พอมี หรือคิดขึ้นเอง (แบบไม่มีหลักการพื้นฐานใดๆ) ไปสอน

ทีนี้ทางฝ่ายนักเรียนก็ “สักแต่ว่า” ทำอย่างไรก็ได้ที่ทำให้ผ่านวิชาตามหลักสูตร หรือต้องเรียน เข้าเรียนบ้าง ไม่เข้าบ้าง ทำพอให้ผ่านการสอบ ความรู้จะได้ไม่ได้ ไม่ใช่สาระ

  • วิชาไหนผ่านง่ายได้คะแนนดีก็ไปเรียนวิชานั้น โดยไม่สนใจว่าจะได้ความรู้อะไร
  • โดยเฉพาะเมื่อมีการให้คะแนนแบบอิงกลุ่ม นักเรียนจะพยายามเกาะกลุ่มกันให้แค่พอผ่าน ก็จะได้เกรดดี เพราะผูสอน “ให้ตก” ไม่ได้ ถ้าขืนให้ ก็มาหนักเรื่องซ่อมวิชาอีก ทำให้ผู้สอนที่กลัวงานหนัก จะพยายามให้ “ผ่าน” ไว้ก่อน คุณภาพเป็นอย่างไร ไว้ว่ากันทีหลัง ที่ส่วนใหญ่ก็ไม่มีการตามประเมิน ว่าหลังเรียนวิชานั้นไปแล้ว ๕ ปี ๑๐ ปี ผู้เรียนเหลืออะไรติดอยู่บ้าง นอกจากได้คะแนน”ผ่าน”

พอขนมผสมน้ำยาแบบนี้ ผลลัพธ์เป็นอย่างไร

 

ไม่อยากคิดเลย เท่าที่เห็นก็ไม่อยากมอง เพราะไม่อยากเสียกำลังใจในการเตรียมสอน

“นักเรียน” ที่ไม่อยากเรียนนั้น อย่างมากจะเข้าห้องเรียนพอให้มีสิทธิ์สอบ เน้นท่องไปสอบมากกว่าที่จะเรียนรู้อะไร พอสอบผ่าน ก็ทิ้งทุกอย่าง

แล้วเขาจะมีความรู้อะไร ทำอะไรได้ ให้กับตัวเอง และสังคม

ผมไม่เข้าใจ

นี่คือสิ่งที่ผมคิดไม่ออกจริงๆ ว่าทางออกคืออะไร

เพียงแต่หวังว่า “ที่ผมเล่ามานั้น” ผิดทั้งหมด

หวังแต่แค่นี้เองครับ

สวัสดีครับ


เรื่องแปลกๆ และความรู้ใหม่ที่ได้ในการเดินทางไปเอธิโอเปีย (๓)

อ่าน: 3655

การเดินทางไปประเทศเอธิโอเปียในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของผมในประเทศนี้ และเป็นครั้งที่ ๔ ในทวีปอัฟริกา

ที่ผ่านมา ๓ ครั้ง ผมก็ได้มีโอกาสเรียนรู้สังคมและวิถีชีวิตของแต่ละประเทศ แบบ “เท่าที่จะทำได้” โดยอาศัยการสร้างเพื่อน ที่ทำให้เขาเล่าชีวิต และความเป็นมาของประเทศเขา ได้ดีนอกเหนือจากการอ่านจากเอกสาร และอินเตอร์เน็ต ที่อาจจะครอบคลุมบางมุม และขาดบางประเด็น หรือขาดรายละเอียดในประเด็นที่เราสนใจ

โดยเฉพาะเรื่องชนเผ่านั้น จะไม่ค่อยมีปรากฏในข้อมูล เพราะบางแห่งถือว่าเป็นการแบ่งแยก ที่ทำให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านปกครองและระบบเศรษฐกิจ การนำเสนอทางเอกสารทั่วๆไปจึงจะไม่เน้นตรงนี้ นอกจากงานวิจัย และราบงานการพัฒนาที่เจาะลงลึกทางสังคม ที่อาจจะให้รายละเอียดได้ดีพอสมควร

จากข้อมูลเอกสารที่ผมอ่านก่อนเดินทางมาเอธิโอเปีย เขาบอกว่า มีตั้ง ๘๐ เผ่า ๘๐ ภาษา แล้วก็ไม่พูดอะไรมากกว่านั้น ทำให้ผมต้องจินตนาการต่อเอาเองว่าเขาจะอยู่จะกินกันอย่างไร

อ่านต่อ »


เรื่องแปลกๆ และความรู้ใหม่ที่ได้ในการเดินทางไปเอธิโอเปีย (๒)

6381 ความคิดเห็น โดย แสวง เมื่อ 6 November 2008 เวลา 10:18 am ในหมวดหมู่ การศึกษา, การเรียนกรสอน, ปรัชญาชีวิต
อ่าน: 56064

ก่อนจะเดินทางไปประเทศเอธิโอเปีย เพื่อนต่างชาติที่ทำงานด้วยกัน และแม้กระทั่งครอบครัวของผมก็เตือนผมให้นำหม้อข้าว ข้าวสาร และอาหารแห้งมาเตรียมไว้รับประทานเอง เพื่อป้องกันความ “อดอยาก”

ดังที่มีข่าวเสมอๆ ทุกวันว่า ประเทศนี้ อดอยากขาดแคลน ยากจน

ในตอนเตรียมตัวเดินทางนั้น ด้วยความรีบร้อนแบบ “วินาทีสุดท้าย” ก็เลยข้ามประเด็น “อาหาร” ไป

ในใจขณะเตรียมตัวจัดกระเป๋าเดินทางนั้น ก็คิดว่า ถ้า “ขาดแคลน” จริงๆ ผมมีแผนจะทำ ๒ อย่าง

1. ลดน้ำหนักให้ได้ตามแผนที่วางไว้นานมาแล้ว ให้ต่ำกว่า ๗๐ กก. (ตอนนี้ นน. เกิน…. เท่าไหร่ไม่บอก อิอิ)

2. ไปปฏิบัติธรรมด้านการบริโภคอาหาร (มีอะไรก็บริโภค ไปตามนั้น ทั้งจำนวน ชนิด และรสชาติ) และถ้าจำเป็นก็ลดการบริโภคให้เหลือมื้อเดียว แบบถือศีลแปด ไปซะเลย

และคิดว่า ถ้าคนที่เชิญผมไปประชุมจะปล่อยให้ผมอดอยาก ก็จะได้รู้กันในครั้งนี้ คราวหน้าจะได้ไม่ต้องคบกันอีก

อ่านต่อ »


เรื่องแปลกและความรู้ใหม่ในจากการเดินทางไปเอธิโอเปีย

31 ความคิดเห็น โดย แสวง เมื่อ 4 November 2008 เวลา 9:56 am ในหมวดหมู่ การศึกษา, ปรัชญาชีวิต
อ่าน: 3157

ระหว่างวันที่ ๓-๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ผม “จำเป็น” ต้องเข้าร่วมประชุมที่เมืองแอดดิส อะบาบา ประเทศเอธิโอเปีย ถึง ๒ งานต่อกัน

  1. เพื่อสรุปผลงานของโครงการวิจัยร่วม ๕ ลุ่มน้ำใหญ่ของโลก (ผมได้รับการสมมติว่า เป็นตัวแทนจากลุ่มน้ำโขง) และ
  2. เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยของไทยด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ (ที่ผมทำในอีสานเป็นหลัก)

ผมรู้สึกว่า ไม่ค่อยอยากเดินทางเท่าไหร่ เพราะ “ห่วง” เมืองไทยหลายเรื่อง

โดยเฉพาะ

  • งานสอนที่ทั้งเพิ่งเปิดเทอม และมีวิชาการฝึกงานที่ต้องรีบสรุปก่อนเด็กจะลืม
  • งานวิจัย และบริการสังคมที่ต้องทำต่อเนื่อง เว้นไม่ได้เลย
  • งาน”นา” ที่น้ำกำลังลด ปลากำลังลง ข้าวกำลังเหลือง รองานดูแล และเก็บเกี่ยว
  • และ งานในระบบชีวิตอื่นๆ อีกหลายเรื่อง เช่นสีข้าวขาย และอื่นๆ ที่เป็นกิจกรรมต่อเนื่อง แต่ต้อง “พักไว้ก่อน”

อ่านต่อ »


การได้ยิน การรับรู้ และความเข้าใจ

อ่าน: 2465

ช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้พานักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ปีที่ ๑ จำนวน ๒๐ คน ไป “เรียนรู้ชีวิต” ที่วัดป่าสวนธรรมร่วมใจ ด้วยความช่วยเหลือของประธานเครือข่ายข้าวคุณธรรม (พ่อวิจิตร บุญสูง) ทีจังหวัด ยโสธร

ก่อนไปผมได้ปฐมนิเทศสองรอบ

รอบแรกได้เน้นสาระสำคัญของการเรียน และการฝึกงาน

โดยเน้นอธิบายว่า การฝึกงานที่สัมผัสของจริงจะทำให้การเรียนมีเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

และการไปวัดป่าสวนธรรมจะทำให้ได้มีโอกาสเรียนรู้ทั้ง

  • ธรรมะกับชีวิต
  • การเกษตรพอเพียง
  • เกษตรอินทรีย์
  • ชุมชนกับการพัฒนา

ผมก็ได้อธิบายตั้ง ๒ รอบ

อ่านต่อ »



Main: 0.02877402305603 sec
Sidebar: 0.055137872695923 sec