สถานการณ์ความขัดแย้งหลักในชาติ (2)
อ่าน: 1644ผศ. ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชบัญญํติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จึงถือว่าประเทศไทยได้เปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่นั้นมา
จากคำว่า ของประชาชน เพื่อประชาชน และโดยประชาชน ถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของประเทศเพราะเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดของประเทศ ประชาชนเป็นผู้ปกครองประเทศ
แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากไม่เข้าใจ ไม่มั่นใจหรือยังสงสัยอยู่
อาจารย์ตั้งข้อสังเกตว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจะไม่มีคำว่าประชาธิปไตยในชื่อของประเทศเลย
เช่น
เกาหลีเหนือ ชื่อ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
แอลจีเรีย ชื่อ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย เป็นต้น
เหมือนรถยนต์ที่ติดป้ายรถยนต์คันนี้สีขาว ทั้งๆที่สีน้ำเงิน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าประเทศที่ไม่มีคำว่าประชาธิปไตยในชื่อประเทศจะเป็นประชาธิปไตยทั้งหมด
คนไทยเราจะสร้างสังคมสันติสุขในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างไร? ท่ามกลางความแตกต่างทางความคิด ผลประโยชน์ การศึกษา ฐานะ หรือสรุปว่าท่ามกลางความขัดแย้ง
คนไทยจะมีความสามารถที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในระบอบประชาธิปไตยได้ไหม?
คนไทยเราไม่ได้ฝึกมาให้เคารพความแตกต่าง เคารพสิทธิของผู้อื่น เคารพกติกา
คนไทยเราไม่ได้ฝึกมาให้ยอมรับและเคารพคนที่มีความแตกต่างกันทางความคิด ความเชื่อ
ประเทศอเมริกาหลังจากที่มีเอกราชและปกครองแบบประชาธิปไตยก็เคยมีสงครามกลางเมือง มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายถึง 600,000 คน
ฮิตเลอร์ก็มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ก่อให้เกิดสงครามโลกที่มีผู้คนล้มตายหลายล้านคน
แต่ประเทศทั้งสองนี้ก็แก้ไขด้วยการแก้ที่ประชาชน ให้การศึกษาให้ประชาชนเคารพผู้อื่นที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันและเคารพในกติกา
กติกาที่ว่าก็คือกฏหมาย
ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้เขียนกติกา
ฝ่ายบริหารและข้าราชการเป็นผู้ใช้กติกา
ฝ่ายตุลาการเป็นผู้ควบคุมให้เล่นตามกติกา
บางครั้งกติกาก็เป็นปัญหา แต่จริงๆเป็นปัญหาการบังคับใช้กฏหมาย คือกรรมการเป็นปัญหาซะเอง
ในการแข่งขันฟุตบอล ถ้ามีคนทำผิดกติกาแล้วกรรมการไม่เป่าฟาล์ว อีกข้างก็ทำผิดกติกาบ้าง กรรมการก็ไม่เป่า แล้วคิดว่าเกมฟุตบอลจะเล่นกันต่อไปได้ไหม?
แต่ทั้งหมดก็เป็นเรื่องปลายเหตุ ถ้าจะแก้ที่ต้นเหตุหรือต้นทางก็คือ ทำอย่างไรให้ประชาชนเคารพกฏหมาย
« « Prev : การทำความเข้าใจพื้นฐานความขัดแย้งและสันติวิธี
Next : สถานการณ์ความขัดแย้งหลักในชาติ (3) » »
ความคิดเห็นสำหรับ "สถานการณ์ความขัดแย้งหลักในชาติ (2)"