สถานการณ์ความขัดแย้งหลักในชาติ (3)
อ่าน: 1388อ.จิราพร บุนนาค
ความขัดแย้งเป็นปกติของสังคม แต่เราจะจัดการความขัดแย้งโดยไม่ให้เกิดความรุนแรงได้อย่างไร?
อะไรทำให้เกิดการทำผิดกติกา ? อะไรเป็นรากเหง้าของการทำผิดกติกา ?
ในการเรียนการสอน บางครั้งมีชาวบ้านมาพูดให้ฟัง มาเป็นอาจารย์ นักศึกษาบางคนจะรู้สึกอึดอัดมาก เพราะอะไร? ทำไมเราไม่อยากฟัง ? เราต้องมองและทำความเข้าใจและรับรู้ความรู้สึกทุกกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มต่างๆที่หลากหลาย ที่แตกต่างกันทั้งอาชีพ ฐานะ การศึกษา ศาสนา ฯลฯ
จะเรียนรู้จริงๆต้องไปให้ถึงระดับความรู้สึก
โดยทั่วไป สถานการณ์ที่เห็นหรือสถานการณ์ผิวหน้า เป็นแค่อาการของโรค (symptoms)
ต้องมองลงไปอีกชั้นหนึ่ง เป็นมิติเชิงโครงสร้าง เช่น กติกา การศึกษา การบริหารจัดการ
แต่ชั้นที่ลึกที่สุดเป็นมิติทางวัฒนธรรม เกี่ยวกับวิถีชีวิต ศาสนา อัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ จะลงไปถึงความรู้สึก
ในสถานการณ์ win – win ไม่ได้หมายความว่าได้ของเท่ากัน แต่เป็นเรื่องของความรู้สึก รู้สึกว่าพอแล้ว ดีแล้ว
หลังกลุ่มวิชาที่ 1 การทำความเข้าใจพื้นฐานความขัดแย้งและสันติวิธี ก็จะพานักศึกษาลงพื้นที่ภาคกลาง คือที่จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี เพื่อศึกษา
ความขัดแย้งจากอำนาจและการอุปถัมภ์
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภาษาพูด ลงไปลึกซึ้งกว่าแค่การท่องเที่ยว
ลงไปค้นให้พบต้นทุนทางปัญญาที่เกิดจากความหลากหลาย สังคมพหุวัฒนธรรมจะมีทางเลือกในการเผชิญปัญหาและการอยู่ร่วมกันได้ดีกว่าและมากกว่า
ลงไปดูกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ส่วนการลงพื้นที่ภาคใต้ ลงไปเพื่อเรียนรู้อัตลักษณ์ เฉพาะของคนที่นั่น เริ่มจากการรับฟังภาพรวมจากศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (deep South Watch –DSW) ซึ่งเป็นองค์กรประสานงานเครือข่ายภาคประชาสังคมและวิชาการทั้งในและนอกพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้
รับฟังข้อมูลจากกลุ่มพลัง 5 วัฒนธรรม คือ
กลุ่มศาสนา - จากมัสยิด
กลุ่มการศึกษา - จากปอเนาะ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
กลุ่มการเมือง - ทั้งนักการเมืองท้องถิ่นและนักการเมืองระดับชาติ
กลุ่มสื่อมวลชน
กลุ่มสตรีและเยาวชน
รับฟังแนวความคิดทางการเมือง
อยากได้อะไร? แบ่งแยกดินแดน?
ประเด็นข้อขัดแย้งในการจัดการฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม - ประมงน้ำตื้น ประมงชายฝั่ง
การลงพื้นที่ภาคเหนือ
เรื่องหลักจะเป็นเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองและการสร้างสมานฉันท์ของคนในชาติ การเมืองที่แบ่งสี แบ่งขั้ว สังคมพหุวัฒนธรรม
ปัญหาน่าจะเกิดจากการได้รับรู้ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ วิธีคิดและวิธีปฏิบัติ
การลงพื้นที่ภาคใต้ตอนบน คงจะไปที่ภูเก็ตและพังงา
พื้นที่ภาคตะวันออก คงไปที่มาบตาพุด ระยอง ศึกษากรณีข้อขัดแย้งในการจัดการฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
อาจารย์ยังเน้นความสำคัญของการสร้างเครือข่าย เพื่อทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน (networking)
« « Prev : สถานการณ์ความขัดแย้งหลักในชาติ (2)
Next : สถานการณ์ความขัดแย้งหลักในชาติ (4) » »
ความคิดเห็นสำหรับ "สถานการณ์ความขัดแย้งหลักในชาติ (3)"