สวนผึ้ังโมเดล: โมเดลเพื่อการจัดการปัญหาบุกรุกที่ดิน - มุมมองภาครัฐ
อ่าน: 22149.30-12.00 น. วันที่ 24 สิงหาคม 2554 โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
พลตรี วีระศักดิ์ รักษาทรัพย์ ผู้แทนเจ้ากรมการทหารช่าง จ.ราชบุรี
เป็นการดูแลพื้นที่ราชพัสดุทะเบียน รบ. 553 เป็นพื้นที่ป่าถึง 80% และมีผู้ที่อาศัยอยู่เดิม ทางกองทัพบกได้ใช้เป็นพื้นที่ฝึกซึ่งพื้นที่ฝึกมีน้อยลงทุกวัน พื้นที่นี้มีปัญหาด้านความมั่นคงด้วย
พื้นที่นี้เป็นต้นน้ำของแม่น้ำภาชี เป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
การดำเนินการสวนผึ้งโมเดล แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
- ขั้นเตรียมการ
- ขั้นดำเนินการ
- ขั้นฟื้นฟู
ขั้นเตรียมการ
มีการปรึกษาข้อกฏหมาย ทางอัยการเป็นที่ปรึกษาทางกฏหมาย มีการหาข้อมูล ประวัติที่ดิน แผนที่ประกอบรวมทั้งภาพถ่ายทางอากาศ มีการอบรมให้ความรู้ด้านกฏหมายและการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ การทำงานเป็นการทำงานแบบบูรณาการ มีหน่วยราชการเกือบทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
ขั้นดำเนินการ
มีการบอกกล่าว แจ้งเตือน ให้ออกจากพื้นที่ ปักหลักหมุดเขตพื้นที่กายภาพในสถานที่จริง มีการรวบรวมพยานหลักฐาน ร้องทุกข์กล่าวโทษ การดำเนินคดีมีทั้งการเจรจาไกล่เกลี่ย และต่อสู้คดี คดีทั้งหมด 25 คดีมียกฟ้องไป 1 คดี ตัดสินไปแล้ว 18 คดี
ขั้นฟื้นฟู
มีการปลูกต้นไม้หรือปลูกป่าทดแทน มีการสร้างฝายชะลอน้ำ การเฝ้าระวังและการใช้ประโยชน์จากป่า
ปัจจุบันร่าง พรบ.การบริหารจัดการที่ดินสงวนหวงห้ามของรัฐ พ.ศ…. ก็ผ่านสภาแล้ว ต้องเดินสายชี้แจงหน่วยขึ้นตรงของกองทัพบก เกี่ยวกับสวนผึ้งโมเดลเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
พ.อ. มนิต ศิริรัตนกุล เสนาธิการกองพลพัฒนามี่ 1
กองพลพัฒนาที่ 1 เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพภาคที่ 1 รับผิดชอบฝั่งซ้ายของถนนไปจนถึงแนวชายแดน พื้นที่รับผิดชอบทั้งหมดประมาณ 170,000 ไร่
ในปี พ.ศ. 2536-2538 ทางกองทัพบกกับกรมธนารักษ์ได้ร่วมกันปักหมุดเขตพื้นที่กายภาพ มีการอนุโลมให้ทำกินได้ถ้าทำกินมาก่อนที่จะประกาศ แต่ประชาชนไม่ยอมรับวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งในข้อเท็จจริงอาจมีการตกสำรวจ ซึ่งก็สามารถมาแจ้งได้ ก็จะมีการพิสูจน์สิทะฺกัน แต่ก็ไม่มีคนมาแจ้ง
ปัญหาที่เกิดขึ้น ประชาชนจะอ้างภบท. 5 หรืออ้างว่ากำลังจะยื่นเช่า รวมทั้งการชี้แจงของเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่ได้เป็นแนวทางเดียวกัน
ข้าราชการต้องปฏิบัติตามระเบียบกฏหมาย ถ้าอยู่ในเขตพื้นที่กายภาพมาก่อนก็สามารถมายื่นเช่าได้ มีการออกชี้แจงทำความเข้าใจ ถ้าเชื่อฟังก็ไม่มีปัญหา ถ้าขัดขืนก็ใช้กฏหมาย
ในการขอยื่นเช่าจะให้ผู้ยื่นเช่ามารับฟังคำชี้แจงเพื่อแก้ปัญหา “ ขาดเจตนา” ระยะหลังนี้ทัศนคติของประชาชนก็เปลี่ยนไป ยอมรับการเช่าแต่ต้องการให้สัญญาเช่ามีระยะเวลาที่นานขึ้น คือมีตั้งแต่ไม่ยอมเช่า อ้างสิทธิจะเอาเอกสารสิทธิอย่างเดียวกับยอมเช่าแต่ขอสัญญานานขึ้น
ณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
พื้นที่ที่พูดถึงคือ รบ.553 หมายถึงพื้นที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน รบ.553 อ.จอมบึง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ซึ่งทางราชพัสดุได้มอบให้กรมการทหารช่างและกองพลพัฒนาที่ 1 ดูแล
คนที่อยู่ดั้งเดิมมากับธุรกิจเหมืองแร่ซึ่งเลิกไปแล้ว ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวและทำการเกษตรกัน จึงมีปัญหาเรื่องที่ดิน น้ำ ในสังคมพหุวัฒนธรรม
ปัญหา
- การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท.๕)
- การตีความ “ขาดเจตนา”
- ประชาชนไม่ทราบแนวเขตพื้นที่กายภาพ
- การทำงานของทางราชการไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
- กลุ่มนายทุนต้องการพื้นที่ประกอบธุรกิจ
- ประชาชนไม่เห็นด้วยกับ พรฎ. 2481
- ขาดการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ
ข้อเท็จจริงมีการใช้พื้นที่ในทางเกษตรกรรมซึ่งใช้ปลูกสวนยางและปาล์มน้ำมันมากกว่ารีสอร์ท สวนผึ้งมีปัญหาจำนวนมากกว่า 4,000 ราย พื้นที่มากกว่า 100,000 ไร่
แนวทางการแก้ไขปัญหา
- ให้ผู้ที่ถือครองที่ดิน (1,029) รายพิสูจน์สิทธิ ถ้ามีสิทธิก็ออกเอกสารสิทธิให้
- ถ้าไม่มีสิทธิก็ต้องแจ้งขอเช่า ซึ่งสามารถดำเนินการได้
- ถ้าไม่ยอมพิสูจน์สิทธิ ไม่ขอเช่าก็ต้องดำเนินคดี
มีคณะกรรมการและมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เช่า มีการจัดทำเสาหลักเขต แนวเขตพื้นที่กายภาพ ส่วนมากก็จะให้เช่าถ้าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ อาจมีการให้เปลี่ยนวัตถุประสงค์การเช่าให้ตรงกับข้อเท็จจริงเพราะอัตราค่าเช่าแตกต่างกันมาก และในกรณีที่บุกรุกพื้นที่ต้นน้ำก็ไม่สามารถให้เช่าได้ ต้องให้ออกจากพื้นที่ไป
พ.ต.อ. ศิรเมศร์ พันธุ์มณี รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี
ก่อนหน้าสวนผึ้งโมเดล มีการยกฟ้องคดีจากประเด็น”ขาดเจตนา”
ในการซื้อขายที่ดิน คนซื้อก็มีสัญญาซื้อขาย มีกำนันผู้ใหญ่บ้านเซ็นเป็นพยาน มีใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท.๕) ก่อนที่จะเปลี่ยน นส. 3 เป็นโฉนด เริ่มจาก ภบท.๕
เดิมมีปัญหาจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ สวนผึ้งโมเดลก็ยังมีปัญหาเพราะมีการดำเนินการแต่เฉพาะรายเล็ก ถ้าดูหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศและหลักฐานจาก อบต.ก็พอจะทราบเจ้าของทีแท้จริง
ในทางปฏิบัติ กำนันผู้ใหญ่บ้านจะเป็นคนชี้จุด ไม่ได้ใช้ GPS ในการดำเนินคดีต่อไปต้องมีหลักฐานข้อมูลที่ชัดเจน
ช่างสำรวจจากกรมธนารักษ์
เวลามีคดีต้องทำแผนที่ประกอบคดีและไปให้การในศาล สวนผึ้งโมเดลมีแนวทางการเจรจาประนีประนอม ใช้ทั้งรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มีการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน มีการบูรณาการ
คนที่อ้างสิทธิการครอบครองต้องการเอกสารสิทธิก็สามารถพิสูจน์สิทธิ ทั้งนี้ก็มีหลักฐานภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ ถ้าถูกต้องก็ออกเอกสารสิทธิให้
ถ้าไม่สามารถออกเอกสารสิทธิให้ได้ก็สามารถขอยื่นเช่า ถ้าเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมือแรกค่าเช่าจะถูก เช่น 20 บาท/ไร่/ปี ถ้าเปลี่ยนมือค่าเช่าจะเปลี่ยนเป็น 200บาท/ไร่/ปี เป็นต้น
รีสอร์ทอัตราค่าเช่าคิดเป็นพื้นที่ใช้สอย ที่ตั้งอาคารคิด 4บาท/ตารางเมตร/เดือน ที่เหลือก็คิด 75 สตางค์/ตารางเมตร/เดือน แต่ก็มีการต่อรองอัตราค่าเช่า
« « Prev : ถอดบทเรียนการศึกษาดูงานภาคกลาง (3)
Next : พูดคุยซักถามภาครัฐ - สวนผึ้งโมเดล » »
ความคิดเห็นสำหรับ "สวนผึ้ังโมเดล: โมเดลเพื่อการจัดการปัญหาบุกรุกที่ดิน - มุมมองภาครัฐ"