“ทาส” ที่ไม่รู้ว่าตนเป็นทาส จะมีโอกาสเป็น “ไท” ไหม????

อ่าน: 1658

เมื่อวานผมเปิดประเด็นการเรียน ต่อเนื่องจากแนวคิดของครูบาคำเดื่อง ภาษี ว่า

การศึกษาไทยในปัจจุบันนั้น เป็นการศึกษาเพิ่อความเป็นทาส ที่ทำให้ผู้เรียนไม่มีทางหลุดพ้นจากความเป็นทาสได้เลย

ปรากฎว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เข้าใจคำว่า การศึกษาที่นำไปสู่ความเป็นทาส นั้น คืออย่างไร

จึงตอบมาแบบประหลาด ๆ ว่า “การพ้นจากความเป็นทาส คือ การไม่ลอกการบ้านเพื่อน การไม่ลอกข้อมูลจาก Internet และศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับการศึกษาเพื่อความเป็นทาส

ผมเลยจำเป็นต้องเสนอแนวคิด วิธีการ ที่จะแยกให้ออกว่าเรากำลังเป็นทาสหรือไม่ โดยพิจารณาอย่างน้อย ๓-๔ ขั้นตอน ดังนี้

๑. เป้าหมายชีวิตของเรา คืออะไร ?

๒. ขณะนี้ เราอยู่ในสถานการณ์ใด? อยู่ในเส้นทางที่ถูกต้องหรือยัง หรือกำลังหลงทางอยู่ หรือถูกใครหลอกอยู่หรือเปล่า?

๓. เรามีทางแก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่เป็นอยู่อย่างไร ?

๔. เราจะต้องทำอะไรบ้าง? จึงจะหลุดพ้นสิ่งที่ไม่ใช่เส้นทางหลักในชีวิตของเรา และกลับสู่เป้าหมายในชีวิตของเราได้อย่างถูกตอง มีชีวิตทีเป็นอิสระ มีคุณค่ากับตัวเอง สร้างสรรค์สังคม สร้างผลงานอย่างมีคุณค่า ได้อย่างไร ?

ในขณะเดียวกัน ผมได้เปรียบเทียบให้ฟังว่า ให้ดูการพัฒนาการของสัตว์เป็นตัวอย่าง แทนการดูตัวเอง (สำหรับคนที่ยังดูตัวเองไม่ออก)

เช่น วัว ควาย ที่พัฒนาตัวเอง พร้อมที่จะรับใช้ผู้อื่น กับ วัวควายที่พัฒนาตัวเองพร้อมที่จะใช้ชีวิตอย่างอิสระ แม้ไม่มีผู้ดูแลก็ไม่เดือดร้อน

วัว ควาย ทั้งสองกลุ่มนี้จะมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันอย่างไร?

หรืออีกกรณีหนึ่ง สุนัขเฝ้าบ้านที่พัฒนาตัวเองเป็นสัตว์เฝ้าบ้านที่ดี กับสุนัขที่พัฒนาตัวเองจนสามารถอยู่รอดได้โดยไม่พึ่งพาใครนั้น เป็นอย่างไร

ผมอธิบายถึง สุนัขที่ผมเลี้ยงไว้ที่บ้าน ว่า ต้องมีการดูแลอย่างดี ฉีดวัคซีน ให้ยาสารพัดชนิดเมื่อยามเจ็บป่วย ดูแลไม่ให้ออกนอกถนนเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกรถเหยียบตาย

ซึ่งตรงข้ามกับ สุนัขพันธุ์ไทยข้างถนนที่ไม่ต้องมีใครดูแลเลย ไม่ต้องมีการฉีดวัคซีน ไม่ต้องมีการกินยาใด ๆ ทั้งสิ้น และสามารถอยู่รอดได้ข้างถนนโดยไม่ถูกรถชนตาย ข้ามถนนไปมาฉลาดกว่าคนบางคนเสียอีก

นี่คือ ความแตกต่างในกรณีของสุนัขเฝ้าบ้าน

ที่พัฒนาตัวเองเพื่อการเป็นทาสผู้อื่น ทำหน้าที่ี่เป็นทาสที่ดีในทุกเรื่อง

แต่ก็ต้องพึ่งผู้อื่นในแทบทุกเรื่องเหมือนกัน

ที่แตกต่างจากสุนัขข้างถนน ที่แทบไม่ต้องพึ่งใครเลย ยกเว้นพึ่งพาเศษอาหารตามถังขยะ ที่บูดเน่าขนาดไหนก็ไม่มีวันท้องเสีย อยู่ได้โดยไม่ต้องมีการกินยา ไม่ต้องฉีดวัคซีน ไม่ต้องมีใครพาจูงข้ามถนน ไม่ต้องมีกรงขัง ไม่ต้องมีบ้าน ก็ขยายเผ่าพันธุ์มาได้มากมาย

ผมไม่ทราบจะยกตัวอย่างใด จึงจะชัดเจนมากกว่านี้

อีกกรณีหนึ่ง ที่ผมประทับใจมาก เมื่อผมไปเข้าร่วมประชุมที่วัดป่าสวนธรรมร่วมใจในเครือข่ายสันติอโศก อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

ก่อนรับประทานอาหาร จะมีการพิจารณาว่า ให้ทุกคน “…กินเพื่อความเป็นไท กินด้วยใจที่รู้ค่า…” ซึ่งต่างจาก “…กินด้วยใจเป็นทาส…” กินด้วยกิเลส ตัณหา

ความแตกต่างของทั้งสอง ก็คือ กินด้วยใจที่รู้ค่า กับ กินด้วยกิเลส ตัณหา ซึ่งเป็นแบบ ไท และเป็น ทาส ตามลำดับ

การกินอย่างเพื่อความเป็นไท ก็คือ การกินเพราะความจำเป็นต้องกิน ไม่ได้กินเพราะอยากจะกิน

กินด้วยใจที่รู้ค่า ไม่ได้กินเพราะอร่อย

กินอย่างเพียงพอ ไม่ได้กินเพราะโลภมาก

นี่คือความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างวิธีคิดที่เป็น ไท และวิธีคิดที่เป็น ทาส

ตั้งแต่ผมได้เข้าร่วมกิจกรรมกับวัดดังกล่าวนี้ เมื่อหลายปีก่อน

ผมได้ใช้วิธีคิดแบบนี้ในการรับประทานอาหารมาตลอด

อาหารที่ผมรับประทาน ผมจะพิจารณาว่า มีคุณค่าหรือมีปริมาณเพียงพอต่อการดำรงชีวิตหรือไม่ โดยไม่สนใจว่า อร่อย หรือ ไม่อร่อย มากหรือน้อย มีสัดส่วนอย่างพอดี

โดยไม่สนใจว่า อะไรอร่อยก็กินมาก หรือไม่อร่อยก็กินน้อย

เพราะผมเคยฟังคำสอนของท่านพุทธทาส ว่า “อร่อยก็เช่นนั้น ไม่อร่อยก็เช่นนั้น สำคัญอยู่ที่คุณค่าอาหาร ที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อการรักษาร่างกายให้ทำงานได้ต่อไป”

นี่ น่าจะเป็นวิธีคิดง่ายๆ ของการดำรงชีวิตแบบเป็น”ไท” และพยายามหลีกหนีการดำรงชีวิตแบบเป็น ทาส

ผมจึงปฏิเสธที่จะรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผงชูรส น้ำตาล น้ำชา กาแฟ สารเสพติด น้ำอัดลม เครื่องปรุงรสต่างๆ ที่ทำให้มีรสชาติ “อร่อย” เพราะผมไม่ทราบว่า สิ่งเหล่านี้มีประโยชน์อะไร ผมรู้แต่ว่าสิ่งเหล่านี้มีโทษ เพราะผมไม่ได้เป็นทาสสิ่งเหล่านี้ ผมพยายามทำตัวเป็นไท และพยายามใช้สติในการพิจารณาทุกครั้ง

สิ่งเหล่านี้จึงเป็นนิสัยประจำตัวผม มาตลอดระยะเวลากว่า ๑๐ ปีที่ผ่านมา

ผมพยายามจะสอนให้นักศึกษาเข้าใจความแตกต่างระหว่าง ความคิดที่จะเตรียมตัวเป็นทาสในทุกสิ่งทุกอย่าง และความคิดที่พร้อมจะทำตัวเป็นไท ในทุกสิ่งทุกอย่างเช่นเดียวกัน

ผมไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร? จึงจะทำให้การสอนของผมบรรลุวัตถุประสงค์

เพราะผมเข้าใจว่า คนที่ยังไม่รู้ความแตกต่างระหว่างความเป็น “ทาส” กับความเป็น “ไท” นั้น ย่อมจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงหนีจากความเป็นทาสได้ และไม่สามารถพัฒนาตัวเองสู่ความเป็นไท ได้

นี่ผม เข้าใจเอาเอง นะครับ

อยากจะฟังความเห็นสำหรับท่านที่เป็น “ไท” ทั้งหลาย ว่า ท่านมีวิธีการพัฒนาตัวเองอย่างไร ผมจะได้นำมาสอนนักศึกษาในชั่วโมงต่อ ๆ ไปครับ


5 ความคิดเห็น

  • #1 sasinand ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 August 2008 เวลา 8:12 pm

    การพัฒนาตนเองสู่ความเป็น ไท นั้น มีหลายมิติ และคงเป็นเรื่องยาวที่จะคุยกัน แต่เฉพาะสำหรับตัวเองแล้ว ก้ไม่ได้เป็น ไท ไปเสียทุกอย่างค่ะ บางอย่างก็คงไม่เข้มแข็งพอ เหมือนกัน
    แต่หลักๆสำหรับตัวเองคือ  เป็นคนมีอิสรภาพพอที่จะทำอะไรดีๆในฝันของตนเอง ให้เป็นจริงได้ ใน 20 กว่าปีที่ผ่านมาได้ โดยออกจาก รัฐวิสาหกิจ มาทำงานเอง เป็นนายตัวเอง รับผิดชอบด้วยตนเองทุกอย่าง
    ส่วนในด้านเศรษฐกิจส่วนตัว ก็เป้นคนที่เป็นไทในเรื่องการเงิน ไม่มีหนี้สิน ใช้หลักความเป็นอยู่อย่างพอเพียง มีเงินเก็บ เงินสำรองยามฉุกเฉิน ไม่เดือดร้อน และยังสามารถแบ่งปันทำบุญและช่วยเหลือสังคมได้บ้าง  แม้ในขณะนี้ ก็มีกิจการส่วนตัวทำอยู่ ไม่เคยพึ่งพาลูกเลย
    ในด้านสุขภาพ ก็ใช้วิธี รรมชาติบำบัด เรื่องธรรมชาติบำบัด มุ่งส่งเสริมสุขภาพ เพื่อเป็น ผู้ที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรค ซึ่งตรงกับคำว่า Wellness   แตกต่างจากการมุ่งรักษาโรค Illness และส่งเสริมให้มี Natural Hygiene..อนามัยธรรมชาติ
    ในด้านคุณภาพชีวิต
    ก็อยู่เพื่อกิน ไม่ใช่กินเพื่ออยู่ ไม่มีการกินเกินความต้องการ มีสิ่งอำนวยความสะดวกพอควร ไม่บ้าจี้ซื้อ แม้จะบอกว่า ลดราคาๆ แถ้ ไม่อยู่ในความต้องการ ก้ไม่ซื้อ
    เขียนมาก เดี๋ยวจะยาวไปค่ะ สรุปว่า มีความเป็นตัวของตัวเองสูง รู้ตัวว่า ทำอะไรอยู่ มีความต้องการอะไรแค่ไหน พยายามให้ชีวิตอยู่ในความพอดี ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน และอยู่ในความไม่ประมาท ในทุกๆเรื่องค่ะ
    และมีการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตที่พึงปราถนาด้วยค่ะ

  • #2 Iron scrap ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 March 2024 เวลา 3:43 am

    Metal recuperation services Ferrous material handling services Iron recycling and reusing

    Ferrous scrap valuation, Iron retrieval, Scrap metal recycling best practices

  • #3 Iron recycling and repurposing center ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 March 2024 เวลา 9:20 pm

    Metal recovery processing Ferrous recycling operations Iron waste reclaiming center

    Ferrous waste management, Iron scrap, Scrap metal trade regulations

  • #4 Iron scrap shredding ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 March 2024 เวลา 11:02 pm

    Scrap metal reclamation and recovery Ferrous waste recycling trends Iron recycling yard

    Ferrous material price trends, Iron scrap drop-off, Ferrous and non-ferrous metals

  • #5 многопрофильная медицинская клиника комбинированного типа в Москве ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 April 2024 เวลา 9:16 pm

    современная клиника медицинской профилактики в Москве мед справка от врача где сделать справку из больницы


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.034938097000122 sec
Sidebar: 0.07178521156311 sec