โครงการพระราชประสงค์หุบกระพง
อ่าน: 3145วันที่ 25 สิงหาคม 2554 เวลา 14.00-16.00 น.
คุณสมบัติ ตันติสังวรากูล ผอ. ศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกระพง กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้มาต้อนรับและเล่าเรื่องราวของโครงการให้ฟัง
หุบกะพงตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเขาใหญ่ และตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อยู่ห่างจากจังหวัดเพชรบุรี 40 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเขตอำเขตอำเภอหัวหิน 34 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 12,500 ไร่
ความเป็นมาของโครงการ
เมื่อปี พ.ศ. 2507 พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียน และดูแลทุกข์สุขของราษฎร ในวโรกาสนั้น พระองค์ได้ทราบถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรกลุ่มชาวสวนผักชะอำ จำนวน 83 ครอบครัว ว่าขาดแคลนทุนทรัพย์ที่จะนำไปประกอบอาชีพ ให้กู้ยืมไปลงทุน เป็นจำนวนเงิน 3 แสนบาท ภายหลังไม่ปรากฏผู้ใดนำเงินจำนวนที่กู้ยืมไปทูลเกล้าถวายคืนแก่พระองค์ท่านเลย เพราะเช่าที่ทำกินคนละ 2 ไร่ ไม่เพียงพอ จึงทรงจัดหาที่ดินที่หุบกะพง 25,000 ไร่ ซึ่งเป็นที่แห้งแล้งมาทำเป็นศูนย์เรียนรู้ พัฒนาระบบสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้โดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอิสราเอล
ใช้การทำเกษตรแผนใหม่ โดยให้ที่ทำกินครอบครัวละ 25 ไร่ เริ่มที่ 2 ครอบครัว คือครอบครัวจากกลุ่มเกษตรกรสวนผักชะอำและอีกครอบครัวจากเกษตรกรเดิมที่ทำกินอยู่ในเขตโครงการ ให้กู้ยืมครอบครัวละ 10,000 บาทเป็นทุนในการประกอบอาชีพเพื่อหาข้อมูลด้านรายได้ รายจ่าย ความเหมาะสมในการใช้แรงงานในครอบครัวกับพื้นที่ที่จัดให้ทำกิน การปลูกพืชที่ใช้น้ำชลประทาน ใช้น้ำฝน สินเชื่อและการตลาด ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การเกษตร ปัญหาด้านสังคมเกษรกร ฯ
ในปี 2511 จึงขยายผลให้กลุ่มปลูกผักชะอำ 82 ครอบครัวและกลุ่มเกษตรกรที่ทำเกษตรอยู่เดิมอีก 46 ครอบครัวเข้าอาศัยและทำประโยชน์ในพื้นที่ที่จัดสรรให้ครอบครัวละ 25 ไร่ จัดให้ปลูกพืชอาศัยน้ำชลประทาน 7 ไร่ และอีก 18 ไร่ ให้ปลูกพืชไร่อาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ และโครงการได้ให้กู้ยืมเงินครอบครัวละ 6,000 บาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกบ้านเรือน 1,500 บาท ส่วนที่เหลืออีก 4,500 บาท เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับวัสดุการเกษตร และค่าใช้จ่ายในครอบครัว
ทรงแก้ปัญหาเรื่องน้ำ โดยจัดให้มีการใช้น้ำจาก 3 แหล่งคือจากน้ำฝน จากการสูบน้ำขึ้นที่สูงแล้วปล่อยมาตามระบบท่อ และจากเครือข่ายอ่างเก็บน้ำที่เชื่อมต่อกันด้วยระบบท่อซึ่งค่าใช้จ่ายค่อนข้างต่ำ
ในแนวคิดดังกล่าวจะเป็นการรวมตัวในระบบสหกรณ์ที่จะร่วมกันคิด ร่วมทำและร่วมพัฒนา ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง การรวมตัวเป็นสหกรณ์ทำให้มีอำนาจในการต่อรองทั้งการจัดซื้อสิ่งขิงจำเป็นต่อชีวิตและการเกษตร การขายผลผลิต มีการฝากเงินและระบบการกู้ยืมเงิน
ทรงศึกษา ทดลองทำ นำไปปฏิบัติแล้วขยายผล มองทั้งหมดในภาพรวมและทำงานอย่างเป็นระบบ
ที่ดินก็ไม่ให้เป็นกรรมสิทธิถือครองแต่ให้ใช้ไปชั่วลูกชั่วหลาน แต่ก็ยังมีการเปลี่ยนมือกัน พระองค์ท่านก็ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยให้แก้ปัญหาอย่างประนีประนอม คือถ้ามีการเปลี่ยนมือก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นผู้เช่า
บทเรียนจากการศึกษาดูงานโครงการพระราชประสงค์หุบกะพง
ในการทำงานให้มองภาพรวมของงานทั้งหมด แล้วทำอย่างเป็นระบบอย่างสอดคล้องกัน ไม่แยกส่วนทำ
ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ เริ่มจากการศึกษา ทดลองทำ ปฏิบัติแล้วจึงขยายผล
โครงการของพระองค์ท่านที่ให้ที่ทำกินชั่วลูกชั่วหลานยังมีการเปลี่ยนมือ จึงไม่น่าแปลกใจกับการบุกรุกทำลายป่า
« « Prev : เรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง
Next : ถอดบทเรียนการศึกษาดูงานภาคกลาง » »
ความคิดเห็นสำหรับ "โครงการพระราชประสงค์หุบกระพง"