พูดคุยซักถามภาครัฐ - สวนผึ้งโมเดล
อ่าน: 2728ดร.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร
ขอถาม 2 ข้อ
- ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่จะดำเนินการอย่างไร?
- ชาวบ้านมีการรวมกลุ่มต่อต้านอะไรไหม?
พลตรี วีระศักดิ์ รักษาทรัพย์
ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่มี
- นักการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น
- นายทุน
- กลุ่มข้าราชการ - มีทุกเหล่าทัพ
แต่ตอนนี้ทั้งหมดเริ่มถอย เริ่มมีการยอมรับกันเพราะใช้กฏหมายเป็นหลัก มีหลักฐานชัดเจนภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม ที่ยังดื้อๆก็มี ก็ไปหาท่านผู้ว่าฯ รองผู้ว่าฯ
สุดท้ายศาลจะเป็นผู้ที่ชี้ความถูกผิด แต่ก็อยู่กับการรวบรวมพยานหลักฐาน ผู้มีอืทธิพลสุดท้ายก็มีการจัดการแน่ๆ แต่ช้าเร็วต่างกัน ต้องทำให้เกิดความเป็นธรรม
กลุ่มต่อต้านมีการรวมกลุ่มปิดถนน ต่อต้าน กลุ่มต่อต้านมีการใช้วิทยุสื่อสาร แจ้งเหตุ กรณีมีเจ้าหน้าที่เข้าไปในพื้นที่ก็มการส่งข่าวกัน
วิชชุกร คำจันทร์ นักบิน บริษัท การบินไทย จำกัด
- มาตรการการผลักดันผู้ที่บุกรุกออกจากพื้นที่ใช้แบบเดียวกันไหม? …..คนไทย คนไม่ปรากฏสัญชาติ
- การพิจารณาพื้นที่ส่วนต่างๆเช่นแนวลาดเอียง 19 องศา หรือ 35% ทำอย่างไร?
พลตรี วีระศักดิ์ รักษาทรัพย์
- การดำเนินคดี ถ้ามีการตัดสินของศาลก็จะมีผลกระทบ มีการเปลี่ยนแปลงโดยรอบ มีการเจรจา ถ้าเชื่อก็จบ ถ้าไม่เชื่อก็ดำเนินการ กรณีคนไม่ปรากฏสัญชาติใช้ศาลคือจับส่งตำรวจ ศาลก็ให้ออกจากประเทศ แต่อีก 3 เดือนก็กลับเข้ามาใหม่ มีปัญหาการระบุตัวบุคคล
- การดูความลาดเอียง กรณีความลาดเอียงสูงก็ไม่ให้ใช้ทำการเกษตร ถ้าใช้แผนที่ 1:50,000 ก็จะมีเส้น Contour ต่างกันที่ระดับ 20 เมตร
มุม 45 องศา คือ 100 %
มุม 19 องศา คือ 35%
จะสัมพันธ์กับเรื่องลุ่มน้ำด้วย
วิชชุกร คำจันทร์ นักบิน บริษัท การบินไทย จำกัด
มีการใช้เครื่องจักรปรับความลาดเอียงในพื้นที่ไหม?
พลตรี วีระศักดิ์ รักษาทรัพย์
ให้ดูหลักเขตพื้นที่กายภาพปี 2538 ก่อน ดูเรื่องลุ่มน้ำด้วยถึงจะมาใช้ความลาดเอียง แต่ก็มีหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียมเป็นหลักฐาน
กฤษณะเดช โสสุทธิ สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
ถ้ามีการเลือกปฏิบัติกรณีมีผู้บุกรุก กระทำผิดก็ทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี การโต้แย้งสิทธิ มีการพิสูจน์สิทธิอย่างไร?
กรณีสวนผึ้งโมเดลการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างไร? องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมไหม?
พ.ต.ท. วิชัย สุวรรณประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม
ประชาชนเป็นผู้บุกเบิก? นายทุนเป็นผู้บุกรุก หน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูแล หน่วยงานที่บังคับใช้กฏหมายน่าจะเน้นที่นายทุนมากกว่าประชาชน
นิพนธ ตั้งแสงประทีป บรรณาธิการข่าว ศูนย์ข่าวอันดามัน สำนักข่าวไทย บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน)
ทำไมไม่มีการดำเนินการที่จอมบึง ?
ดร. แสนศักดิ์ ศิริพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและชุมชนสัมพันธ์ มห่วิทยาลัยราชภัฏสงขลา
เยาวชนไปศึกษาแล้วกลับมาท้องถิ่นเดิม ถ้าพื้นที่มีปัญหาแบบนี้ เยาวชนจะอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้อย่างไร? มีการมองเรื่องนี้ไหม?
กชวรรณ เขมะประสิทธิ์ อุปนายกสมาคมรถร่วมบริการประชาชน
อยากให้ชี้แจงระยะเวลาในสัญญาการเช่า ทำไมให้ 3 ปี ทำไมไม่ให้นานกว่านี้
พลตรี วีระศักดิ์ รักษาทรัพย์
เกณฑ์การกำหนดลุ่มน้ำชัดเจน ชั้น 1 A, ชั้น 2……ชั้น 4 ก็ให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยได้ กฏหมายตั้งแต่สมัยอยุธยาก็ห้ามการใชีพื้นที่บนเขา ในการชี้แจงประชาชนจะถูกก่อกวนตลอด ในพื้นที่ต้องแยกแยะ ประชาชนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร? เมือส่วนหนึ่งก็เป็นผู้บุกรุกเสียเอง แต่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ
มีทั้งที่ถูกต้อง มีกลุ่มอนุรักษ์ที่ถูกคุกคาม แต่ก็เป็นพลังเงียบที่มีมากขึ้นทุกที ที่ปากช่องจะรุนแรงกว่านี้ มีทหารนอกแถวด้วย จอมบึงก็มีการดำเนินการแต่ส่วนมากเป็นพื้นที่ราบ
ณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
มีการต่อต้านจากชาวบ้าน แต่ก็มีพลังเงียบที่ช่วยอนุรักษ์ พยายามดำเนินการรายใหญ่ที่บุกรุกบนเขาก่อน รายเล็กทีหลัง พยายามหลีกเลี่ยงการใช้คำว่าผู้บุกรุก
ระยะหลังนี้การต่อต้านน้อยลง รอการเช่าและรอกฏหมายใหม่ เริ่มมีสภาประชาชน เป็นการเปิดให้มีส่วนร่วม แต่คณะกรรมการพิจารณาการเช่าก็ยังมีแต่ภาครัฐอยู่
นายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ก็เริ่มให้ความร่วมมือดีขึ้นมาก มีการตักเตือนเจ้าหน้าที่ทหารบางคนที่แตกแถว
เรื่องของเยาวชนที่กลับใส ก็จะมาทำธุรกิจร้านกาแฟ รีสอร์ท กลับมาเป็นครู อาจารย์ มีเครือข่าย มีการตั้งมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ - www.rabbitinthemoon.org
ปัญหาเกิดจากชาวป่าหรือชาวเรากันแน่?
คุณวิเชียร คุตตวัส
เครือข่ายเยาวชนต้นกล้า เริ่มจากปัญหาในโรงเรียน 3 ปีแรก ปีที่ 4 เริ่มออกสู่ปัญหาภายนอก มีกลุ่มที่ได้รับรางวัล”ลูกโลกสีเขียว” ดูได้จากรายการ “ทุ่งแสงตะวัน”
พลตรี วีระศักดิ์ รักษาทรัพย์
พื้นที่ป่าหวาย มีชาวบ้านกว่า 400 ราย ไม่ประสงค์จะเช่า มี พรฎ. ตั้งแต่ปี 2481 แผนที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2495
ช่างสำรวจจากกรมธนารักษ์
สัญญาเช่าชั่วคราว 3 ปีเป็นอำนาจท่านผู้ว่าราชการจังหวัด รีสอร์ทไดรับการผ่อนปรนอาจขอทำสัญญา 10 ปีได้ ตอนนี้ก็ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม ถ้าจะนำไปค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารก็ยินดีขยายสัญญาเป็น 20 ปีให้
เผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์ ผู้อำนวนการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
อยากถามกรมธนารักษ์ ด้านเทคนิค วิธีคิดมุมลาดชัน ถ้าคิดจากการยิงจากยอดเขา จะได้ความแม่นยำมากกว่า
พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย
สวนผึ้งโมเดลอยู่ในความดูแลของทหาร ไปอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ปัญหาในอนาคตจะมีการไหลเข้ามาของประชาชน จะทำให้เกิดปัญหามากขึ้น เป็นห่วงพลตรี วีระศักดิ์ รักษาทรัพย์ในปัญหางบประมาณ สวนผึ้งโมเดลน่าจะได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ รวมทั้งการวางแนวเขตที่ชัดเจน
นิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
เราเพิ่งมีภาพถ่ายดาวเทียมของเราเอง ใช้ประโยชน์ได้ไหม? มีการสำรวจข้อมูลประเด็นความเสี่ยงในพื้นที่ไหม? เปรียบเทียบกับการเข้าทำกินของประชาชน
พล.ต.ต. นายแพทย์ อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ รองนายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ
ค่าเช่า 4 บาท/ตารางเมตรถูกไปไหม? (ความจริงเป็นค่าเช่าต่อเดือนซึ่งค่อนข้างแพง..สุธี) ผู้ประกอบการน่าจะมีประเด็น CSR
น้ำตกทหารมีส่วนช่วยดูแลไหม?
เกียรติเกริกไกร ใจสมุทร รองเลขาธิการมูลนิธิอัศนี พลจันทร(นายผี)
กรณีการร่างพรบ.การบริหารจัดการที่ดินสงวนหวงห้ามของรัฐ พ.ศ…. ทหาร ฝ่ายปกครอง ประชาชน มีส่วนร่วมไหม?
พ.อ. มนิต ศิริรัตนกุล เสนาธิการกองพลพัฒนามี่ 1
ประเด็นน้ำตกเก้าชั้นทางจังหวัดกับกองพลพัฒนาที่ 1 ก็จะเริ่มเข้ามาดูแลเรื่องน้ำ การต่อท่อนำน้ำไปใช้ในระดับบนๆจะไม่ให้ทำ
ขุมเหมืองเดิมจะให้เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้ อบต. ดำเนินการดูแล
ณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
ประเด็นการไหลเข้ามาของนายทุน หลักเกณฑ์ต้องทำประโยชน์มาก่อนจึงจะเช่าได้ โอกาสคนใหม่เข้ามาน้อยมาก แต่โอกาสเปลี่ยนมือมีสูง
มีการจัดโซนนิ่ง พื้นที่เสี่ยงภัยก็จะไม่ให้เช่า น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม มีการเฝ้าระวังและมีการซ้อมแผน
การดูแลน้ำตกจะมีการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ
พลตรี วีระศักดิ์ รักษาทรัพย์
ดาวเทียมไทยที่ทำการสำรวจอยู่ค่อนข้างหยาบ แต่ภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหารจะมีความละเอียดสูง
พรบ.การบริหารจัดการที่ดินสงวนหวงห้ามของรัฐ พ.ศ….ที่กล่าวถึง หน่วยราชการต่างๆรวมทั้งทหารก็มีส่วนร่วม ตอนนี้ผ่าน สส. ไปที่วุฒิสภา เสนอก่อนยุบสภาฯ 10 วัน
ท่านเจ้าคุณบุญมา พระราชปฏิภาณมุนี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส
อำเภอสวนผึ้งเปลี่ยนไปหมดแล้ว ปี 2511 มาเยี่ยมลูกศิษย์แถวนี้ ซึ่งนิยมคอมมิวนิสต์ สมัยก่อนพระต้องฝึกเดินธุดงค์ก็มาเดินธุดงค์แถวนี้ ก็มีโอกาสชักชวนผู้ที่นิยมหลักการให้เข้าไปช่วยในเมือง
เดิมคนจะเดินข้ามเขามา สภาพชีวิตไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า ไม่มีการระเบิดภูเขา
สมัยปี 16 นักธุรกิจเริ่มเข้ามา มีการตัดไม้ทำลายป่า เห็นรถบรรทุกไม้ มีคนมาทำเหมืองแร่ นำแร่จากสวนผึ้งไปญี่ปุ่น
การล่องน้ำภาชีต้องใช้แพ เดิมมีต้นผึ้ง มีผึ้งหลวง มีน้ำผึ้งแต่ปัจจุบันไม่มีเหลือแล้ว
“ถ้าจะเอาน้ำผึ้ง อย่าไปเตะรวงผึ้ง ถ้าเตะรวงผึ้งจะอดกินหมด”
« « Prev : สวนผึ้ังโมเดล: โมเดลเพื่อการจัดการปัญหาบุกรุกที่ดิน - มุมมองภาครัฐ
Next : พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านถ้ำหิน » »
ความคิดเห็นสำหรับ "พูดคุยซักถามภาครัฐ - สวนผึ้งโมเดล"