ถอดบทเรียนการศึกษาดูงานภาคกลาง
อ่าน: 2102วันที่ 26 สิงหาคม 2554 09.00-12.00 น.
เริ่มด้วยเรื่องราวของบ้านดินที่เขากลิ้ง
พระครูวิจิตรศีลาจาร เจ้าอาวาสวัดห้วยพุด เจ้าคณะตำบลบ่อยาง จังหวัดสงขลา
บ้านดินที่เขากลิ้งใช้ดินทำเป็นอิฐแล้วเอามาสร้างบ้านดิน ที่อินเดียใช้มูลโค หรือขี้วัวกับไม้ไผ่ สร้างกันมาก่อนสมัยพุทธกาล
พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย
หมูหลุมเอามาจากเกาหลี เลี้ยงเพื่อเอาปุ๋ย
ลุงเอก
บ้านดินที่จีนก็มีมาแต่ดั้งเดิม
วิชชุกร คำจันทร์ นักบิน บริษัท การบินไทย จำกัด
หุบกะพงอาจนำไปใช้แก้ปัญหาเรื่องการบุกรุกที่ดินที่ราชบุรีได้ ที่หุบกะพง ตามโฉนดเป็นของพระเจ้าอยู่หัว เป็นโครงการตามพระราชประสงค์ ทรงคิดเอง ลงมือปฏิบัติเอง ได้ผลจึงต่อยอดขยายผล มีเรื่องแกล้งดิน มีการทดลองการเกษตรทั้งระบบชลประทานและระบบน้ำฝน
ผู้ช่วยอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
กรณีกลุ่มกะหร่าง รัฐมองว่าอยากให้มีที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน มีอาชีพที่ถาวร แต่เป็นกลุ่มที่เคยอยู่อย่างอิสระ จับเข้ามาอยู่ในอุทยาน เลยมีปัญหาเพราะแบ่งที่ดินทำกินให้คนละ 7 ไร่
เดิมอยู่กันที่ต้นแม่น้ำเพชรบุรี เลยให้มาอยู่ที่นี่ มีประมาณ 50 หลังคาเรือน ให้ที่ดินทำกินครอบครัวละ 7-8 ไร่ แต่พอประชากรมากขึ้นเลยมีการบุกรุก
ต่อมามีคนอพยพมาจากพม่าก็ต้องผลักดันกลับไป
ต้นน้ำเพชรบุรีมีพื้นที่ที่จัดให้ทำเรื่องการท่องเที่ยว ล่องเรือยางได้ แต่ก็มีพื้นที่ที่อนุรักษ์เพราะมีจระเข้น้ำจืด ซึ่งหายากและกำลังจะสูญพันธุ์
ลุงเอก
ในหมู่บ้านมีกลุ่มเก่ากลุ่มใหม่ เข้ากันไม่ได้ มีการเผาที่พัก มีการผลักดันให้กลับประเทศ กะเหรี่ยงกับกะหร่างก็พูดกันไม่รู้เรื่อง ที่ทำกินก็มีการเปลี่ยนมือไปเป็นของคนต่างถิ่น ของนักธุรกิจ
อุทยานฯ มีพื้นที่มาก ไม่สามารถดูแลให้ทั่วถึงได้
กิจจา อาลีอิสเฮาะ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ชื่นชมหัวหน้าชวรัตน์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ทำหน้าที่คุ้มครองป่าและดูแลคนที่อยู่ แต่ผู้นำชุมชนไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรด้านการประกอบอาชีพ ต้องการแต่ที่ดิน ไม่มีการเลี้ยงสัตว์ ไม่มีการทำประมง การจะแก้ปัญหาต้องการที่ดินอีกมากจึงจะแก้ปัญหาได้
ณัฏฐ์ วัลลิโภดม ผู้อำนวยการพรรคกิจสังคม
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น อบต. ต้องเข้มแข็ง อย่าเกรงใจคนที่บุกรุก รุกล้ำที่ทำกิน นายทุน
ลุงเอก
กลุ่มที่เรียกร้องที่ดินไม่ใช่คนไทย แต่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สัญชาติ ถ้าอนุมัติให้สัญชาติถึง 500,000 คน และต้องการที่ดินทำกิน จะเอาที่ไหนมาให้ แล้วคนไทยล่ะ? จะทำอย่างไร? เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย
นฤมล ศิริวัฒน์ สมาชิกวุฒิสภา
ให้ข้อมูล NGO นำม็อบคนต่างชาติมาร้องเรียนที่ทำกินให้คนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งมีจำนวนมาก
สิงห์ชัย ทุ่งทอง สมาชิกวุฒิสภา
รัฐสภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการดูแลเรื่องนี้อยู่
………………………………….
………………………………….
ภาคพิเศษบนรถขณะเดินทาง
ลุงเอกให้ท่านเจ้าคุณบุญมาเล่าเรื่องราวของแถวๆนี้ให้ฟัง
ท่านเจ้าคุณบุญมา (พระราชปฏิภาณมุนี)
……..
คนเมืองเพชรจริงๆไม่กลิ้งกลอก
ที่หลอนหลอกพวกเราคือเขากลิ้ง
อันขุนเขาน้อยใหญ่ไม่ไหวติง
มีแต่ลิงตามเขาหลอกเราเอย…….
อาจารย์เล่าให้ฟังถึงเรื่องแก่งกระจานในอดีตที่มีความขัดแย้งสูง ขัดผลประโยชน์กัน ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ฆ่ากัน อาชีพมือปืนรุ่งเรืองมาก ทางจังหวัดมีโครงการออกหน่วยก็ให้พระร่วมออกหน่วยด้วยเพื่อลดความขัดแย้ง สมัยนั้นมีปัญหาคอมมิวนิสต์ คนที่ทำผิดกฏหมายก็หนีไปพึ่งคอมมิวนิสต์ พระก็ต้องไปคุยกับคอมมิวนิสต์
อุทยานแก่งกระจานมีขนาดใหญ่มาก เจ้าของโครงการบางปะกงริเวอร์ไซด์ เมื่อประสบความสำเร็จก็หาซื้อที่ดินที่เกาะช้าง แต่การคมนาคมไม่สดวกก็เลยมากว้านซื้อที่ดินที่แก่งกระจานทำโครงการแก่งกระจานคันทรี่คลับ แอนด์รีสอร์ท ซื้อจนได้ขนาด 30,000 กว่าไร่
ลุงเอก
การศึกษาดูงานแบบนี้เหมือนการตรวจสภาวะแวดล้อม เหมือนตอนก่อนทำยุทธศาสตร์ใหญ่ต้องทำการตรวจสภาวะแวดล้อม แบบว่าดูจนเห็นภาพชัด เห็นทั้งหมดเป็นภาพเลย
ท่านเจ้าคุณบุญมา
ขนมหม้อแกงไม่ใช่ของชาวเพชรแท้ มาจากอยุธยา เพชรบุรีกับอยุธยาเป็นจังหวัดพี่จังหวัดน้องทั้งฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักร พระเจ้าเสือสมัยที่เป็นพระบรมโอรสาธิราชก็มีอาจารย์เป็นชาวเพชรบุรี ทั้งอาจารย์แสงและสมเด็จเจ้าแตงโม (พูดถึงขนมบ้าบิ่นด้วย)
ขนมหม้อแกงมีไข่เป็นหลักกับแป้ง ของจริงต้องของแม่บุญล้น ทำจนส่งออกนอก ที่เหลือทำกันแบบอุตสาหกรรมใครอยากติดยี่ห้ออะไรก็เอาไปติดกันเอง
« « Prev : โครงการพระราชประสงค์หุบกระพง
Next : การใช้ประชาเสวนาในพื้นที่ความขัดแย้ง(1) » »
ความคิดเห็นสำหรับ "ถอดบทเรียนการศึกษาดูงานภาคกลาง"